เมนู

เพียงความเป็นไปแห่งการหายใจเข้าและการหายใจออก มิใช่กล่าวถึง
ด้วยสามารถการทำหายใจเข้าหายใจออกเป็นอารมณ์. ส่วนความพิสดาร
ในบทนี้จักมีแจ้งในอานาปานกถา.
จบ อรรถกถาอานันตริกสมาธิญาณนิทเทส


อรณวิหารญาณนิทเทส


[215] ทัสนาธิปไตย วิหาราธิคมอันสงบ และปัญญาใน
ความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในผลสมาบัติอันประณีต เป็นอรณ-
วิหารญาณอย่างไร ?
คำว่า ทสฺสนาธิปเตยฺยํ ความว่า อนิจจานุปัสนา ทุกขา-
นุปัสนา อนัตตานุปัสนา การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง การพิจารณา
เห็นความทุกข์ การพิจารณาเห็นความเป็นอนัตตา ในรูป ในเวทนา
ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ
เป็นทัสนาธิปไตยแต่ละอย่าง ๆ.
[216]คำว่า สนฺโต จ วิหาราธิคโม ความว่า สุญญต-
วิหาร อนิมิตวิหาร อัปปณิหิตวิหาร เป็นวิหาราธิคมอันสงบแต่ละ
อย่าง ๆ .

คำว่า ปณีตาธิมุตฺตตา ความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปใน
ธรรมอันว่างเปล่า ความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในธรรมอันไม่มีนิมิต
ความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในธรรมอันไม่มีที่ตั้ง และความที่จิต
เป็นธรรมชาติน้อมไปในผลสมาบัติอันประณีตและอย่าง ๆ
คำว่า อรณวิหาโร ความว่า ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน
จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญาตน-
สมาบัติ เป็นอรณวิหารแต่ละอย่าง ๆ.
คำว่า อรณวิหาโร ความว่า ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะอรรถว่า
กระไร ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะอรรถว่า นำเสียงซึ่งนิวรณด้วยปฐม-
ฌาน นำเสียซึ่งวิตกวิจารด้วยททุติยฌาน นำเสียซึ่งปีติด้วยตติยฌาน
นำเสียซึ่งสุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน นำเสียซึ่งรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา-
นานัตตสัญญา ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ นำเสียซึ่งอากาสานัญ-
จายตนสัญญา ด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ นำเสียซึ่งวิญญาณัญจา-
ยตนสัญญา ด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ นำเสียซึ่งอากิญจัญญายตน-
สัญญา ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นี้ชื่อว่าอรณวิหาร.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ทัสนาธิปไตย วิหาราธิคม
อันสงบ และปัญญาในความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในผลสมาบัติอัน
ประณีต เป็นอรณวิหารญาณ.

33. อรรถกถาอรณวิหารญาณนิทเทส


[215 - 216] พึงทราบวินิจฉัยในอรณวิหารญาณนิทเทส ดัง
ต่อไปนี้. อนิจจานุปัสนาเป็นต้น มีเนื้อความได้กล่าวไว้แล้ว.
บทว่า สุญฺญโต วิหาโร - สุญญตวิหาร ได้แก่ อรหัตผล-
สมาบัติอันเป็นไปแล้วโดยอาการแห่งสุญญตะคือความว่างเปล่า ของผู้ตั้ง
อยู่ในอนัตตานุปัสนา.
บทว่า อนิมิตฺโต วิหาโร - อนิมิตวิหาร ได้แก่ อรหัตผล-
สมาบัติอันเป็นไปแล้วโดยอาการแห่งอนิมิตตะ คือไม่มีนิมิต ของผู้ตั้งอยู่
ในอนิจจานุปัสนา.
บทว่า อปฺปณิหิโต วิหาโร - อัปปณิหิตวิหาร ได้แก่ อรหัต-
ผลสมาบัติโดยอาการแห่งอัปปณิหิตะ คือ ไม่ตั้งอยู่ ของผู้ตั้งอยู่ในทุกขา-
นุปัสนา.
บทว่า สุญฺญเต อธิมุตฺตตา ความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อม
ไปในธรรมอันว่างเปล่า ได้แก่ ความที่จิตน้อมไปในธรรมชาติอันว่าง-
เปล่า ด้วยสามารถแห่งปัญญาอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งผลสมาบัติ. แม้
ในสองบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
ด้วยบทมีอาทิว่า ปฐมํ ฌานํ - ปฐมฌาน ท่านกล่าวถึงฌาน
สมาบัติอันเป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาของผู้ใคร่ เพื่อจะเข้าถึงอรหัตผล-