เมนู

พร้อมแล้วด้วยอำนาจแห่งการเข้านิโรธ. ฉะนั้นควรกล่าวว่า เป็นนิป-
ผันนะ คือ สำเร็จแล้ว ไม่ควรกล่าวว่า เป็นอนิปผันนะ คือ ยังไม่
สำเร็จ.
สมาบัติอันสงบแล้ว อันพระอริยะเสพแล้ว
มิได้ชื่อว่านิพพาน ในทิฏฐธรรมด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถานิโรธสมาปัตติญาณนิทเทส


ปรินิพพานญาณนิทเทส


[226] ปัญญาในความสิ้นไปแห่งความเป็นไปแห่งกิเลส และ
ขันธ์ของบุคคลผู้รู้สึกตัว เป็นปรินิพพานญาณอย่างไร ?
สัมปชานบุคคลในศาสนานี้ ย่อมยังความเป็นไปแห่งกามฉันทะ
ให้สิ้นไป ด้วยเนกขัมมะ ฯลฯ แห่งความพยาบาท ให้สิ้นไป ด้วย
ความไม่พยาบาท ฯลฯ แห่งถีนมิทธะให้สิ้นไป ด้วยอาโลกสัญญา ฯลฯ
แห่งอุทธัจจะให้สิ้นไป ด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ แห่งวิจิกิจฉาให้สิ้นไป
ด้วยการกำหนดธรรม ฯลฯ แห่งอวิชชาให้สิ้นไป ด้วยญาณ ฯลฯ
แห่งความไม่ยินดี ด้วยความปราโมทย์ ยังความเป็นไปแห่งนิวรณ์ให้สิ้น
ไป ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ยังความเป็นไปแห่งกิเลสทั้งปวงให้ในรูป ด้วย
อรหัตมรรค.

อีกประการหนึ่ง ความเป็นไปแห่งตานี้แล ของสัมปชาน
บุคคลผู้นิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ย่อมสิ้นไป และความ
เป็นไปแห่งตาอื่นย่อมไม่เกิดขึ้น ความเป็นไปแห่งหู ฯลฯ ความเป็นไป
แห่งจมูก ฯล ฯ ความเป็นไปแห่งลิ้น ฯลฯ ความเป็นไปแห่งกาย ฯลฯ ความ
เป็นไปแห่งใจนี้แล ของสัมปชานบุคคลผู้นิพพาน ด้วยอนุปาทิเสส
นิพพานธาตุ ย่อมสิ้นไป และความเป็นไปแห่งใจอื่นย่อมไม่เกิดขึ้น
ปัญญาในความสิ้นไปแห่งความเป็นไปแห่งกิเลสและขันธ์ ของสัมปชาน
บุคคลนี้เป็นปรินิพพานญาณ.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความสิ้นไปแห่ง
ความเป็นไปแห่งกิเลสและขันธ์ของบุคคลผู้รู้สึกตัว เป็นปรินิพพาน.


35. อรรถกถาปรินิพพานญาณนิทเทส


[226]พึงทราบวินิจฉัยในปรินิพพานญาณนิทเทสดังต่อไปนี้.
บทว่า อิธ คือในศาสนานี้. บทว่า สมฺปชาโน - ผู้รู้สึกตัว ความว่า
ผู้รู้สึกตัวด้วย สัมปชัญญะ 4 เหล่านี้ คือ
สาตถกสัมปชัญญะ - ความรู้ตัวในกิจที่ประโยชน์แก่ตัว 1
สัปปายสัมปชัญญะ - ความรู้ตัวในปัจจัยที่สบาย 1