เมนู

บทว่า ปริฬาหนานตฺตํ - ความต่างแห่งความเร่าร้อน คือ ความ
ต่างแห่งความเร่าร้อน ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ความเร่าร้อนในรูป ความ
เร่าร้อนในเสียง เพราะความต่างแห่งฉันทะ.
บทว่า ปริเยสนานตฺตํ - ความต่างแห่งการแสวงหา คือ ความ
ต่างแห่งการแสวงหารูปเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะความต่างแห่งความ
เร่าร้อน.
บทว่า ลาภนานตฺตํ - ความต่างแห่งการได้ คือ ความต่างแห่ง
การได้รูปเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะความต่างแห่งการแสวงหา.
จบ อรรถกถาธรรมนานัตตญาณนิทเทส


ญาณปัญจกนิทเทส


[185] ปัญญาอันรู้ยิ่งเป็นญาตัฏฐญาณอย่างไร ปัญญาเครื่อง
กำหนดรู้เป็นติรณัฏฐญาณ ปัญญาเครื่องละเป็นปริจจาคัฏฐญาณ ปัญญา
เครื่องเจริญเป็นเอกรสัฏฐญาณ ปัญญาเครื่องกระทำให้แจ้ง เป็นผัสส-
นัฏฐญาณ.
พระโยคาวจรรู้ยิ่งธรรมใด ๆ แล้ว เป็นอันรู้ธรรมนั้น ๆ แล้ว
กำหนดรู้ธรรมใด ๆ แล้ว เป็นอันพิจารณาธรรมนั้น ๆ แล้ว ละธรรม
ใด ๆ ได้แล้ว เป็นอันสละธรรมนั้น ๆ แล้ว เจริญธรรมใด ๆ แล้ว

ธรรมนั้น ๆ ย่อมมีกิจเป็นอันเดียวกัน กระทำให้แจ้งธรรมใด ๆ แล้ว เป็น
อันถูกต้องตามธรรมนั้นๆ แล้ว.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาอันรู้ยิ่งเป็นญาตัฏฐ-
ญาณ ปัญญาเครื่องกำหนดรู้เป็นติรณัฏฐญาณ ปัญญาเครื่องละเป็น
ปริจจาคัฎฐญาณ ปัญญาเครื่องเจริญเป็นเอกรสัฏฐญาณ ปัญญาเครื่อง
กระทำให้แจ้งเป็นผัสสนัฏฐญาณ.


20 - 24. อรรถกถาญาณปัญจกนิทเทส


[185] พึงทราบวินิจฉัยในญาณปัญจกนิทเทสดังต่อไปนี้. ท่าน
ทำปุจฉาวิสัชนารวมเป็นอันเดียว เพราะมีความสัมพันธ์กันเป็นลำดับ
แห่งญาณ 5 เหล่านั้น.
บทว่า อภิญฺญาตา โหนฺติ - เป็นผู้รู้แจ้งธรรมแล้ว คือ เป็น
ผู้รู้ด้วยดี ด้วยสามารถรู้ลักษณะแห่งสภาวธรรม.
บทว่า ญาตา โหนฺติ - เป็นอันรู้ธรรมแล้ว คือ ชื่อว่า เป็น
อันรู้แล้ว เพราะรู้ตามสภาพ ด้วยสามารถแห่งญาตปริญญา. เป็นอันรู้
ธรรมเหล่านั้นแล้วด้วยญาณใด. ชื่อว่า ญาณ เพราะอรรถว่ารู้ญาณ
นั้น. พึงทราบการเชื่อมว่า ชื่อว่า ปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด. โดย
นัยแม้นี้พึงประกอบแม้ญาณที่เหลือ.