เมนู

เป็นปัจจัย จึงมีภพ เมื่ออุปาทานไม่มี ภพก็ไม่มี เพราะตัณหาเป็น
ปัจจัย จึงมีอุปาทาน เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานก็ไม่มี เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาก็ไม่มี เพราะผัสสะ
เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาก็ไม่มี เพราะสฬายตนะ
เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะก็ไม่มี เพราะนาม
รูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะก็ไม่มี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปก็ไม่มี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณก็ไม่มี
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารก็ไม่มี
เป็นสัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า ในอดีตกาลก็ดี ใน
อนาคตกาลก็ดี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เมื่ออวิชชาไม่มี
สังขารก็ไม่มี เป็นสัมมสนญาณ.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการย่อธรรม
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบันแล้วกำหนด เป็นสัมมสนญาณ.

อรรถกถาสัมมสนญาณนิทเทส


99] พึงทราบวินิจฉัย ในสัมมสนญาณนิทเทส ดังต่อไปนี้
บทว่า ยงฺกิญฺจิ คือ กำหนดถือเอาไม่มีเหลือ. บทว่า รูปํ ได้แก่

กำหนดโดยความประสงค์ยิ่ง. เป็นอันท่านทำความกำหนดไม่มีเหลือ
แห่งรูป แม้ด้วยบททั้งสองอย่างนี้. เมื่อเป็นเช่นนั้น พระโยคาวจร
ย่อมปรารภการจำแนกด้วยบทมีอาทิว่า อดีต แห่งรูปนั้น. รูปนั้น
บางรูปเป็นอดีต บางรูปมีประเภทเป็นอนาคตเป็นต้น. แม้ในเวทนา
เป็นต้นก็มีนัยนี้. รูป ในบทนั้น ชื่อว่า เป็นอดีต 4 อย่างด้วยสามารถ
แห่ง กาล การสืบต่อ สมัย และ ขณะ, รูปอนาคตปัจจุบัน
ก็อย่างนั้น.

ในรูปเหล่านั้นพึงทราบด้วยสามารถ กาล ก่อน ได้แก่ รูป
ในอดีตก่อนจากปฏิสนธิ ในภพหนึ่งของรูปหนึ่ง, รูปอนาคต เหนือ
จากจุติ, รูปปัจจุบัน ในระหว่าง รูปอดีต และ อนาคต ทั้งสอง.

พึงทราบรูปด้วยสามารถ สันตติ ได้แก่ รูปปัจจุบันแม้เป็นไปอยู่
ได้ ด้วยการสืบต่อกันมาก่อนมีสมุฏฐานจากอุตุอย่างเดียวกัน เป็นสภาคะ-
กันและมีสมุฏฐานจากอาหารอย่างเดียวกัน. รูปอดีต มีสมุฏฐานจาก
อุตุ และ อาหาร ไม่เป็นสภาคะกันก่อนจากนั้น, รูปอนาคต มีในภาย
หลัง. รูปปัจจุบัน มีสมุฏฐานจากวิถีจิตดวงเดียวกัน ชวนจิตดวงเดียวกัน
และสมาบัติอย่างเดียวกันอันเกิดแต่จิต, รูปอดีต ก่อนจากนั้น, รูป
อนาคต
มีในภายหลัง. ประเภทแห่งรูปมีรูปอดีตเป็นต้น ย่อมไม่มี
ด้วยสามารถสันตติ เฉพาะอย่างแห่งกรรมสมุฏฐาน. พึงทราบความที่รูป

นั้น มีรูปอดีตเป็นต้น ด้วยสามารถการอุปถัมภ์แห่งสมุฏฐานจากอุตุอา-
หารและจิต เหล่านั้น.

พึงทราบด้วยสามารถ สมัย ได้แก่ รูป อันมีสมัยนั้น ๆ เป็น
ไปด้วยสามารถการสืบต่อกันในสมัยทั้งหลายมีครู่หนึ่งเวลาเช้าเวลาเย็น
กลางคืนและกลางวันเป็นต้น ชื่อว่า รูปปัจจุบัน. ก่อนจากนั้นเป็น
อดีต, หลังจากนั้นเป็นอนาคต.

พึงทราบด้วยสามารถ ขณะ รูปปัจจุบันเนื่องด้วย 3 ขณะ
มีอุปาทะเป็นต้น, ต่อจากนั้นเป็นอนาคต, หลังจากนั้นเป็นอดีต.
อีกอย่างหนึ่ง รูปอดีตมีกิจอันเป็นเหตุปัจจัยล่วงไปแล้ว, รูปปัจจุบัน
มีกิจอันเป็นเหตุจบแล้ว และมีกิจอันเป็นปัจจัยจบแล้ว, รูปอนาคตถึง
พร้อมด้วยกิจทั้งสอง. หรือว่า รูปปัจจุบันเกิดในขณะกิจของตน, รูป
อนาคต ต่อจากนั้น, รูปอดีตหลังจากนั้น. อนึ่ง ในบทนี้ กถามีขณะ
เป็นต้น เป็นกถาตรง ที่เหลือเป็นกถาอ้อม.

บทว่า อชฺฌตฺตํ ได้แก่ ในขันธ์แม้ 5 อย่าง ในที่นี้ท่าน
ประสงค์รูปภายในของตนเอง, เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า รูปเฉพาะ
บุคคลเป็นไปในสันดานของตน ๆ ชื่อว่า อชฺฌตฺตํ.
รูปภายนอกจากนั้นอันเนื่องด้วยอินทรีย์ก็ตาม ไม่เนื่องด้วย
อินทรีย์ก็ตาม ชื่อว่า พหิทฺธา.

บทว่า โอฬาริกํ ได้แก่ รูป 12 อย่าง คือ จักขุ โสตะ
ฆานะ ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รสและโผฏฐัพพะ ได้แก่
ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ชื่อว่า โอฬาริก เพราะควรถือเอาด้วย
สามารถการสืบต่อกัน. ส่วนรูปที่เหลือ 16 อย่าง คือ อาโปธาตุ อิตถิน-
ทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หทยวัตถุ โอชา อากาสธาตุ กายวิญญัตติ
วจีวิญญัตติ รูปัสสลหุตา มุทุตา กัมมัญญตา อุปจยะ สันตติ ชรดา
อนิจจตา ชื่อว่า สุขุม เพราะไม่ควรถือเอาด้วยสามารถการสืบต่อ.

พึงทราบความทรามและความประณีต ในบทนี้ว่า หีนํ วา ปณีตํ
วา
โดยอ้อมหรือโดยตรง. ในบทนั้น รูปของพรหมชั้นสุทัสสี เป็นรูป
ทรามกว่ารูปของพรหมชั้นอกนิษฏฐ์ รูปพรหมชั้นสุทัสสีนั้นนั่น
แหละประณีตกว่ารูปของพรหมชั้นสุทัสสา พึงทราบความทรามและ
ความประณีต โดยปริยายตลอดถึงรูปของสัตว์นรก. รูปที่เป็นอกุศลวิบาก
เกิดขึ้นเป็นรูปทราม, รูปที่เป็นกุศลวิบากเกิดขึ้นเป็นรูปประณีต.

พึงทราบความในบทว่า ยํ ทูเร สนฺติเก วา นี้ รูปใด สุขุม
รูปนั้นแล ชื่อว่า ทูเร เพราะมีสภาวะที่แทงตลอดได้ยาก. รูปใด
หยาบ รูปนั้นชื่อว่า สนฺติเก เพราะมีสภาวะที่แทงตลอดได้ง่าย.
พึงทราบความในบทนี้ว่า สพฺพํ รูปํ อนิจฺจโต ววตฺเถติ เอกํ
สมฺมสนํ, ทุกฺขโต ววตฺเถติ เอกํ สมฺมสนํ, อนตฺตโต ววตฺเถติ
เอกํ สมฺมสนํ -
ภิกษุกำหนดรูปทั้งปวงโดยความเป็นของไม่เที่ยง การ

กำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง, กำหนดโดยความเป็นทุกข์เป็น.
สัมมสนญาณอย่างหนึ่ง, กำหนดโดยความเป็นอนัตตา เป็นสัมมสน-
ญาณอย่างหนึ่ง ความว่า ภิกษุนี้ กำหนดุรูปแม้ทั้งหมดที่ท่านชี้แจง
ไว้โดยมิได้กำหนดแน่นอนอย่างนี้ว่า ยงฺกิญฺจิ รูปํ - รูปอย่างใดอย่าง
หนึ่งโดยการปรากฏ 11 อย่าง คือด้วยรูปอตีตติกะ - ติกะในอดีต และ
ด้วยทุกะมีอัชฌัตตะเป็นต้น 4 แล้วกำหนดรูปทั้งปวงโดยความเป็นของ
ไม่เที่ยงย่อมพิจารณาว่า อนิจฺจํ ดังนี้. พิจารณาอย่างไร ? พิจารณาโดยนัย
ดังกล่าวแล้วข้างหน้า.

100] ดังที่พระสารีบุตรได้กล่าวไว้ว่า รูปํ อตีตานาคต-
ปจฺจุปฺปนฺนํ อนิจฺจํ ขยฏฺเฐน1 -
รูปที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ชื่อว่า
ไม่เที่ยง เพราะอรรถว่าสิ้นไป. เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาว่า
รูปที่เป็นอดีตสิ้นไปในอดีตนั่นแล, รูปนั้นยังไม่มาถึงภพนี้ เพราะเหตุ
นั้น จึงชื่อว่า อนิจฺจํ เพราะอรรถว่าสิ้นไป, รูปที่เป็นอนาคตจักเถิด
ในภพเป็นลำดับไป, แม้รูปนั้นก็จักในรูปในภพนั้น จักไม่ไปสู่ภพอื่น
จากภพนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อนิจฺจํ เพราะอรรถว่าสิ้นไป,
รูปที่เป็นปัจจุบันย่อมสิ้นไปในปัจจุบันนั่นเอง, ย่อมไม่ไปจากนี้ เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่า อนิจฺจํ เพราะอรรถว่าสิ้นไป, รูปที่เป็นภายในก็
1. ขุ. ป. 31/100.

สิ้นไปในภายในนั่นเอง, ไม่ไปสู่ภายนอก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อนิจฺจํ เพราะอรรถว่าสิ้นไป. แม้รูปภายนอกหยาบละเอียด ทราม
ประณีต มีในที่ไกล ที่ในที่ใกล้ ก็สิ้นไปในที่นี้นั่นเอง เพราะเหตุ
นั้น จึงชื่อว่า อนิจฺจํ เพราะอรรถว่าสิ้นไป. แม้การพิจารณาทั้งหมด
นี้ก็เป็นสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง ด้วยสามารถแห่งนี้ว่า อนิจฺจํ
ขยฏฺเฐน, แต่โดยประเภท มี 11 อย่าง.

อนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณารูปนั้นทั้งหมดว่า ทุกขํ ภยฏฺเฐน
ชื่อว่า เป็นทุกข์ เพราะอรรถว่าน่ากลัว. สิ่งที่ไม่เที่ยงย่อมนำมาซึ่งภัย
ดุจภัยของพวกเทพในสีโหปมสูตร.1 แม้การพิจารณานี้ก็เป็นสัมมสน-
ญาณอย่างหนึ่ง ด้วยสารถแห่งรูปนี้ว่า ทุกฺขฺ ภยฏฺเฐน แต่โดย
ประเภท มี 11 อย่าง.
อนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาว่า รูปแม้ทั้งหมดนั้น เป็น อนตฺตา
เพราะอรรถว่าหาแก่นสารมิได้เหมือนทุกข์. บทว่า อสารกฏฺเฐน
เพราะไม่มีสาระในตนที่กำหนดได้อย่างนี้ว่า อัตตา - ตัวตน นิวาสี-
ผู้อาศัย การโก - ผู้กระทำ เวทโก - ผู้เสวย สยํวสี - ผู้มีอำนาจด้วย
ตนเอง. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ ไม่สามารถจะห้ามความไม่
เที่ยง หรือ ความเกิด ความเสื่อม และความบีบคั้นของคนได้, บท
1. สํ. ขนฺธ. 17/115.

เป็นผู้กระทำเป็นต้นของผู้นั้นจักมีได้แต่ไหน. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ว่า รูปญฺจ หิทํ ภิกฺขเว อตฺตา อภวิสฺส, นยิทํ รูปํ อาพาธาย
สํวตฺเตยฺย1
เป็นอาทิ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากรูปนี้พึงเป็น
ตัวตนแล้วไซร้, รูปนี้ก็จะไม่พึงเป็นไปเพื่อความเจ็บป่วย. เพราะเหตุ
นั้น การพิจารณานี้ จึงเป็นสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง ด้วยสามารถแห่ง
บทนี้ว่า อนตฺตา อสารกฏฺเฐน - รูปเป็นอนัตตา เพราะหาแก่นสาร
มิได้, แต่โดยประเภทมี 11 อย่าง. ในเวทนาเป็นต้นก็มีนัยนั้นเหมือน
กัน. ด้วยประการฉะนี้ ในขันธ์หนึ่ง ๆ ทำอย่างละ 11 อย่าง จึงเป็น
สัมมสนญาณ 55 ในขันธ์ 5 คือโดยความไม่เที่ยง 55 โดยความ
เป็นทุกข์ 55 โดยความเป็นอนัตตา 5 เพราะเหตุนั้น ทั้งหมดจึง
รวมเป็นสัมมสนญาณ 165 อย่าง.
แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เพิ่มแม้บทว่า สพฺพํ รูปํ สพฺพํ
เวทนํ สพฺพํ สญฺญํ สพฺเพ สงฺขาเร สพฺพํ วิญฺญาณํ
ลงไป
ในขันธ์หนึ่ง ๆ ทำอย่างละ 12 รวมเป็น 60 ในขันธ์ 5, โดย
อนุปัสนาเป็นสัมมสนญาณ 180 อย่าง.
อนึ่ง ในการจำแนกอดีตเป็นต้น พึงทราบความที่เวทนาเป็น
อดีต อนาคตและปัจจุบัน ด้วยสามารถแห่งสันตติและด้วยสามารถแห่ง
ขณะเป็นต้น. ในบทนั้นพึงทราบเวทนา ด้วยสามารถสันตติดังต่อไปนี้
1. วิ. มหา. 4/20.

เวทนาที่นับเนื่องในวิถีจิต 1 ชวนจิต 1 สมาบัติ 1 และเป็นไปด้วย
การประกอบเสมอ ๆ ในอารมณ์อย่างหนึ่ง เป็นปัจจุบัน, ก่อนจากนั้น
เป็นอดีต, หลังจากนั้นเป็นอนาคต เวทนาด้วยสามารถขณะ คือ
เวทนากระทำกิจของตนอันนับเนื่องในขณะ 3 คือ ที่ถึงที่สุดเบื้องต้น
ที่สุดเบื้องปลายและท่ามกลาง เป็นปัจจุบัน. ก่อนจากนั้นเป็นอดีต,
หลังจากนั้นเป็นอนาคต. พึงทราบความต่างแห่งเวทนาภายในและภาย
นอก ด้วยสามารถเวทนาภายในของตนนั่นเอง.
พึงทราบความหยาบและความละเอียดของเวทนา ด้วยสามารถ
แห่ง ชาติ สภาวะ บุคคล โลกิยะ และ โลกกุตระ ที่ท่านกล่าว
ไว้ในวิภังค์1 โดยนัยมีอาทิว่า เวทน่าเป็นอกุศลหยาบ, เวทนาเป็น
กุศลและอัพยากฤต ละเอียด.
พึงทราบเวทนาด้วยสามารถแห่งชาติ
ก่อนดังต่อไปนี้ เวทนาเป็นอกุศล เป็นไปเพื่อความไม่สงบ เพราะเป็น
กิริยเหตุอันมีโทษ และเพราะกิเลสทำให้เดือดร้อน เพราะเหตุนั้น จึง
เป็นเวทนาหยาบกว่า เวทนาที่เป็นกุศล, เป็นเวทนาหยาบกว่า วิบาก
อัพยากฤต เพราะมีความขวนขวาย มีความอุตสาหะ มีวิบาก โดย
กิเลสทำให้เดือดร้อน และโดยมีโทษ, เวทนาเป็นเวทนาหยาบกว่า
กิริยาอัพยากฤต เพราะมีวิบาก โดยกิเลสทำให้เดือดร้อน โดยมีพยาบาท
และโดยมีโทษ. ก็เวทนาเป็นกุศล และอัพยากฤต ละเอียดกว่าเวทนา
1. อภิ. วิ. 35/11.

เป็นอกุศล โดยปริยายดังกล่าวแล้ว. กุศลเวทนาและอกุศลเวทนา แม้
2 อย่างก็เป็นเวทนาหยาบกว่าเวทนาที่เป็นอัพยากฤต แม้ 2 อย่าง
ตามควร โดยมีความขวนขวาย มีอุตสาหะและมีวิบาก. แม้เวทนา
เป็นอัพยากฤต 2 อย่าง ก็ละเอียดกว่าเวทนาเหล่านั้นโดยปริยายดังกล่าว
แล้ว. พึงทราบเวทนาหยาบและละเอียด ด้วยสามารถแห่งชาติด้วย
ประการฉะนี้.

พึงทราบเวทนาด้วยสามารถสภาวะดังต่อไปนี้ ทุกขเวทนาหยาบ
กว่า เวทนา 2 อย่างนอกนี้ เพราะไม่มีความพอใจ โดยมีความซ่าน
ไป โดยทำความกำเริบ โดยควรแก่ความเดือดร้อน และโดยครอบงำ,
แต่เวทนา 2 นอกน เป็นเวทนาละเอียดกว่า ทุกขเวทนาตามควร
เพราะความสำราญ ความสงบ ความประณีต ความชอบใจ และโดย
ความเป็นกลาง. สุขทุกข์ 2 อย่างเป็นเวทนาหยาบว่าอทุกขมสุข โดย
ความซ่านไป โดยความควรแก่ความเดือดร้อน โดยทำความกำเริบ
และโดยปรากฏ. เวทนานั้น ละเอียดกว่าทั้ง 2 อย่างนั้น โดยปริยาย
ดังกล่าวแล้ว. พึงทราบความที่เวทนาหยาบและละเอียด โดยสภาวะ
ด้วยประการฉะนี้.
พึงทราบเวทนาด้วยสามารถบุคคลดังต่อไปนี้ เวทนาของผู้ไม่
เข้าสมาบัติ เป็นเวทนาหยาบกว่าเวทนาของผู้เข้าสมาบัติ เพราะความที่
จิตฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ. เวทนานอกนี้เป็นเวทนาละเอียด โดย

ปริยายต่าง ๆ. พึงทราบความที่เวทนา หยาบและละเอียด ด้วยสามารถ
บุคคล ด้วยประการฉะนี้.
พึงทราบเวทนา ด้วยสามารถโลกิยะและโลกุตระ ดังต่อไปนี้
เวทนามีอาสวะเป็นโลกิยะ, โลกิยเวทนานั้น เป็นเวทนาหยาบกว่า
เวทนาที่ไม่มีอาสวะ เพราะเป็นเหตุเกิดอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งโอฆะ
เป็นที่ตั้งแห่งโยคะ โดยเป็นที่ตั้งแห่งคันถะ - กิเลสร้อยรัด. เป็นที่ตั้ง
แห่งนิวรณ์ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน มีความเศร้าหมอง และเป็นของ
ทั่วไปแก่ปุถุชน, อนึ่ง เวทนาไม่มีอาสวะเป็นเวทนาละเอียดกว่า
เวทนามีอาสวะโดยปริยายต่าง ๆ. พึงทราบความที่เวทนาหยาบและละ
เอียด ด้วยโลกิยะและโลกุตระ ด้วยประการฉะนี้.
ในบทเหล่านั้น ควรปรับความแตกต่างกันด้วยชาติเป็นต้น.
เพราะว่า เวทนาสัมปยุตด้วยกายวิญญาณ อกุศลวิบาก แม้ละเอียด
เพราะเป็นอัพยากฤต ด้วยสามารถแห่งชาติ ก็เป็นเวทนาหยาบ ด้วย
ภาวะของตนเป็นต้น. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
อพฺยากตา เวทนา สุขุมา, ทุกฺขา เวทนา โอฬาริกา.
สมาปนฺนสฺส เวทนา สุขุมา, อสมาปนฺนสฺส เวทนา
โอฬาริกา. อสาสวา เวทนา สุขุมา, สาสวา เวทนา
โอฬาริกา.1

1. อภิ. วิ. 35/11.

เวทนาเป็นอัพยากฤต ละเอียด, ทุกข-
เวทนาหยาบ. เวทนาของผู้เข้าสมบัติ ละเอียด
เวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ หยาบ. เวทนาไม่มี
อาสวะ ละเอียด, เวทนามีอาสวะ หยาบ.

แม้สุขเวทนาเป็นต้น ก็เหมือนทุกขเวทนา. เพราะว่า แม้
เวทนาเหล่านั้น หยาบก็ด้วยชาติ, ละเอียดก็ด้วยภาวะของตนเป็นต้น.
เพราะฉะนั้นพึงทราบความที่เวทนาหยาบและละเอียดเหมือนไม่มีความ
แตกต่างกันด้วยชาติเป็นต้น. เช่นกับอะไร ? เช่นเวทนาเป็นอัพยากฤต
ละเอียดกว่า เวทนาเป็นกุศล อกุศล โดยชาติ. ในเวทนาเหล่านั้น
อัพยากฤตเวทนาเป็นไฉน ? อะไรเป็นทุกขเวทนา ? อะไรเป็นสุขเวทนา ?
อะไรเป็นเวทนาของผู้เข้าสมาบัติ ? อะไรเป็นเวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ ?
อะไรเป็นสาสวเวทนา ? อะไรเป็นอนาสวเวทนา ? ไม่พึงถือผิดความ
ต่างกันและสภาวะเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้. ในบททั้งปวงก็มีนัยนี้.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะบาลีว่า พึงเห็นเวทนาหยาบละเอียด
เพราะอาศัยเวทนานั้น ๆ อยู่บ่อย ๆ.1
เวทนาสหรคตด้วยโทสะหยาบ
กว่าเวทนาที่สหรคต ด้วยโลภะในอกุศลเป็นต้น เพราะเผานิสัย ดุจไฟ
เวทนาสหรคตด้วยโลภะละเอียด. เวทนาแม้สหรคตด้วยโทสะ เป็น
นิยตะ - แน่นอนหยาบ, ไม่แน่นอนละเอียด. เวทนาตั้งอยู่กัปหนึ่ง แม้
1. อภิ. วิ. 35/11.

แน่นอนก็หยาบ, นอกนั้นละเอียด. แม้ในการตั้งอยู่กัปหนึ่ง เวทนา
หยาบ, นอกนั้นละเอียด. เวทนาแม้นั้นแน่นอนตั้งอยู่กัปหนึ่ง เป็น
เป็นอสังขาริกะ อสังขาริกะหยาบ นอกนั้นละเอียด. อนึ่ง โดยไม่
แปลกกันเวทนาเป็นอกุศล มีวิบากมากหยาบ, มีวิบากน้อยละเอียด.
ส่วนเวทนาเป็นกุศล มีวิบากน้อยหยาบ, มีวิบากมากละเอียด.

อีกอย่างหนึ่ง เวทนาเป็นกามาวจรกุศลหยาบ, เป็นรูปาวจรกุศล
ละเอียด. แต่นั้นก็อรูปาวจรกุศล, แต่นั้นก็โลกุตรกุศล. อนึ่ง เวทนา
เป็นกามาวจรกุศลสำเร็จด้วยทานหยาบ, สำเร็จด้วยศีลละเอียด. แม้
สำเร็จด้วยศีลก็หยาบ, สำเร็จด้วยภาวนาละเอียด. แม้สำเร็จด้วยภาวนา
เป็นทุเหตุกะก็หยาบ. เป็นติเหตุกะละเอียด. แม้เป็นติเหตุกะ เป็น
สสังขาริกะก็หยาบ, เป็นอสังขาริกะละเอียด. อนึ่ง รูปาวจรเป็นไป
ในปฐมฌานหยาบ ฯลฯ ที่เป็นปัญจมฌานละเอียด อรูปาวจรที่สัมป-
ยุตด้วยอากาสานัญจายตนะหยาบ ฯลฯ ที่สัมปยุตด้วยเนวสัญญานา.
สัญญาละเอียด โลกุตรเวทนา สัมปยุตด้วยโสดาปัตติมรรคหยาบ ฯลฯ
ที่สัมปยุตด้วยอรหัตมรรคละเอียดแท้. ในเวทนาอันเป็นวิบากกิริยาของ
ภูมินั้น ๆ และในเวทนาที่ท่านกล่าวไว้ ด้วยสามารถแห่งทุกขเวทนา
เป็นต้น เวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นต้น สาสวเวทนาเป็นต้นก็มี
นัยนี้. หรือแม้ว่า ด้วยสามารถโอกาส ทุกขเวทนาในนรก ก็หยาบ,
ทุกขเวทนาในกำเนิดเดียรฉาน ละเอียด ฯลฯ ทุกข์ในสวรรค์ชั้น

ปรนิมมิตวสวัตดี ละเอียดแท้. อนึ่ง พึงประกอบแม้สุขในบททั้งปวง
ตามสมควร เหมือนทุกข์, เวทนาไร ๆ มีวัตถุเลว ด้วยสามารถวัตถุ
เป็นเวทนาหยาบ, มีวัตถุประณีต เป็นเวทนาละเอียด, เวทนาใดที่หยาบ
ในประเภทแห่งวัตถุที่เลวและประณีต เวทนานั้นเป็นเวทนาเลว, เวทนา
ที่ละเอียด เป็นเวทนาประณีต พึงเห็นด้วยประการฉะนี้.

ส่วนบทว่า ทูรสนฺติเก ไกลและใกล้ ท่านจำแนกไว้ในวิภังค์
โดยนัยมีอาทิว่า อกุสลา เวทนา กุสลาพฺยากตาหิ เวทนาหิ ทูเร,
อกุสลา เวทนา อกุสลาย เวทนาย สนฺติเก.1 -
อกุศลเวทนามีใน
ที่ไกลจากเวทนาเป็นกุศลและอัพยากฤต. อกุศลเวทนามีในที่ใกล้เวทนา
เป็นอกุศล. เพราะฉะนั้น อกุศลเวทนามีในที่ไกลจากกุศลและอัพยา-
กฤต โดยเป็นสภาคกัน โดยไม่เกี่ยวข้องกัน และโดยไม่คล้ายคลึงกัน.
เวทนาเป็นกุศลและอัพยากฤต ก็มีในที่ไกลจากอกุศลเหมือนกัน. ใน
วาระทั้งปวงก็มีนัยนี้. บทนี้ว่า เวทนาเป็นอกุศล มีในที่ใกล้แห่ง
อกุศล โดยเป็นสภาคกัน โดยเกี่ยวข้องกัน และโดยคล้ายคลึงกัน
เป็นกถามุขโดยพิสดารในการจำแนก มีเวทนาอดีตเป็นต้น. แต่บทนี้
พึงทราบแม้แห่งสัญญาเป็นต้น อันสัมปยุตด้วยเวทนานั้น ๆ อย่างนี้
เหมือนกัน.
1. อภิ. วิ. 35/13.

อนึ่ง ในเวทนาเป็นต้นนี้ โลกุตรธรรมใดมาแล้วในธรรม
ทั้งหลาย. ที่ย่อโดยไปยาลว่า จกฺขุ ฯเปฯ ชรามรณํ, ธรรมเหล่านั้น
ไม่พึงถือเอาในที่อธิการนี้ เพราะเข้าไปใกล้อสัมมสนญาณ. ธรรม
เหล่านั้น ท่านกล่าวไว้ด้วยสามารถการแสดงธรรมที่ท่านสงเคราะห์ด้วย
บทนั้น ๆ อย่างเดียว และโดยนัยมาแล้ว ในอภิญเญยยนิทเทส. อนึ่ง
แม้ธรรมเหล่าใดเข้าถึงสัมมสนญาณ, ในธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่าใด
ปรากฏแก่ญาณใด ย่อมถึงการกำหนดถือเอาได้โดยง่าย, ในธรรม
เหล่านั้น พึงปรารภสัมมสนญาณ ด้วยญาณนั้น. พึงทราบว่า ท่าน
กล่าวถึงสัมมสนญาณ ด้วยสามารถญาณเหล่านั้น โดยปริยายว่า เมื่อ
พิจารณาธรรม มีชาติชราและมรณะ ในความไม่มีสัมมสนญาณต่างหาก
ด้วยสามารถชาติชราและมรณะ แม้ญาณเหล่านั้นก็เป็นอันได้พิจารณา
แล้ว.
แม้ไม่แตะต้องความต่างมี อัชฌัตตะ เป็นต้น เพราะท่านกล่าว
สัมมสนญาณไว้ด้วยสามารถแห่งติกะอันเป็นอดีต โดยนัย มีอาทิว่า
อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนํ อนิจฺจโต ววตฺเถติ - พระโยคาวจรย่อม
กำหนดอดีต อนาคต ปัจจุบัน โดยความเป็นของไม่เที่ยง แม้กำหนด
ด้วยสามารถแห่งอตีตติกะแล้ว ก็พึงทำสัมมสนญาณ โดยความเป็นของ
ไม่เที่ยงเป็นต้นนั่นแล.
101 - 102 ] ก็เพราะรู้สิ่งที่ไม่เที่ยง มีประเภทเป็นสังขตะ

เป็นต้น โดยความแน่นอน. ฉะนั้น เพื่อแสดงปริยายแห่งรูปนั้น หรือ
เพื่อแสดงความเป็นไปแห่งมนสิการด้วยอาการต่าง ๆ พระสารีบุตร จึง
กล่าวบทมีอาทิว่า รูปํ อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนํ อนิจฺจํ สงฺขตํ - รูปทั้งที่
เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบันไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง. จริงอยู่
รูปนั้น เป็น อนิจฺจํ เพราะอรรถว่ามีแล้วไม่มี, ชื่อว่า อนิจฺจํ เพราะ
มีที่สุดคือความไม่เที่ยง หรือ เพราะมีเบื้องต้นและที่สุด, ชื่อว่า
สังขตะ เพราะอันปัจจัยปรุงแต่ง. ชื่อว่า ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนํ เพราะ
อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นร่วมกัน. พระสารีบุตรแสดงถึงความไม่ขวนขวาย
ปัจจัย แม้เมื่อรูปอันปัจจัยปรุงแต่ง. บทว่า ขยธมฺมํ มีความสิ้นไป
เป็นธรรมดา ได้แก่ สิ้นไปเป็นธรรมดา สิ้นไปเป็นปรกติ. บทว่า
วยธมฺมํ มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ได้แก่ มีความพินาศไปเป็น
ธรรมดา. รูปนี้ ไม่สิ้นไปด้วยสามารถความในรูปตั้งความเป็นผู้มี
ความเฉื่อยชา ปราศจากปรกติอย่างเดียว. แม้ความเพียงพอจะทำให้
เฉื่อยชา ท่านก็กล่าวว่า ความสิ้นไปในโลก.
บทว่า วิราคธมฺมํ - มีความคลายไปเป็นธรรมดา บทนี้มิใช่
เสื่อมไปด้วย ด้วยการไปในที่ไหน ก้าวล่วงสภาวะเป็นปรกติอย่างเดียว.
ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ความเกลียดชังก็ดี ความก้าวล่วงก็ดี ชื่อว่า
วิราคะ.
บทว่า นิโรธธมฺมํ - มีความดับไปเป็นธรรมดา บทนี้ มิใช่
ไม่เวียนมาอีก ด้วยก้าวล่วงสภาวะ, พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงบทหลัง ๆ

ด้วยสามารถขยายบทก่อน ๆ ว่า มีการดับไป ด้วยการดับความไม่เวียน
มาอีกเป็นธรรมดาอย่างเดียว.
อีกอย่างหนึ่ง พึงประกอบว่า รูปมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา
ด้วยการทำลายไปแห่งรูปอันเนื่องอยู่ในภพหนึ่ง, มีความเสื่อมไปเป็น
ธรรมดา ด้วยความเสื่อมแห่งรูปอันเนื่องด้วยสันตติอย่างเดียว. รูปมี
คลายไปเป็นธรรมดา ด้วยการทำลายขณะแห่งรูป. มีความดับเป็น
ธรรมดา ด้วยข้ามพ้นแล้วไม่เกิดมาอีก.
ในบทมีอาทิว่า ชรามรณํ อนิจฺจํ - ชราและมรณะไม่เที่ยง
ความว่า ชราและมรณะมิใช่ไม่เที่ยง, แต่ชรามรณะ ชื่อว่า ไม่เที่ยง
เพราะขันธ์ทั้งหลายมีความไม่เที่ยงเป็นสภาวะ จึงมีชรามรณะ. แม้ใน
สังขตะ เป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ในระหว่างไปยาล เพราะแม้
ชาติก็ไม่เที่ยงเป็นต้น จึงมีนัยนี้เหมือนกัน.
บทมีอาทิว่า ชาติปจฺจยา ชรามรณํ - เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมี
ชราและมรณะนี้ ท่านมิได้กล่าวด้วยสามารถวิปัสสนา ท่านกล่าวโดย
ปริยายว่า สัมมสนญาณย่อมมีได้แก่การย่อด้วยสามารถองค์หนึ่ง ๆ แห่ง
ปฏิจจสมุปบาท แล้วกำหนดไว้อย่างเดียว. แต่นั่นไม่ใช่กลาปสัมมสน-
ญาณ, นั่นเป็นธรรมฐิติญาณเท่านั้น.
บทว่า อสติ ชาติยา - เมื่อชาติไม่มี นี้ท่านทำเป็นลิงควิปลาส.
ท่านจึงกล่าวว่า อสนฺติยา ชาติยา. บทว่า อสติ สงฺขาเรสุ - เมื่อ

สังขารไม่มี ท่านทำเป็นวจนวิปลาส, ท่านกล่าวว่า อสนฺเตสุ สงฺขา -
เรสุ.

บทมีอาทิว่า ภวปจฺจยา ชาติ, อสติ เพราะภพเป็นปัจจัย จึง
มีชาติ, เมื่อภพไม่มี พึงประกอบโดยนัยมีอาทิว่า เพราะภพเป็นปัจจัย
จึงมีชาติ, เมื่อภพไม่มี ชาติก็ไม่มี.
จบ อรรถกถาสัมมสนญาณนิทเทส
------------------------------------

อุทยัพพยญาณนิทเทส


[103]ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรปรวนแห่งธรรม
ทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน เป็นอุทยัพพยานุปัสนาญาณอย่างไร ?
รูปที่เกิดแล้วเป็นปัจจุบัน ชาติแห่งรูปที่เกิดแล้วนั้นมีความเกิด
เป็นลักษณะ ความเสื่อมมีความแปรปรวนเป็นลักษณะ ปัญญาที่
พิจารณาเห็นดังนี้ เป็นอุทยัพพยานุปัสนาญาณ เวทนาเกิดแล้ว สัญญา
เกิดแล้ว สังขารเกิดแล้ว วิญญาณเกิดแล้ว จักษุเกิดแล้ว ฯ ล ฯ ภพ
เกิดแล้วเป็นปัจจุบัน ชาติแห่งภพที่เกิดแล้วนั้นมีความเกิดเป็นลักษณะ
ความเสื่อมมีความแปรปรวนเป็นลักษณะ ปัญญาที่พิจารณาเห็นดังนี้
เป็นอุทยัพพยานุปัสนาญาณ.