เมนู

บทว่า เขมํ สุขํ นิรามิสํ นิพฺพานํ - นิพพานเป็นความปลอดภัย
เป็นความสุข ไม่มีอามิส คือ ท่านกล่าวนิพพานนั่นแลเป็น 4 อย่าง
โดยเป็นปฏิปักษ์ต่ออาการดังกล่าวแล้ว.
บทว่า ทส ญาเณ ปชานาติ - พระโยคาวจรย่อมรู้ญาณ 10
ได้แก่ พระโยคาวจรเมื่อรู้อาทีนวญาณ ย่อมรู้ ย่อมแทงตลอด ย่อม
ทำให้แจ้งซึ่งญาณ 10 คือ ญาณอันเป็นที่ตั้งของ อุปฺปาท - การเกิด
เป็นต้น 5, ญาณอันเป็นที่ตั้งของ อนุปฺปาท - การไม่เกิด 5.
บทว่า ทวินฺนํ ญาณานํ กุสลตา - เพราะเป็นผู้ฉลาดในญาณ
ทั้ง 2 ได้แก่ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในญาณทั้ง 2 อย่างเหล่านี้ คือ
อาทีนวญาณ และ สันติปทญาณ.
บทว่า นานาทิฏฺฐีสุ น กมฺปติ - ย่อมไม่หวั่นไหวในทิฏฐิต่าง ๆ
คือ ไม่หวั่นไหวในทิฏฐิทั้งหลาย อันเป็นไปแล้วด้วยสามารถนิพพาน
อันเป็นทิฏฐธรรมอย่างยิ่ง.
จบ อรรถกถาอาทีนวญาณนิทเทส

สังขารุเปกขาญาณนิทเทส


[120] ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณา
หาทางและวางเฉยอยู่ เป็นสังขารุเปกขาญาณอย่างไร ?

ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสียจากความเกิดขึ้น ทั้ง
พิจารณาหาทางและวางเฉยอยู่ ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไป
เสียจากความเป็นไป ทั้งพิจารณาหาทางและวางเฉยอยู่ ปัญญาเครื่อง
ความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสียจากสังขารนิมิต ฯ ล ฯ จากกรรมเครื่อง
ประมวลมา จากปฏิสนธิ จากคติ จากความบังเกิด จากความอุบัติ
จากชาติ จากชรา จากพยาธิ จากมรณะ จากความโศก จากความ
รำพัน ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสียจากความคับแค้นใจ
ทั้งพิจารณาหาทางและวางเฉยอยู่ เป็นสังขารุเปกขาญาณแต่ละอย่าง ๆ.
[121] ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณา
หาทางและวางเฉยอยู่ว่า ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์ ความเป็นไปเป็นทุกข์
สังขารนิมิตเป็นทุกข์ ฯ ล ฯ ความคับแค้นใจเป็นทุกข์ เป็นสังขารุ-
เปกขาญาณแต่ละอย่าง ๆ ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้ง
พิจารณาหาทางและวางเฉยอยู่ว่า ความเกิดขึ้นเป็นภัย ความเป็นไป
เป็นภัย ฯ ล ฯ ความคับแค้นใจเป็นภัย เป็นสังขารุเปกขาญาณแต่ละ
อย่าง ๆ.
[122] ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณา
หาทางและวางเฉยอยู่ว่า ความเกิดขึ้นมีอามิส ความเป็นไปมีอามิส
ฯ ล ฯ ความคับแค้นใจมีอามิส ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ความเป็นไป
เป็นสังขาร ฯ ล ฯ ความคับแค้นใจเป็นสังขาร เป็นสังขารุเปกขาญาณ
แต่ละอย่าง ๆ.

[123] ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น
เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ แม้ธรรม 2 ประการนี้ คือ
สังขารและอุเบกขาก็เป็นสังขาร ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะ
เหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ความเป็นไปเป็นสังขาร ฯ ล ฯ
นิมิตเป็นสังขาร กรรมเครื่องประมวลมาเป็นสังขาร ปฏิสนธิเป็นสังขาร
คติเป็นสังขาร ความบังเกิดเป็นสังขาร ความอุบัติเป็นสังขาร ชาติ
เป็นสังขาร ชราเป็นสังขาร พยาธิเป็นสังขาร มรณะเป็นสังขาร ความ
โศกเป็นสังขาร ความรำพันเป็นสังขาร ความคับแค้นใจเป็นสังขาร
ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
แม้ธรรม 2 ประการ คือ สังขารและอุเบกขา ก็เป็นสังขาร ญาณ
วางเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ.
[124] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขา ย่อมมีได้ด้วยอาการ
เท่าไร ?
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขา ย่อมมีได้ด้วยอาการ 8.
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ย่อมมีได้ด้วยอาการ
เท่าไร การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะ ย่อมมีได้ด้วย
อาการเท่าไร การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ
ย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร ?

การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ย่อมมีได้ด้วยอาการ 2
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะ ย่อมมีได้ด้วยอาการ 3
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ ย่อมมีได้ด้วย
อาการ 3.
[125] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ย่อมมีได้
ด้วยอาการ 2 เป็นไฉน ?
ปุถุชนย่อมยินดีสังขารุเปกขา 1 ย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา 1
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ย่อมมีได้ด้วยอาการ 2 นี้.
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะ ย่อมมีได้ด้วย
อาการ 3 เป็นไฉน ?
พระเสขะย่อมยินดีสังขารุเปกขา 1 ย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา 1
พิจารณาแล้วเข้าผลสมาบัติ 1 การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระ-
เสขะ ย่อมมีได้ด้วยอาการ 3 นี้.
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ ย่อมมี
ได้ด้วยอาการ 3 เป็นไฉน ?
ท่านผู้ปราศจากราคะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา 1 พิจารณา
แล้วเข้าผลสมาบัติ 1 วางเฉยสังขารุเปกขานั้นแล้ว ย่อมอยู่ด้วยสุญญต-
วิหารสมาบัติ อนิมิตตวิหารสมาบัติ หรืออัปปณิหิตวิหารสมาบัติ 1
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ ย่อมมีได้ด้วย
อาการ 3 นี้.

[126]การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนและของ
พระเสขะ เป็นอย่างเดียวกันอย่างไร ?
ปุถุชนยินดีสังขารุเปกขา มีจิตเศร้าหมอง มีอันตรายแห่งภาวนา
มีอันตรายแห่งปฏิเวธ มีปัจจัยแห่งปฏิสนธิต่อไป แม้พระเสขะยินดี
สังขารุเปกขาก็มีจิตเศร้าหมอง มีอันตรายแห่งภาวนา มีอันตรายแห่ง
ปฏิเวธในมรรคชั้นสูง มีปัจจัยแห่งปฏิสนธิต่อไป การน้อมจิตไปใน
สังขารุเปกขาของปุถุชนและของพระเสขะ เป็นอย่างเดียวกันโดยสภาพ
แห่งความยินดีอย่างนี้.
[127] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระ-
เสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ เป็นอย่างเดียวกันอย่างไร ?
ปุถุชนย่อมพิจารณาเห็นสังขารุเปกขาโดยความเป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา แม้พระเสขะก็พิจารณาเห็นสังขารุเปกขาโดย
ความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา แม้ท่านผู้ปราศจาก
ราคะ ก็พิจารณาเห็นสังขารุเปกขาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
และเป็นอนัตตา การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระ-
เสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ เป็นอย่างเดียวกันโดยสภาพแห่งการ
พิจารณาอย่างนี้.
[128] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระ-
เสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันอย่างไร ?

สังขารุเปกขาของปุถุชนเป็นกุศล แม้ของพระเสขะก็เป็นกุศล
แต่ของท่านผู้ปราศจากราคะเป็นอัพยากฤต การน้อมจิตไปในสังขารุ-
เปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความ
ต่างกันโดยสภาพเป็นกุศลและอัพยากฤตอย่างนี้.
[129] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระ-
เสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันอย่างไร ?
สังขารุเปกขาของปุถุชน ปรากฏดีในกาลนิดหน่อย คือในเวลา
เจริญวิปัสสนา ไม่ปรากฏดีในกาลนิดหน่อย แม้สังขารุเปกขาของ
พระเสขะ ก็ปรากฏดีในกาลนิดหน่อย สังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจาก
ราคะ ปรากฏดีโดยส่วนเดียว การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน
ของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยสภาพที่
ปรากฏและโดยสภาพที่ไม่ปรากฏอย่างนี้.
[130] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระ-
เสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันอย่างไร ?
ปุถุชนย่อมพิจารณา เพราะเป็นผู้ยังไม่เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา
แม้พระเสขะก็พิจารณาเพราะเป็นผู้ยังไม่เสร็จกิจจาสังขารุเปกขา ส่วน
ท่านผู้ปราศจากราคะ ย่อมพิจารณาเพราะเป็นผู้เสร็จกิจจากสังขารุเปก-
ขา การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและของ

ท่านผู้ปราศจากราคะ. มีความต่างกันโดยสภาพที่ยังไม่เสร็จกิจและโดย
สภาพที่เสร็จกิจแล้วอย่างนี้.

[131]การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระ-
เสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันอย่างไร ?
ปุถุชนย่อมพิจารณาสังขารุเปกขาเพื่อจะละสังโยชน์ 3 เพื่อ
ต้องการได้โสดาปัตติมรรค พระเสขะย่อมพิจารณาสังขารุเปกขาเพื่อ
ต้องการได้มรรคชั้นสูงขึ้นไป เพราะเป็นผู้ละสังโยชน์ 3 ได้แล้ว ท่าน
ผู้ปราศจากราคะย่อมพิจารณาสังขารุเปกขา เพื่อต้องการอยู่เป็นสุขใน
ปัจจุบัน เพราะเป็นผู้ละกิเลสทั้งปวงได้แล้ว การน้อมจิตไปในสังขารุ-
เปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความ
ต่างกันโดยสภาพที่ละกิเลสได้แล้วและโดยสภาพที่ยังละกิเลสไม่ได้อย่าง
นี้.
[132] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขา ของพระเสขะและ
ของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันอย่างไร ?
พระเสขะยังยินดีสังขารุเปกขาบ้าง ย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา
บ้างพิจารณาแล้วเข้าผลสมาบัติบ้าง ท่านผู้ปราศจากราคะย่อมเห็นแจ้ง
สังขารุเปกขาบ้างพิจารณาแล้วเข้าผลสมาบัติบ้าง วางเฉยสังขารุเปกขา
นั้นแล้ว ย่อมอยู่ด้วยสุญญตวิหารสมาบัติ อนิมิตตวิหารสมาบัติ หรือ
อัปปณิหิตวิหารสมาบัติ การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะ

และของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยภาพแห่งวิหารสมาบัติ
อย่างนี้.
[133] สังขารุเปกขาเท่าไร ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ
สังขารุเปกขาเท่าไร ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา ?
สังขารุเปกขา 8 ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ สังขารุเปกขา 10
ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา.
สังขารุเปกขา 8 เป็นไฉน ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ ?
ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยนิวรณ์ เพื่อต้องการได้ปฐมฌาน
เป็นสังขารุเปกขาญาณ 1 ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยวิตกวิจาร
เพื่อต้องการได้ทุติยฌาน เป็นสังขารุเปกขาญาณ 1 ปัญญาที่พิจารณา
หาทางแล้ววางเฉยปีติ เพื่อต้องการได้ตติยฌาน เป็นสังขารุเปกขา
ญาณ 1 ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยสุขและทุกข์ เพื่อต้องการ
ได้จตุตถฌาน เป็นสังขารุเปกขาญาณ 1 ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ว
วางเฉยรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา และ นานัตตสัญญา เพื่อต้องการได้
อากาสานัญจายตนสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ 1 ปัญญาที่พิจารณา
หาทางแล้ววางเฉยอากาสานัญจายตนสัญญา เพื่อต้องการได้วิญญาณัญ-
จายตนสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ 1 ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ว
วางเฉยวิญญาณัญจายตนสัญญา เพื่อต้องการได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ
เป็นสังขารุเปกขาญาณ 1 ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยอากิญ-

จัญญายตนสัญญา เพื่อต้องการได้เนวสัญญานาสัญญาตนสมาบัติ เป็น
สังขาะรุเปกขาญาณ 1 สังขารุเปกขา 8 เป็นไฉน ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจ
สมถะ.
[ 134 ] สังขารุเปกขา 10 เป็นไฉน ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจ
วิปัสสนา ?
ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยความเกิดขึ้น ความเป็นไฉน
นิมิตกรรมเครื่องประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด อุบัติ ชาติ
ชรา พยาธิ มรณะ ความโศก ความรำพัน ความคับแค้นใจ เพื่อ
ต้องการได้โสดาปัตติมรรค เป็นสังขารุเปกขาญาณ 1 . . . เพื่อต้องการ
ได้โสดาปัตติสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ 1 . . .เพื่อต้องการได้
สกทาคามิมรรค เป็นสังขารุเปกขาญาณ 1 . . .เพื่อต้องการได้สกทาคา-
มิผลสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ 1 . . .เพื่อต้องการอนาคามิมรรค
เป็นสังขารุเปกขาญาณ 1 . . . เพื่อต้องการได้อนาคามิผลสมาบัติ เป็น
สังขารุเปกขาญาณ 1 . . . เพื่อต้องการได้อรหัตมรรค เป็นสังขารุเปกขา-
ญาณ 1 . . .เพื่อต้องการได้อรหัตผลสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ 1
. . . เพื่อต้องการสุญญตวิหารสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ 1 ปัญญา
ที่พิจารณาหาทาแล้ววางเฉยความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรม
เครื่องประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด อุบัติ ชาติ ชรา
พยาธิ มรณะ ความโศก ความรำพัน ความคับแค้นใจ เพื่อต้องการ

ได้อนิมิตตวิหารสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ 1 สังขารุเปกขาญาณ
10 เหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา.

[135] สังขารุเปกขาเป็นกุศลเท่าไร เป็นอกุศลเท่าไร เป็น
อัพยากฤตเท่าไร ? สังขารุเปกขาเป็นกุศล 15 เป็นอัพยากฤต 3 เป็น
อกุศลไม่มี

ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉย เป็น
โคจรภูมิของสมาธิจิต 8 เป็นโคจรภูมิของปุถุชน 2
เป็นโคจรภูมิของพระเสขะ 3 เป็นเครื่องให้จิตของ
ท่านผู้ปราศจากราคะหลีกไป 3 เป็นปัจจัยแห่ง
สมาธิ 8 เป็นโคจรแห่งภูมิแห่งญาณ 10 สังขารุ-
เปกขา 8 เป็นปัจจัยแห่งวิโมกข์ 3 อาการ 18 นี้
พระโยคาวจรอบรมแล้วด้วยปัญญา พระโยคาวจร
ผู้ฉลาดในสังขารุเปกขา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะ
ทิฏฐิต่าง ๆ ฉะนี้แล.


ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องความเป็นผู้
ใคร่จะพ้นไปทั้งพิจารณาหาทางและวางเฉย เป็นสังขารุเปกขาญาณ.

อรรถกถาสังขารุเปกขาญาณนิทเทส


120 - 135] พึงทราบวินิจฉัยในสังขารุเปกขาญาณนิทเทส
ดังต่อไปนี้ ทว่า อุปฺปาทา เป็นต้น มีอรรถดังได้กล่าวไว้แล้วนั่นแล.
บททั้งหลายว่า ทุกฺขนฺติ ภยนฺติ สามิสนฺติ สงฺขารา - ความ
เกิดขึ้นเป็นทุกข์ ความเกิดขึ้นเป็นภัย ความเกิดขึ้นมีอามิส ความ
เกิดขึ้นเป็นสังขาร เป็นคำแสดงเหตุของญาณ คือ ความหลุดพ้นจาก
อุปฺปาทา เป็นต้น.
อนึ่ง พระสารีบุตร ครั้นแสดงถึงสังขารุเปกขาญาณ โดยลักษณะ
อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อแสดงโดยอรรถ จึงกล่าวบทมีอาทิว่า อุปฺปาโท
สงฺขารา, เต สงฺขาเร อชฺฌุเปกฺขตีติ สงฺขารุเปกขา -
ความเกิดขึ้น
เป็นสังขาร, ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สังขารุเปกขาญาณ.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สงฺขาเร อชฺฌุเปกฺขติ - ญาณวางเฉย
ในสังขาร ความว่า เมื่อพระโยคาวจรนั้นเริ่มเจริญวิปัสสนา ละความ
ขวนขวายในการค้นหาลักษณะ เพราะเห็นพระไตรลักษณ์ด้วยวิปัสสนา
ญาณแล้ว เห็นภพ 3 ดุจไฟติดทั่วแล้ว มีความเป็นกลางในการถือ
สังขารวิปัสสนาญาณนั้น ย่อมเห็นสังขารเหล่านั้นโดยพิเศษ และเห็น
คือ มองดูญาณที่เว้นแล้วด้วยการถือเอา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สังขารุเปกขาญาณ. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวว่า ผู้ชนะโดยพิเศษ ชื่อว่า