เมนู

อรรถกถาโคตรภูญาณนิทเทส


[136-140] พึงทราบวินิจฉัยในโคตรภูญาณนิทเทสดังต่อไป
นี้.
บทว่า อภิภุยฺย - ครอบงำ คือ ย่อมครอบงำ ย่อมก้าวล่วง.
บทว่า พหิทฺธา สงฺขารนิมิตฺตํ - สังขารนิมิตภายนอก ได้แก่
สังขารนิมิต อันเป็นภายนอกจากกุศลขันธ์อันเป็นไปแล้วในสันดานของ
ตน. จริงอยู่ สังขารอันเป็นโลกิยะท่านกล่าวว่า เป็นนิมิต เพราะเป็น
เครื่องหมายแห่งกิเลสทั้งหลาย, หรือ เพราะตั้งขึ้นด้วยอาการของนิมิต.
บทว่า อภิภุยฺยตีติ โคตรภู - ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำ
ท่านกล่าวถึงความเป็นโคตรภู เพราะครอบงำโคตรของปุถุชน.
บทว่า ปกฺขนฺทตีติ โคฺตรภู - ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่าแล่น
ไป คือ ท่านกล่าวถึงความเป็นโคตรภู เพราะความเกิดขึ้นแห่งโคตร
พระอริยะ.
บทว่า อภิภุยฺยิตฺวา ปกฺขนฺทตีติ โคตรภู - ชื่อว่าโคตรภู
เพราะครอบงำแล้วแล่นไป คือ ท่านกล่าวย่อความทั้งสอง.
บทว่า วุฏฺฐาตีติ โคตรภูติ จ วิวฏฺฏตีติ โคตรภู จ -
ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่าออกไป และเพราะอรรถว่าหลีกไป คือ
ท่านกล่าวถึงอรรถ คือ ความครอบงำโคตรปุถุชนโดยสมควรแก่บทว่า

วุฏฐานะ - การออก วิวัฏฏนะ - การหลีกไปแห่งมาติกา. พึงทราบ
อรรถว่า ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำโคตรมีนิวรณ์เป็นต้น แห่งโคตรภู
ดังกล่าวแล้วด้วยสมถะ, ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำโคตรมีความเกิด
เป็นต้น ในสมาบัติวาร 6 มีอาทิว่า โสตาปตฺติผลสมาปตฺตตฺถาย-
เพื่อต้องการโสดาปัตติผลสมาบัติ, ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำโคตร
มีโสดาบันเป็นต้น.
ในมรรควาร 3 มีอาทิว่า สกทาคานิมคฺคปฏิลาภตฺถาย -
เพื่อต้องการได้สกทาคามิมรรค.
อนึ่ง ในบทว่า โคตฺรภู นี้ มีอรรถว่าโคตร และมีอรรถว่า
พืช. นัยว่าในอัตตนิปกรณ์ ท่านกล่าว นิพพาน ว่า โคตฺตํ - โคตร
เพราะคุ้มครองจากอันตรายทั้งปวง ชื่อว่าโคตรภู เพราะดำเนินไปสู่
นิพพานนั้น, แม้สมาบัติ 8 ก็ชื่อว่า โคตฺตํ - โคตร เพราะคุ้มครอง
จากอันตรายของโคตรภู, โคตรนั้นท่านกล่าวว่า โคตรภู เพราะดำเนิน
ไปสู่โคตร.
อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า โคตรภูแห่งมรรค 4 มีนิพพานเป็น
อารมณ์, โคตรภูแห่งผลสมาบัติ มีสังขารเป็นอารมณ์ เพราะน้อมไป
ในผลสมาบัติ. ดังที่ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคว่า จิต ของพระโย-
คาวจร
ผู้เห็นแจ้งตามลำดับอันเป็นไปแล้วนั้น ย่อมเอิบอิ่มในนิโรธด้วย
สามารถแห่งผลสมาบัติในระหว่างโคตรภูญาณมีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วย

เหตุนั้นแลในมรรควารนี้ พึงทราบว่า ท่านทำจิตที่ 16 แล้วถือเอาจิต
ที่ 6 ในสมาบัติวารแห่งบทสังขารนิมิตภายนอกที่ถือเอาแล้ว จึงไม่ถือ
เอา. โดยประการนอกนี้ พึงถือเอาการถือบทอันเป็นมูลเหตุ.
[141] ก็อาจารย์เหล่าอื่นกล่าวว่า การผูกใจครั้งแรกในนิพพาน
เป็นการรวบรวมครั้งแรก นี้ท่านกล่าวว่าโคตรภู. โคตรภูหมายถึงผลนั้น
ไม่ถูก.
ในบทนี้ว่า ปณฺณรส โคตรภูขธมฺม กุสลา -โคตรภูธรรม
เป็นกุศล 15 พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้ ชื่อว่าโคตรภูย่อมไม่สมควร
แก่พระอรหันต์ เพราะไม่มีนิวรณ์อันควรครอบงำ เพราะวิตกวิจาร
เป็นต้น พึงละได้ง่าย และเพราะอรรถว่าครอบงำ เพราะเหตุนั้นพึง
ทราบว่าท่านทำไว้แล้วไม่กล่าวถึง เพราะโคตรภูเป็นอัพยากฤต. อนึ่ง
พระอรหันต์ผู้เข้าผลสมาบัติ ไม่สามารถครอบงำสังขารเข้าสมาบัติได้
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า โคตรภูธรรมเป็นอัพยากฤตมี 3. แต่
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สมาบัติ 8 เป็นไปในส่วนแห่งการแทงตลอด
ด้วยสามารถ อริยมรรคที่ท่านชี้แจงไว้แล้วในที่นี้, เพราะฉะนั้นโคตรภู
แห่ง สมาบัติ 8 จึงเป็นกุศล. อนึ่ง พึงทราบแม้ในสังขารุเปกขาญาณ
อย่างนั้น.
[142 ] พึงทราบอธิบายความในคาถามีอาทิว่า สามิสญฺจ ดัง
ต่อไปนี้. บรรดาวัฏฏามิส โลกามิส กิเลสามิสทั้งหลาย โคตรภูญาณ

อามิสด้วยโลกามิส เพราะยังมีความอยาก. นั่นคืออะไร ? คือ สมถ-
โคตรภูญาณ 8 อย่าง. บทว่า วฏฺฏามิสํ ในที่นี้ ได้แก่ วัฏฏะเป็นไป
ในภูมิ 3 นั่นเอง. บทว่า โลกามิสํ ได้แก่ กามคุณ 5. บทว่า
กิเลสามิสํ ได้แก่ กิเลสทั้งหลายนั่นเอง. บทว่า นิรามสํ ได้แก่
วิปัสสนาโคตรภูญาณ 10 อย่าง เพราะไม่มีความอยาก. จริงอยู่ พระ-
อริยะทั้งหลายไม่ทำความอยากในโคตรภู. ในคัมภีร์อาจารย์ทั้งหลาย
เขียนไว้ว่า สามิสญฺเจ นั่นไม่ดีเลย.

พึงทราบ ปณิหิตะ อัปปณิหิตะ, สัญญุตตะ วิสัญญุตตะ,
วุฏฐิตะ อวุฏฺฐิตะ
ดังต่อไปนี้. ชื่อว่า ปณิหิตะ คือ ความปรารถนา
เพราะตั้งอยู่ในความใคร่. ชื่อว่า อัปปณิหิตะ เพราะไม่มีที่ตั้ง. ชื่อว่า
สัญญุตตะ เพราะประกอบด้วยความอยาก. ชื่อว่า วิสัญญุตตะ
เพราะไม่ประกอบด้วยความอยาก.

บทว่า วุฏฺฐิตํ ได้แก่ โคตรภูญาณอันเป็นวิปัสสนานั่นเอง.
จริงอยู่ โคตรภูญาณนั้น ชื่อว่า วุฏฐิตะ เพราะตัดความอยาก. นอก
นั้นเป็น อวุฏฐิตะ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วุฎฐิตะ เพราะออกไป
ภายนอก. พึงทราบว่า แม้ผลโคตรภูอันเป็นสังขารนิมิตภายนอกก็ชื่อว่า
วุฏฐิตะ เพราะมุ่งหน้าสู่นิพพานด้วยอัธยาศัยในนิพพาน. พึงทราบว่า
แม้ในวาระแห่งการครอบงำ การออก การหลีกไปในภายหลัง ก็พึง

ทราบว่า ผลโคตรภู ชื่อว่าย่อมครอบงำ ย่อมออกไป ย่อมหลีกไป
เพราะมุ่งสู่นิพพาน ด้วยอัธยาศัย.
บทว่า ติณฺณํ วิโมกฺขานปจฺจยา - เป็นปัจจัยแห่งวิโมกข์ 3
ได้แก่ สมถโคตรภูเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยแก่โลกุตรวิโมกข์ 3, วิปัส-
สนาโคตรภูเป็นอนันตระปัจจัย สมนันตรปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย.
บทว่า ปญฺญา ยสฺส ปริจฺจิตา - พระโยคาวจรอบรมแล้ว
ด้วยปัญญา คือ ปัญญาอันเป็นส่วนเบื้องต้นอันพระโยคาวจรอบรมแล้ว
คือ สะสมแล้ว.
บทว่า กุสโล วิวฏฺเฏ วุฏฺฐาเน - พระโยคาวจรเป็นผู้ฉลาด
ในการออกไป ในการหลีกไป คือ เป็นผู้ฉลาด เป็นผู้เฉียบแหลมใน
โคตรภูญาณ อันได้แก่ วิวัฏฎะด้วยความไม่ลุ่มหลงนั่นแล หรือเป็นผู้
ฉลาด ด้วยญาณอันเป็นส่วนเบื้องต้น.
บทว่า นานาทิฏฺฐิสุ น กมฺปติ- ย่อมไม่หวั่น เพราะทิฏฐิ
ต่าง ๆ คือ ไม่หวั่นไหวในทิฏฐิมีประการ ๆ ที่ละได้แล้ว ด้วยสุจเฉท.
จบ อรรถกถาโคตรภูญาณนิทเทส

มรรคญาณนิทเทส


[143] ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และ
สังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณอย่างไร ?
ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะ
อรรถว่าเห็น ย่อมออกจากมิจฉาทิฏฐิ จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉา-
ทิฏฐินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย คืออรูปขันธ์ 4 อันเป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น
เบญจขันธ์พร้อมด้วยรูปอันมีทิฏฐินั้นเป็นสมุฏฐาน และวิบากขันธ์อันจะ
พึงเกิดขึ้นในอนาคต และจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลสขันธ์ และสังขาร
นิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ ญาณชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ
เพราะอรรถว่าดำริออก ย่อมออกจากมิจฉาสังกัปปะ . . . เป็นมรรคญาณ
ญาณชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะอรรถว่ากำหนดเอา ย่อมออกจากมิจฉา-
วาจา...เป็นมรรคญาณ ญาณชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะอรรถว่า
เป็นสมุฏฐานย่อมออกจากมิจฉากัมมันตะ . . . เป็นมรรคญาณ ญาณ
ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะอรรถว่าขาวผ่อง ย่อมออกจากมิจฉาอาชีวะ....
เป็นมรรคญาณ ญาณชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะอรรถว่าประคองไว้
ย่อมออกจากมิจฉาวายามะ...เป็นมรรคญาณ ญาณชื่อว่าสัมมาสติ
เพราะอรรถว่าตั้งมั่นย่อมออกจากมิจฉาสติ. . . เป็นมรรคญาณ ญาณ