เมนู

กำหนดทุกขสัจ ด้วยการเห็นความเกิดและความเสื่อมโดยขณะ ด้วย
อุทยัพพยานุปัสนาญาณ, การกำหนดสมุทยสัจ ด้วยการเห็นความเกิด
โดยปัจจัย, การกำหนดนิโรธสัจ ด้วยการเห็นความเสื่อมโดยปัจจัย,
การเห็นความเกิดและความเสื่อมของพระโยคาวจรผู้เห็นแจ้งใน มัคคา-
มัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
นี้ โดยกำจัดความหลงในมรรคนั้นว่า นี้คือ
มรรคเป็นโลกิยะเป็นอันนำความกำหนดมรรคสัจ ด้วยการรับรองมรรค
โดยชอบ. ด้วยประการฉะนี้ จึงเป็นอันท่านทำความกำหนดสัจจะ 4
ด้วยญาณเป็นโลกิยะ.
จบ อรรถกถาอุทยัพพยญาณนิทเทส

ภังคานุปัสสนาญาณนิทเทส


[112] ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความ
แตกไป เป็นวิปัสสนาญาณอย่างไร ?
จิตมีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้วย่อมแตกไป พระโยคาวจร
พิจารณาอารมณ์นั้นแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นความแตกไปแห่งจิตนั้น ย่อม
พิจารณาเห็นอย่างไร ชื่อว่าพิจารณาเห็น ย่อมพิจารณาเห็นโดยความ
เป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ย่อมพิจารณา
เห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข ย่อมพิจารณา

เห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อม
เบื่อหน่าย ไม่เพลิดเพลิน ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมให้ดับ
ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง ย่อมละนิจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อม
ละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตสัญญาได้
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความเพลิดเพลิดได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละ
ราคะได้ เมื่อให้ดับย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่น
ได้.
[113] จิตมีเวทนาเป็นอารมณ์ ฯ ล ฯ จิตมีสัญญาเป็นอารมณ์
ฯ ล ฯ จิตมีสังขารเป็นอารมณ์ ฯ ล ฯ จิตมีวิญญาณเป็นอารมณ์ ฯ ล ฯ
จิตมีจักษุเป็นอารมณ์ ฯ ล ฯ จิตมีชราและมรณะเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น
แล้วย่อมแตกไป พระโยคาวจรพิจารณาอารมณ์นั้นแล้ว พิจารณาเห็น
ความแตกไปแห่งจิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็นอย่างไร ชื่อว่าพิจารณาเห็น
ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เมื่อสละคืน ย่อมละความ
ถือมั่นได้.
[114] การก้าวไปสู่วัตถุแต่ปุริมวัตถุ การหลีกไปด้วยปัญญา
อันรู้ชอบ. การคำนึงถึงอันเป็นกำลัง ธรรม 2 ประการ คือ การ
พิจารณาหาทางและความเห็นแจ้ง บัณฑิตกำหนดเอาด้วยสภาพเดียวกัน
โดยความเป็นไปตามอารมณ์ ความน้อมจิตไปในความดับ ชื่อว่า

วิปัสสนาอันมีความเสื่อมไปเป็นลักษณะ การที่พระโยคาวจรพิจารณา
อารมณ์แล้ว พิจารณาเห็นความแตกไปแห่งจิตและความปรากฏโดยความ
เป็นของสูญ ชื่อว่าอธิปัญญาวิปัสสนา - ความเห็นแจ้งด้วยอธิปัญญา
พระโยคาวจรผู้ฉลาดในอนุปัสนา 3 ในวิปัสสนา 4 ย่อมไม่หวั่นไหว
ในทิฏฐิต่าง ๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในความปรากฏ 3 ประการ.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณา
อารมณ์ แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป เป็นวิปัสสนาญาณ.

อรรถกถาภังคานุปัสสนาญาณนิทเทส


112 - 113] พระโยคาวจรนั้นตั้งอยู่ในอุทยัพพยานุปัสนาญาณ
ครั้นรู้อุทยัพพยานุปัสนาญาณที่ปฏิบัติไปตามวิถี พ้นจากอุปกิเลสด้วย
การให้กำหนดมรรค - ทาง และมิใช่มรรค - ทาง ว่าเป็นมรรค - ทาง
ดังนี้ แล้วปรารภอุทยัพพยานุปัสนาญาณอีก เพื่อทำญาณนั้นให้บริสุทธิ์
ด้วยดี ด้วยกำหนดพระไตรลักษณ์ แล้วเห็นแจ้งสังขารทั้งหลายที่กำหนด
ด้วยความเกิดและความเสื่อม โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น. ญาณ
นั้นของพระโยคาวจรนั้นเป็นญาณแก่กล้า ย่อมนำไปอย่างนี้, สังขาร
ทั้งหลายย่อมปรากฏเบา, เมื่อญาณแก่กล้านำไป เมื่อสังขารปรากฏเบา
ญาณไม่ก้าวล่วงความเกิด เมื่อความดับมีอยู่ ก็ยังตั้งอยู่พร้อม.