เมนู

พึงทราบอรรถแห่งองค์มรรค คือ พละและโพชฌงค์ โดย
ทำนองเดียวกับนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบ อรรถกถาปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส


ญาณัตตยานิทเทส


[202]ปัญญาในความต่างแห่งวิหารธรรม เป็นวิหารัฐญาณ
ปัญญาในความต่างแห่งสมาบัติ เป็นสมาปัตตัฏฐญาณ ปัญญาในความ
ต่างแห่งวิหารสมาบัติ เป็นวิหารสมาปัตตัฏฐญาณอย่างไร ?
พระโยคาวจรพิจารณาเห็นสังขารนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิต
น้อมไปในนิพพานอันไม่มีสังขารนิมิต ถูกต้องแล้วซึ่งสังขารนิมิตด้วย
ญาณ ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนั้นชื่อว่า อนิมิต-
วิหาร
พิจารณาเห็นตัณหาอันเห็นอันโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไป
ในนิพพานอันไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้งถูกต้องแล้วตัณหาด้วยญาณ ย่อม
พิจารณาเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรม นั้นชื่อว่า อัปปณิหิตวิหาร
พิจารณาเห็นความถือมั่นว่าตนโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพาน
อันว่างจากตน ถูกต้องแล้วซึ่งความถือมั่นว่าตนด้วยญาณ ย่อมพิจารณา
เห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนั้นชื่อว่า สุญญตวิหาร.

[203] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นสังขารนิมิตโดยความเป็น
ภัย มิจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีสังขารนิมิต เพิกเฉยความเป็นไป
แล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีสังขารนิมิตแล้วย่อมเข้าสมาบัติ
นี้ชื่อว่า อนิมิตสมาบัติ พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งโดยความเป็น
ภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง เพิกเฉยความเป็น
ไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง แล้วย่อม
เข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตสมบัติ พิจารณาเห็นความถือมั่นว่าตน
โดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างจาก เพิกเฉยความ
เป็นไปตัว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ว่างจากตน แล้วย่อมเข้า
สมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตสมาบัติ.
[204] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นสังขารนิมิต โดยความ
เป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีสังขารนิมิต ถูกต้องแล้ว ๆ
ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอัน
เป็นที่ดับ ไม่มีสังขารนิมิต แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตวิหาร-
สมาบัติ
พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไป
ในนิพพานอันไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อม
ไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มี
ตัณหาเป็นที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิหารสมาบัติ
พิจารณาเห็นความถือมั่นว่าตนโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพาน

อันว่างจากตน ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็น
ไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ว่างจากตน แล้วย่อมเข้าสมาบัติ
นี้ชื่อว่า สุญญตวิหารสมาบัติ.
[205] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นรูปนิมิตโดยความเป็นภัย
มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีรูปนิมิต ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความ
เสื่อมไป วิหารธรรม นี้ชื่อว่า อนิมิตวิหาร พิจารณาเห็นตัณหาอัน
เป็นที่ตั้งแห่งรูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง
ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรม นี้ชื่อว่า อัปปณิหิต-
วิหาร
พิจารณาเห็นความถือมั่นว่ารูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไป
ในนิพพานอันว่างเปล่า ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป วิหาร-
ธรรมนี้ ชื่อว่า สุญญตวิหาร.
[206] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นรูปนิมิตโดยความเป็นภัย
มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึง
ถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีนิมิต แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิ-
มิตสมาบัติ
พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งรูปโดยความเป็นภัย
มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึง
ถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่ที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปป-
ณิหิตสมาบัติ
พิจารณาเห็นความถือมั่นว่ารูปโดยความเป็นภัย มีจิต
น้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่า เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึง

นิพพานอันเป็นที่ดับ ว่างเปล่าแล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญต-
สมาบัติ.

[207] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นรูปนิมิตโดยความเป็นภัย
มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อม
ไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีนิมิต
แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตวิหารสมาบัติ พิจารณาเห็น
ตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งรูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอัน
ไม่มีที่ตั้ง ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว
คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า
อัปปณิหิตวิหารสมาบัติ พิจารณาเห็นความถือมั่นว่ารูปโดยความเป็น
ภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่า ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความ
เสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับว่าง
เปล่าแล้วย่อมเข้าสมาบัติ. นี้ชื่อว่า สุญญตวิหารสมาบัติ.
[208] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นเวทนานิมิต ฯลฯ สัญญา-
นิมิต สังขารนิมิต วิญญาณนิมิต จักษุ ฯลฯ
พระโยคาวจรพิจารณาเห็นชราและมรณะนิมิตโดยความเป็นภัย
มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อม
ไป วิหารธรรมนี้ ชื่อว่า อนิมิตวิหาร พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็น
ที่ตั้งแห่งชราและมรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันเป็น

มีที่ตั้ง ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรม นี้ชื่อว่า
อัปปณิหิตวิหาร พิจารณาเห็นความถือมั่นชราและมรณะโดยความเป็น
ภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่า ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความ
เสื่อมไป วิหารธรรมนี้ ชื่อว่า สุญญตวิหาร.
[209] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นชราและมรณะนิมิตโดย
ความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต เพิกเฉยความเป็น
ไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีนิมิต แล้วย่อมเข้าสมาบัติ
นี้ชื่อว่า อนิมิตสมาบัติ พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งชราและ
มรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง เพิกเฉย
ความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีที่ตั้ง แล้วย่อม
เข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตสมาบัติ พิจารณาความถือมั่นชราและ
มรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่า เพิกเฉย
ความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ว่างเปล่า แล้วย่อมเข้า
สมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตสมาบัติ.
[210] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นชราและมรณะนิมิตโดย
ความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อม
เห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็น
ที่ดับ ไม่มีนิมิต แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตวิหารสมาบัติ
พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งชราและมรณะโดยความเป็นภัย มี

จิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป
เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีที่ตั้ง แล้ว
ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิหารสมาบัติ พิจารณาเห็นความ
ยึดมั่นชราและมรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่าง
เปล่า ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว
คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ว่างเปล่า แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า
สุญญตวิหารสมบัติ อนิมิตตวิหารเป็นอย่างหนึ่ง อัปปณิหิตวิหารเป็น
อย่างหนึ่ง สุญญตวิหารเป็นอย่างหนึ่ง อนิมิตสมาบัติเป็นอย่างนี้
อัปปณิหิตสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง อัปปณิหิตวิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง
วิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง อัปปณิหิตวิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง
สุญญตวิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่ง
วิหารธรรม เป็นวิหารรัฏฐญาณ ปัญญาในความแตกต่างแห่งสมาบัติเป็น
สมาปัตตัฏฐญาณ ปัญญาในความต่างแห่งวิหารสมาบัติเป็นวิหารสมา-
ปัตตัฏฐญาณ.

อรรถกถาญาณัตตยานิทเทส


[202 - 210]พึงทราบวินิจฉัยในญาณัตตยานิทเทส ดังต่อ
ไปนี้.
บทว่า นิมิตฺตํ ได้แก่ สังขารนิมิต.
บทว่า อนิมิตฺเต ได้แก่ นิพพานอันเป็นปฏิปักษ์กับสังขาร
นิมิต.
บทว่า อธิมุตฺตตฺตา .เพราะจิตน้อมไป คือ เพราะปล่อยจิต
ไปด้วยความน้อมไปในนิพพานนั้น.
บทว่า ผุสฺส ผุสฺส วยํ ปสฺสติ - ถูกต้องแล้ว ถูกต้องแล้ว
ย่อมเห็นความเสื่อม คือ ถูกต้องแล้ว ถูกต้องแล้ว ซึ่งสังขารนิมิตด้วย
ญาณ ย่อมเห็นความเสื่อมไฝแห่งสังขารนิมิตนั้น ด้วยวิปัสสนาญาณ.
ด้วยบทนี้เป็นอันสำเร็จถึงภังคานุปัสนาญาณ. ภังคานุปัสนานั้น ยัง
อนิจจานุปัสนาให้สำเร็จ. อนิจจานุปัสนา ยังทุกขานุปัสนาให้สำเร็จ
เพราะสิ่งที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์. ทุกขานุปัสนานั้น ยังอนัตตานุปัสนา
ให้สำเร็จ เพราะสิ่งที่เป็นทุกข์เป็นอนัตตา. เพราะเหตุนั้นเป็นอันท่าน
กล่าวถึงอนุปัสนา 3 ในบทนี้ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า อนิมิตฺโต วิหาโร - วิหารธรรมชื่อว่าอนิมิตวิหาร คือ
วิหารธรรมอันเป็นหมวด 3 แห่งวิปัสสนานั้น ชื่อว่าอนิมิตวิหาร