เมนู

สังขารไม่มี ท่านทำเป็นวจนวิปลาส, ท่านกล่าวว่า อสนฺเตสุ สงฺขา -
เรสุ.

บทมีอาทิว่า ภวปจฺจยา ชาติ, อสติ เพราะภพเป็นปัจจัย จึง
มีชาติ, เมื่อภพไม่มี พึงประกอบโดยนัยมีอาทิว่า เพราะภพเป็นปัจจัย
จึงมีชาติ, เมื่อภพไม่มี ชาติก็ไม่มี.
จบ อรรถกถาสัมมสนญาณนิทเทส
------------------------------------

อุทยัพพยญาณนิทเทส


[103]ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรปรวนแห่งธรรม
ทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน เป็นอุทยัพพยานุปัสนาญาณอย่างไร ?
รูปที่เกิดแล้วเป็นปัจจุบัน ชาติแห่งรูปที่เกิดแล้วนั้นมีความเกิด
เป็นลักษณะ ความเสื่อมมีความแปรปรวนเป็นลักษณะ ปัญญาที่
พิจารณาเห็นดังนี้ เป็นอุทยัพพยานุปัสนาญาณ เวทนาเกิดแล้ว สัญญา
เกิดแล้ว สังขารเกิดแล้ว วิญญาณเกิดแล้ว จักษุเกิดแล้ว ฯ ล ฯ ภพ
เกิดแล้วเป็นปัจจุบัน ชาติแห่งภพที่เกิดแล้วนั้นมีความเกิดเป็นลักษณะ
ความเสื่อมมีความแปรปรวนเป็นลักษณะ ปัญญาที่พิจารณาเห็นดังนี้
เป็นอุทยัพพยานุปัสนาญาณ.

[104]พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจ-
ขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไป
แห่งเบญจขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อพิจารณาเห็น
ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ
เท่าไร ?
พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์
ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 25 ประการ เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไป
แห่งเบญจขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 25 ประการ เมื่อพิจารณา
เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็น
ลักษณะ 50 ประการ.
[105] พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูป-
ขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไป
แห่งรูปขันธ์ ย่อมพิจารณาเป็นลักษณะเท่าไร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิด
ขึ้นและความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร
พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ แห่ง
สัญญาขันธ์ แห่งสังขารขันธ์ แห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็น
ลักษณะเท่าไร เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อม
พิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความ
เสื่อมไปแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร ?

พระโยคาวจร ย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ ย่อม
พิจารณาเห็นลักษณะ 5 ประการ เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งรูป-
ขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 5 ประการ เมื่อพิจารณาเห็นความ
เกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 10
ประการ เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ แห่งสัญญา-
ขันธ์ แห่งสังขารขันธ์ แห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ
5 ประการ เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อม
พิจารณาเห็นลักษณะ 5 ประการ เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความ
เสื่อมไปแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 10 ประการ.
[106] พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูป-
ขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 5 ประการ เป็นไฉน ?
พระโยคาวจร ย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ โดย
ความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า เพราะอวิชชาเกิดรูปจึงเกิด เพราะตัณหาเกิด
รูปจึงเกิด เพราะกรรมเกิดรูปจึงเกิด เพราะอาหารเกิดรูปจึงเกิด แม้
เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะแห่งความเกิด ก็ย่อมพิจารณาเห็นความเกิด
ขึ้นแห่งรูปขันธ์ พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูป-
ขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 5 ประการนี้.
[107] พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่ง
รูปขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 5 ประการเป็นไฉน ?

พระโยคาวจร ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์ โดย
ความดับแห่งปัจจัยว่า เพราะอวิชชาดับรูปจึงดับ เพราะตัณหาดับ
รูปจึงดับ เพราะกรรมดับรูปจึงดับ เพราะอาหารดับรูปจึงดับ แม้เมื่อ
พิจารณาเห็นลักษณะแห่งความแปรปรวน ก็ย่อมพิจารณาเห็นความ
เสื่อมไปแห่งรูปขันธ์ เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์ ย่อม
พิจารณาเห็นลักษณะ 5 ประการนี้ เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 10 ประการนี้.
[108] พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่ง
เวทนาขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 5 ประการเป็นไฉน ?
พระโยคาวจร ย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์
โดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า เพราะอวิชชาเกิดเวทนาจึงเกิด เพราะ
ตัณหาเกิดเวทนาจึงเกิด เพราะกรรมเกิดเวทนาจึงเกิด เพราะผัสสะเกิด
เวทนาจึงเกิด แม้เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะแห่งการเกิด ก็ย่อมพิจารณา
เห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนา พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิด
ขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 5 ประการนี้.
[109] พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่ง
เวทนาขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 5 การเป็นไฉน ?
พระโยคาวจร ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งเวทนาขันธ์
โดยความดับแห่งปัจจัยว่า เพราะอวิชชาดับเวทนาจึงดับ เพราะตัณหา

ดับเวทนาจึงดับ เพราะกรรมดับเวทนาจึงดับ เพราะผัสสะดับเวทนาจึง
ดับ แม้เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะแห่งความแปรปรวน ก็ย่อมพิจารณา
เห็นความเสื่อมไปแห่งเวทนาขันธ์ พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็น
ความเสื่อมไปแห่งเวทนาขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 5 ประการนี้
เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งเวทนาขันธ์ ย่อม
พิจารณาเห็นลักษณะ 10 ประการนี้.
[110] พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดแห่งสัญญา-
ขันธ์ แห่งสังขารขันธ์ แห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ
5 ประการเป็นไฉน ?
พระโยคาวจร ย่อมพิจารณาเห็นความเกิดแห่งวิญญาณขันธ์ โดย
ความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า เพราะอวิชชาเกิดวิญญาณจึงเกิด เพราะ
ตัณหาเกิดวิญญาณจึงเกิด เพราะกรรมเกิดวิญญาณจึงเกิด เพราะ
นามรูปเกิดวิญญาณจึงเกิด แม้เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะแห่งความเกิด
ก็ย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณขันธ์ พระโยคาวจร เมื่อ
พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ
5 ประการนี้.
[111] พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่ง
สัญญาขันธ์ แห่งสังขารขันธ์ แห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็น
ลักษณะ 5 ประการเป็นไฉน ?

พระโยคาวจร ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งวิญญาณขันธ์
โดยความดับแห่งปัจจัยว่า เพราะอวิชชาดับวิญญาณจึงดับ เพราะตัณ-
หาดับวิญาณจึงดับ เพราะกรรมดับวิญญาณจึงดับ เพราะนามรูปดับ
วิญญาณจึงดับ แม้เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะแห่งความแปรปรวน ก็ย่อม
พิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งวิญญาณขันธ์ พระโยคาวจร เมื่อพิจารณา
เห็นความเสื่อมไปแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 5
ประการนี้ เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งวิญ-
ญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 10 ประการนี้ เมื่อพิจารณาเห็น
ความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 25 ประการนี้
เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ
25 ประการนี้ เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่ง
เบญจขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ 50 ประการนี้ ชื่อว่าญาณ เพราะ
อรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรปรวนแห่งธรรม
ทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน เป็นอุทยัพพยานุปัสนาญาณ.
รูปขันธ์เกิดเพราะอาหารเกิด ขันธ์ที่เหลือ คือ เวทนา ปัญญา
สังขารเกิดเพราะผัสสะเกิด วิญญาณขันธ์เกิดเพราะนามรูปเกิด.

อรรถกถาอุทยัพพยญาณนิทเทส


103 - 111] บัดนี้ เพื่อกำหนดสังขารทั้งหลายอันผู้ไปถึงฝั่ง
ตั้งอยู่แล้วด้วยทำภาวนาให้มั่นคงโดยนัยต่าง ๆ แห่งสัมมสนญาณดังกล่าว
แล้วในลำดับ เห็นแล้วโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ด้วย อุท-
ยัพพยญาณ แล้วพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น พระ-
สารีบุตรจึงแสดงรูปอันเกิดด้วยปัจจัยทั้งหลายตามที่เป็นของตน ด้วย
สันตติในบทมีอาทิว่า ชาตํ รูปํ - รูปที่เกิดแล้ว ในนิทเทสแห่ง อุท-
ยัพพยานุปัสนาญาณ ดังกล่าวแล้ว.
บทว่า อุทโย ได้แก่ ชาติ คือ ความเกิดเป็นอาการใหม่แห่ง
รูปที่เกิดแล้วนั้น มีความเกิดเป็นลักษณะ.
บทว่า วโย ได้แก่ ความสิ้นไป ความดับไป มีความแปรปรวน
เป็นลักษณะ, การพิจารณาถึงบ่อย ๆ ชื่อว่า อนุปัสนา, อธิบายว่า
ได้แก่ อุทยัพพยานุปัสนาญาณ. แม้ในเวทนาเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือน
กัน. ไม่แตะต้องชาติชราและมรณะ เพราะความเกิดความเสื่อมอันผู้
มีชาติชราและมรณะควรกำหนดถือเอา ไม่แตะต้องชาติชราและมรณะ
เพราะไม่มีความเกิดและความเสื่อม แล้วท่านทำไปยาลว่า ชาตํ จกฺขุํ
ฯ เป ฯ ชาโต ภโว -
จักษุเกิดแล้ว...ภพเกิดแล้ว ดังนี้. พระโยคาวจร
นั้น เมื่อเห็นความเกิดและความเสื่อมของขันธ์ 5 อย่างนี้ ย่อมรู้อย่างนี้