เมนู

สมสีสัฏฐญาณนิทเทส


[227] ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง ในการ
ตัดขาดโดยชอบและนิโรธ เป็นสมสีสัฏฐญาณอย่างไร ?
คำว่า ธรรมทั้งปวง คือ ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18
กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม กามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม
อรูปาวจรธรรม โลกุตรธรรม.
[228] คำว่า สมฺมาสมุจฺเฉเท - ในการตัดขาดโดยชอบ
ความว่า พระโยคาวจรย่อมตัดกามฉันทะขาดโดยชอบ ด้วยเนกขัมมะ
ย่อมตัดพยาบาทขาดโดยชอบ ด้วยความไม่พยาบาท ย่อมตัดถีนมิทธะ
ขาดโดยชอบ ด้วยอาโลกสัญญา ย่อมตัดอุทธัจจะขาดโดยชอบ ด้วย
ความไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมตัดวิจิกิจฉาขาดโดยชอบ ด้วยการกำหนดธรรม
ย่อมตัดอวิชชาขาดโดยชอบ ด้วยญาณ ย่อมตัดอรติขาดโดยชอบ ด้วย
ความปราโมทย์ ย่อมตัดนิวรณ์ขาดโดยชอบ ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ
ย่อมตัดกิเลสทั้งปวงขาดโดยชอบ ด้วยอรหัตมรรค.
[229] คำว่า นิโรเธ - ในนิโรธ ความว่า พระโยคาวจรย่อมทำ
กามฉันทะให้ดับ ด้วยเนกขัมมะ ย่อมทำพยาบาทให้ดับ ด้วยความไม่
พยาบาท ย่อมทำถีนมิทธะให้ดับ ด้วยอาโลกสัญญา ย่อมทำอุทธัจจะ
ให้ดับ ด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมทำวิจิกิจฉาให้ดับ ด้วยการกำหนด
ธรรม ย่อมทำอวิชชาให้ดับด้วยญาณ ย่อมทำอรติให้ดับ ด้วยความ

ปราโมทย์ ย่อมทำนิวรณ์ให้ดับ ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ย่อมทำกิเลส
ทั้งปวงให้ดับ ด้วยอรหัตมรรค.

[230] คำว่า อนุปฏฺฐานตา - ความไม่ปรากฏ ความว่า
บุคคลผู้ได้เนกขัมมะ กามฉันทะย่อมไม่ปรากฏ ผู้ได้ความไม่พยาบาท
ความพยาบาทย่อมไม่ปรากฏ ผู้ได้อาโลกสัญญา ถีนมิทธะย่อมไม่ปรากฏ
ผู้ได้ความไม่ฟุ้งซ่าน อุทธัจจะย่อมไม่ปรากฏ ผู้ได้การกำหนดธรรม
วิจิกิจฉาย่อมไม่ปรากฏ ผู้ได้ญาณ อวิชชาย่อมไม่ปรากฏ ผู้ได้ความ
ปราโมทย์ อรติย่อมไม่ปรากฏ ผู้ได้ปฐมฌาน นิวรณ์ย่อมไม่ปรากฏ
ฯลฯ ผู้ได้อรหัตมรรค กิเลสทั้งปวงย่อมไม่ปรากฏ.

[231] คำว่า สมํ - สงบ ความว่า เนกขัมมะเป็นธรรมสงบ
เพราะท่านละกามฉันทะเสียแล้ว ความไม่พยาบาทเป็นธรรมสงบ เพราะ
ท่านละความพยาบาทเสียแล้ว อาโลกสัญญาเป็นธรรมสงบ เพราะท่าน
ละถีนมิทธะเสียแล้ว ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นธรรมสงบ เพราะท่านละ
อุทธัจจะเสียแล้ว การกำหนดธรรมเป็นธรรมสงบ เพราะท่านละ
วิจิกิจฉาเสียแล้ว ญาณเป็นธรรมสงบ เพราะท่านละอวิชชาเสียแล้ว
ความปราโมทย์เป็นธรรมสงบ เพราะท่านละอรติเสียแล้ว ปฐมฌาน
เป็นธรรมสงบ เพราะท่านละนิวรณ์เสีย ฯลฯ อรหัตมรรคเป็นธรรม
สงบ เพราะท่านละกิเลสทั้งปวงเสียแล้ว.

[232] คำว่า สีสํ - เป็นประธาน ความว่า ธรรมเป็น
ประธาน 13 ประการ คือ ตัณหามีความกังวลเป็นประธาน 1 มานะ
มีความผูกพันเป็นประธาน 1 ทิฏฐิมีความยึดมั่นเป็นประธาน 1
อุทธัจจะมีความฟุ้งซ่านเป็นประธาน 1 อวิชชามีกิเลสเป็นประธาน 1
ศรัทธามีความน้อมใจเชื่อเป็นประธาน 1 วิริยะมีความประคองไว้เป็น
ประธาน 1 สติมีการเข้าไปตั้งไว้เป็นประธาน 1 สมาธิมีความไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นประธาน 1 ปัญญามีความเห็นเป็นประธาน 1 ชีวิตินทรีย์มีความ
เป็นไปเป็นประธาน 1 วิโมกข์มีอารมณ์เป็นประธาน 1 นิโรธมีสังขาร
เป็นประธาน 1.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความไม่ปรากฏ
แห่งธรรมทั้งปวง ในการตัดขาดโดยชอบและในนิโรธ เป็นสมสีสัฏฐ-
ญาณ.


36. อรรถกถาสมสีสัฏฐญาณนิทเทส


[227 - 232]พึงทราบวินิจฉัยในสมสีสัฏฐญาณนิทเทสดังต่อ
ไปนี้ พึงทราบการสงเคราะห์ทั้งหมด ด้วยหมวด 10 มีอาทิว่า ปญฺ-
จกฺขนฺธา - ขันธ์ทั้งหลาย 5. จริงอยู่ ท่านมิได้จัดธรรมทั้งหมดไว้.