เมนู

สัจจะ. วิโมกข์มีอารมณ์เป็นประธาน และมี
สังขารเป็นประธาน เป็นนิโรธสัจจะ.

ย่อมมีแก่ผู้ใด ผู้นั้นท่านกล่าวว่า เป็น สมสีสี เพราะมีความสงบ
ดังได้กล่าวไว้แล้วในก่อนและมีธรรมเหล่านี้เป็นประธาน.
จบ อรรถกถาสมสีสัฏฐญาณนิทเทส


สัลเลขัฏฐญาณนิทเทส


[233] ปัญญาในความในรูปแห่งกิเลสอันหนา สภาพต่าง ๆ
และเดช เป็นสัลเลขัฏฐญาญอย่างไร ?
คำว่า ปุถุ - หนา คือ ราคะหนา โทสะหนา โมหะหนา
ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา
ความตระหนี่ ความเจ้าเล่ห์ ความโอ้อวด หัวดื้อ ความแข่งดี ความ
ถือตัว ความดูหมิ่นท่าน ความมัวเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง
ทุจริตทั้งปวง อภิสังขารทั้งปวง กรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวง
เป็นกิเลสหนา.
[234] คำว่า สภาพต่าง ๆ และสภาพเดียว ความว่า
กามฉันทะเป็นสภาพต่าง ๆ เนกขัมมะเป็นสภาพเดียว พยาบาทเป็นสภาพ

ต่าง ๆ ความไม่พยาบาทเป็นสภาพเดียว ถีนมิทธะเป็นสภาพต่าง ๆ อาโลก-
สัญญาเป็นสภาพเดียว อุทธัจจะเป็นสภาพต่าง ๆ ความไม่ฟุ้งซ่านเป็น
สภาพเดียว วิจิกิจฉาเป็นสภาพต่าง ๆ การกำหนดธรรมเป็นสภาพเดียว
อวิชชาเป็นสภาพต่าง ๆ ญาณเป็นสภาพเดียว อรติเป็นสภาพต่าง ๆ ความ
ปราโมทย์เป็นสภาพเดียว นิวรณ์เป็นสภาพต่าง ๆ ปฐมฌานเป็นสภาพ
เดียว ฯลฯ กิเลสทั้งปวงเป็นสภาพต่าง ๆ อรหัตมรรคเป็นสภาพเดียว.
[235] คำว่า เตโช - เดช ความว่า เดชมี 5 คือ
จรณเดช คุณเดช ปัญญาเดช บุญญเดช ธรรมเดช บุคคลผู้มีจิต
อันกล้าแข็ง ย่อมยังเดชคือความเป็นผู้ทุศีลให้สิ้นรูปด้วยเดชคือศีล
เครื่องดำเนินไป ย่อมยังเดชมิใช่คุณให้สิ้นไปด้วยเดชคือคุณ ย่อมยัง
เดชคือความเป็นผู้มีปัญญาทรามให้สิ้นไปด้วยเดชคือปัญญา ย่อมยังเดช
มิใช่บุญให้สิ้นไปด้วยเดชคือบุญ ย่อมยังเดชมิใช่ธรรมให้สิ้นไปด้วยเดช
อันเป็นธรรม.
[236] คำว่า สลฺเลโข - ธรรมเครื่องขัดเกลา ความว่า
กามฉันทะมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา เนกขัมมะเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา
พยาบาทมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา ความไม่พยาบาทเป็นธรรมเครื่อง
ขัดเกลา ถีนมิทธะมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา อาโลกสัญญาเป็นธรรม
เครื่องขัดเกลา อุทธัจจะมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา ความไม่ฟุ้งซ่านเป็น
ธรรมเครื่องขัดเกลา วิจิกิจฉามิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา การกำหนด

ธรรมเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา อวิชชามิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา ญาณ
เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา อรตีมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา ความปราโมทย์
เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา นิวรณ์มิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา ปฐมฌาน
เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ฯลฯ กิเลสทั้งปวงมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา
อรหัตมรรคเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรม ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่า
รู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความในรูปแห่งกิเลส
อันหนา สภาพต่าง ๆ และเดช เป็นสัลเลขัฏฐญาณ.

37. อรรถกถาสัลเลขัฏฐญาณนิทเทส


[233 - 236] พึงทราบวินิจฉัยในสัลเลขัฏฐญาณนิทเทสดังต่อ
ไปนี้. บทว่า ราโค ปุถุ ราคะหนา คือ ราคะต่างหาก ไม่ปนด้วย
โลกุตระ ในบทที่เหลือมีนัยนี้.
ชื่อว่า ราคะ เพราะอรรถว่ากำหนัด.
ชื่อว่า โทสะ เพราะอรรถว่าประทุษร้าย.
ชื่อว่า โมหะ เพราะอรรถว่าลุ่มหลง.
พระสารีบุตรกล่าวกิเลสอันเป็นประธาน 3 เหล่านี้ คือ ราคะ
มีลักษณะกำหนัด. โทสะมีลักษณะประทุษร้าย. โมหะมีลักษณะลุ่มหลง
แล้วบัดนี้ เมื่อจะแสดงโดยประเภท จึงกล่าวบทมีอาทิว่า โกโธ.