เมนู

บทว่า ผสฺสิตา โหนฺติ - เป็นอันถูกต้องแล้ว คือ เป็นอัน
ถูกต้อง คือ ได้รับผลด้วยการถูกต้อง ด้วยการได้ และด้วยการถูกต้อง
ด้วยการแทงตลอด ท่านกล่าวญาณ 5 เหล่านี้ ด้วยสามารถสุตมยญาณ
แล้วในหนหลัง. ในที่นี้ท่านกล่าวด้วยสามารถยังกิจของตนให้สำเร็จ.
จบ อรรถกถาญาณปัญจกนิทเทส


ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส


[186] ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทา-
ญาณ ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญา
ในความต่างแห่งนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความ
ต่างแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณอย่างไร ?
สัทธินทรีย์เป็นธรรม วีริยินทรีย์เป็นธรรม สตินทรีย์เป็น
ธรรม สมาธินทรีย์เป็นธรรม ปัญญินทรีย์เป็นธรรม สัทธินทรีย์เป็น
ธรรมอย่างหนึ่ง วีริยินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง สตินทรีย์เป็นธรรม
อย่างหนึ่ง สมาธินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ปัญญินทรีย์เป็นธรรม
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้
เฉพาะธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ.

[187] สภาพว่าน้อมใจเธอเป็นอรรถ สภาพว่าประคองไว้
เป็นอรรถ สภาพว่าเข้าไปตั้งไว้เป็นอรรถ สภาพว่าไม่ฟุ้งซ่านเป็นอรรถ
สภาพว่าเห็นเป็นอรรถ สภาพว่าน้อมใจเชื่อเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาพ
ว่าประคองไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาพว่าเข้าไปตั้งไว้เป็นอรรถอย่าง
หนึ่ง สภาพว่าฟุ้งซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาพว่าเห็นเป็นอรรถอย่าง
หนึ่ง พระโยคาวจรรู้อรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะ
อรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าว
ว่า ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอรรูปฏิสัมภิทาญาณ.
[188] การระบุพยัญชนะและนิรุตติ เพื่อแสดงธรรม 5
ประการ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ 5 ประการ
ธรรมนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้
นิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณ เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้ด้วย
ญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความ
ต่างแห่งนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ.
[189] ญาณในธรรม 5 ในอรรถ 5 ญาณในนิรุตติ 10
ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่ง ญาณใน
นิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใดเป็น
อันรู้เฉพาะญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา-
ญาณ.

[190] สัทธาพละเป็นธรรม วีริยพละเป็นธรรม สติพละ
เป็นธรรม สมาธิพละเป็นธรรม ปัญญาพละเป็นธรรม สัทธาพละ
เป็นธรรมอย่างหนึ่ง วีริยพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง สติพละเป็นธรรม
อย่างหนึ่ง สมาธิพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง ปัญญาพละเป็นธรรมอย่าง
หนึ่ง พระโยคาวจรรู้ธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้ธรรม
ต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ

[191] สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็น
อรรถ สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้านเป็นอรรถ สภาพ
อันไม่หวั่นไหวเพราะความประมาทเป็นอรรถ สภาพอันไม่หวั่นไหว
เพราะความฟุ้งซ่านเป็นอรรถ สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชาเป็น
อรรถ สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นอรรถ
อย่างหนึ่ง สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้านเป็นอรรถอย่าง
หนึ่ง สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความประมาทเป็นอรรถอย่างหนึ่ง
สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความฟุ้งซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาพอัน
ไม่หวั่นไหว เพราะอวิชชาเป็นอรรถอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้อรรถ

ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณ
นั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่ง
อรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ.
[192] การระบุพยัญชนะและนิรุตติ เพื่อแสดงธรรม 5
ประการ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ 5 ประการ
ธรรมนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้
นิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้
ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าว่า ปัญญาในความ
ต่างแห่งนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ.
[193] ญาณในธรรม 5 ประการ ญาณในอรรถ 5 ประการ
ญาณในนิรุตติ 10 ประการ ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในอรรถ
เป็นอย่างหนึ่ง ญาณในนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณต่าง ๆ
เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้น-
นั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่ง
ปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ.
[194] สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ วีริยสัมโพช-
ฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ เป็นธรรมแต่ละอย่าง ๆ สติสัมโพชฌงค์ ... อุเบกขา-

สัมโพชฌงค์ เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ๆ พระโยคาวจรรู้ธรรมต่าง ๆ เหล่านี้
ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล
เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็น
ธรรมปฏิสัมภิทาญาณ.
[195] สภาพที่ตั้งมั่น สภาพที่เลือกเฟ้น สภาพที่ประคอง
ไว้ สภาพที่ผ่านซ่านไป สภาพที่สงบ สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่าน สภาพที่
พิจารณาหาทาง สภาพที่เข้าไปตั้งอยู่ เป็นอรรถ ( แต่ละอย่าง) สภาพ
ที่ตั้งมั่น . . . สภาพที่พิจารณาหาทางเป็นอรรถอย่างหนึ่ง ๆ พระโยคาวจร
รู้อรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่าง ๆ เหล่านี้
ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความ
ต่างแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ.
[196] การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม 7 ประ-
การ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ 7 ประการ ธรรม
นิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุตติ
ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณ
นั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่ง
นิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ.
[197] ญาณ. ในธรรม 7 ประการ ญาณในอรรถ 7 ประการ
ญาณในนิรุตติ 14 ประการ ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณใน

อรรถเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณ
ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณ
นั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่ง
ปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ.
[198] สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัม-
มันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นธรรม
แต่ละอย่าง ๆ สัมมาทิฏฐิ. . . สัมมาสมาธิ เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ๆ พระ-
โยคาวจรรู้ธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรมต่าง ๆ
เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา
ในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ.
[199] สภาพที่เห็น สภาพที่ดำริ สภาพที่กำหนดเอา สภาพ
ที่เป็นสมุฏฐาน สภาพที่ขาวผ่อง สภาพที่ประคองไว้ สภาพที่ตั้งมั่น
สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอรรถแต่ละอย่าง ๆ ภาพที่เห็น... สภาพที่
ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอรรถอย่างหนึ่ง ๆ พระโยคาวจรรู้อรรถว่า ๆ เหล่านี้
ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล
เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็น
อรรถปฏิสัมภิทาญาณ.
[200] การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม 8 ประ -
การ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ 8 ประการ ธรรม

นิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุตติ
ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณ
นั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่ง
นิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ.
[201] ญาณในธรรม 8 ประการ ญาณในอรรถ 8 ประการ
ญาณในนิรุตติ 16 ประการ ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณใน
อรรถเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณ
ต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณ
นั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่ง
ปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่ง
อรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็น
ธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความต่างแห่งนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิ-
สัมภิทาญาณ ปัญญาในความต่างแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา-
ญาณ.

25 - 28. อรรถกถาปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส


186 - 201] พึงทราบวินิจฉัยในปฏิสัมภิทาญาณนิทเทสดังต่อ
ไปนี้. เพราะเมื่อท่านไม่กล่าวธรรมไว้ก็ไม่สามารถจะกล่าวถึงกิจของ
ธรรมนั้นได้. ฉะนั้น จึงไม่สนใจลำดับที่ท่านยกขึ้นชี้แจงธรรม
ทั้งหลายก่อน. อรรถแห่งธรรมเป็นต้นท่านได้กล่าวไว้แล้ว.
พระสารีบุตรเถระกล่าวธรรมอันนับเนื่องด้วย ธมฺม ศัพท์
ด้วยบทมีอาทิว่า สทฺธินฺทฺริยํ ธมฺโม - สัทธินทรีย์เป็นธรรม เมื่อจะ
แสดงอรรถแห่ง นานตฺต ศัพท์ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อญฺโญ สทฺธินฺทฺริยํ
ธมฺโม -
สัทธินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง. จริงอยู่ เมื่อท่านกล่าวว่า
อญฺโญ ธมฺโม เป็นธรรมอย่างหนึ่ง เป็นอันท่านแสดงถึงความต่าง
กันแห่งธรรมทั้งหลาย.
บทว่า ปฏิวิทิตา - รู้เฉพาะแล้ว คือ รู้โดยความเป็นธรรม
เฉพาะหน้า ชื่อว่า ปรากฏแล้ว. ด้วยบทนั้น ท่านกล่าวอรรถแห่ง
บทปฏิสัมภิทา.
พระสารีบุตรเถระแสดงถึงกิจมีการน้อมใจเชื่อเป็นต้น เป็น
อรรถแห่งศรัทธาเป็นต้นเหล่านั้น ด้วยบทมีอาทิว่า อธิโมกฺขฏฺโฐ
อตฺโถ -
สภาพว่าน้อมใจเชื่อเป็นอรรถ.