เมนู

ปัจจเวกขณญาณนิทเทส


[53] อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ การมราคสังโยชน์ ปฏิฆ-
สังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบ ๆ เป็นกิเลสอันสก.
ทาคามิมรรคตัดขาดดีแล้ว จิตที่หลุดพ้นจากอุปกิเลส 4 ประการนี้
พร้อมด้วยปริยุฏฐานกิเลส เป็นอันพ้นแล้วด้วยดี ชื่อว่าญาณ เพราะ
อรรถว่ารู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้น ๆ อันอริยมรรค
นั้น ๆ ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุตติญาณ.
[ 154 ] อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆ-
สังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆ เป็นกิเลสอัน
อนาคามิมรรคตัดขาดดีแล้ว จิตที่หลุดพ้นจากอุปกิเลส 4ประการนี้
พร้อมด้วยปริยุฏฐานกิเลส เป็นอันพ้นแล้วด้วยดี. ชื่อว่าญาณ เพราะ
อรรถว่ารู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรค
นั้นๆ ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุตติญาณ.
[155 ] อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ รูปราคะ อรูปราคะ
มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัยเป็น
กิเลสอันอรหัตมรรคตัดขาดดีแล้ว จิตที่หลุดพ้นจากอุปกิเลส 8 ประการ