เมนู

ความไม่เป็นไป ความไม่มีนิมิต ความไม่มี
ธรรมเครื่องประมวลมาและความไม่ปฏิสนธิ
ว่าเป็นสุขนี้เป็นญาณในสันติบท อาทีนว-
ญาณนี้ย่อมเกิดในฐานะ 5 ญาณในสันติบท
ย่อมเกิดในฐานะ 5 พระโยคาวจรย่อมรู้ชัด
ญาณ 10 ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่าง ๆ
เพราะเป็นผู้ฉลาดในญาณทั้ง 2 ฉะนี้แล.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความปรากฏโดย
ความเป็นภัย เป็นอาทีนวญาณ.

อรรถกถาทีนวญาณนิทเทส


115 - 119] พึงทราบวินิจฉัยในอาทีนวญาณนิทเทสดังต่อไปนี้
บทว่า อุปฺปาโท - ความเกิดขึ้น คือ เกิดขึ้นในโลกนี้ เพราะ
กรรมเก่าเป็นปัจจัย.
บทว่า ปวตฺตํ - ความเป็นไป คือ ความเป็นไปของความเกิด
ขึ้นอย่างนั้น. บทว่า นิมิตฺตํ คือ สังขารนิมิต แม้ทั้งหมด.
บทว่า อายูหนํ - กรรมประมวลมาเป็นภัย คือ กรรมอันเป็น
เหตุแห่งปฏิสนธิต่อไป. บทว่า ปฏิสนฺธิ คือ การเกิดต่อไป.

บทว่า คติ ได้แก่ คติอันเป็นปฏิสนธิ.
บทว่า นิพฺพตฺติ ได้แก่ การเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลาย.
บทว่า อุปปตฺติ ได้แก่ ความเป็นไปแห่งวิบาก ดังที่ท่าน
กล่าวไว้ว่า สมาปนฺนสฺส วา อุปฺนฺนสฺส วา1 - แห่งภิกษุผู้เข้าสมาบัติ
แล้วก็ดี ผู้เข้าถึงแล้วก็ดี.
บทว่า ชาติ ได้แก่ ชาติมีภพเป็นปัจจัย อันเป็นปัจจัยของ
ชราเป็นต้น. โดยตรง ชาติ คือ ความปรากฏครั้งแรกแห่งขันธ์ทั้งหลาย
ที่ปรากฏแก่สัตว์ผู้เกิดในที่ภพนั้น ๆ.
บทว่า ชรา ได้แก่ ความเก่าของขันธ์สันดานที่เนื่องกันใน
ภพหนึ่ง ในสันตติที่รู้กันว่า มีฟันหักเป็นต้น.
บทว่า โสโก ได้แก่ ความเดือดร้อนใจของผู้ที่ถูกความ
เสื่อมจากญาติเป็นต้นกระทบแล้ว.
บทว่า ปริเทโว ได้แก่ ความพร่ำเพ้อของผู้ที่ถูกความเสื่อม
จากญาติเป็นต้นกระทบ.
บทว่า อุปายาโส ได้แก่ ความแค้นใจมาก, คือ โทสะที่เกิด
จากทุกข์ใจมากมายของผู้ที่ถูกความเสื่อมจากญาติเป็นต้นกระทบ.
อนึ่ง ในบทนี้ท่านกล่าวถึงญาณในอาทีนวญาณ 5 มีอุปาทะ
เป็นต้น ด้วยสามารถเป็นที่ตั้งแห่งอาทีนวญาณ. ที่เหลือท่านกล่าวด้วย
1. อภิ. สํ. 34/830.

ความเป็นไวพจน์ของธรรมเหล่านั้น. สองบทนี้ คือ นิพฺพตฺติ ชาติ
เป็นไวพจน์ของอุปาทะและของปฏิสนธิ. ของบทนี้ คือ คติ อุปปตฺติ
เป็นไวพจน์ของความเป็นไป, ชราเป็นต้นเป็นไวพจน์ของนิมิต. ดังที่
ท่านกล่าวไว้ว่า
อุปฺปาทญฺจ ปวตฺตญฺจ นิมิตฺตํ ทุกฺขนฺติ ปสฺสติ
อายูหนํ ปฏิสนฺธ ญาณํ อาทีนเว อิทนฺติจ.
อิทํ อาทีนเว ญาณํ ปญฺจฏฺฐาเนสุ ชายตีติจ.
พระโยคาวจรย่อมเห็นอุปาทะ - ความเกิด
ปวัตตะ - ความเป็นไป นิมิต - เครื่องหมาย อายู-
หนะ - กรรมเป็นเหตุให้ถือปฏิสนธิ และปฏิสนธิ-
การเกิดว่าเป็นทุกข์ นี้เป็นอาทีนวญาณ และอาที-
นวญาณนี้ย่อมเกิดขึ้นฐาน 5.


อนึ่ง คำว่า ภยนฺติ ในทุกบท ตัดบทเป็น ภยํ อิติ. บทว่า
ภยํ
ชื่อว่า ภัย เพราะมีภัยเฉพาะหน้า โดยประกอบด้วยความบีบ
คั้น. บทว่า อิติ เป็นการแสดงเหตุของภยตูปัฏฐานญาณ.
ส่วนบทมีอาทิว่า อนุปฺปาโท เขมนฺติ สนฺติปเท ญาณํ - ญาณ
ในสันติบทว่า ความไม่เกิดเป็นความปลอดภัย ท่านกล่าวเพื่อแสดงญาณ
อันเป็นปฏิปักษ์ต่ออาทีนวญาณ. อีกอย่างหนึ่ง บทนี้ท่านกล่าวไว้เพื่อ

ให้เกิดความปลอดโปร่งใจว่าแม้หทัยที่สะดุ้ง เพราะเห็นโทษด้วยภยตู-
ปัฏฐานฌานไม่มีภัย มีความปลอดภัยคือไม่มีโทษ.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะจิตของผู้ที่มีอุปาทะเป็นต้นตั้งไว้ด้วยดี โดย
ความเป็นภัย น้อมไปเพื่อความเป็นปฏิปักษ์ต่อภัยนั้น, ฉะนั้น พึงทราบ
ว่า บทนี้ ท่านกล่าวเพื่อแสดงถึงอานิสงส์ของอาทีนวญาณ อันสำเร็จ
แล้วด้วยภยตูปัฏฐานญาณ.

บทมีอาทิว่า อนุปฺปาโท อปฺปวตฺตํ - ความไม่เกิด ความไม่
เป็นไป ได้แก่ นิพพานนั่นเอง.
บทว่า สนฺติปเท - ในสันติบท ได้แก่ ในส่วนแห่งสันติ คือ
ในนิพพาน. จริงอยู่ แม้ญาณเกิดขึ้นเพราะถือเอาความต่างกันว่า
สนฺติปทํ ด้วยการได้ฟังมา. ท่านก็กล่าวว่า สนฺติปเท ญาณํ - ญาณ
ในสันติบท ดังนี้.
บทมีอาทิว่า อุปฺปาโท ภยํ, อนุปฺปาโท เขมํ - ความเกิดเป็น
ภัย, ความไม่เกิดปลอดภัย ท่านย่อบททั้งสอง ด้วยสามารถเป็นฝ่ายตรง
กันข้ามต่อกัน แล้วกล่าวถือญาณที่เกิดขึ้น.
อนึ่ง ในบทนี้ เพราะภัยเป็นทุกข์แน่นอน. และสิ่งใดเป็นทุกข์
สิ่งนั้นชื่อว่ามีอามิส เพราะไม่พ้นไปจากอามิส คือ วัฏฏะ อามิส คือ
โลก และอามิสคือกิเลส. อนึ่ง สิ่งใดมีอามิส สิ่งนั้นเป็นเพียงสังขาร
เท่านั้น. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวบทมีอาทิว่า อุปฺปาโท ทุกฺขนฺติ

ภยตูปฏฺฐาเน ปญฺญา อาทีนเว ญาณํ - ปัญญาในความปรากฏเป็น
ของน่ากลัวว่า ความเกิดเป็นทุกข์ เป็นอาทีนวญาณ.
แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น พึงทราบความต่างกันในบทนี้ ด้วยสามารถ
ความเป็นไป โดยความต่างกัน โดยอาการอย่างนี้ คือ โดยอาการ
น่ากลัว โดยอาการเป็นทุกข์ โดยอาการมีอามิส โดยอาการเป็น
สังขาร.

ท่านไม่ได้เพ่งถึงลิงค์ มีอุปปาทะเป็นต้นว่า อุปฺปาโท ภยํ,
ทุกฺขํ, สามิสํ, สงฺขารา จ -
ความเกิดเป็นภัย, เป็นทุกข์, เป็นอามิส,
และเป็นสังขาร แล้วจึงกล่าวเพ่งถึงลิงค์ของตนดุจในบทมีอาทิว่า เนตํ
โข สรณํ เขมํ, เนตํ สรณมุตฺตม1 -
นี้แลไม่ใช่ที่พึ่งอันเกษม, นี้ไม่ใช่
ที่พึ่งอันอุดม.
อนึ่ง บทว่า สงฺขารา ท่านมิได้เพ่งความเป็นอย่างเดียว จึง
ทำเป็นพหุวจนะดุจในประโยคมีอาทิว่า อปฺปจฺจยา ธมฺมา, อสงฺขตา
ธมฺมา2 -
ธรรมทั้งหลายที่ไม่มีปัจจัย, ธรรมทั้งหลายที่เป็นอสังขตะ.
หรือว่าเพราะ อุปฺปาโท เป็นต้นเป็นเอกเทศของสังขาร พึงทราบว่า
ท่านทำเป็นพหุวจนะแม้ในเอกเทศของสังขารเป็นอันมาก ดุจในบทมี
อาทิว่า อุตฺตเร ปญฺจาลา, ทกฺขิเณ ปญฺจาลา - ชาวปัญจาลนคร
ในทิศอุดร, ชาวปัญจาลนครในทิศทักษิณ.
1. ขุ. ธ. 25/24. 2. อภิ. สํ. 34/3.

บทว่า เขมํ สุขํ นิรามิสํ นิพฺพานํ - นิพพานเป็นความปลอดภัย
เป็นความสุข ไม่มีอามิส คือ ท่านกล่าวนิพพานนั่นแลเป็น 4 อย่าง
โดยเป็นปฏิปักษ์ต่ออาการดังกล่าวแล้ว.
บทว่า ทส ญาเณ ปชานาติ - พระโยคาวจรย่อมรู้ญาณ 10
ได้แก่ พระโยคาวจรเมื่อรู้อาทีนวญาณ ย่อมรู้ ย่อมแทงตลอด ย่อม
ทำให้แจ้งซึ่งญาณ 10 คือ ญาณอันเป็นที่ตั้งของ อุปฺปาท - การเกิด
เป็นต้น 5, ญาณอันเป็นที่ตั้งของ อนุปฺปาท - การไม่เกิด 5.
บทว่า ทวินฺนํ ญาณานํ กุสลตา - เพราะเป็นผู้ฉลาดในญาณ
ทั้ง 2 ได้แก่ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในญาณทั้ง 2 อย่างเหล่านี้ คือ
อาทีนวญาณ และ สันติปทญาณ.
บทว่า นานาทิฏฺฐีสุ น กมฺปติ - ย่อมไม่หวั่นไหวในทิฏฐิต่าง ๆ
คือ ไม่หวั่นไหวในทิฏฐิทั้งหลาย อันเป็นไปแล้วด้วยสามารถนิพพาน
อันเป็นทิฏฐธรรมอย่างยิ่ง.
จบ อรรถกถาอาทีนวญาณนิทเทส

สังขารุเปกขาญาณนิทเทส


[120] ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณา
หาทางและวางเฉยอยู่ เป็นสังขารุเปกขาญาณอย่างไร ?