เมนู

กามาสวะทั้งสิ้น ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่ร่วมกันกับ
กามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไป
ในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้.
ภวาสวะ อวิชชาสวะ ย่อมในรูปไม่มีส่วนเหลือด้วยอรหัตมรรค
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตมรรคนี้.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการตัดอาสวะ
ขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานัน-
ตริกสมาธิญาณ.

อรรถกถาอานันตริกสมาธิญาณนิทเทส


[211 - 214] พึงทราบวินิจฉัยในอานันตริกสมาธิญาณนิทเทส
ดังต่อไปนี้. ในบทมีอาทิว่า เนกฺขมฺมวเสน - ด้วยสามารถแห่งเนก-
ขัมมะมีอธิบายดังต่อไปนี้ ธรรมทั้งหลาย คือ เนกขัมมะ อัพยาบาท
อาโลกสัญญา การกำหนดธรรมที่ไม่ฟุ้งซ่าน ญาณและปราโมทย์
ประกอบด้วยอุปจารฌาน ของพระสุกขวิปัสสก เป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส
นั้น ๆ สัมปยุตด้วยจิตดวงเดียวเท่านั้น.
บทว่า จิตฺตสฺส เอกคฺคตา อวิกฺเขโป - เอกัคตาจิตอันไม่
ฟุ้งซ่าน คือ ความเป็นจิตเลิศดวงเดียว ชื่อว่า เอกัคตา. ชื่อว่า

อวิกเขปะ เพราะจิตไม่ฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ด้วยเอกัคตานั้น.
อธิบายว่า ความไม่ฟุ้งซ่าน กล่าวคือ ความที่จิตเป็นเอกัคตา.
บทว่า สมาธิ ความว่า ชื่อว่าสมาธิ เพราะจิตตั้งอยู่เสมอใน
อารมณ์เดียว.
บทว่า ตสฺส สมาธิสฺส วเสน - ด้วยอำนาจแห่งสมาธินั้น
คือ ด้วยอำนาจแห่งสมาธิมีประการดังกล่าวแล้ว เพราะรู้ตามความเป็น
จริงแห่งจิตตั้งมั่นแล้ว ด้วยอุปจารสมาธิ.
บทว่า อุปฺปชฺชติ ญาณํ - ญาณย่อมเกิดขึ้น คือ มรรคญาณ
ย่อมเกิดขึ้นตามลำดับ.
บทว่า ขียนฺติ - ย่อมสิ้นไป ด้วยสามารถการตัดขาด.
บทว่า อิติ เป็นบทสรุปอรรถมีประการดังกล่าวแล้ว.
บทว่า ปฐมํ สมโถ - สมถะมีก่อน คือ สมาธิย่อมมีในส่วน
เบื้องต้น.
บทว่า ปจฺฉา ฌาณํ - ญาณมีภายหลัง คือ ญาณย่อมมีใน
ขณะมรรค ในส่วนหลัง.
บทว่า กามาสโว - กามาสวะ คือ ราคะประกอบด้วยกามคุณ.
บทว่า ภวาสโว - ภวาสวะ คือ ฉันทราคะในรูปภพ อรูปภพ
ความใคร่ในฌาน ราคะเกิดร่วมกับสัสสตทิฏฐิ ความปรารถนาด้วย
สามารถแห่งภพ.

บทว่า ทิฏฺฐาสโว - ทิฏฐาสวะ คือ ทิฏฐิ 62.
บทว่า อวิชฺชาสโว อวิชฺชาสโว - คือ ความไม่รู้ในฐานะ 8
มีทุกข์เป็นต้น. ท่านทำคำถามตามโอกาสด้วยสัตตมีวิภัตติ แล้วแสดง
ความสิ้นอาสวะด้วยมรรค ทำความสิ้นอาสวะด้วยบทมีอาทิว่า โสตา-
ปตฺติมคฺเตน
- ด้วยโสดาปัตติมรรค แล้วจึงทำคำตอบตามโอกาสด้วย
บทว่า เอตฺถ. ท่านอธิบายว่า ในขณะแห่งมรรค.
บทว่า อนวเสโส - ไม่มีส่วนเหลือ คือ อาสวะไม่มีส่วนเหลือ
ชื่อว่า อนวเสสะ.
บทว่า อปายคมนีโย - อันเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย ได้แก่
นรก กำเนิดเดียรัจฉาน เปรตวิสัยและอสุรกายทั้ง 4 นี้ ชื่อว่า อบาย
เพราะปราศจากความเจริญ คือความสุข.
ชื่อว่า อปายคมนีโย เพราะอรรถว่ายังบุคคลที่มีอาสวะให้ไป
สู่อบาย. ท่านกล่าวอาสวักขยกถาไว้แล้วในทุภโตวุฏฐานกถา.
บทว่า อวิกฺเขปวเสน - ด้วยสามารถแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน คือ
ด้วยสามารถแห่งสมาธิเป็นอุปนิสัยแห่งสมาธิอันเป็นไปอยู่.
ในบทว่า ปฐวีกสิณวเสน - ด้วยสามารถแห่งปฐวีกสิณ เป็น
อาทิมีความดังต่อไปนี้ ท่านกล่าวถึงกสิณ 10 ด้วยสามารถแห่งอัปปนา
สมาธิอันมีกสิณเป็นอารมณ์. ท่านกล่าวพุทธานุสติเป็นต้น มรณสติ
และอุปสมานุสติ ด้วยสามารถแห่งอุปจารฌาน. ท่านกล่าวอานาปาน

สติ และกายคตาสติ ด้วยสามารถแห่งอัปปนาสมาธิ. ท่านกล่าว
อสุภะ 10 ด้วยสามารถแห่งปฐมฌาน.
การระลึกถึงเกิดขึ้นปรารภพระพุทธเจ้า ชื่อว่า พุทธานุสติ.
พุทธานุสตินี้ เป็นชื่อของสติมีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์มีอาทิว่า อิติปิ
โส ภควา อร1หํ.
ด้วยสามารถแห่งพุทธานุสตินั้น.
อนึ่ง การระลึกถึงเกิดขึ้นปรารภพระธรรม ชื่อว่า ธรรมานุสติ.
ธรรมนานุสตินี้ เป็นชื่อของสติมีพระธรรมคุณเป็นอารมณ์มีอาทิว่า
สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม1.
การระลึกถึงเกิดขึ้นปรารภพระสงฆ์ ชื่อว่า สังฆานุสติ. สังฆา-
นุสตินี้ เป็นชื่อของสติมีพระสังฆคุณเป็นอารมณ์มีอาทิว่า สุปฏิปนฺโน
ภควโต สาวกสงฺโฆ1.

การระลึกถึงเกิดขึ้นปรารภศีล ชื่อว่า สีลานุสติ. สีลานุสตินี้
เป็นชื่อของสติมีคุณของศีล คือ ความที่ศีลไม่ขาดเป็นต้นเป็นอารมณ์.
การระลึกถึงเกิดขึ้นปรารภจาคะ ชื่อว่า จาคานุสติ. จาคานุสตินี้
เป็นชื่อของสติมีคุณของการบริจาค คือ ความเป็นผู้เสียสละเป็นต้น
เป็นอารมณ์.
การระลึกถึงเกิดขึ้นปรารภเทวดาทั้งหลาย ชื่อว่า เทวตานุสติ.
เทวตานุสตินี้ เป็นชื่อของสติมีคุณคือศรัทธาเป็นต้นของตนเป็นอารมณ์
1. ม. มู. 12/95.

ตั้งเทวดาไว้ในที่เผชิญหน้า.
สติเกิดขึ้นปรารภอานาปานะ - หายใจเข้าหายใจออก ชื่อว่า
อานาปานสติ. อานาปานสตินี้ เป็นชื่อของสติมีอานาปานนิมิตเป็น
อารมณ์.
สติเกิดขึ้นปรารภความตาย ชื่อว่า มรณสติ. มรณสตินี้ เป็น
ชื่อของสติมีมรณะ กล่าวคือ การตัดชีวิตินทรีย์อันนับเนื่องในภพหนึ่ง
เป็นอารมณ์.
สติเป็นไปในสรีระที่เรียกว่า กาย เพราะเป็นบ่อเกิดแห่งสิ่ง
ปฏิกูลทั้งหลายมีผมเป็นต้นอันน่าเกลียด. หรือไปสู่กายเช่นนั้น ชื่อว่า
กายคตาสติ. เมื่อควรจะกล่าวว่า กายคตสติ ท่านไม่ทำเป็นรัสสะ
กล่าวว่า กายคตาสติ. แม้ในที่นี้ก็เหมือนกัน ท่านกล่าวว่า กาย-
คตาสติวเสน
กายคตาสตินี้ เป็นชื่อของสติมีปฏิกูลนิมิต ในส่วน
ของกายมีผมเป็นต้น เป็นอารมณ์.

การระลึกถึงเกิดขึ้นปรารภอุปสมะ - ความสงบ ชื่อว่า อุปสมา-
นุสติ.
อุปสมานุสตินี้ เป็นชื่อของสติมีการสงบทุกข์ทั้งปวง เป็นอารมณ์.
อสุภะ 10 มีอรรถได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง.
เพื่อแสดงถึงประเภทของอัปปนาสมาธิและอุปจารสมาธิ ท่าน
จึงกล่าว ทีฆํ อสฺสาสวเสน ด้วยสามารถแห่งการหายใจเข้ายาว
คือ ด้วยสามารถแห่งการหายใจเข้า ที่ท่านกล่าวแล้วว่า ทีฆํ - ยาว.

ดังที่ท่านกล่าวว่า ทีฆํ วา อสฺสสนฺโต ทีฆํ อสฺสสามีติ ปชานาติ-
เมื่อหายใจเข้ายาวย่อมรู้ว่า เราหายใจเข้ายาว. แม้ในบทที่เหลือก็มี
นัยนี้.
บทว่า ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ - การระงับกายสังขาร คือ
ระงับ คือ สงบกายสังขาร อันได้แก่การหายใจเข้าและการหายใจออก
อย่างหยาบ. ท่านกล่าวอัปปนาสมาธิ ด้วยหมวด 4 นี้ คือ ทีฆํ - ยาว 1
รสฺสํ - สั้น 1 รู้แจ้งกายทั้งปวง 1 ระงับกายสังขาร 1.
บทว่า ปีติปฏิสํเวที - รู้แจ้งปีติ คือ ทำปีติให้ปรากฏ.
บทว่า จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที - รู้เจ้าจิตตสังขาร คือ ทำ
จิตตสังขาร อันได้แก่ สัญญา เวทนา ให้ปรากฏ.
บทว่า อภิปฺปโมทยํ จิตฺตํ - ทำจิตให้บันเทิง.
บทว่า สมาทหํ จิตฺตํ - ความตั้งจิตไว้ คือ ตั้งจิตไว้เสมอใน
อารมณ์.
บทว่า วิโมจยํ จิตฺตํ - ความเปลื้องจิต คือ เปลื้องจิตจาก
นิวรณ์เป็นต้น.
ท่านกล่าวหมวด 4 คือ ปีติปฏิสํเวที - รู้แจ้งปีติ 1 สุขปฏิ-
สํเวที -
รู้แจ้งสุข 1 จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที - รู้แจ้งจิตตสังขาร 1
ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขารํ ระงับจิตสังขาร 1.

และหมวด 4 คือ จิตฺตปฏิสํเวที - รู้แจ้งจิต 1 อภิปฺปุโมทยํ
จิตฺตํ -
ทำจิตให้บันเทิง 1 สมาทหํ จิตฺตํ - ความตั้งจิตไว้ 1 วิโมจยํ
จิตฺตํ -
ความเปลื้องจิต 1 ด้วยอัปปนาสมาธิ และด้วยสมาธิสัมปยุตด้วย
วิปัสสนา.
บทว่า อนิจฺจานุปสฺสี - การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง คือ
ท่านกล่าวด้วยสามารถการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง.
บทว่า วิราคานุปสฺสี - การพิจารณาเห็นความคลายกำหนัด คือ
ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย.
บทว่า นิโรธานุปสิสี - การพิจารณาเห็นความดับ คือ ท่าน
กล่าวด้วยสามารถแห่งการทำลาย.
บทว่า ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี - การพิจารณาเห็นความสละคืน
ท่านกล่าวด้วยสามารถวุฏฐานคามินีวิปัสสนาเห็นแจ้งการออกไป.
จริงอยู่ การพิจารณาเห็นความสละคืนนั้น ย่อมสละกิเลสกับ
ด้วยขันธาภิสังขาร ด้วยสามารถทังคะ อนึ่ง ย่อมแล่นไปเพราะ
น้อมจิตไปในนิพพาน อันตรงกันข้ามกับกิเลสนั้น ด้วยเห็นโทษใน
สังขตธรรม. ท่านกล่าวหมวด 4 นี้ ด้วยสามารถแห่งสมาธิอันสัมปยุต
ด้วยวิปัสสนา.
อนึ่ง ในบทนี้ว่า อสฺสาสวเสน ปสฺสาสวเสน - ด้วยสามารถ
แห่งการหายใจเข้า ด้วยสามารถแห่งการหายใจออก ท่านกล่าวถือเอา

เพียงความเป็นไปแห่งการหายใจเข้าและการหายใจออก มิใช่กล่าวถึง
ด้วยสามารถการทำหายใจเข้าหายใจออกเป็นอารมณ์. ส่วนความพิสดาร
ในบทนี้จักมีแจ้งในอานาปานกถา.
จบ อรรถกถาอานันตริกสมาธิญาณนิทเทส


อรณวิหารญาณนิทเทส


[215] ทัสนาธิปไตย วิหาราธิคมอันสงบ และปัญญาใน
ความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในผลสมาบัติอันประณีต เป็นอรณ-
วิหารญาณอย่างไร ?
คำว่า ทสฺสนาธิปเตยฺยํ ความว่า อนิจจานุปัสนา ทุกขา-
นุปัสนา อนัตตานุปัสนา การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง การพิจารณา
เห็นความทุกข์ การพิจารณาเห็นความเป็นอนัตตา ในรูป ในเวทนา
ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ
เป็นทัสนาธิปไตยแต่ละอย่าง ๆ.
[216]คำว่า สนฺโต จ วิหาราธิคโม ความว่า สุญญต-
วิหาร อนิมิตวิหาร อัปปณิหิตวิหาร เป็นวิหาราธิคมอันสงบแต่ละ
อย่าง ๆ .