เมนู

สมาบัติ 8 ก็ดี การบรรลุฌานเป็นต้น ด้วยสมาบัติ 8 เป็นหลัก
ก็ดี ชื่อว่าธรรมบท คือ สัมมาสมาธิ.
อีกอย่างหนึ่ง การบรรลุเป็นต้น ด้วยอำนาจอสุภะ 10 ชื่อว่า
ธรรมบท คือ อนภิชฌา. บรรลุฌานด้วยอำนาจพรหมวิหาร 10 ชื่อว่า
อัพยาปาทะ. บรรลุฌานด้วยอำนาจอนุสติ 10 และอาหาเรปฏิกูลสัญญา
ชื่อว่าธรรมบท คือ สัมมาสติ. บรรลุฌานด้วยอำนาจกสิณ 10 และ
อานาปานาสติ ชื่อว่าธรรมบท คือ สัมมาสมาธิ. ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า อิมา จตสฺโส ภูมิโย - ภูมิ 4 เหล่านี้พึงประกอบบท
หนึ่ง ๆ ด้วยสามารถจตุกะนั่นแล.
จบ อรรถกถาภูมินานัตตญาณนิทเทส

ธรรมนานัตตญาณนิทเทส


[177] ปัญญาในการกำหนดธรรม 9 เป็นธรรมนานัตตญาณ
อย่างไร พระโยคาวจรย่อมกำหนดธรรมทั้งหลายอย่างไร ย่อมกำหนด
กามาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอกกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต ย่อม
กำหนดรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต ย่อมกำหนด
อรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต ย่อมกำหนดโลกุตร-
ธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต.

[178] พระโยคาวจรย่อมกำหนดกามาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล
เป็นฝ่ายอกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างไร ย่อมกำหนดกุศลกรรมบถ 10
เป็นฝ่ายกุศล ย่อมกำหนดอกุศลกรรมบถ 10 เป็นฝ่ายอกุศล ย่อม
กำหนดรูป วิบากและกิริยาเป็นฝ่ายอัพยากฤต พระโยคาวจรย่อมกำหนด
กามาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล. เป็นฝ่ายอกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างนี้.
[179] พระโยคาวจรย่อมกำหนดรูปาวจรธรรมฝ่ายกุศล เป็น
ฝ่ายอัพยากฤต อย่างไร ย่อมกำหนดฌาน 4 ของบุคคลผู้ยังอยู่ในโลก
นี้ เป็นฝ่ายกุศล ย่อมกำหนดฌาน 4 ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลก
เป็นฝ่ายอัพยากฤต พระโยคาวจรย่อมกำหนดรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล
เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างนี้.
[180] พระโยคาวจรย่อมกำหนดอรูปาวจรธรรม เป็นฝ่าย
กุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างไร ย่อมกำหนดอรูปาวจรสมาบัติ 4
ของบุคคลผู้ยังอยู่ในโลกนี้ เป็นฝ่ายกุศล ย่อมกำหนดอรูปาวจรสมาบัติ
4 ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลกนี้ เป็นฝ่ายอัพยากฤต พระโยคาวจร
ย่อมกำหนดอรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างนี้.
[181] พระโยคาวจรย่อมกำหนดโลกุตรธรรม เป็นฝ่ายกุศล
เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างไร ย่อมกำหนดอริยมรรค 4 เป็นฝ่ายกุศล
ย่อมกำหนดสามัญญผล 4 และนิพพาน เป็นฝ่ายอัพยากฤต พระโยคา-
วจรย่อมกำหนดโลกุตรธรรม เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างนี้.

[182] ธรรมมีความปราโมทย์เป็นเบื้องต้น 9 ประการ เมื่อ
พระโยคาวจรมนสิการโดยความไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อถึง
ความปราโมทย์ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ
ย่อมได้เสวยสุข ผู้มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่น ย่อมรู้ย่อม
เห็นตามความเป็นจริง เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงย่อมเบื่อหน่าย เมื่อ
เบื่อหน่ายย่อมคลายความกำหนัด เพราะคลายความกำหนัด จิตย่อม
หลุดพ้น เมื่อพระโยคาวจรมนสิการโดยความทุกข์ ย่อมเกิดปราโมทย์
ฯลฯ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อ
มนสิการรูปโดยความไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการรูปโดย
ความเป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยความเป็นอนัตตา ฯลฯ เมื่อ
มนสิการเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ
โดยความไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดย
ความเป็นทุกข์ ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดย
ความเป็นอนัตตา ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อถึงความปราโมทย์ ย่อมเกิด
ปีติ เมื่อใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมได้เสวยสุข ผู้มี
ความสุข จิตย่อมตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่น ย่อมรู้ย่อมเห็นตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงย่อมเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลาย
ความกำหนัด เพราะคลายความกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น ธรรมมี
ความปราโมทย์เป็นเบื้องต้น 9 ประการนี้.

[183] ธรรมมีโยนิโสมนสิการเป็นเบื้องต้น 9 ประการ เมื่อ
พระโยคาวจรมนสิการโดยอุบายอันแยบคายโดยความไม่เที่ยง ย่อมเกิด
ปราโมทย์ เมื่อถึงความปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อม
สงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมได้เสวยความสุข ผู้มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงด้วยจิตอันตั้งมั่นว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อพระโยคาวจรมนสิการ
โดยอุบายอันแยบคายโดยความเป็นทุกข์ ย่อมเกิดปราโมทย์... เมื่อ
มนสิการโดยอุบายอันแยบคายโดยความเป็นอนัตตา ย่อมเกิดปราโมทย์
ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบายอันแยบคาย โดยความ
เป็นทุกข์ ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบาย้อนแยบคาย
โดยความเป็นอนัตตา ย่อมเกิดปราโมทย์ ฯลฯ เสื่อมนสิการเวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ โดยอุบาย
อันแยบคายโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการ
ชราและมรณะโดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นทุกข์ ย่อมเกิด
ปราโมทย์ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยอุบายอันแยบคาย โดยความ
เป็นอนัตตา ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อถึงความปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ
เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมได้เสวยสุข ผู้มีความสุข
จิตย่อมตั้งมั่น ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงด้วยจิตอันตั้งมั่นว่า นี้ทุกข์

นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ธรรมอันมี
โยนิโสมนสิการเป็นเบื้องต้น 9 ประการนี้.
[184] ความต่าง 9 ประการ ความต่างแห่งผัสสะอาศัยความ
ต่างแห่งธาตุเกิดขึ้น ความต่างแห่งเวทนาอาศัยความต่างแห่งผัสสะเกิด
ขึ้น ความต่างแห่งสัญญาอาศัยความต่างแห่งเวทนาเกิดขึ้น ความต่าง
แห่งความดำริอาศัยความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้น ความต่างแห่งฉันทะ
อาศัยความต่างแห่งความดำริเกิดขึ้น ความต่างแห่งความเร่าร้อน อาศัย
ความต่างแห่งฉันทะเกิดขึ้น ความต่างแห่งการแสวงหาอาศัยความต่าง
แห่งความเร่าร้อนเกิดขึ้น ความต่างแห่งการได้รูปเป็นต้น อาศัยความ
ต่างแห่งการแสวงหาเกิดขึ้น ความต่าง 9 ประการนี้ ชื่อว่าญาณ เพราะ
อรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรม 9 ประการ เป็นธรรม-
นานัตตญาณ.

อรรถกถา ธรรมนานัตตญาณนิทเทส


[177 - 178] พึงทราบวินิจฉัยในธรรมนานัตตญาณนิทเทส
ดังต่อไปนี้. บทว่า กมฺมปเถ ชื่อว่า กรรมบถ เพราะอรรถว่ากรรม
เหล่านั้นเป็นทางเพื่อไปสู่อบาย. ซึ่งกรรมบถเหล่านั้น.