เมนู

กามาสวะทั้งสิ้น ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่ร่วมกันกับ
กามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไป
ในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้.
ภวาสวะ อวิชชาสวะ ย่อมในรูปไม่มีส่วนเหลือด้วยอรหัตมรรค
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตมรรคนี้.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการตัดอาสวะ
ขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานัน-
ตริกสมาธิญาณ.

อรรถกถาอานันตริกสมาธิญาณนิทเทส


[211 - 214] พึงทราบวินิจฉัยในอานันตริกสมาธิญาณนิทเทส
ดังต่อไปนี้. ในบทมีอาทิว่า เนกฺขมฺมวเสน - ด้วยสามารถแห่งเนก-
ขัมมะมีอธิบายดังต่อไปนี้ ธรรมทั้งหลาย คือ เนกขัมมะ อัพยาบาท
อาโลกสัญญา การกำหนดธรรมที่ไม่ฟุ้งซ่าน ญาณและปราโมทย์
ประกอบด้วยอุปจารฌาน ของพระสุกขวิปัสสก เป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส
นั้น ๆ สัมปยุตด้วยจิตดวงเดียวเท่านั้น.
บทว่า จิตฺตสฺส เอกคฺคตา อวิกฺเขโป - เอกัคตาจิตอันไม่
ฟุ้งซ่าน คือ ความเป็นจิตเลิศดวงเดียว ชื่อว่า เอกัคตา. ชื่อว่า