เมนู

ความเป็นต่างกัน และความเป็นอันเดียวกัน
แห่งวิโมกข์เหล่านั้น ย่อมรู้วิโมกขจริยา ย่อม
ไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่าง ๆ เพราะความเป็น
ผู้ฉลาดในญาณทั้งสอง ฉะนี้แล.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ๆ ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและ
หลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ.

อรรถกถามรรคญาณนิทเทส


143] พึงทราบวินิจฉัยในมรรคญาณนิทเทส ดังต่อไปนี้
บทว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิยา วุฏฺฐาติ - ออกจากมิจฉาทิฏฐิ คือ ออกจาก
มิจฉาทิฏฐิ 62 ด้วยสมุจเฉทโดยการละทิฏฐานุสัย คือ ทิฏฐิที่นอนเนื่อง
อยู่ในสันดาน.
บทว่า ตทนุวตฺตกกิเลเสหิ - จากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉา-
ทิฏฐินั้น ได้แก่ จากกิเลสหลาย ๆ อย่างที่เป็นไปตามมิจฉาทิฏฐิอันเกิด
ขึ้น ด้วยสามารถการประกอบกับมิจฉาทิฏฐิ และด้วยอุปนิสัยคือการ
นอนเนื่องในมิจฉาทิฏฐิ. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวถึงการละกิเลสอันตั้ง
อยู่ในที่เดียวกันกับมิจฉาทิฏฐินั้น. จริงอยู่ การตั้งอยู่ในที่เดียวกันมี 2