เมนู

ภูมินานัตตญาณนิทเทส



[171]ปัญญาในการกำหนดธรรม 4 เป็นภูมินานัตตญาณ
อย่างไร ?
ภูมิ 4 คือ กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาจรภูมิ โลกุตรภูมิ.
[172]กามาวจรภูมิเป็นไฉน ? ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันท่องเที่ยว คือ นับเนื่องใน
โอกาสนี้ ข้างล่างตลอดไปถึงอเวจีนรกเป็นที่สุด ข้างบนขึ้นไปจนถึง
เทวดาชาวปรนิมมิตวสวัตดีเป็นที่สุด นี้เป็นกามาวจรภูมิ.
[173] รูปาวจรภูมิเป็นไฉน ? ธรรม คือ จิตและเจตสิกของ
บุคคลผู้เข้าสมาบัติ ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลก หรือของท่าน ผู้มี
พรหมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน อันท่องเที่ยว คือ นับเนื่องใน
โอกาสนี้ ข้างล่างตั้งแต่พรหมโลกขึ้นไปจนถึงเทวดาชั้นอกนิฏฐะ ข้างบน
เป็นที่สุด นี้ชื่อว่ารูปาจรภูมิ.
[174] อรูปาวจรภูมิเป็นไฉน ? ธรรม คือ จิตละเจตสิก
ของบุคคลผู้เข้าสมาบัติ ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลก หรือของท่าน
ผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน อันนับเนื่องในโอกาสนี้ ข้าง
ล่างตั้งแต่เทวดาผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนภพ ตลอดขึ้นไปจนถึง

เทวดาผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ข้างบนเป็นที่สุด นี้ชื่อว่า
อรูปาวจรภูมิ.
[175] โลกุตรภูมิเป็นไฉน ? มรรค ผล และนิพพานธาตุ
อันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง อันเป็นโลกุตระ นี้ชื่อว่าโลกุตรภูมิ ภูมิ 4
เหล่านี้.
[176] ภูมิ 4 อีกประการหนึ่ง คือ สติปัฏฐาน 4 สัมสัป-
ธาน 4 อิทธิบาท 4 ฌาน 4 อัปปมัญญา 4 อรูปาวจรสมาบัติ 4
ปฏิสัมภิทา 4 ปฏิปทา 4 อารมณ์ 4 อริยวงศ์ 4 สังคหวัตถุ 4
จักร 4 ธรรมบท 4 ภูมิ เหล่านี้ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรม
นั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด.
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรม 4
เป็นภูมินานัตตญาณ.


18. อรรถกถาภูมินานัตตญาณนิทเทส


[171 - 172] พึงทราบวินิจฉัยในภูมินานัตตญาณนิทเทส ดัง
ต่อไปนี้. บทว่า ภูมิโย - ภูมิทั้งหลาย ได้แก่ ภาคหรือปริจเฉท. ใน
บทว่า กามาวจรา นี้ ได้แก่ กาม 2 อย่าง คือ กิเลสกาม 1 วัตถุ-
กาม 1. ฉันทราคะเป็นกิเลสกาม. วัฏฏะเป็นไปในภูมิ 3 เป็นวัตถุกาม.