เมนู

ปัจจเวกขณญาณนิทเทส


[53] อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ การมราคสังโยชน์ ปฏิฆ-
สังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบ ๆ เป็นกิเลสอันสก.
ทาคามิมรรคตัดขาดดีแล้ว จิตที่หลุดพ้นจากอุปกิเลส 4 ประการนี้
พร้อมด้วยปริยุฏฐานกิเลส เป็นอันพ้นแล้วด้วยดี ชื่อว่าญาณ เพราะ
อรรถว่ารู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้น ๆ อันอริยมรรค
นั้น ๆ ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุตติญาณ.
[ 154 ] อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆ-
สังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆ เป็นกิเลสอัน
อนาคามิมรรคตัดขาดดีแล้ว จิตที่หลุดพ้นจากอุปกิเลส 4ประการนี้
พร้อมด้วยปริยุฏฐานกิเลส เป็นอันพ้นแล้วด้วยดี. ชื่อว่าญาณ เพราะ
อรรถว่ารู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรค
นั้นๆ ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุตติญาณ.
[155 ] อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ รูปราคะ อรูปราคะ
มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัยเป็น
กิเลสอันอรหัตมรรคตัดขาดดีแล้ว จิตที่หลุดพ้นจากอุปกิเลส 8 ประการ

นี้ พร้อมด้วยปริยุฏฐานกิเลส เป็นอันพ้นแล้วด้วย ชื่อว่าญาณ เพราะ
อรรถว่ารู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้น ๆ อันอริยมรรค
นั้นๆ ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุตติญาณ.
[156] ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่เข้ามาประชุมใน
ขณะนั้น เป็นปัจเวกขณญาณอย่างไร ?
ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะ
อรรถว่าเห็น ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะอรรถว่าดำริออก ชื่อว่า
สัมมาวาจา เพราะอรรถว่ากำหนดเอา ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะ
อรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะอรรถว่าขาวผ่อง
ชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะอรรถว่าประคองไว้ ชื่อว่าสัมมาสติ เพราะ
อรรถว่าตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า
สติสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตั้งมั่น ชื่อว่าธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
เพราะอรรถว่าเลือกเฟ้น ชื่อว่าวีริยสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าประ-
คองไว้ ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าแผ่ซ่านไป ชื่อว่า
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าสงบระงับ ชื่อว่าสมาธิสัม-
โพชฌงค์ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอุเบขาสัมโพชฌงค์
เพราะอรรถว่าพิจารณาหาทาง ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะอรรถว่า
ไม่หวั่นไหว เพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าวีริยพละ เพราะอรรถว่า

ไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าสติพละ. เพราะอรรถว่า
ไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะอรรถว่า
ไม่หวั่นไหวเพราะความฟุ้งซ่าน ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะอรรถว่า
ไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าสัทธินทรีย์ เพราะอรรถว่าน้อมใจเชื่อ
ชื่อว่าวีริยินทรีย์ เพราะอรรถว่าประคองไว้ ชื่อว่าสตินทรีย์ เพราะ
อรรถว่าตั้งมั่น ชื่อว่าสมาธินทรีย์ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า
ปัญญินทรีย์ เพราะอรรถว่าเห็น ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะอรรถว่าเป็นใหญ่
ชื่อว่าพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว ชื่อว่าสัมโพชฌงค์ เพราะ
อรรถว่านำออก ชื่อว่ามรรค เพราะอรรถว่าเป็นเหตุ ชื่อว่าสติปัฏฐาน
เพราะอรรถว่าตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมัปธาน เพราะอรรถว่าตั้งไว้ ชื่อว่า
อิทธิบาท
เพราะอรรถว่าสำเร็จ ชื่อว่าสัจจะ เพราะอรรถว่าจริงแต่
ชื่อว่าสมถะ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะอรรถว่า
พิจารณาเห็น ชื่อว่าสมถวิปัสสนา เพราะอรรถว่ามีกิจอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าเป็นคู่ เพราะอรรถว่าไม่ล่วงเกินกัน ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะ
อรรถว่าสำรวม ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าทิฏฐิ-
วิสุทธิ
เพราะอรรถว่าเห็น ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่าหลุดพ้น
ชื่อว่าวิชชา เพราะอรรถว่าแทงตลอด ชื่อว่าวิมุตติ เพราะอรรถว่าปล่อย
ชื่อขยญาณ เพราะอรรถว่าตัดขาด ชื่อว่าฉันทะ เพราะอรรถว่าเป็น
มูล ชื่อว่ามนสิภาร เพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ชื่อว่าผัสสะ เพราะ

อรรถว่าเป็นที่รวม ชื่อว่าเวทนา เพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุม ชื่อว่า
สมาธิ เพราะอรรถว่าเป็นประธาน ชื่อว่าสติ เพราะอรรถว่าเป็นใหญ่
ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ายิ่งกว่าธรรมนั้นๆ ชื่อว่าวิมุตติ เพราะอรรถ
ว่าเป็นแก่นสาร ชื่อว่านิพพานอันหยั่งลงในอมตะ เพราะอรรถว่า
เป็นแก่นสาร ชื่อว่านิพพานอันหยั่งลงในอมตะ เพราะอรรถว่า
เป็นที่สุด ธรรมเหล่านี้ เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น พระโยคาวจร
ออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านี้เข้ามาประชุมกัน
ในขณะนั้น.
[ 157] ในขณะแห่งโสดาปัตติผล ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ
เพราะอรรถว่าเห็น ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะอรรถว่าดาริออก ฯล ฯ
ชื่อว่าอนุปปาทญาณ คือญาณในความไม่เกิดขึ้น เพราะอรรถว่าระงับ
ชื่อว่าฉันทะ เพราะอรรถว่าเป็นมูล ชื่อว่ามนสิการ เพราะอรรถว่า
เป็นสมุฏฐาน . . . ชื่อว่าวิมุตติ เพราะอรรถว่าเป็นแก่นสาร ชื่อว่านิพ-
พานอันหยั่งลงในอมตะ เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ธรรมเหล่านี้เข้ามา
ประชุมกันในขณะนั้น พระโยคาวจรออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมพิจารณา
เห็นว่า ธรรมเหล่านี้เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น.
[158] ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะแห่ง
สกทาคามิผล ฯลฯ ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะแห่ง
อนาคามิผล ฯลฯ ในขณะแห่งอรหัตมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ

เพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าขยญาณ เพราะอรรถว่าตัดขาด ชื่อว่า
ฉันทะ เพราะอรรถว่าเป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่านิพพานอันหยั่งลงในอมตะ
เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ธรรมเหล่านี้เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น
พระโยคาวจรออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นว่า ธรรมเหล่านี้
เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น.
[159] ในขณะแห่งอรหัตผล ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะ
อรรถว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าอนุปปาทญาณ เพราะอรรถว่าระงับ ชื่อว่า
ฉันทะ เพราะอรรถว่าเป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่านิพพานอันหยั่งลงในอมตะ
เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ธรรมเหล่านี้เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น
พระโยคาวจรออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นว่า ธรรมเหล่านี้
เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็น
ธรรมที่ประชุมกันในขณะนั้น เป็นปัจจเวกขณญาณ.

14. อรรถกถาปัจจเวกขณญาณนิทเทส


153 - 159] พึงทราบวินิจฉัยในปัจจเวกขณญาณนิทเทส
ดังต่อไปนี้ พระสารีบุตรเถระครั้นกล่าวองค์แห่งมรรคไว้แผนกหนึ่ง ๆ