เมนู

อรรถกถาญาณัตตยานิทเทส


[202 - 210]พึงทราบวินิจฉัยในญาณัตตยานิทเทส ดังต่อ
ไปนี้.
บทว่า นิมิตฺตํ ได้แก่ สังขารนิมิต.
บทว่า อนิมิตฺเต ได้แก่ นิพพานอันเป็นปฏิปักษ์กับสังขาร
นิมิต.
บทว่า อธิมุตฺตตฺตา .เพราะจิตน้อมไป คือ เพราะปล่อยจิต
ไปด้วยความน้อมไปในนิพพานนั้น.
บทว่า ผุสฺส ผุสฺส วยํ ปสฺสติ - ถูกต้องแล้ว ถูกต้องแล้ว
ย่อมเห็นความเสื่อม คือ ถูกต้องแล้ว ถูกต้องแล้ว ซึ่งสังขารนิมิตด้วย
ญาณ ย่อมเห็นความเสื่อมไฝแห่งสังขารนิมิตนั้น ด้วยวิปัสสนาญาณ.
ด้วยบทนี้เป็นอันสำเร็จถึงภังคานุปัสนาญาณ. ภังคานุปัสนานั้น ยัง
อนิจจานุปัสนาให้สำเร็จ. อนิจจานุปัสนา ยังทุกขานุปัสนาให้สำเร็จ
เพราะสิ่งที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์. ทุกขานุปัสนานั้น ยังอนัตตานุปัสนา
ให้สำเร็จ เพราะสิ่งที่เป็นทุกข์เป็นอนัตตา. เพราะเหตุนั้นเป็นอันท่าน
กล่าวถึงอนุปัสนา 3 ในบทนี้ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า อนิมิตฺโต วิหาโร - วิหารธรรมชื่อว่าอนิมิตวิหาร คือ
วิหารธรรมอันเป็นหมวด 3 แห่งวิปัสสนานั้น ชื่อว่าอนิมิตวิหาร

เพราะเหตุนิมิตโดยความเป็นภัย.
บทว่า ปณิธึ ได้แก่ ตัณหา.
บทว่า อปฺปณิหิเต - ในนิพพานอันไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง คือ
ในนิพพานอันเป็นปฏิปักษ์ของตัณหา.
บทว่า อภินิเรสํ ได้แก่ การถือมั่นตัวตน.
บทว่า สุญฺญเต ได้แก่ นิพพานอันว่างจากตัวตน.
บทว่า สุญฺญโต คือ ความสูญนั่นแหละ ชื่อว่า สุญญต-
วิหาร.

บทว่า ปวตฺตํ อชฺฌุเปกฺขิตฺวา - เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คือ
เพิกเฉยความเป็นไปอันเป็นวิบากด้วยความวางเฉยในสังขาร. จริงอยู่
สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้พอใจความเป็นไปอันเป็นวิบากกล่าวคือ สุคติ. แต่
พระโยคาวจรนี้ประสงค์จะเข้าผลสมาบัติ เห็นความเป็นไปแม้นั้นและ
สังขารทั้งปวงโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเพิกเฉยเสีย. เพราะว่าครั้น
เห็นอย่างนี้แล้วย่อมสามารถเข้าผลสมาบัติได้. ไม่สามารถเข้าได้โดย
ประการอื่น.
บทว่า อาวชฺชิตฺวา - พิจารณาแล้ว คือ พิจารณาด้วยอาวัชชนะ.
บทว่า สมาปชฺชติ - คือ ย่อมเข้าถึงผลสมาบัติ.

บทว่า อนิมิตฺตา สมาปตฺติ - สมาบัติอันหานิมิตมิได้ คือ
ชื่อว่าสมาบัติอันไม่มีนิมิต เพราะเห็นนิมิตโดยความเป็นภัยแล้วเข้าถึง.
บทว่า อนิมิตฺตวิหารสมาปตติ - วิหารสมาบัติอันหานิมิตมิได้
คือ มีเป็นสองอย่างด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาวิหาร และด้วยอำนาจแห่ง
ผลมาบัติ.
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะจำแนกสังขารนิมิตแล้วแสดงจึง
กล่าวบทมีอาทิว่า รูปนิมิตฺตํ. ควรจะกล่าวในการถือเอาชราและมรณะ
ท่านกล่าวไว้ก่อนแล้ว. เมื่อกล่าวด้วยบทมีอาทิว่า อญฺโญ อนิมิตฺต-
วิหาโร
อนิมิตวิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง พระสารีบุตรเถระแสดง
สรุปไว้แล้ว. ญาณในความต่างวิปัสสนาวิหารของผู้ตั้งอยู่ในสังขารุเบก-
ขาญาณอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งผลสมาบัติ ชื่อว่าวิหารัฏฐญาณ ญาณ
ในความต่างกันแห่งผลมาบัติ ชื่อว่าสมาปัตตัฏฐญาณ. ญาณในความ
ต่างกันทั้งสองอย่างนั้น ชื่อว่าวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ

พระโยคาวจรผู้ประสงค์จะน้อมไปด้วยวิปัสสนาวิหาร ย่อมยัง
วิปัสสนาวิหารให้เป็นไป. ประสงค์ยังจะน้อมไปด้วยผลสมาบัติวิหารขวน-
ขวายไปตามลำดับของวิปัสสนา ย่อมยังผลสมาบัติให้เป็นไป. ประสงค์
จะน้อมไปด้วยทั้งสองอย่างนั้น ย่อมยังทั้งสองอย่างนั้นให้เป็นไป. มี 3

อย่างด้วยประสงค์ถึงบุคคล ด้วยประการฉะนี้. บทที่เหลืออันควรกล่าว
ไว้ในที่นี้ท่านกล่าวไว้แล้วในการพรรณนาถึงสังขารุเบกขาญาณแล.
จบ อรรถกถาญาณัตตยนิทเทส


อานันตริกสมาธิญาณนิทเทส


[211] ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่ง
สมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณอย่างไร ?
เอกัคตาจิตอันไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ เป็นสมาธิ
ญาณเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสมาธินั้น อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปด้วย
ญาณนั้น สมถะมีก่อน ญาณมีภายหลัง ด้วยประการดังนี้ ความสิ้น
ไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมีได้ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้นท่านจึง
กล่าวว่า ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิ
อันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ.
[212] คำว่า อาสวา ความว่า อาสวะเหล่านั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่านั้น คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ.
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน ทิฏฐาสวะทั้งสิ้น กามาสวะ
ภวาสวะ อวิชชาสวะ แต่ละอย่าง อันเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย ย่อม
สิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งโสดา-