เมนู

กำหนดรูปอันเนื่องด้วยอนินทรีย์เป็นต้น. ฉะนั้น สังขารอันเป็นไปใน
ภูมิ 3 ชื่อว่าไม่เข้าถึงวิปัสสนาย่อมไม่มี.
จบ อรรถกถาโคจรนานัตตญาณนิทเทส

จริยานานัตตญาณนิทเทส


[165] ปัญญาในการกำหนดจริยา เป็นจริยานานัตตญาณ
อย่างไร ?
จริยาในบทว่า จริยา มี 3 คือ วิญญาณจริยา อัญญาณจริยา
ญาณจริยา.
วิญญาณจริยาเป็นไฉน ?
กิริยาคือความนึกเพื่อต้องการดูรูปทั้งหลายเป็นอัพยากฤต เป็น
วิญญาณจริยา จักขุวิญญาณอันเป็นแต่เพียงเห็นรูป เป็นวิญญาณจริยา
เพราะได้เห็นรูปแล้ว มโนธาตุอันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์ เป็นวิญญาณ
จริยา เพราะขึ้นสู่รูปแล้ว มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก เป็นวิญญาณ
จริยา กิริยาคือความนึกเพื่อต้องการฟังเสียงเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณ
จริยา โสตวิญญาณอันเป็นแต่เพียงฟังเสียง เป็นวิญญาณจริยา เพราะ
ได้ฟังเสียงแล้ว มโนธาตุอันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์ เป็นวิญญาณจริยา
เพราะขึ้นสู่เสียงแล้ว มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก เป็นวิญญาณจริยา

กิริยาคือความนึกเพื่อต้องการดมกลิ่นเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา
ฆานวิญญาณอันเป็นแต่เพียงดมกลิ่น เป็นวิญญาณจริยา เพราะได้ดม
กลิ่นแล้ว มโนธาตุอันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์ เป็นวิญญาณจริยา
เพราะขึ้นสู่กลิ่นแล้ว มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก เป็นวิญญาณจริยา
กิริยาคือความนึกเพื่อต้องการลิ้มรสเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา
ชิวหาวิญญาณอันเป็นแต่เพียงลิ้มรส เป็นวิญญาณจริยา เพราะได้ลิ้ม
รสแล้ว มโนธาตุอันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์ เป็นวิญญาณจริยา เพราะ
ขึ้นสู่รสแล้ว มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก เป็นวิญญาณจริยา กิริยา
คือความนึกเพื่อต้องการถูกต้อง โผฏฐัพพะเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณ
จริยา กายวิญญาณอันเป็นแต่เพียงถูกต้องโผฏฐัพพะ เป็นวิญญาณจริยา
เพราะได้ถูกต้องโผฏฐัพพะแล้ว มโนธาตุอันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์
เป็นวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่โผฏฐัพพะแล้ว มโนวิญญาณธาตุอันเป็น
วิบาก เป็นวิญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อต้องการรู้แจ้งธรรมารมณ์
เป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา มโนวิญญาณอันเป็นแต่เพียงรู้แจ้ง
ธรรมารมณ์ เป็นวิญญาณจริยา เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์แล้ว มโนธาตุ.
อันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์ เป็นวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่ธรรมารมณ์
แล้ว มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก เป็นวิญญาณจริยา.

[166] คำว่า วิญญาณจริยา ความว่า ชื่อว่าวิญญาณจริยา
เพราะอรรถว่ากระไร ?

ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะอรรถว่า ประพฤติไม่มีราคะประพฤติ
ไม่มีโทสะ ประพฤติไม่มีโมหะ ประพฤติไม่มีมานะ ประพฤติไม่มีทิฏฐิ
ประพฤติไม่มีอุทธัจจะ ประพฤติไม่มีวิจิกิจฉา ประพฤติไม่มีอนุสัย
ประพฤติไม่ประกอบด้วยราคะ ประพฤติไม่ประกอบด้วยโทสะ ประพฤติ
ไม่ประกอบด้วยโมหะ ประพฤติไม่ประกอบด้วยมานะ ประพฤติไม่
ประกอบด้วยทิฏฐิ ประพฤติไม่ประกอบด้วยอุทธัจจะ ประพฤติไม่
ประกอบด้วยวิจิกิจฉา ประพฤติไม่ประกอบด้วยอนุสัย ประพฤติไม่
ประกอบด้วยกุศลกรรม ประพฤติไม่ประกอบด้วยอกุศลกรรม ประพฤติ
ไม่ประกอบด้วยการไม่มีโทษ ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมไม่มีโทษ
ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมดำ ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมขาว
ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมที่มีสุขเป็นกำไร ประพฤติไม่ประกอบ
ด้วยกรรมที่มีทุกข์เป็นกำไร ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมที่มีสุขเป็น
วิบาก ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบาก ประพฤติใน
อารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว วิญญาณมีความประพฤติเห็นปานนี้ เหตุนั้นชื่อว่า
วิญญาณจริยา จิตนี้บริสุทธิ์โดยปกติ เพราะอรรถว่าไม่มีกิเลส เหตุนั้น
จึงชื่อว่า วิญญาณจริยา นี้ชื่อว่าวิญญาณจริยา.

[167] อัญญาณจริยาเป็นไฉน ?
กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งราคะในรูปอันเป็นที่รัก
อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งราคะ เป็น

อัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งโทสะ ในรูปอัน
ไม่เป็นที่รัก อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่ง
โทสะ เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งโมหะ
ในวัตถุที่มิได้เพ่งเล็งด้วยราคะและโทสะทั้งสองนั้น อันเป็นอัพยากฤต
เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งโมหะ เป็นอัญญาณจริยา กิริยา
คือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งมานะที่ผูกพัน อันเป็นอัพยากฤต เป็น
วิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งมานะ เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือ
ความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งทิฏฐิที่ยึดถือ อันเป็นอัพยากฤต เป็น
วิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งทิฏฐิ เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือ
ความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งอุทธัจจะที่ถึงความฟุ้งซ่าน อันเป็นอัพยา-
กฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งอุทธัจจะ เป็นอัญญาณจริยา-
กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งวิจิกิจฉาที่ไม่ถึงความตกลงอัน
เป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งวิจิกิจฉา เป็น
อัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งอนุสัยที่ถึงความ
เป็นธรรมมีเรี่ยวแรง อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความ
แล่นไปแห่งอนุสัย เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่น
ไปแห่งราคะในเสียง ฯลฯ ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ในธรรมา-
รมณ์ เป็นที่รัก อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไป
แห่งราคะ เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่ง
โทสะในธรรมารมณ์ไม่เป็นที่รัก อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา

ความแล่นไปแห่งโทสะ เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความ
แล่นไปแห่งโมหะ ในวัตถุที่มิได้เพ่งเล็งด้วยราคะและโทสะทั้งสองนั้น
อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งโมหะ เป็น
อัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งทิฏฐิที่ยึดถือ อัน
เป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งทิฏฐิ เป็นอัญญาณ
จริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งอุทธัจจะที่ถึงความฟุ้งซ่าน
อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งอุทธัจจะ เป็น
อัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งวิจิกิจฉาที่ไม่ถึง
ความตกลงอันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่ง
วิจิกิจฉา เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่ง
อนุสัยที่ถึงความเป็นธรรมมีเรี่ยวแรง อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณ
จริยา ความแล่นไปแห่งอนุสัย เป็นอัญญาณจริยา.

[168] คำว่า อัญญาณจริยา ความว่า ชื่อว่าอัญญาณจริยา
เพราะอรรถว่ากระไร ?
ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะอรรถว่า ประพฤติมีราคะ ประพฤติ
มีโทสะ ประพฤติมีโมหะ ประพฤติมีมานะ ประพฤติมีทิฏฐิ ประพฤติ
มีอุทธัจจะ ประพฤติมีวิจิกิจฉา ประพฤติมีอนุสัย ประพฤติประกอบ
ด้วยราคะ ประพฤติประกอบด้วยโทสะ ประพฤติประกอบด้วยโมหะ
ประพฤติประกอบด้วยมานะ ประพฤติประกอบด้วยทิฏฐิ ประพฤติ

ประกอบด้วยอุทธัจจะ ประพฤติประกอบด้วยวิจิกิจฉา ประพฤติประกอบ
ด้วยอนุสัย ประพฤติไม่ประกอบด้วยกุศลกรรม ประพฤติประกอบด้วย
อกุศลกรรม ประพฤติประกอบด้วยกรรมมีโทษ ประพฤติไม่ประกอบ
ด้วยกรรมไม่มีโทษ ประพฤติประกอบด้วยกรรมดำ ประพฤติไม่ประกอบ
ด้วยกรรมขาว ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมมีสุขเป็นกำไร ประพฤติ
ประกอบด้วยกรรมมีทุกข์เป็นกำไร ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมมีสุข
เป็นวิบาก ประพฤติประกอบด้วยกรรมมีทุกข์เป็นวิบาก ประพฤติใน
อารมณ์ที่ไม่รู้ ความไม่รู้มีจริยาเห็นปานนี้ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า
อัญญาณจริยา นี้ชื่อว่าอัญญาณจริยา.

[169] ญาณจริยาเป็นไฉน ?
กิริยาคือความนึกเพื่อต้องการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง อัน
เป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง เป็น
ญาณจริยา กิริยาคือความนึก เพื่อต้องการพิจารณาเห็นความทุกข์
อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา การพิจารณาเห็นทุกข์ เป็น
ญาณจริยา กิริยาคือความนึก เพื่อต้องการพิจารณาเห็นอนัตตา อัน
เป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา การพิจารณาเป็นอนัตตา เป็นญาณ
จริยา กิริยาคือความนึก เพื่อต้องการพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย ฯลฯ
เพื่อต้องการพิจารณาเห็นความคลายกำหนัด เพื่อต้องการพิจารณาเห็น
ความดับ เพื่อต้องการพิจารณาเห็นความสละคืน เพื่อต้องการพิจารณา

เห็นความสิ้นไป เพื่อต้องการพิจารณาเห็นความเสื่อมไป เพื่อต้องการ
พิจารณาเห็นความแปรปรวน เพื่อต้องการพิจารณาเห็นความไม่มีนิมิต
เพื่อต้องการพิจารณาเห็นความไม่มีที่ตั้ง เพื่อต้องการพิจารณาเห็นความ
สูญ เพื่อต้องการพิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เพื่อต้องการ
พิจารณารู้เห็นตามความเป็นจริง เพื่อต้องการพิจารณาเห็นโทษ เพื่อ
ต้องการพิจารณาหาทาง อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา การ
พิจารณาหาทาง เป็นญาณจริยา การพิจารณาเห็นความคลายออก คือ
นิพพาน เป็นญาณจริยา โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลาสมาบัติ
สกทาคามิมรรค สกทาคามิผลสมาบัติ อนาคามิมรรค อนาคามิผล
สมาบัติ อรหัตมรรค อรหัตผลสมาบัติ เป็นญาณจริยา.

[170] คำว่า ญาณจริยา ความว่า ชื่อว่าญาณจริยา เพราะ
อรรถว่ากระไร ?
ชื่อว่าญาณจริยา เพราะอรรถว่าประพฤติไม่มีราคะ ประพฤติ
ไม่มีโทสะ ฯลฯ ประพฤติไม่มีอนุสัย ประพฤติไม่ประกอบด้วยราคะ
ประพฤติไม่ประกอบด้วยโทสะ ประพฤติไม่ประกอบด้วยโมหะ ประ-
พฤติไม่ประกอบด้วยมานะ ฯลฯ ไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ ไม่ประกอบ
ด้วยอุทธัจจะ ไม่ประกอบด้วยวิจิกิจฉา ไม่ประกอบด้วยอนุสัย ประกอบ
ด้วยกุศลกรรม ไม่ประกอบด้วยอกุศลกรรม ไม่ประกอบด้วยกรรมมีโทษ
ประกอบด้วยกรรมไม่มีโทษ ไม่ประกอบด้วยกรรมดำ ประกอบด้วย

กรรมขาว ประกอบด้วยกรรมมีสุขเป็นกำไร ไม่ประกอบด้วยกรรมมี
ทุกข์เป็นกำไร ประพฤติประกอบด้วยกรรมมีสุขเป็นวิบาก ประพฤติ
ไม่ประกอบด้วยธรรมมีทุกข์เป็นวิบาก ประพฤติในญาณ ญาณมีจริยา
เห็นปานนี้ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า ญาณจริยา นี้ชื่อว่าญาณจริยา
วิญญาณจริยา อัญญาณจริยา ญาณจริยา ชื่อว่า เพราะอรรถว่า
รู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึง
กล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดจริยา เป็นจริยานานัตตญาณ.


17. อรรถกถาจริยานานัตตญาณนิทเทส


165] พึงทราบวินิจฉัยในจริยานานัตตญาณนิทเทสดังต่อไปนี้.
ในบทมีอาทิว่า วิญฺญาณจริยา มีความดังต่อไปนี้ ชื่อว่า จริยา1
เพราะอรรถว่าประพฤติในอารมณ์. จริยาคือวิญญาณ ชื่อว่า วิญญาณ
จริยา.
ชื่อว่า อัญญาณจริยา เพราะอรรถว่าประพฤติด้วยความไม่รู้,
หรือประพฤติเพราะความไม่รู้, หรือประพฤติในอารมณ์ที่ไม่รู้, หรือ
ประพฤติซึ่งความไม่รู้.
1. อารมฺมเณ จรตีติ จริยา. ชื่อว่า จริยา เพราะอรรถว่าท่องเที่ยวไปในอารมณ์.