เมนู

อรรถกถาอุทยัพพยญาณนิทเทส


103 - 111] บัดนี้ เพื่อกำหนดสังขารทั้งหลายอันผู้ไปถึงฝั่ง
ตั้งอยู่แล้วด้วยทำภาวนาให้มั่นคงโดยนัยต่าง ๆ แห่งสัมมสนญาณดังกล่าว
แล้วในลำดับ เห็นแล้วโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ด้วย อุท-
ยัพพยญาณ แล้วพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น พระ-
สารีบุตรจึงแสดงรูปอันเกิดด้วยปัจจัยทั้งหลายตามที่เป็นของตน ด้วย
สันตติในบทมีอาทิว่า ชาตํ รูปํ - รูปที่เกิดแล้ว ในนิทเทสแห่ง อุท-
ยัพพยานุปัสนาญาณ ดังกล่าวแล้ว.
บทว่า อุทโย ได้แก่ ชาติ คือ ความเกิดเป็นอาการใหม่แห่ง
รูปที่เกิดแล้วนั้น มีความเกิดเป็นลักษณะ.
บทว่า วโย ได้แก่ ความสิ้นไป ความดับไป มีความแปรปรวน
เป็นลักษณะ, การพิจารณาถึงบ่อย ๆ ชื่อว่า อนุปัสนา, อธิบายว่า
ได้แก่ อุทยัพพยานุปัสนาญาณ. แม้ในเวทนาเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือน
กัน. ไม่แตะต้องชาติชราและมรณะ เพราะความเกิดความเสื่อมอันผู้
มีชาติชราและมรณะควรกำหนดถือเอา ไม่แตะต้องชาติชราและมรณะ
เพราะไม่มีความเกิดและความเสื่อม แล้วท่านทำไปยาลว่า ชาตํ จกฺขุํ
ฯ เป ฯ ชาโต ภโว -
จักษุเกิดแล้ว...ภพเกิดแล้ว ดังนี้. พระโยคาวจร
นั้น เมื่อเห็นความเกิดและความเสื่อมของขันธ์ 5 อย่างนี้ ย่อมรู้อย่างนี้

ว่า การรวมเป็นกองก็ดี การสะสมก็ดี ย่อมไม่มีแก่ขันธ์ที่ยังไม่เกิด
ก่อนแต่ขันธ์เหล่านี้เกิด, ชื่อว่าการมา โดยรวมเป็นกอง โดยความ
สะสม ย่อมไม่มีแม้แก่ขันธ์ที่เกิดขึ้น, ชื่อว่าการไปสู่ทิศน้อยใหญ่ ย่อม
ไม่มีแม้แก่ขันธ์ที่ดับ, ชื่อว่าการตั้งลงโดยรวมเป็นกอง โดยสะสม โดย
เก็บไว้ในที่แห่งหนึ่ง ย่อมไม่มีแม้แก่ขันธ์ที่ดับแล้ว. เหมือนนักดีดพิณ
เมื่อเขาดีดพิณอยู่ เสียงพิณก็เกิด, มิใช่มีการสะสมไว้ก่อนเกิด, เมื่อ
เกิดก็ไม่มีการสะสม, การไปสู่ทิศน้อยใหญ่ออกเสียงพิณที่ดับไปก็ไม่มี,
ดับแล้วไม่ว่าที่ไหนก็ไม่สะสมตั้งไว้, ที่แท้แล้วพิณก็ดี นักดีดพิณก็ดี
อาศัยความพยายามอันเกิดแต่ความพยายามของลูกผู้ชายไม่มีแล้วยังมีได้,
ครั้นมีแล้วยังเสื่อมได้ฉันใด, ธรรมมีรูปและไม่มีรูปแม้ทั้งหมดก็ฉันนั้น
ไม่มีแล้วยังมีได้ ครั้นมีแล้วยังเสื่อมได้ พระโยคาวจรย่อมเห็นด้วย
ประการฉะนี้แล.
พระสารีบุตรครั้นแสดงการเห็นความเกิดและความเสื่อมโดยสัง-
เขปอย่างนี้แล้ว บัดนี้เพื่อจะแสดงโดยพิสดาร จึงถามถึงจำนวนโดย
รวมเป็นกองด้วยบทมีอาทิว่า ปญฺจนฺนํ ขนฺธานํ อุทยํ ปสฺสนฺโต
กติ ลกฺขณานิ ปสฺสติ - พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิด
แห่งขันธ์ 5 ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อพิจารณาเห็นความ
เกิดแห่งขันธ์ 5 จึงแก้ถึงจำนวนโดยรวมเป็นกองด้วยบทมีอาทิว่า ปญฺ-
จวีสติ ลกฺขณานิ ปสฺสติ - ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 25 แล้วถาม

ถึงจำนวนโดยการจำแนกอีกด้วยบทมีอาทิว่า รูปกฺขนฺธสฺส อุทยํ
ปสฺสนฺโต กติ ลกฺขณานิ ปสฺสติ -
พระโยคาวจร เมื่อพิจารณา
เห็นความเกิดแห่งรูปขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร แล้วแก้จำนวน
โดยการจำแนกด้วยบทมีอาทิว่า รูปกฺขนฺธสฺส อุทยํ ปสฺสนฺโต ปญฺจ
ลกฺขณานิ ปสฺสติ -
พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดของ
รูปขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 5 แล้วถามถึงการจำแนกลักษณะ
อีกด้วยบทมีอาทิว่า รูปกฺขนฺธสฺส อุทยํ ปสฺสนฺโต กตมานิ ปญฺจ
ลกฺขณานิ ปสฺสติ -
เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดแห่งรูปขันธ์ ย่อมเห็น
ลักษณะ 5 เป็นไฉน แล้วจึงได้แก้ต่อไป.

ในบทเหล่านั้นบทว่า อวิชฺชาสมุทยา รูปสมุทฺทโย - เพราะ
อวิชชาเกิดรูปจึงเกิด ความว่า เมื่อมีอวิชชาดังกล่าวแล้วว่า โมหะใน
กรรมภพก่อนเป็นอวิชชา ย่อมเกิดรูปในภพนี้. บทว่า ปจฺจยสมุท-
ยฏฺเฐน
ความว่า โดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยนี้. อนึ่ง อวิชชา ตัณหา
กรรมเป็นปัจจัยในอดีตเป็นเหตุแห่งปฏิสนธิในภพนี้. และเมื่อยึดถือ
อวิชชา ตัณหา กรรม 3 อย่างเหล่านี้ เป็นอันยึดถือสังขารุปาทาน
- ความยึดมั่นในสังขารนั่นเอง.

บทว่า อาหารสมุทยา - เพราะอาหารเกิด ได้แก่ เพราะกว-
ฬิงการาหารมีกำลังในปัจจัยอันเป็นไป จึงถือเอาอาหารนั่นแล. ก็เมื่อ

ถือเอาอาหารนั้นก็เป็นอันถือเอาแม้อุตุและจิตอันเป็นเหตุแห่งความเป็น
ไปด้วยเหมือนกัน.
บทว่า นิพฺพตฺติลกฺขณํ - มีการเกิดเป็นลักษณะ ความว่า
ท่านกล่าวถึงความเกิดแห่งรูปด้วยสามารถแห่งอัทธา - กาล สันตติและ
ขณะ, อนึ่ง การเกิดนั่นแล ชื่อว่าลักษณะ เพราะเป็นลักษณะแห่ง
สังขตะ.
บทว่า ปญฺจ ลกฺขณานิ - ลักษณะ 5 ได้แก่ ลักษณะ 5
เหล่านี้ คือ อวิชชา ตัณหา กรรม อาหาร และ การเกิด.
จริงอยู่ แม้ธรรม 4 มีอวิชชาเป็นต้น ก็ชื่อว่า ลักขณะ เพราะเป็น
เครื่องกำหนดความเกิดแห่งรูป. ส่วน นิพฺพตฺติ - การเกิดเป็นลักษณะ
แห่งสังขตะ ชื่อว่า ลักขณะ เพราะเป็นเครื่องกำหนดว่า แม้ความ
เกิดนั้นก็เป็น สังขตะ.
บทว่า อวิชฺชานิโรธา รูปนิโรโธ - เพราะอวิชชาดับรูปจึงดับ
ความว่า เมื่อดับอวิชชาในภพนี้ เพราะเป็นปัจจัยแห่งภพอนาคตด้วย
อรหัตมรรคญาณ รูปอนาคตย่อมไม่เกิด คือ ดับเพราะไม่มีปัจจัย
บทว่า ปจฺจยนิโรธฏฺเฐน - ด้วยความดับแห่งปัจจัย คือ ด้วย
ความที่ปัจจัยดับ. อนึ่ง ในความดับในบทนี้เป็นความดับ อวิชชา
ตัณหา และกรรม อันเป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิในอนาคต.

บทว่า อาหารนิโรธา รูปนิโรโธ - เพราะอาหารดับรูปจึงดับ
ได้แก่ ความไม่มีรูปอันมีอาหารนั้นเป็นสมุฏฐานย่อมมีได้ ในเพราะ
ความไม่มีกวฬิงการาหาร อันเป็นปัจจัยแห่งความเป็นไป.
บทว่า วิปริณามลกฺขณํ - มีความแปรปรวนเป็นลักษณะ ได้
แก่ ความดับแห่งรูปด้วยสามารถ อัทธา - กาล สันตติและขณะ,
ความดับนั่นแล ท่านกล่าวว่า เป็นลักษณะ เพราะเป็นลักษณะแห่ง
สังขตะ.
บทว่า ปญฺจ ลกฺขณานิ - ลักษณะ 5 ในบทนี้ ได้แก่ ดับ
ความไม่มี อวิชชา ตัณหา กรรม และอาหาร 4, ความแปรปรวน 1
รวมเป็น 5. ในเวทนาขันธ์เป็นต้น ก็มีนัยนี้. แต่ต่างกัน คือ การ
เห็นความเกิดและความเสื่อมแห่งอรูปขันธ์ด้วยสามารถแห่งอัทธา - กาล
และสันตติ มิใช่ด้วยขณะ. ผัสสะเป็นปัจจัยแห่งความเป็นไปของเวทนา-
ขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์, นิโรธเป็นปัจจัยแห่งความเป็นไป
ของเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ เพราะดับผัสสะนั้น.
นามรูปเป็นปัจจัยแห่งความเป็นไปของวิญญาณขันธ์. นิโรธเป็นปัจจัย
แห่งวิญญาณขันธ์ เพราะดับนามรูปนั้น.
แต่อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า นามรูปไม่แตะต้องการจำแนกอดีต
เป็นต้น ในเพราะเห็นความเกิดและความเสื่อมโดยปัจจัย 4 แล้วเกิดขึ้น
ด้วยอวิชชาเป็นต้น ด้วยสามารถความเสมอกันทั้งหมด เพราะเหตุนั้น

จึงถือเอาเหตุสักว่าความเกิดขึ้น มิใช่ความเกิด. เพราะอวิชชาเป็นต้น
ดับนามรูปจึงดับ เพราะเหตุนั้น จึงถือเอาเหตุสักว่าความไม่เกิด มิใช่
ถือเอาความดับ. นามรูป ได้แก่ พระโยคาวจร ย่อมถือเอาความเกิด
ความดับแห่งขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน ในเพราะการเห็นความเกิด
และความเสื่อมโดยขณะดังนี้.
ผู้เจริญวิปัสสนา เมื่อเจริญวิปัสสนาใส่ใจถึงความเกิดและความ
เสื่อมโดยความเป็นปัจจัยก่อนแล้วและธรรม 4 มีอวิชชาเป็นต้น ใน
ขณะเจริญวิปัสสนาถือเอาขันธ์ทั้งหลาย ที่มีความเกิดและความเสื่อมนั่น
แล แล้วจึงเห็นความเกิดและความเสื่อมของขันธ์เหล่านั้น. เมื่อผู้เจริญ
วิปัสสนาอย่างนี้เห็นความเกิดและความเสื่อม โดยพิสดาร โดยปัจจัย
และโดยลักษณะว่า ความเกิดแห่งรูปเป็นต้นอย่างนี้, ความเสื่อมอย่าง
นี้, รูปเป็นต้นเกิดขึ้นอย่างนี้, เสื่อมไปอย่างนี้ ญาณว่า นัยว่าธรรม
เหล่านี้ไม่มี แล้วมี มีแล้วเสื่อมดังนี้ เป็นญาณบริสุทธิ์กว่า. ประเภทของ
สัจจะปฏิจจสมุปปาทนัย และลักษณะย่อมปรากฏ. พระโยคาวจรนั้น
ย่อมเห็นความเกิดขันธ์ทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นต้นเกิด และ
ความดับแห่งขันธ์ทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นต้นดับ, นี้เป็นการเห็น
ความเกิดและความดับโดยปัจจัยของพระโยคาวจรนั้น.
อนึ่ง พระโยคาวจร เมื่อเห็นความเกิดเป็นลักษณะ ความ
แปรปรวนเป็นลักษณะ ชื่อว่าย่อมเห็นความเกิดและความเสื่อมของขันธ์

ทั้งหลาย นี้เป็นการเห็นความเกิดและความเสื่อมโดยขณะของพระ-
โยคาวจรนั้น. จริงอยู่ ความเกิดเป็นลักษณะในขณะเกิดนั่นเอง และ
ความแปรปรวนก็เป็นลักษณะในขณะดับ.
สมุทยสัจ ย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจรด้วยการเห็นความเกิด
โดยปัจจัยซึ่งเห็นความเกิดและความเสื่อมโดยส่วนทั้งสอง คือ โดย
ปัจจัยและโดยขณะของพระโยคาวจรผู้เข้าใจถึงตัณหาให้เกิด. ทุกขสัจ
ย่อมปรากฏด้วยการเห็นความเกิด โดยขณะแก่พระโยคาวจรผู้เข้าใจถึง
ทุกข์ที่เกิด. นิโรธสัจ ย่อมปรากฏด้วยการเห็นความเสื่อมโดยปัจจัย
แก่พระโยคาวจรผู้เข้าใจความไม่เกิดแห่งความมีปัจจัย โดยที่ปัจจัยไม่
เกิด. ทุกขสัจ นั่นแลย่อมปรากฏด้วยการเห็นความเสื่อมโดยขณะแก่
พระโยคาวจรผู้เข้าใจมรณทุกข์. อนึ่ง การเห็นความเกิดและความเสื่อม
ของพระโยคาวจรนั้น มรรคสัจ ย่อมปรากฏว่า มรรคนี้ยังเป็นโลกิยะ
เพราะกำจัดความหลงในการเห็นความเกิดและความเสื่อมนั้น.
อนึ่ง ปฏิจจสมุปบาทเป็นอนุโลม ด้วยการเห็นความเกิด โดย
ปัจจัยย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจรนั้น ผู้เข้าใจว่า อิมสฺมึ สติ, อิทํ
โหติ1 -
เมื่อสิ่งนี้มีอยู่, สิ่งไม่ย่อมมี. ปฏิจจสมุปบาทเป็นปฏิโลม ด้วยการ
เห็นความเสื่อม โดยปัจจัยย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจรผู้เข้าใจว่า อิมสฺส
1. ม. มู. 12/448.

นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ1- เพราะสิ่งนี้ดับ, สิ่งนี้จึงดับดังนี้. อนึ่ง ธรรม
ทั้งหลายที่อาศัยกันเกิดขึ้น ด้วยการเห็นความเกิดและความเสื่อม โดย
ขณะย่อมปรากฏ ด้วยการเห็นความเกิดและความเสื่อมโดยขณะ แก่
พระโยคาวจรผู้เข้าใจลักษณะแห่งสังขตะ. เพราะสังขตธรรมทั้งหลาย
มีเกิดและเสื่อม, สังขตธรรมเหล่านั้นอาศัยกันเกิดขึ้น.
อนึ่ง นัย 4 คือ เอกัตตนัย - นัยแห่งความเป็นอันเดียวกัน ด้วย
การเห็นความเกิดโดยปัจจัย ย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจรนั้นผู้เข้าใจ
ความขาดไปแห่งสันดานด้วยการสัมพันธ์กันด้วยเหตุผล ทีนั้น พระ-
โยคาวจร ย่อมละอุจเฉททิฏฐิได้เป็นอย่างดี. นานัตตนัย - นัยแห่ง
ความต่าง ๆ กัน ด้วยการเห็นความเกิดโดยขณะย่อมปรากฏแก่พระโย-
คาวจรผู้เข้าใจถึงความเกิดแห่งธรรมใหม่ ๆ ทีนั้นพระโยคาวจร ย่อมละ
สัสสตทิฏฐิได้เป็นอย่างดี. อนึ่ง อัพยาปารนัย - นัยแห่งความไม่
ขวนขวาย ด้วยการเห็นความเกิดโดยปัจจัย ย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจร
ผู้เข้าใจถึงความที่ธรรมทั้งหลายไม่เป็นไปในอำนาจ ทีนั้นพระโยคาวจร
ย่อมละอัตทิฏฐิได้เป็นอย่างดี. อนึ่ง เอวังธรรมตานัย - นัยอัน
เป็นธรรมดาอย่างนี้ ด้วยการเห็นความเกิดโดยปัจจัย ย่อมปรากฏแก่
พระโยคาวจรผู้เข้าใจความเกิดแห่งผลโดยความสมควรแก่ปัจจัย ทีนั้น
พระโยคาวจรย่อมละอกิริยทิฏฐิได้เป็นอย่างดี.
1. ม. มู. 12/450.

อนึ่ง อนัตลักษณะ ด้วยการเห็นความเกิดโดยปัจจัย ย่อม
ปรากฏแก่พระโยคาวจรนั้น ผู้เข้าใจถึงความประพฤติอันเนื่องด้วยปัจจัย
คือไม่มีความเพียรในธรรมทั้งหลาย. อนิจลักษณะ ด้วยการเห็นความ
เกิดและความเสื่อมโดยปัจจัย ย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจรผู้เข้าใจถึง
ความมีเเล้วไม่มีและผู้เข้าใจถึงความสงัดจากที่สุดเบื้องต้นและเบื้องปลาย.
แม้ทุกขลักษณะ ก็ปรากฏแก่พระโยคาวจรผู้เข้าใจถึงความบีบคั้น
ด้วยความเกิดและความเสื่อม. แม้สภาวลักษณะ ก็ย่อมปรากฏแก่
พระโยคาวจรผู้เข้าใจถึงการกำหนดความเกิดและความเสื่อม แม้ความ
เป็นไปชั่วคราวของสังขตลักษณะในสภาวลักษณะ
ก็ย่อมปรากฏ
แก่พระโยคาวจรผู้เข้าใจถึงความไม่มีความเสื่อม ในลักษณะแห่งการเกิด
และการเกิดในขณะแห่งความเสื่อม.
สังขารทั้งหลายใหม่เป็นนิจ ย่อมปรากฏแก่ประเภทของสัจจะ
ปฏิจจสมุปปาทนัยและลักษณะที่มีความปรากฏแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้
ที่ยังไม่เคยเกิดก็เกิด ที่เกิดแล้วก็ดับไป
ดังนี้. สังขารทั้งหลาย
มิใช่ใหม่เป็นนิจอย่างเดียว, สังขารทั้งหลายย่อมปรากฏ ดุจหยาดน้ำ
ค้างในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น ดุจฟองน้ำ ดุจรอยไม้ขีดในน้ำ ดุจเมล็ด-
ผักกาดบนปลายเข็ม ดุจฟ้าแลบ ดุจมายา พยับแดด, ความฝัน ลูกไฟ,
ล้อรถ, คนธรรพ์, นคร, ต่อมน้ำและต้นกล้วยเป็นต้น หาแก่นสารมิ
ได้ ไม่มีสาระ. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ วิปัสสนาอย่างอ่อนอันชื่อว่าอุท-

ยัพพยานุปัสนาอันพระโยคาวจรนั้นแทงตลอดลักษณะ 50 ถ้วน โดย
อาการนี้ว่า ความเสื่อมเป็นธรรมดาย่อมเกิดขึ้น, และพระโยคา-
วจรย่อมเข้าถึงความเสื่อมที่เกิดขึ้นแล้ว
ดังนี้ ตั้งอยู่เป็นอันบรรลุ
ก่อน, เพราะบรรลุญาณใด พระโยคาวจรย่อมชื่อว่า อารทฺธวิปสฺสโก
- ผู้ปรารภวิปัสสนา. วิปัสสนูปกิเลส 10 มีโอภาสเป็นต้น ย่อม
เกิดแก่พระโยคาวจรผู้ตั้งอยู่ในญาณนี้, พระโยคาวจรผู้ไม่ฉลาดเป็นผู้มี
ความสำคัญในอุปกิเลสที่เกิดขึ้นว่าเป็นมรรคญาณ ย่อมถือเอาสิ่งที่ไม่
เป็นมรรคว่าเป็นมรรค, และเป็นผู้ถูกอุปกิเลสพัวพันให้ยุ่งเหยิง.
ส่วนพระโยคาวจรผู้ฉลาด ยกวิปัสสนาขึ้นในอุปกิเลสเหล่านั้น
สะสาง ความยุ่งเหยิง คือ อุปกิเลสเสีย แล้วกำหนดมรรคคือ ทางและ
มิใช่มรรคว่า ธรรมเหล่านี้มิใช่มรรค. ส่วนวิปัสสนาญาณที่ปฏิบัติไป
ตามวิถี พ้นจากอุปกิเลสเป็นมรรค. ญาณที่รู้ว่าเป็นมรรคและมิใช่มรรค
ของพระโยคาวจรนั้น ตั้งอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า มัคคามัคคญาณทัสสน-
วิสุทธิ -
ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง.
ก็และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นอันทำความกำหนดสัจจะ 4 ด้วย
ญาณนั้น. อย่างไร ? เมื่อมีความเข้าใจนามรูปก็เป็นอันทำความกำหนด
ทุกขสัจด้วยให้กำหนดนามรูป กล่าวคือทิฏฐิวิสุทธิดังกล่าวแล้ว ด้วย
คำว่า ธัมมฐิติญาณ เพราะมีความเข้าใจปัจจัย. การกำหนดสมุทย-
สัจด้วยความเข้าใจปัจจัยอันได้แก่กังขาวิตรณวิสุทธิ, เป็นอันทำความ

กำหนดทุกขสัจ ด้วยการเห็นความเกิดและความเสื่อมโดยขณะ ด้วย
อุทยัพพยานุปัสนาญาณ, การกำหนดสมุทยสัจ ด้วยการเห็นความเกิด
โดยปัจจัย, การกำหนดนิโรธสัจ ด้วยการเห็นความเสื่อมโดยปัจจัย,
การเห็นความเกิดและความเสื่อมของพระโยคาวจรผู้เห็นแจ้งใน มัคคา-
มัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
นี้ โดยกำจัดความหลงในมรรคนั้นว่า นี้คือ
มรรคเป็นโลกิยะเป็นอันนำความกำหนดมรรคสัจ ด้วยการรับรองมรรค
โดยชอบ. ด้วยประการฉะนี้ จึงเป็นอันท่านทำความกำหนดสัจจะ 4
ด้วยญาณเป็นโลกิยะ.
จบ อรรถกถาอุทยัพพยญาณนิทเทส

ภังคานุปัสสนาญาณนิทเทส


[112] ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความ
แตกไป เป็นวิปัสสนาญาณอย่างไร ?
จิตมีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้วย่อมแตกไป พระโยคาวจร
พิจารณาอารมณ์นั้นแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นความแตกไปแห่งจิตนั้น ย่อม
พิจารณาเห็นอย่างไร ชื่อว่าพิจารณาเห็น ย่อมพิจารณาเห็นโดยความ
เป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ย่อมพิจารณา
เห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข ย่อมพิจารณา