เมนู

ในกาลแห่งผลสมาบัติ, ย่อมเกิดแก่ผู้ออกจากนิโรธ 2 ครั้ง, ญาณแม้
ทั้งหมดย่อมเกิดขึ้น เพราะเป็นคุณชาติระงับปโยคะที่ออกนั้น.
บทว่า มคฺคสฺเสตํ - ผลํ - การระงับปโยคะนั้นเป็นผลของมรรค
คือ ท่านเพ่งถึงผล จึงทำให้เป็นนปุงสกลิงค์ แม้ในขณะแห่งสกทาคา-
มรรคเป็นต้น ก็พึงทราบการประกอบการออกด้วยอำนาจองค์แห่ง
มรรคองค์หนึ่ง ๆ นั่นแหละ.
จบ อรรถกถาผลญาณนิทเทส

วิมุตติญาณนิทเทส


[152] ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้น ๆ อันอริยมรรค
นั้น ๆ ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุตติญาณอย่างไร ?
อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพต-
ปรามาส ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย เป็นกิเลสอันโสดาปัตติมรรคตัด
ขาดดีแล้ว จิตที่หลุดพ้นจากอุปกิเลส 5 ประการนี้ พร้อมด้วยปริยุฏฐาน
กิเลส เป็นอันพ้นแล้วด้วยดี. ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้วิมุตตินั้น
ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา
ในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้น ๆ อันอริยมรรคนั้น ๆ ตัดเสียแล้ว
เป็นวิมุตติญาณ.

13. อรรพกถาวิมุตติญาณนิทเทส


[152] พึงทราบวินิจฉัยในวิมุตติญาณนิทเทสดังต่อไปนี้.
บทว่า สกฺกายทิฏฺฐิ - ความเห็นว่าเป็นตัวตน มีวิเคราะห์ว่า
ชื่อว่า สกฺกายทิฏฺฐิ เพราะอรรถว่าความเห็นในกาย กล่าวคือ ขันธ-
ปัญจกอันมีอยู่ หรือในกายนั้นอันมีอยู่เอง.
บทว่า วิจิกิจฺฉา - ความไม่แน่ใจ มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า วิจิกิจฺฉา
เพราะอรรถว่าปราศจากความแน่ใจ หรือ เมื่อค้นหาสภาวธรรมเป็น
เหตุยากลำบาก.
บทว่า สีลพฺพตปรามาโส - ความลูบคลำศีลและพรต มี
วิเคราะห์ว่า เป็นผู้ถือมั่นยึดมั่นว่า ความหมดมีด้วยศีลด้วยพรต.
ชื่อว่า สีลพฺพตปรามาโส เพราะอรรถว่าผู้ถือมั่นยึดมั่นนั้น ละเลย
สภาวธรรมลูบคลำแต่สิ่งอื่น. เมื่อทิฏฐิแม้มีอยู่ทั้งสองอย่าง ท่านก็ยัง
กล่าวถึงสักกายทิฏฐิ เพื่อแสดงถึงการละทิฏฐิทั้งหมด ด้วยการละสักกาย-
ทิฏฐิ มีวัตถุ 20 อย่างอันเป็นปรกติ โดยยืดถือสักกายทิฏฐิตามปรกติ
เว้นการคาดคะเน และการอ้างผู้อื่น. ส่วนสีลัพพตปรามาส พึงทราบ
ว่า ท่านกล่าวไว้ต่างหากเพื่อแสดงถึงมิจฉาปฏิปทาของคนทั้งหลายผู้
ปฏิบัติด้วยคิดว่า เราปฏิบัติปฏิปทาบริสุทธิ์. ท่านกล่าวถึงทิฏฐานุสัย.
ความเห็นผิดอันนอนอยู่ในสันดาน วิจิกิจฉานุสัย - ความลังเลใจอัน
นอนอยู่ในสันดาน เพื่อแสดงถึงการละด้วยละอนุสัย แม้ 3 อย่างนั่น