เมนู

ในกาลแห่งผลสมาบัติ, ย่อมเกิดแก่ผู้ออกจากนิโรธ 2 ครั้ง, ญาณแม้
ทั้งหมดย่อมเกิดขึ้น เพราะเป็นคุณชาติระงับปโยคะที่ออกนั้น.
บทว่า มคฺคสฺเสตํ - ผลํ - การระงับปโยคะนั้นเป็นผลของมรรค
คือ ท่านเพ่งถึงผล จึงทำให้เป็นนปุงสกลิงค์ แม้ในขณะแห่งสกทาคา-
มรรคเป็นต้น ก็พึงทราบการประกอบการออกด้วยอำนาจองค์แห่ง
มรรคองค์หนึ่ง ๆ นั่นแหละ.
จบ อรรถกถาผลญาณนิทเทส

วิมุตติญาณนิทเทส


[152] ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้น ๆ อันอริยมรรค
นั้น ๆ ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุตติญาณอย่างไร ?
อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพต-
ปรามาส ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย เป็นกิเลสอันโสดาปัตติมรรคตัด
ขาดดีแล้ว จิตที่หลุดพ้นจากอุปกิเลส 5 ประการนี้ พร้อมด้วยปริยุฏฐาน
กิเลส เป็นอันพ้นแล้วด้วยดี. ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้วิมุตตินั้น
ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา
ในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้น ๆ อันอริยมรรคนั้น ๆ ตัดเสียแล้ว
เป็นวิมุตติญาณ.