เมนู

อรรถกถาอุทยัพพยญาณนิทเทส


103 - 111] บัดนี้ เพื่อกำหนดสังขารทั้งหลายอันผู้ไปถึงฝั่ง
ตั้งอยู่แล้วด้วยทำภาวนาให้มั่นคงโดยนัยต่าง ๆ แห่งสัมมสนญาณดังกล่าว
แล้วในลำดับ เห็นแล้วโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ด้วย อุท-
ยัพพยญาณ แล้วพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น พระ-
สารีบุตรจึงแสดงรูปอันเกิดด้วยปัจจัยทั้งหลายตามที่เป็นของตน ด้วย
สันตติในบทมีอาทิว่า ชาตํ รูปํ - รูปที่เกิดแล้ว ในนิทเทสแห่ง อุท-
ยัพพยานุปัสนาญาณ ดังกล่าวแล้ว.
บทว่า อุทโย ได้แก่ ชาติ คือ ความเกิดเป็นอาการใหม่แห่ง
รูปที่เกิดแล้วนั้น มีความเกิดเป็นลักษณะ.
บทว่า วโย ได้แก่ ความสิ้นไป ความดับไป มีความแปรปรวน
เป็นลักษณะ, การพิจารณาถึงบ่อย ๆ ชื่อว่า อนุปัสนา, อธิบายว่า
ได้แก่ อุทยัพพยานุปัสนาญาณ. แม้ในเวทนาเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือน
กัน. ไม่แตะต้องชาติชราและมรณะ เพราะความเกิดความเสื่อมอันผู้
มีชาติชราและมรณะควรกำหนดถือเอา ไม่แตะต้องชาติชราและมรณะ
เพราะไม่มีความเกิดและความเสื่อม แล้วท่านทำไปยาลว่า ชาตํ จกฺขุํ
ฯ เป ฯ ชาโต ภโว -
จักษุเกิดแล้ว...ภพเกิดแล้ว ดังนี้. พระโยคาวจร
นั้น เมื่อเห็นความเกิดและความเสื่อมของขันธ์ 5 อย่างนี้ ย่อมรู้อย่างนี้