เมนู

มรรคญาณนิทเทส


[143] ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และ
สังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณอย่างไร ?
ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะ
อรรถว่าเห็น ย่อมออกจากมิจฉาทิฏฐิ จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉา-
ทิฏฐินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย คืออรูปขันธ์ 4 อันเป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น
เบญจขันธ์พร้อมด้วยรูปอันมีทิฏฐินั้นเป็นสมุฏฐาน และวิบากขันธ์อันจะ
พึงเกิดขึ้นในอนาคต และจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลสขันธ์ และสังขาร
นิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ ญาณชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ
เพราะอรรถว่าดำริออก ย่อมออกจากมิจฉาสังกัปปะ . . . เป็นมรรคญาณ
ญาณชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะอรรถว่ากำหนดเอา ย่อมออกจากมิจฉา-
วาจา...เป็นมรรคญาณ ญาณชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะอรรถว่า
เป็นสมุฏฐานย่อมออกจากมิจฉากัมมันตะ . . . เป็นมรรคญาณ ญาณ
ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะอรรถว่าขาวผ่อง ย่อมออกจากมิจฉาอาชีวะ....
เป็นมรรคญาณ ญาณชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะอรรถว่าประคองไว้
ย่อมออกจากมิจฉาวายามะ...เป็นมรรคญาณ ญาณชื่อว่าสัมมาสติ
เพราะอรรถว่าตั้งมั่นย่อมออกจากมิจฉาสติ. . . เป็นมรรคญาณ ญาณ

ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากมิจฉาสมาธิ
จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจาก
สรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไป
และหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็น
มรรคญาณ.
[144] ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ
เพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมออกจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย
ส่วนหยาบๆ จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์
ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภาย
นอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ.
[145] ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ
เพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมออกจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆา-
นุสัย ส่วนละเอียด ๆ ย่อมออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธิ
นั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และ
สังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ.

[146]ในขณะแห่งอรหัตมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะ
อรรถว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ไม่ซ่าน ย่อม
ออกจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย
ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย ย่อมออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉา-
สมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และ
สังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ.
[147] อริยมรรคสมังคีบุคคล ย่อมเผาสังกิเลส
ที่ยังไม่เกิด ด้วยโลกุตรฌานที่เกิดแล้ว เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวโลกุตรฌานว่าเป็นฌาน
บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหว เพราะทิฏฐิต่าง ๆ
เพราะความเป็นผู้ฉลาดในฌานและวิโมกข์ ถ้า
พระโยคาวจรตั้งใจมั่นดีแล้ว ย่อมเห็นแจ้ง
ฉันใด ถ้าเมื่อเห็นแจ้งก็พึงตั้งใจไว้ให้มั่นคงดี
ฉันนั้น สมถะแลวิปัสสนาได้มีแล้วในขณะ
นั้น ย่อมเป็นคู่ที่มีส่วนเสมอกันเป็นไปอยู่
ความเห็นว่าสังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ นิโรธ
เป็นสุข ชื่อว่าปัญญาที่ออกจากธรรมทั้งสอง
ย่อมถูกต้องอมตบท พระโยคาวจรผู้ฉลาดใน

ความเป็นต่างกัน และความเป็นอันเดียวกัน
แห่งวิโมกข์เหล่านั้น ย่อมรู้วิโมกขจริยา ย่อม
ไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่าง ๆ เพราะความเป็น
ผู้ฉลาดในญาณทั้งสอง ฉะนี้แล.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ๆ ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและ
หลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ.

อรรถกถามรรคญาณนิทเทส


143] พึงทราบวินิจฉัยในมรรคญาณนิทเทส ดังต่อไปนี้
บทว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิยา วุฏฺฐาติ - ออกจากมิจฉาทิฏฐิ คือ ออกจาก
มิจฉาทิฏฐิ 62 ด้วยสมุจเฉทโดยการละทิฏฐานุสัย คือ ทิฏฐิที่นอนเนื่อง
อยู่ในสันดาน.
บทว่า ตทนุวตฺตกกิเลเสหิ - จากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉา-
ทิฏฐินั้น ได้แก่ จากกิเลสหลาย ๆ อย่างที่เป็นไปตามมิจฉาทิฏฐิอันเกิด
ขึ้น ด้วยสามารถการประกอบกับมิจฉาทิฏฐิ และด้วยอุปนิสัยคือการ
นอนเนื่องในมิจฉาทิฏฐิ. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวถึงการละกิเลสอันตั้ง
อยู่ในที่เดียวกันกับมิจฉาทิฏฐินั้น. จริงอยู่ การตั้งอยู่ในที่เดียวกันมี 2