เมนู

วิปัสสนาอันมีความเสื่อมไปเป็นลักษณะ การที่พระโยคาวจรพิจารณา
อารมณ์แล้ว พิจารณาเห็นความแตกไปแห่งจิตและความปรากฏโดยความ
เป็นของสูญ ชื่อว่าอธิปัญญาวิปัสสนา - ความเห็นแจ้งด้วยอธิปัญญา
พระโยคาวจรผู้ฉลาดในอนุปัสนา 3 ในวิปัสสนา 4 ย่อมไม่หวั่นไหว
ในทิฏฐิต่าง ๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในความปรากฏ 3 ประการ.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณา
อารมณ์ แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป เป็นวิปัสสนาญาณ.

อรรถกถาภังคานุปัสสนาญาณนิทเทส


112 - 113] พระโยคาวจรนั้นตั้งอยู่ในอุทยัพพยานุปัสนาญาณ
ครั้นรู้อุทยัพพยานุปัสนาญาณที่ปฏิบัติไปตามวิถี พ้นจากอุปกิเลสด้วย
การให้กำหนดมรรค - ทาง และมิใช่มรรค - ทาง ว่าเป็นมรรค - ทาง
ดังนี้ แล้วปรารภอุทยัพพยานุปัสนาญาณอีก เพื่อทำญาณนั้นให้บริสุทธิ์
ด้วยดี ด้วยกำหนดพระไตรลักษณ์ แล้วเห็นแจ้งสังขารทั้งหลายที่กำหนด
ด้วยความเกิดและความเสื่อม โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น. ญาณ
นั้นของพระโยคาวจรนั้นเป็นญาณแก่กล้า ย่อมนำไปอย่างนี้, สังขาร
ทั้งหลายย่อมปรากฏเบา, เมื่อญาณแก่กล้านำไป เมื่อสังขารปรากฏเบา
ญาณไม่ก้าวล่วงความเกิด เมื่อความดับมีอยู่ ก็ยังตั้งอยู่พร้อม.

อีกอย่างหนึ่ง เพราะน้อมไปสู่นิโรธ ญาณละความเกิดตั้งสติไว้
ในความดับ, ภังคานุปัสนาญาณย่อมเกิดขึ้นในที่นี้. บัดนี้ พึงทราบ
วินิจฉัยในนิทเทสแห่งญาณนั้น บทว่า รูปารมฺมณตา จิตฺตํ อุปฺ-
ปชฺชิตฺวา ภิชฺชติ
ได้แก่ จิตมีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้นแล้วดับไป. อีก
อย่างหนึ่ง อธิบายว่า จิตเกิดขึ้นในความมีรูปเป็นอารมณ์แล้วดับไป.
บทว่า ตํ อารมฺมณํ ปฏิสงฺขา - พิจารณาเห็นอารมณ์นั้น
ความว่า รู้อารมณ์นั้นด้วยการพิจารณา. เห็นโดยความสิ้นไป โดย
ความเสื่อมไป.
บทว่า ตสฺส จิตฺตสฺส ภงฺคํ อนุปสฺสติ - ย่อมพิจารณาเห็น
ความดับแห่งจิตนั้น ความว่า รูปอารมณ์นั้น อันจิตใดเห็นโดยความ
สิ้นไปและโดยความเสื่อมไป, พระโยคาวจรย่อมพิจารณาเห็นความดับ
แห่งจิตนั้น ด้วยจิตดวงอื่น. ด้วยเหตุนั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าว
ไว้ว่า ญาตญฺจ ญาณญฺจ อุโภ วิปสฺสติ - พระโยคาวจรย่อมพิจารณา
เห็นทั้งสองอย่าง คือจิตที่รู้แล้ว และญาณ.
อนึ่ง ในบทว่า จิตฺตํ นี้ ท่านประสงค์เอา สัมปยุตจิต.
บทว่า อนุปสฺสติ - ย่อมพิจารณาเห็น ความว่า ย่อมเห็นตาม ๆ
ไป, คือ เห็นบ่อย ๆ ด้วยอาการไม่น้อย. ด้วยเหตุนั้น พระสารีบุตร
จึงกล่าวว่า อนุปสฺสตีติ กถํ อนุปสฺสติ, อนิจฺจโต อนุปสฺสติ เป็น
อาทิ - ย่อมพิจารณาเห็นอย่างไร ชื่อว่า พิจารณาเห็น ย่อมพิจารณา
เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง.

ในบทนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ เพราะที่สุดโต่ง โดยความเป็น
ของไม่เที่ยง ชื่อว่า ภังคะ, ฉะนั้น พระโยคาวจรผู้เจริญภังคานุปัสนา
ย่อมพิจารณาเห็นรูปทั้งหมด โดยความเป็นของไม่เที่ยง, มิใช่เห็นโดย
ความเป็นของเที่ยง. แต่นั้นพิจารณาเห็นรูปนั้นนั่นแล โดยความเป็น
ทุกข์ มิใช่โดยความเป็นสุข เพราะสิ่งที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ และสิ่งที่เป็น
ทุกข์ เป็นอนัตตา. ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา, มิใช่โดย
ความเป็นอัตตา.
อนึ่ง เพราะสิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา สิ่งนั้น
ไม่ควรยินดี, สิ่งใดไม่ควรยินดี ไม่ควรกำหนัดในสิ่งนั้น. ฉะนั้น
พระโยคาวจรย่อมเบื่อหน่าย, มิใช่พอใจ, ย่อมคลายกำหนัด, มิใช่
กำหนัดในรูปที่เห็นนั้นว่า อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา โดยทำนองเดียว
กับภังคานุปัสนาญาณ.
พระโยคาวจรนั้น คลายกำหนัดอย่างนี้ ดับราคะด้วยญาณ
อันเป็นเพียงโลกิยะ, อธิบายว่า ไม่เกิดขึ้น, ไม่ทำให้เกิดขึ้น. อีก
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรนั้น คลายกำหนัดอย่างนี้แล้ว ย่อมดับแม้
รูปที่ไม่เห็นเหมือนรูปที่เห็นด้วยสามารถ อนฺวยญาณ. - ญาณอันสืบ
เนื่องกัน มิใช่ให้เกิดขึ้น.
พระโยคาวจรทำไว้ในใจโดยการดับ, ย่อมเห็นการดับของรูป
นั้น, มิใช่เห็นความเกิด. พระโยคาวจรนั้น ปฏิบัติอย่างนี้แล้วย่อม

สละคืน, มิใช่ถือเอา. ท่านอธิบายไว้อย่างไร ? การพิจารณาเห็นความ
ไม่เที่ยงเป็นต้นนี้ ท่านกล่าวว่า เป็นการสละคืนด้วยการบริจาค และ
สละคืนด้วยการแล่นไป เพราะสละกิเลสด้วยอภิสังขารถือขันธ์กับด้วย
ตทังคปหานะ และเพราะความแล่นไป เพราะน้อมญาณนั้นไปใน
นิพพานอันตรงกันข้ามกับกิเลสนั้นด้วยการเห็นโทษของสังขตะ.
เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ประกอบด้วยอนุปัสนานั้น ย่อมบริจาค-
สละกิเลสทั้งหลาย โดยนัยดังกล่าวแล้ว และย่อมแล่นไปในนิพพาน.
ไม่ยึดถือกิเลสด้วยทำให้เกิดขึ้น. ไม่ยึดถือสังขตะเป็นอารมณ์ด้วยการ
ไม่ชี้ถึงโทษ. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปฏินิสฺสชฺชติ, ใน
อาทิยติ - ย่อมสละคืน, ย่อมไม่ยึดถือ.
บัดนี้ เพื่อแสดงการละธรรมด้วยญาณเหล่านั้นของพระโยคาวจร
นั้น พระสารีบุตรจึงกล่าวบทมีอาทิว่า อนิจฺจโต อนุปสฺสนฺโต
นิจฺจสญฺญํ ปชหติ -
พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง
ย่อมสละนิจสัญญา ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า นนฺทึ - ความพอใจ ได้แก่ ตัณหา
พร้อมด้วยปีติ.
บทว่า ราคํ - ความกำหนัด ได้แก่ ตัณหาที่เหลือ.
บทว่า สมุทยํ - ความเกิดขึ้น ได้แก่ ความเกิดขึ้นแห่งราคะ. อีก
อย่างหนึ่ง ได้แก่ ความเกิดขึ้นแห่งรูป.

บทว่า อาทานํ - ความยึดถือ ได้แก่ ยึดถือกิเลสด้วยการทำให้
เกิด. พึงทราบบทมีอาทิว่า เวทนารมฺมณตา - ความมีเวทนาเป็นอารมณ์
โดยนัยดังกล่าวแล้วในที่นี้ และในตอนก่อน.

114] อนึ่ง พึงทราบความในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บทว่า
วตฺถุสงฺกมนา - การก้าวไปสู่วัตถุ ความว่า การก้าวไปสู่วัตถุอื่นแต่
ปุริมวัตถุ ด้วยการเห็นความดับของจิตที่เห็นความดับของขันธ์หนึ่ง ๆ
ในขันธ์ทั้งหลายมีรูปขันธ์เป็นต้น เป็นอันเห็นความดับแล้ว.
บทว่า ปญฺญาย จ วิวฏฺฏนา - การหลีกไปด้วยปัญญา ได้แก่
ละความเกิดเสียแล้วตั้งอยู่ในความเสื่อม.
บทว่า อาวชฺชนา พลญฺเจว - การคำนึงถึงอันเป็นกำลัง คือ
ความเป็นผู้สามารถคำนึงถึงในลำดับนั่นเอง เพื่อเห็นความดับของขันธ์
หนึ่ง ๆ ในขันธ์ทั้งหลายมีรูปขันธ์เป็นต้นแล้ว เห็นความดับของจิต
อันมีความดับเป็นอารมณ์.
บทว่า ปฏิสงฺขา วิปสฺสนา - การพิจารณาหาทางและความ
เห็นแจ้ง คือ การพิจารณาอารมณ์นี้ ชื่อว่า ภังคานุปัสนา.
บทว่า อารมฺมณอนฺวเยน อุโภ เอกววตฺถนา ธรรม 2 อย่าง
บัณฑิตกำหนดเอาด้วยสภาพเดียวกัน โดยความเป็นไปตามอารมณ์
ความว่า การกำหนดธรรม 2 ประการ โดยสภาพเดียวกันว่า สังขาร
แม้ในอดีตแตกแล้ว, แม้ในอนาคตก็จักแตกเหมือนสังขารนี้ ด้วยความ

เป็นไปตามอารมณ์ที่เห็นแล้ว โดยประจักษ์. แม้โบราณาจารย์
ก็กล่าวไว้ว่า
สํวิชฺชมานมฺหิ วิสุทฺธทสฺสโน
ตทนฺวยํ เนติ อตีตนาคเต,
สพฺเพปิ สงฺขารคตา ปโลกิโน
อุสฺสาวพินฺทู สุริเยว อุคฺคเต.

ภิกษุผู้มีความเห็นบริสุทธิ์ในสังขารที่เป็น
ปัจฺจุบัน ย่อมน้อมนำความเห็นบริสุทธิ์นั้นไป
พิจารณาสังขารที่เป็นอดีตและอนาคตว่า สังขาร
ทั้งหลายแม้ทั้งหมดก็มี ปรกติแตกสลายไป เหมือน
หยาดน้ำค้างแห้งไปใน เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ฉะนั้น.

บทว่า นิโรเธ อธีมุตฺตตา - ความน้อมจิตไปในความดับ
ความว่า ความน้อมไป ความเป็นผู้หนักแน่น ความเอียงไป ความ
โอนไป ความลาดไปในความดับ อันได้แก่ภังคะ - ความทำลายนั้น
เพราะทำความกำหนดธรรมทั้งสองอย่างให้เป็นอันเดียวกัน ด้วยอำนาจ
ความดับอย่างนี้.
บทว่า วยลกฺขณวิปสฺสนา - วิปัสสนาอันมีความเสื่อมไปเป็น
ลักษณะ ท่านอธิบายว่า วิปัสสนานี้ชื่อว่า วยลักขณวิปัสสนา.

บทว่า อารมฺมณญฺจ ปฏิสงฺขา - พิจารณาอารมณ์ คือรู้อารมณ์
มีรูปเป็นต้นก่อน.
บทว่า ภงฺคญฺจ อนุปสฺสติ - พิจารณาเห็นความดับ ความว่า
เห็นความดับของอารมณ์นั้นแล้ว พิจารณาเห็นความดับของอารมณ์นั้น
และของจิต.

บทว่า สุญฺญโต จ อุปฏฺฐานํ - ปรากฏโดยความเป็นของสูญ
ได้แก่ ความปรากฏโดยความเป็นของสูญว่า สังขารทั้งหลายย่อมแตก,
ความแตกแห่งสังขารเหล่านั้น คือความตาย, ไม่มีอะไร ๆ อื่น ดังนี้
ย่อมสำเร็จ. ด้วยเหตุนั้นโบราณาจารย์จึงกล่าวว่า
ขนฺธา นิรุชฺฌนฺติ น จิตฺถิ อญฺโญ
ขนฺธาน เภโท มรณนฺติ วุจฺจติ,
เตสํ ขยํ ปสฺสติ อปฺปมตฺโต
มณีว วิชฺฌํ วชิเรน โยนิโส.
ขันธ์ทั้งหลายย่อมดับ ไม่มีอะไร ๆ อื่น
คือ ไม่มีสัตว์บุคคล ความแตกแห่งขันธ์ ท่าน
เรียกว่า มรณะ ผู้ไม่ประมาทเห็นความสิ้นไปแห่ง
ขันธ์เหล่านั้นโดยแยบคาย ดุจช่างแก้วมณี ใส่ใจ
อยู่ซึ่งการเจาะด้วยแก้ววิเชียร ฉะนั้น.

บทว่า อธิปญฺญา วิปสฺสนา ท่านอธิบายไว้ว่า การพิจารณา
อารมณ์ การเห็นแจ้งความดับและความปรากฏโดยความเป็นของสูญ
ชื่อว่า อธิปัญญาวิปัสสนา - ความเห็นแจ้งด้วยอธิปัญญา.
บทว่า กุสโล ตีสุ อนุปสฺสนาสุ ได้แก่ ภิกษุผู้ฉลาด
ในอนุปัสนา 3 มีอนิจจานุปัสนาเป็นต้น.
บทว่า จตูสุ จ วิปสฺสนาสุ ได้แก่ ในวิปัสสนา 4 มี
นิพพิทานุปัสนาเป็นต้น.
บทว่า ตโย อุปฏฺฐาเน กุสลตา ความเป็นผู้ฉลาด ความ
ปรากฏ 3 ประการ ได้แก่ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในความปรากฏ
3 ประการนี้ คือ โดยความสิ้นไป โดยความเสื่อมไป และโดยความ
สูญไป.
บทว่า นานาทิฏฺฐีสุ น กมฺปติ - ย่อมไม่หวั่นในทิฏฐิต่าง ๆ
คือ ไม่หวั่นไหวในทิฏฐิมีประการต่างๆ มีสัสสตทิฏฐิเป็นต้น พระ-
โยคาวจรนั้นมิได้หวั่นไหวอยู่อย่างนี้ มีมนสิการเป็นไปแล้วว่า สิ่งไม่
ดับย่อมดับ, สิ่งไม่แตกย่อมแตก
ดังนี้ ก็สละนิมิตอันเป็นไปแล้ว
ในอุปาทะฐิติแห่งสังขารทั้งปวง ดุจภาชนะเก่ากำลังแตก, ดุจธุลีละเอียด
กำลังกระจัดกระจาย, ดุจเมล็ดงาถูกคั่วอยู่ ย่อมเห็นความทำลายนั่นเอง.
พระโยคาวจรนั้น ย่อมเห็นว่าสังขารทั้งหลายทั้งปวง ย่อมทำลายไป
ทำลายไปเหมือนบุรุษผู้มีตาดียืนอยู่บนผมสระโบกขรณี หรือบนฝั่งแม่น้ำ

เมื่อฝนหนาเม็ดตก พึงเห็นฟองน้ำฟองใหญ่ ๆ ผุดขึ้นๆ บนหลังน้ำ
แล้วก็แตกไป ฉะนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงพระโยคาวจรเห็นปานนั้นว่า
ยถา ปุพฺพุฬกํ ปสฺเส ยถา ปสฺเส มรีจิกํ
เอวํ โลกํ อเวกฺขนฺตํ มจฺจุราชา น ปสฺสติ.1
มัจจุราช ย่อมไม่เห็นผู้พิจารณาเห็นโลกอยู่
เหมือนพระโยคาวจรเห็นฟองน้ำ หรือพยับแดด
ฉะนั้น.

เมื่อพระโยคาวจรนั้นเห็นบ่อย ๆ อย่างนี้ว่า สังขารทั้งหลาย
ทั้งปวง ย่อมแตกไป ๆ ดังนี้ ภังคานุปัสนาญาณมีอานิสงส์ 8 เป็น
บริวารย่อมมีกำลัง.
อานิสงส์ 8 เหล่านี้ คือ
การละภวทิฏฐิ 1
การสละความใคร่ในชีวิต 1
การประกอบความขวนขวายในการบุญทุกเมื่อ 1
ความมีอาชีพบริสุทธิ์ 1
การละความขวนขวายในการทำบาป 1
ความปราศจากภัย 1
1. ขุ. ธ. 25/33.

การได้ขันติและโสรัจจะ 1
การอดกลั้นความยินดียินร้าย 1.
ด้วยเหตุนั้น โบราณาจารย์จึงกล่าวว่า
อิมานิ อฏฺฐคฺคุณมุตฺตมานิ
ทิสฺวา ตหึ สมฺมสตี ปุนปฺปุนํ,
อาทิตฺตเจลสฺสิรสูปโม มุนิ
ภงฺคานุปสฺสี อมตสฺส ปตฺติยา.
พระมุนี ผู้เห็นสังขารทั้งหลายแตกดับไป
เนือง ๆ ครั้นเห็นอานิสงส์อันมีการละภวทิฏฐิเป็น
ต้น เหล่านี้ว่าเป็นธรรมสูงสุด ด้วยคุณ 8 ประการ
แล้ว เพื่อบรรลุอมตะคือพระนิพพาน จึงพิจารณา
สังขารด้วยภังคานุปัสนาญาณบ่อย ๆ เหมือนบุคคล
มีผ้าโพกศีรษะอันไฟกำลังลุกไหม้ ฉะนั้น.

จบ อรรถกถาภังคานุปัสสนาญาณนิทเทส

อาทีนวญาณนิทเทส


[115] ปัญญาในความปรากฏเป็นของน่ากลัว เป็นอาทีนว-
ญาณอย่างไร ?
ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นภัยว่า ความเกิดขึ้นเป็นภัย
ความเป็นไปเป็นภัย สังขารนิมิตเป็นภัย ฯ ล ฯ กรรมประมวลมาเป็นภัย
ปฏิสนธิเป็นภัย คติเป็นภัย ความบังเกิดเป็นภัย ความอุบัติเป็นภัย
ชาติเป็นภัย ชราเป็นภัย พยาธิเป็นภัย มรณะเป็นภัย ความโศกเป็น
ภัย ความรำพันเป็นภัย ความคับแค้นใจเป็นภัย เป็นอาทีนวญาณ
แต่ละอย่าง.
ญาณในสันติบทว่า ความไม่เกิดขึ้นปลอดภัย ความไม่เป็นไป
ปลอดภัย ฯ ล ฯ ความไม่คับแค้นใจปลอดภัย ญาณในสันติบทว่า
ความเกิดขึ้นเป็นภัย ความไม่เกิดขึ้นปลอดภัย ความเป็นไปเป็นภัย
ความไม่เป็นไปปลอดภัย ฯ ล ฯ ความคับแค้นใจเป็นภัย ความไม่
คับแค้นใจปลอดภัย ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นภัยว่า ความ
เกิดขึ้นเป็นทุกข์ ฯ ล ฯ ความคับแค้นใจเป็นทุกข์ เป็นอาทีนวญาณ
แต่ละอย่าง ๆ ญาณในสันติบทว่า ความไม่เกิดขึ้นเป็นสุข ความไม่
เป็นไปเป็นสุข ฯ ล ฯ ความไม่คับแค้นใจเป็นสุข.
[116] ญาณในสันติบทว่า ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์ ความไม่
เกิดขึ้นเป็นสุข ความเป็นไปเป็นทุกข์ ความไม่เป็นไปเป็นสุข ฯ ล ฯ