เมนู

อรรถกถาปฏิสัมภิทามรรค



ชื่อสัทธรรมปกาสินี ในขุททกนิกาย



ภาคที่ 1



คันถารัมภกถา


พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ทรงพระ-
คุณครบถ้วนล้วนแล้วด้วยความงามทุกสิ่งล่วงเสีย
ซึ่งความงามของโลกทั้งปวง ทรงพ้นจากกิเลส
มลทินเป็นเครื่องประทุษร้ายพร้อมทั้งวาสนา ทรง
ประทานวิมุตติธรรมอันล้ำเลิศ.
พระองค์ทรงมีพระทัยเยือกเย็นดุจความ
เย็นแห่งไม้จันทน์ กล่าวคือพระกรุณาอยู่เป็นนิจ
ทรงพระปัญญาโชติช่วงดังดวงระวี มีธรรมเป็น
เครื่องแนะนำสัตว์ ข้าพเจ้า*ขอน้อมอภิวาทพระผู้-
มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้เลิศในหมู่สัตว์
ผู้เป็นที่พึ่งในประโยชน์แก่ปวงสัตว์ด้วยเศียรเกล้า

1. พระมหานามเถระ.

บรรดาพระมหาเถระผู้พุทธชิโนรสมีจำนวน
เป็นอนันต์, พระมหาเถระองค์ใดเป็นประดุจดัง
พระมุนีผู้เลิศในหมู่สัตว์ทั้งปวง ได้เป็นผู้กระทำ
ตามลีลาแห่งพระศาสดา ในการบำเพ็ญประโยชน์
เกื้อกูลแก่ชุมชนด้วยคุณกล่าวคือกรุณาและปัญญา
ญาณ.
ข้าพเจ้าขอนมัสการพระเถระองค์นั้น ผู้มี
นามว่า สารีบุตร ผู้มุนีราชบุตร ผู้ยินดียิ่งใน
เสถียรคุณเป็นอเนก ผู้รุ่งเรืองด้วยแสงสว่างแห่ง
ปัญญามีเกียรติงามฟุ้งขจรไป และมีจริยาวัตสงบ
งาม.
วิศิษฐปาฐะคือพระบาลีอันใดอันพระสาวก
ผู้สัทธรรมเสนาบดีผู้ประกาศพระสัทธรรมจักรผู้เข้า
ถึงความแจ่มแจ้ง ในอรรถะตามความเป็นจริงใน
พระสูตรทั้งหลาย ที่พระตถาคตเจ้าได้ตรัสไว้แล้ว
ผู้นำในการยังธรรมประทีปให้โชติช่วง กล่าว
วิศิษฐปาฐะนั้นไว้ โดยนามอันวิเศษว่า ปฏิสมฺ-
ภิทานํ มคฺโค แปลว่า แห่งปฏิสัมภิทาทั้ง-
หลาย.

ปฏิสัมภิทามรรคนั้น เป็นปกรณ์อัน
ละเมียดละมัยด้วยอรรถะและนยะต่าง ๆ อย่างวิจิตร
อันบัณฑิตผู้มุ่งบำเพ็ญอัตตัตถะประโยชน์ตนและ
โลกัตถะประโยชน์แก่ชาวโลก มีปัญญาลึกซึ้งจะ
พึงหยั่งรู้ได้ในกาลทุกเมื่อ และสาธุชนทั้งหลายจะ
พึงซ่องเสพอยู่เป็นนิจ.
ข้าพเจ้าจะพรรณนาเนื้อความที่ไม่ซ้ำกันไป
ตามลำดับ ไม่ก้าวล่วงสุตตะและยุตติแห่งปฏิสัม-
ภิทามรรคปกรณ์นั้น อันนำมาซึ่งประเภทแห่งญาณ
อันพระโยคาวจรทั้งหลายเป็นอเนกซ่องเสพแล้ว
โดยไม่เหลือ.
อนึ่งนั้นเล่าก็จะไม่ก้าวล่วงลัทธิของตนและ
จะไม่ก้าวก่ายลัทธิของผู้อื่น แต่จะรวบรวมเอา
อุปเทสและนยะแห่งอรรถกถาแต่ปางก่อนมาแสดง
ตามสมควร.
ข้าพเจ้าจะกล่าวอรรถกถาชื่อสัทธรรมปกาสินี
นั้นโดยเคารพ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชุมชน
เพื่อความดำรงมั่นแห่งพระสัทธรรมตลอดกาลนาน
ขอสาธุชนสัตบุรุษจงตั้งใจสดับทรงจำไว้เถิด.

ความที่ปฏิสัมภิทามรรคเป็นมรรคาแห่งปฏิสัมภิทา ข้าพเจ้าต้อง
กล่าวก่อน เพราะได้กล่าวไว้แล้วในคันถารัมภกถาว่า ปฏิสมฺภิทานํ
มคฺโคติ ตนฺนามวิเสสิโต จ
แปลว่า ซึ่งวิศิษฐปาฐะนั้น โดยนาม
อันวิเศษว่า ปฏิสัมภิทามรรค.
ก็ปฏิสัมภิทามี 4 คือ
1. อรรถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ,
2. ธรรมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม,
3. นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ,
4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ.

ทางคืออุบายเป็นเครื่องบรรลุปฏิสัมภิทาเหล่านั้น ฉะนั้นจึงชื่อ
ว่า ปฏิสัมภิทามรรค, มีคำอธิบายท่านกล่าวไว้ว่า เป็นเหตุแห่งการ
ได้เฉพาะซึ่งปฏิสัมภิทา.
หากจะมีปุจฉาว่า ทางนี้เป็นทางแห่งปฏิสัมภิทาได้ เพราะ
เหตุไร ? ก็พึงมีวิสัชนาว่า เพราะเป็นเทสนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงโดยประเภท เป็นเทสนาอันนำมาซึ่งปฏิสัมภิทาญาณ
จริงอยู่ ธรรมทั้งหลายมีประเภทต่าง ๆ เทสนาก็มีประเภทต่าง ๆ
ย่อมให้เกิดประเภทแห่งปฏิสัมภิทาญาณ แก่พระอริยบุคคลทั้งหลายผู้
สดับฟัง และเป็นปัจจัยแก่การแตกฉานในปฏิสัมภิทาญาณแก่ปุถุชน
ต่อไปในอนาคต ก็ท่านกล่าวคำนี้ไว้ว่า เทสนาโดยประเภทย่อมนำมา

ซึ่งปฏิสัมภิทาญาณเป็นเครื่องทำลายฆนสัญญาเสียได้ ดังนี้. ก็เทสนา
ประเภทต่าง ๆ นี้มีอยู่, เพราะเหตุนั้น เทสนานั้น จึงเป็นเทสนาให้
สำเร็จความเป็นบรรดาแห่งปฏิสัมภิทาทั้งหลาย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตสฺโส เป็นบทกำหนดจำนวน.
บทว่า ปฏิสมฺภิทา ได้แก่ ปัญญาเป็นเครื่องแตกฉาน. เป็น
ปัญญาเครื่องแตกฉานของญาณเท่านั้น หาใช่เป็นความแตกฉานของ
ใคร ๆ อื่นไม่ เพราะท่านได้กล่าวไว้ว่า ความรู้ในอรรถ ชื่อว่าอรรถ
ปฏิสัมภิทา, ความรู้ในธรรมชื่อว่า ธรรมปฏิสัมภิทา, ความรู้ในโวหาร
แห่งภาษาอันกล่าวถึงอรรถและธรรมะ ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา, ความ
รู้ในญาณทั้งหลาย1 ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา. เพราะฉะนั้น คำว่า
จตสฺโส ปฏิสมุภิทา จึงมีความว่า ประเภทแห่งญาณ 4 ประการ.
ญาณอันถึงความแตกฉานในอรรถ สามารถทำการกำหนด
สัลลักขณะและวิภาวนะของประเภทแห่งผล ชื่อว่า อรรถปฏิสัมภิทา.
ญาณอันถึงความแตกฉานในธรรม สามารถทำการกำหนด
สัลลักขณะและวิภาวนะของประเภทแห่งเหตุ ชื่อว่า ธรรมปฏิสัมภิทา.
ญาณอันถึงความแตกฉานในนิรุตติ สามารถทำการกำหนด
สัลลักขณะและวิภาวนะของประเภทแห่งนิรุตติ ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา.
1. ญาณทั้ง 3 เบื้องต้น คือ อรรถะ, ธรรมะ และนิรุตติ.

ญาณอันถึงความแตกฉานในปฏิภาณ สามารถทำการกำหนด
สัลลักษณะและวิภาวนะของประเภทแห่งปฏิภาณ ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิ-
สัมภิทา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺโถ ว่าโดยสังเขป ได้แก่ผล
อันเกิดแต่เหตุ. จริงอยู่ ผลอันเกิดแต่เหตุนั้น ย่อมเกิด คือบรรลุถึง
ตามครรลองแห่งเหตุ ฉะนั้นท่านจึงเรียกว่าอรรถะ. แต่เมื่อว่าโดย
ประเภทแล้ว ธรรม 5 ประการเหล่านี้คือ ธรรมอันเกิดแต่ปัจจัย
( ปจฺจยสมุปฺปนฺนํ ) อย่างใดอย่างหนึ่ง 1. นิพพาน 1. อรรถกถา
แห่งพระบาลีอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว 1. วิปากจิต 1. กิริยาจิต
1. บัณฑิตพึงทราบว่า อรรถะ. ญาณอันถึงความแตกฉานในอรรถะนั้น
ของพระอริยบุคคลผู้พิจารณาอรรถะนั้นอยู่ ชื่อว่า อรรถปฏิสัมภทา.
บทว่า ธมฺโม ว่าโดยสังเขป ได้แก่ ปัจจัย. จริงอยู่ปัจจัยนั้น
ย่อมให้ คือย่อมให้เป็นไปและย่อมให้ถึงซึ่งผลนั้น ๆ จะนั้นท่านจึงเรียก
ว่า ธรรมะ. แต่เมื่อว่าโดยประเภทแล้ว ธรรม 5 ประการเหล่านี้คือ
เหตุให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่ง 1. อริยมรรค 1. พระบาลีอันพระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสแล้ว 1. กุศลจิต 1. อกุศลจิต 1. บัณฑิตพึงทราบว่า
ธรรม. ญาณอันถึงความแตกฉานในธรรมนั้นของพระอริยบุคคลผู้
พิจารณาธรรมนั้นอยู่ ชื่อว่า ธรรมปฏิสัมภิทา.

จริงอยู่ เนื้อความดังต่อไปนี้มาในพระอภิธรรมปิฎกท่านแสดง
จำแนกไว้โดยนัยเป็นต้นว่า :-
ความรู้แตกฉานในทุกข์ ชื่อว่า อรรถปฏิ-
สัมภิทา,
ความรู้แตกฉานในทุกขสมุทัย ชื่อว่า
ธรรมปฏิสัมภิทา, ความรู้แตกฉานในทุกขนิโรธ
ชื่อว่า อรรถปฏิสัมภิทา, ความรู้แตกฉานในทุกข-
นิโรขคามินีปฏิปทา ชื่อว่า ธรรมปฏิสัมภิทา, ความ
รู้แตกฉานในเหตุ ชื่อว่า ธรรมปฏิสัมภิทา, ความรู้
แตกฉานในผลอันเกิดแต่เหตุ ชื่อว่า อรรถปฏิ-
สัมภิทา.

ธรรมเหล่าใด เกิดแล้ว มาแล้ว เกิดพร้อม
แล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว ปรากฏแล้ว,
ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อรรถปฏิ-
สัมภิทา,
ธรรมเหล่านั้น เกิดแล้ว มีแล้ว เกิด
พร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว ปรากฏ
แล้ว จากธรรมเหล่าใด ความรู้แตกฉานในธรรม
เหล่านั้น ชื่อว่า ธรรมปฏิสัมภิทา.

ความรู้แตกฉานในชรามรณะ ชื่อ อรรถ-
ปฏิสัมภิทา,
ความรู้แตกฉานในเหตุเกิดแห่งชรา-
มรณะ ชื่อว่า ธรรมปฏิสัมภิทา, ความรู้แตกฉาน
ในความดับแห่งชรามรณะ ชื่อว่า อรรถปฏิสัมภิทา,
ความรู้แตกฉานในปฏิปทาอันเป็นเหตุให้ถึงความ
ดับแห่งชรามรณะ ชื่อว่า ธรรมปฏิสัมภิทา.
ความรู้แตกฉานในชาติ ฯลฯ ความรู้แตก
ฉานในภพ ฯลฯ ความรู้แตกฉานในอุปาทาน ฯลฯ
ความรู้แตกฉานในตัณหา ฯลฯ ความรู้แตกฉาน
ในเวทนา ฯลฯ ความรู้แตกฉานในผัสสะ ฯลฯ
ความรู้แตกฉานในสฬายตนะ ฯลฯ ความรู้แตก
ฉานในนามรูป ฯลฯ ความรู้แตกฉานในวิญญาณ
ฯลฯ ความรู้แตกฉานในสังขารทั้งหลาย ชื่อว่า
อรรถปฏิสัมภิทา. ความรู้แตกฉานในเหตุเกิดแห่ง
สังขาร ชื่อว่า ธรรมปฏิสัมภิทา, ความรู้แตกฉาน
ในความดับแห่งสังขาร ชื่อว่า อรรถปฏิสัมภิทา,
ความรู้แตกฉานในปฏิปทาอันเป็นเหตุให้ถึงความ
ดับแห่งสังขาร ชื่อว่า ธรรมปฏิสัมภิทา.

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้แตกฉานซึ่ง
ธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรมะ เวทัลละ
นี้เรียกว่า ธรรมปฏิสัมภิทา, ภิกษุนั้นย่อมรู้แตก
ฉานในอรรถแห่งภาษิตนั้น ๆ ว่า นี้เป็นอรรถแห่ง
ภาษิตนี้, นี้เป็นอรรถแห่งภาษิตนั้น นี้เรียกว่า
อรรถปฏิสัมภิทา.
สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลเป็นไฉน ?
กามาวจรกุศลจิต เกิดพร้อมด้วยโสมนัส
ประกอบด้วยปัญญา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มี
ธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น
ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น
ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล.
ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมปฏิ-
สัมภิทา,
ความรู้แตกฉานในวิบากแห่งธรรมเหล่า
นั้น ชื่อว่า อรรถปฏิสัมภิทา.
คำว่า ตตฺร ธมฺมนิรุตฺตาภิลาเป ญาณํ ความว่า ความรู้
แตกฉานในคำพูด คำกล่าว คำที่เปล่งถึงสภาวนิรุตติอันเป็นโวหารที่ไม่

ผิดเพี้ยนทั้งในอรรถและในธรรมนั้น, ในคำพูดอันเป็นสภาวนิรุตติ
ของพระอริยบุคคลผู้ทำสภาวนิรุตติศัพท์ที่เขาพูดแล้ว กล่าวแล้ว เปล่ง
ออกแล้ว ให้เป็นอารมณ์แล้ว พิจารณาอยู่. ในมาคธีมูลภาษาของสัตว์
ทั้งหลายอันเป็นสภาวนิรุตติ เพราะสภาวนิรุตตินั้นบัณฑิตรับรองว่า
เป็นธรรมนิรุตติอย่างนี้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, นี้มิใช่สภาวนิรุตติ
ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา.
ด้วยประการฉะนี้ นิรุตติปฏิสัมภิทานี้ ชื่อว่า มีสัททะคือ เสียง
เป็นอารมณ์ มิได้มีบัญญัติเป็นอารมณ์. เพราะเหตุไร ? เพราะพระ-
อริยบุคคลได้ยินเสียงแล้วย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, นี้มิใช่สภาว-
นิรุตติ. จริงอยู่ พระอริยบุคคลผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา ครั้นเขาพูด
ว่า ผัสโส ก็ย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, ครั้นเขาพูดว่า
ผสฺสา หรือ ผสฺสํ ก็ย่อมรู้ว่า นี้มิใช่สภาวนิรุตติ แม้ใน
สภาวธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.
ถามว่า ก็พระอริยบุคคลผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทานี้จะรู้หรือไม่
รู้คำอื่น คือเสียงแหงพยัญชนะอันกล่าวถึงนาม, อาขยาต, อุปสัค,
และนิบาต.
ตอบว่า พระอริยบุคคลผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทานั้น ครั้นได้
ยินเสียงแล้วก็รู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, นี้มิใช่สภาวนิรุตติ ด้วย
เหตุสำคัญอันใด, ก็จักรู้คำนั้นด้วยเหตุสำคัญอันนั้น, แต่ข้อนี้มีผู้กล่าว

ปฏิเสธว่า นี้มิใช่กิจของปฏิสัมภิทา แล้วกล่าวว่า ธรรมดาภาษา
สัตว์ทั้งหลายย่อมเรียนเอาได้ แล้วยกอุทาหรณ์นี้ขึ้นมาสาธกว่า
จริงอยู่ มารดาและบิดา เอากุมารน้อยในคราวยังเป็นทารกอยู่
ให้นอนบนเตียงหรือ แล้วพูดภาษานั้น ๆ ทำกิจนั้น ๆ อยู่. ทารกกำหนด
ภาษานั้น ๆ ของมารดาและบิดาเหล่านั้นว่า คำนี้ท่านผู้นี้พูด, คำนี้
ท่านผู้นี้พูด ครั้นวันผ่านมาเวลาผ่านไป ก็ย่อมรู้ภาษาทั้งหมดได้.
มารดาเป็นชาวทมิฬ, บิดาเป็นชาวอันธกะ ทารกของมารดาบิดาเหล่า
นั้น ถ้าได้ยินคำพูดของมารดาก่อน, ก็จักพูดภาษาทมิฬ ถ้าได้ยิน
คำพูดของบิดาก่อนก็จักพูดภาษาอันธกะ. แต่ถ้าไม่ได้ยินคำพูดของมารดา
และบิดาทั้ง 2 นั้น ก็จักพูดภาษามาคธี1
แม้ทารกใดเกิดในป่าใหญ่ไม่มีบ้าน คนอื่นที่ชื่อว่าจะพูดด้วย
ก็ไม่มีในที่นั้น, ทารกนั้นเมื่อจะเริ่มพูดตามธรรมดาของตน ก็จักพูด
ภาษามาคธีนั้นแล. ภาษามาคธีมีมากในที่ทั้งปวง คือ ในนรก, ใน
กำเนิดดิรัจฉาน, ในเปตติวิสัย, ในมนุษยโลก ในเทวโลก. บรรดา
ภาษาของสัตว์ในภูมินั้น ๆ ภาษาที่เหลือ เช่น โอฏฏภาษา, กิราตภาษา,
อันธกภาษา, โยนกภาษาและทมิฬภาษาเป็นต้น ย่อมดิ้นได้, มาคธี-
ภาษานี้เพียงภาษาเดียวเท่านั้น นับว่าเป็นพรหมโวหารและอริยโวหาร
ตามเป็นจริง ย่อมไม่ดิ้น.
1. มาคธิกภาสํ = ภาษาของชนชาวมคธ.

แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อจะทรงยกพระพุทธพจน์คือพระ-
ไตรปิฎกขึ้นสู่แบบแผน ก็ทรงยกขึ้นไว้ในภาษามาคธีเท่านั้น. เพราะ
เหตุไร ? ก็เพราะเพื่อจะนำอรรถะมาให้รู้ได้โดยง่าย. จริงอยู่ พระ-
พุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผนด้วยมาคธีภาษา ยังไม่บรรลุถึงคลองแห่ง
โสตประสาทของพระอริยบุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทานั้น เป็นการเนิ่นช้า.
แต่เมื่อโสตประสาทพอพระพุทธพจน์กระทบแล้วเท่านั้น เนื้อความก็
ปรากฏตั้งร้อยนัย พันนัย. ก็พระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผ่นด้วย
ภาษาอื่น ก็ย่อมต้องเรียนเอาแบบตีความแล้วตีความเล่า. อันธรรมดาว่า
การเรียนพระพุทธพจน์แม้มากมายแล้วบรรลุปฏิสัมภิทา ย่อมไม่มีแก่
ปุถุชน, แต่พระอริยสาวกที่จะชื่อว่าไม่บรรลุปฏิสัมภิทานั้น ย่อมไม่มีเลย.
บทว่า ญาเณสุ ญานํ ความว่า ความรู้แตกฉานในญาณทั้ง 3
เหล่านั้น ของพระอริยบุคคลผู้กระทำญาณอันมีในที่ทั้งปวงให้เป็น
อารมณ์แล้วพิจารณาอยู่, หรือว่า ญาณอันถึงความกว้างขวางในญาณ
ทั้ง 3 เหล่านั้น ด้วยสามารถแห่งอารมณ์และกิจเป็นต้น ชื่อว่าปฏิภาณ
ปฏิสัมภิทา.
ก็บัณฑิตพึงทราบ ปฏิสัมภิทา 4 เหล่านี้ว่า ย่อมถึงซึ่งประเภท
ในฐานะ 2. ย่อมผ่องใสด้วยเหตุ 5. ย่อมถึงซึ่งประเภทในฐานะ 2
เป็นไฉน ? คือ ในเสกขภูมิ 1 อเสกขภูมิ 1.

ใน 2 ภูมินั้น ปฏิสัมภิทาของพระมหาเถระ 80 องค์ มีพระ-
เถระผู้มีนามอย่างนี้ คือ พระสารีบุตรแถระ. พระมหาโมคคัลลานเถระ,
พระมหากัสสปเถระ, พระมหากัจจายนเถระ, พระมหาโกฏฐิตเถระ
เป็นต้น ถึงซึ่งประเภทใน อเสกขภูมิ, ปฏิสัมภิทาของพระอริยบุคคล
ทั้งหลายมีพระอริยบุคคลผู้มีนามอย่างนี้ คือพระอานนทเถระ, ท่าน
จิตตคฤหบดี ท่านธรรมมิกอุบาสก, ท่านอุบาลีคฤหบดี, ขุชชุตตรา-
อุบาสิกา เป็นต้น ถึงซึ่งประเภทใน เสกขภูมิ, ปฏิสัมภิทาย่อมถึงซึ่ง
ประเภทในภูมิ 2 เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.
ปฏิสัมภิทา ย่อมผ่องใสด้วยเหตุ 5 ประการ เป็นไฉน ? ย่อม
ผ่องใสด้วยเหตุ 5 ประการ คือ ด้วยอธิคม, ด้วยปริยัติ, ด้วย
สวนะ, ด้วยปริปุจฉา, ด้วยบุปพพโยคะ.

ในเหตุ 5 ประการเหล่านั้น การบรรลุพระอรหัต ชื่อว่า อธิคม.
ก็ปฏิสัมภิทาของผู้บรรลุพระอรหัต ย่อมผ่องใส.
พระพุทธพจน์ ชื่อว่า ปริยัติ. ก็ปฏิสัมภิทาของผู้เรียนพระ-
พุทธพจน์นั้น ย่อมผ่องใส.
การฟังพระสัทธรรม ชื่อว่า สวนะ. ก็ปฏิสัมภิทาของผู้สนใจ
เรียนธรรมโดยเคารพ ย่อมผ่องใส.

กถาเป็นเครื่องวินิจฉัย คัณฐีบทและอรรถบท ในพระบาลีและ
อรรถกถาเป็นต้น ชื่อว่า ปริปุจฉา. ก็ปฏิสัมภิทาของผู้ที่สอบสวน
อรรถในพระพุทธพจน์ทั้งหลายมีพระบาลีเป็นต้นที่ตนเรียนแล้ว ย่อม
ผ่องใส.
การบำเพ็ญเพียรในวิปัสสนากรรมฐานอยู่เนือง ๆ จนกระทั่งถึง
สังขารุเปกขาญาณอันเป็นที่ใกล้อนุโลมญาณและโคตรภูญาณ เพราะ
ความที่การบำเพ็ญวิปัสสนานั้น อันพระโยคาวจรเคยปฏิบัติแล้วปฏิบัติ
เล่ามาในศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ชื่อว่า ปุพพโยคะ. ก็
ปฏิสัมภิทาของผู้บำเพ็ญเพียรมาแล้วในปางก่อน ย่อมผ่องใส ปฏิสัมภิทา
ย่อมผ่องใสด้วยเหตุ 5 ประการเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.
ก็ในบรรดาเหตุทั้ง 5 เหล่านี้ เหตุ 3 เหล่านี้ คือ ปริยัติ,
สวนะ, ปริปุจฉา เป็นเหตุมีกำลังเพื่อความแตกฉานแล. ปุพพโยคะ
เป็นปัจจัยมีกำลังเพื่อ. การบรรลุพระอรหัต.
ถามว่า หมวด 3 แห่งเหตุมีปริยัติเป็นต้น ย่อมมีเพื่อความ
แตกฉาน ไม่มีเพื่อความบรรลุหรือ ?
ตอบว่า มี, แต่ไม่ใช่อย่างนั้น. เพราะปริยัติ, สวนะ และ
ปริปุจฉา จะมีในปางก่อนหรือไม่ก็ตาม แต่เว้นการพิจารณาสังขาร
ธรรมด้วยการบำเพ็ญเพียรในปางก่อน และการพิจารณาสังขารในปัจจุ-
บันเสียแล้ว ชื่อว่า ปฏิสัมภิทา ก็มีไม่ได้. เหตุและปัจจัยทั้ง 2 นี้

รวมกันช่วยอุปถัมภ์ปฏิสัมภิทากระทำให้ผ่องใสได้ ด้วยประการฉะนี้.
ยังมีอาจารย์พวกอื่นอีก ได้กล่าวไว้ว่า
ปุพพโยคะ 1, พาหุสัจจะ 1, เทศภาษา 1,
อาคม 1, ปริปุจฉา 1, อธิคม 1, ครุสันนิสสัย 1,
และมิตตสมาบัติ 1. รวม 8 ประการนี้ ล้วนเป็น
ปัจจัยแก่ปฏิสัมภิทา
ดังนี้.
บรรดาธรรมทั้ง 8 ประการนั้น นัยดังที่กล่าวแล้วแล ชื่อว่า
ปุพพโยคะ.
ความฉลาดในศาสตร์นั้น ๆ และศิลปายตนะทั้งหลาย ชื่อว่า
พาหุสัจจะ.
ความฉลาดในภาษา 101 ภาษา ความฉลาดในภาษามาคธีโดย
วิเศษ ชื่อว่า เทศภาษา.
การเรียนพระพุทธพจน์โดยที่สุดแม้เพียงโอปัมมวรรค ชื่อว่า
อาคม.
การวินิจฉัยไต่สวนอรรถะแม้ในคาถา 1 ชื่อว่า ปริปุจฉา.
การเป็นพระโสดาบันก็ดี การเป็นพระสกทาคามีก็ดี การเป็น
พระอนาคามีก็ดี การเป็นพระอรหันต์ก็ดี ชื่อว่า อธิคม.
การอยู่ในสำนักครูผู้มากด้วยสุตะและปฏิภาณ ชื่อว่า ครุสัน-
นิสสัย.

การได้มิตรเห็นปานนั้นนั่นแล ชื่อว่า มิตตสมบัติ
บรรดาธรรมทั้ง 8 ประการนั้น พระพุทธเจ้าหลาย และ
พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย อาศัย ปุพพโยคะและอธิคม แล้วบรรลุ
ปฏิสัมภิทา ส่วนพระสาวกทั้งหลายอาศัยเหตุเหล่านี้แม้ทั้งหมดแล้ว
จึงบรรลุปฏิสัมภิทา.
ก็ในการบรรลุปฏิสัมภิทา ไม่มีการบำเพ็ญเพียรในกรรมฐาน
ภาวนาโดยเฉพาะอีก, ส่วนพระเสกขบุคคลมีผละและวิโมกขะของ
พระเสกขะเป็นที่สุด การบรรลุปฏิสัมภิทา ก็ย่อมมีได้.
อธิบายว่า ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ย่อมสำเร็จแก่บรรดาพระอริยะ
บุคคลด้วยอริยผลทั้งหลายนั่นแล ดุจทสพลญาณสำเร็จแก่พระตถาคต
ทั้งหลายฉะนั้น. ทางแห่งปฏิสัมภิทา 4 เหล่านี้ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ปฏิ-
สัมภิทามรรค,
ปกรณ์ คือปฏิสัมภิทามรรค ชื่อว่า ปฏิสัมภิทามรรค.
ปกรณ์,
ชื่อว่า ปกรณ์ เพราะอรรถว่า อรรถอันลึกซึ้ง แยกโดย
ประเภทต่าง ๆ ในปฏิสัมภิทานี้ ท่านกล่าวกระทำโดยประการต่าง ๆ.
ปฏิสัมภิทามรรคปกรณ์นี้นั้น สมบูรณ์ด้วยอรรถะ, พยัญชนะ,
ลึกซึ้ง, มีอรรถลึกซึ้ง, ประกาศโลกุตระ, ประกอบด้วยสุญญตา, ให้
สำเร็จผลวิเศษในการปฏิบัติ, ห้ามอกุศลอันเป็นปฏิปักษ์, เป็นรตนากร
บ่อเกิดแห่งญาณอันประเสริฐของพระโยคาวจร, เป็นเหตุอันวิเศษใน
การเยื้องกรายธรรมกถาของพระธรรมกถึกทั้งหลาย, เป็นเครื่องนำออก

จากทุกข์ของผู้กลัวภัยในสังสารวัฏ, มีประโยชน์ในการยังความชุ่มชื่น
ให้เกิดเพราะเห็นอุบายในการออกจากทุกข์นั้น, และมีประโยชน์ในการ
ทำลายอกุศลธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อนิสสรณธรรม1นั้น และมีประโยชน์
ให้เกิดความยินดีในหทัยแก่กัลยาณชน โดยการเปิดเผยอรรถแห่งบท
พระสูตรมีเนื้อความอันลึกซึ้งมิใช่น้อย อันท่านพระสารีบุตรผู้ธรรม
เสนาบดี ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ธรรมราชาภาษิตแล้ว เมื่อประทีป
ดวงใหญ่กล่าวคือพระสัทธรรม รุ่งเรืองแล้วด้วยแสงประทีปดวงใหญ่
คือพระสัพพัญญุตญาณที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว
โดยไม่ขัดข้อง ส่องสว่างกระจ่างไปทั่วทุกสถาน มีพระทัยสนิทเสน่หา
ประกอบไปด้วยพระมหากรุณาแผ่กว้างไปในปวงชน เพื่อกำจัดความ
มืดมนอนธการ กล่าวคือกิเลส ด้วยพระมหากรุณาในเวไนยชน ด้วย
การยกพระสัทธรรมนั้นขึ้นอธิบายให้กระจ่างแจ้งแก่ปวงชน ด้วยความ
เสน่หา ปรารถนาความรุ่งเรืองแห่งพระสัทธรรมไปตราบเท่า 5,000
พระพรรษา ผู้มีเจตจำนงค้ำจุนโลก ตามเยี่ยงอย่างพระศาสดา อัน
ท่านพระอานันทเถระสดับภาษิตนั้นแล้วยกขึ้นรวบรวมไว้ในคราวทำ
ปฐมมหาสังคีติ ตามที่ได้สดับมาแล้วนั่นแล.
ในปิฎกทั้ง 3 คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และ
พระอภิธรรมปิฎก, ปฏิสัมภิทามรรคปกรณ์นี้นั้น นับเนื่องในพระ-
สุตตันตปิฎก.
1. ธรรมเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ (ทุกฺขนิสฺสรณํ)

ในนิกายใหญ่ทั้ง 5 คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย
อังคุตตรนิกาย และขุททกนิกาย, ปฏิสัมภิทามรรคปกรณ์นี้นั้น นับเนื่อง
ในขุททกนิกาย.
ในองค์แห่งสัตถุศาสน์ทั้ง 9 คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ
คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรมะ เวทัลละ, ปฏิสัม-
ภิทามรรคปกรณ์นี้นั้น นับสงเคราะห์เข้าใน 2 องค์ คือ เคยยะ และ
เวยยากรณะ ตามที่เป็นได้.
ก็บรรดาพระธรรมขันธ์ทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์ อันพระ-
อานันทเถระผู้ธรรมภัณฑาคาริก อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นสู่
เอตทัคคะใน 5 ตำแหน่ง ปฏิญญาไว้อย่างนี้ว่า
ธรรมเหล่าใดอันเป็นไปแก่ข้าพเจ้า ธรรม
เหล่านั้น ข้าพเจ้าเรียนจากพระพุทธเจ้า 82,000
พระธรรมขันธ์, จากภิกษุอื่น 2,000 พระธรรม
ขันธ์ จึงรวมเป็น 84,000 พระธรรมขันธ์
ดังนี้
ปฏิสัมภิทามรรคปกรณ์นี้นั้นนับเข้าในพระธรรมขันธ์ มากกว่า
ร้อย ในธรรมขันธ์ 2,000 พระธรรมขันธ์ที่เรียนจากภิกษุ.
ปฏิสัมภิทามรรคปกรณ์ มี 3 วรรค คือ มหาวรรค, มัชฌิม-
วรรค, และจูฬวรรค.

ในวรรคหนึ่ง ๆ มีวรรคละ 10 กถา รวมเป็น 30 กถา มี
ญาณกถาเป็นต้น มีมาติกากถาเป็นปริโยสาน. ข้าพเจ้าจะพรรณนา
เนื้อความแห่งบทที่ไม่ซ้ำกันตามลำดับแห่งปฏิสัมภิทามรรคปกรณ์นี้ที่
กำหนดโดยส่วนเดียว ด้วยประการฉะนี้.
ก็ปกรณ์นี้ อันกุลบุตรทั้งผู้สวดทั้งผู้แสดงโดยปาฐะโดยอรรถ
ก็พึงสวดพึงแสดงโดยเคารพเถิด, ถึงแม้จะเรียนก็พึงเรียนพึงทรงจำไว้
โดยเคารพเถิด. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะปกรณ์นี้เป็นปกรณ์มี
อรรถลึกซึ้ง เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก เพื่อความดำรงมั่นอยู่ในโลก.
หากจะมีคำถามว่า ในกลา 30 กถาถ้วนนั้น เพราะเหตุไรท่าน
จงกล่าวญาณกถาไว้แต่ต้น ? ก็ตอบว่า เพราะญาณเป็นเบื้องต้นแห่ง
การปฏิบัติ เพราะเป็นธรรมเครื่องชำระมลทินแห่งการปฏิบัติ.
สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุเพราะเหตุนั้นแหละ เธอจง
ยังเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลายให้บริสุทธิ์ก่อน,
เบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลายคืออะไร ? คือศีล
อันบริสุทธิ์ดี และความเห็นตรง
ดังนี้1.
ก็ญาณกล่าวคือสัมมาทิฏฐิ ท่านกล่าวแล้วด้วยบทว่า อุชุกา ทิฏฺฐิ
แม้เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวญาณกถาไว้แต่ต้น. แม้คำอื่นพระผู้มี-
พระภาคเจ้าก็ได้ตรัสไว้อีกว่า
1. สํ.มหา. 19/687.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง 8 นั้น
สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธาน, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็สัมมาทิฏฐิ ย่อมเป็นประธานอย่างไร ? คือ ภิกษุ
รู้จักสัมมาทิฏฐิว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ รู้จักมิจฉาทิฏฐิ
ว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมา-
ทิฏฐิ.
ภิกษุรู้จักสัมมาสังกัปปะว่าเป็นสัมมาสัง-
กัปปะ, รู้จักมิจฉาสังกัปปะว่าเป็นมิจฉาสังกัปปะ.
ภิกษุรู้จักสัมมาวาจาว่าเป็นสัมมาวาจา,
รู้จักมิจฉาวาจาว่าเป็นมิจฉาวาจา.
ภิกษุรู้จักสัมมากัมมันตะว่าเป็นสัมมากัม-
มันตะ, รู้จักมิจฉากัมมันตะว่าเป็นมิจฉากัมมันตะ.
ภิกษุรู้จักสัมมาอาชีวะว่าเป็นสัมมาอาชีวะ,
ภิกษุรู้จักมิจฉาอาชีวะว่าเป็นมิจฉาอาชีวะ.
ภิกษุรู้จักสัมมาวายามะว่าเป็นสัมมาวายา-
มะ, ภิกษุรู้จักมิจฉาวายามะว่าเป็นมิจฉาวายามะ.
ภิกษุรู้จักสัมมาสติว่าเป็นสัมมาสติ, ภิกษุ
รู้จักมิจฉาสติว่าเป็นมิจฉาสติ.

ภิกษุรู้จักสัมมาสมาธิว่าเป็นสัมมาสมาธิ,
ภิกษุรู้จักมิจฉาสมาว่าเป็นมิจฉาสมาธิ. ความรู้
ของเธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ.
1
ท่านกล่าวญาณกถาไว้แต่ต้นก็เพื่อจะให้ญาณ กล่าวคือ ความเห็น
ชอบว่า เมื่อสัมมาทิฏฐิเป็นประธานสำเร็จ แล้วก็จักรู้ความที่มิจฉาทิฏฐิ
ทั้งหลายเป็นมิจฉาทิฏฐิดังนี้ ให้สำเร็จก่อน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนอุทายี เธอจงงดขันธ์ส่วนอดีตและ
อนาคตไว้ก่อน เราจักแสดงธรรมแต่เธอว่า เมื่อ
เหตุนี้มี ผลนี้ก็ย่อม เพราะเหตุนี้เกิด ผลนี้จึงเกิด,
เมื่อเหตุนี้ไม่มี ผลนี้ก็ย่อมไม่มี เพราะเหตุนี้ดับ
ผลนี้ก็ย่อมดับ
ดังนี้.2
และ เพราะเว้นปุพพันตทิฏฐิและอปรันตทิฏฐิแล้วกล่าวญาณเท่านั้น
ท่านจึงกล่าวญาณกถาไว้แต่ต้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
อย่าเลย สุภัททะ ข้อที่ถามว่า สมณ-
พราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ได้ตรัสรู้ตามปฏิญญา
ของตน ๆ หรือ หรือว่าทั้งหมดไม่ได้ตรัสรู้ หรือ

1. ม.อุ. 14/254. 2. ม.ม. 13/371.

ว่าบางพวกไม่ได้ตรัสรู้ดังนี้นั้นจงงดไว้ก่อน. ดูก่อน
สุภัททะ เราจักแสดงธรรมแก่เธอ เธอจงตั้งใจ
ฟังธรรมนั้น จงมนสิการให้ดี, เราจักแสดง
ณ บัดนี้" ดังนี้.
1
และ เพราะเว้นวาทะของพวกสมณพราหมณ์ปุถุชนฝ่ายปรัปปวาท
ทั้งหลายเสีย แล้วแสดงอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐ และ เพราะ
ญาณ กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิในอัฏฐังคิกมรรคเป็นประธาน ท่านจึง
กล่าวญาณกถาไว้แต่ต้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย องค์แห่งการบรรลุ
โสดาบัน 4 อย่างเหล่านี้ คือ
1. สปฺปุริสสํเสโว การคบหากับสัตบุรุษ
2. สทฺธมฺมสฺสวนํ การฟังพระสัทธรรม
3. โยนิโสมนสิกาโร การทำไว้ในใจโดยแยบคาย
4. ธมฺมานุธมฺมปฏิปตฺติ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.
2
และตรัสว่า
1. ที.มหา. 10/138. 2. ที.ปา. 11/240.

กุลบุตรเกิดสัทธาแล้ว ย่อมเข้าไปใกล้
เมื่อเข้าไปใกล้ ย่อมนั่งใกล้ เมื่อนั่งใกล้ ย่อม
เงี่ยหูลง เมื่อเงี่ยหูลงแล้ว ย่อมฟังธรรม ครั้น
ฟังธรรมแล้ว ย่อมทรงธรรมไว้ ย่อมพิจารณา
เนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้แล้ว เมื่อพิจารณาเนื้อ
ความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมทนซึ่งความพินิจ เมื่อ
ธรรมทนความพินิจได้อยู่ ฉันทะ ย่อมเกิด เมื่อ
เกิดฉันทะแล้ว ย่อมอุตสาหะ ครั้นอุตสาหะแล้ว
ย่อมไตร่ตรอง ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมตั้งความ
เพียร เมื่อมีตนส่งไปแล้ว ย่อมกระทำให้แจ้งชัด
ซึ่งปรมัตถสัจจะนั้นด้วยกาย และเห็นแจ้งแทง
ตลอดซึ่งปรมัตถสัจจะนั้นด้วยปัญญา
1 ดังนี้
และตรัสว่า
พระตถาคต อุบัติขึ้นในโลกนี้ ฯลฯ
พระตถาคตนั้นทรงแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น2
ดังนี้.

ท่านกล่าวญาณกถาไว้แต่ต้นทำ สุตมยญาณ ไว้เป็นญาณต้น
โดยอนุโลมสุตตันตบทมิใช่น้อยตามที่ได้กล่าวมาแล้วนี้เป็นอาทิ.
1. ม.ม. 13/238. 2. ที.มหา. 9/102.

ก็ญาณกถานี้นั้น แบ่งออกเป็น 2 คือ อุทเทส 1 นิทเทส 1.
ในอุทเทส ท่านแสดงญาณ 73 ด้วยสามารถแห่งมาติกาโดยนัยเป็นต้น
ว่า โสตาวธาเน ปญฺญา สุตมเย ญาณํ ซึ่งแปลว่า ปัญญาในการ
ทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นสุตมยญาณ ดังนี้.
ในนิทเทส ท่านแสดงญาณ 73 เหล่านั้นนั่นแหละ อย่าง
พิสดารโดยนัยเป็นต้นว่า กถํ โสตาวธาเน ปญฺญา สุตมเย
ญาณํ. อิเม ธมฺมา อภิญฺเญยฺยาติ โสตาวธานํ, ตํปชานนา
ปญฺญา สุตมเย ญาณํ
ซึ่งแปลว่า ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้
ฟังมาแล้ว เป็นสุตมยญาณอย่างไร ? ปัญญาอันเป็นเครื่องทรงจำธรรม
ที่ได้ฟังมาแล้ว คือเป็นเครื่องรู้ชัดซึ่งธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า
ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่งดังนี้ เป็นสุตมยญาณดังนี้.
จบ คันถารัมภกถา

มหาวรรค



อรรถกถาญาณกถามาติกา



1. อรรถกถาสุตมยญาณุทเทส


ว่าด้วย สุตมยญาณ


ในอุทเทสนั้นเบื้องแรก พึงทราบ โสต ศัพท์ ในคำนี้ว่า
โสตาวธาเน ปญฺญา สุตมเย ญาณํ มีประเภทแห่งอรรถเป็นอเนก.
จริงอย่างนั้น โสต ศัพท์นั้นย่อมปรากฏ
ในอรรถว่า มังสโสตะ, โสตวิญญาณ,
ญาณโสตะ, กระแสแห่งตัณหาเป็นต้น, สายธาร
แห่งกระแสน้ำ, อริยมรรค, และแม้ในความสืบ
ต่อแห่งจิต.

ก็ โสต ศัพท์ นี้ ย่อมปรากฏในอรรถว่า มังสโสตะ ได้ในคำ
เป็นต้นว่า โสตายตนะ, โสตธาตุ และโสตินทรีย์.1
ปรากฏในอรรถว่า โสตวิญญาณ ได้ในคำเป็นต้นว่า ได้ยิน
เสียงด้วยโสตะ
2.
1. อภิ. วิ. 35/ 101. 2. ม.มู. 12/ 14.