เมนู

ปฏิจจสมุปบาทนี้นั้น ท่านกล่าวว่า ตถตา - ความจริงแท้ เพราะ
ธรรมนั้น ๆ เกิดโดยไม่หย่อนไม่ยิ่งด้วยปัจจัยนั้น ๆ, ท่านกล่าว อวิต-
ถตา -
ความแน่นอน เพราะไม่มี ความไม่เกิดแห่งธรรมที่เกิดจากธรรม
นั้น แม้ครู่เดียวในปัจจัยที่เข้าถึงความพร้อมเพรียง, ท่านกล่าวว่า
อนญฺญถตา - ความไม่เป็นอย่างอื่น เพราะไม่มีธรรมอื่นเกิดขึ้นด้วย
ปัจจัยแห่งธรรมอื่น, ท่านกล่าวว่า อิทปฺปจฺจยตา - ความเป็นปัจจัย
แห่งธรรมนี้ เพราะเป็นปัจจัยแก่ชราและมรณะเป็นต้นเหล่านั้น หรือ
เพราะเป็นที่รวมปัจจัย.
ในบทนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ ปัจจัยแห่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า
อิทปฺปจฺจยา, อิทปฺปจฺจยานั้นแล ชื่อว่า อิทปฺปจฺจยตา, อีกอย่าง
หนึ่ง การรวม อิทปฺปจฺจยา ทั้งหลายชื่อว่า อิทปฺปจฺจยตา. แต่
ในที่นี้ พึงทราบลักษณะโดยอรรถแห่งศัพท์.
จบ อรรถกถาธรรมฐิติญาณนิทเทส

สัมมสนญาณนิทเทส


[99] ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลายทั้งอดีต อนาคตและ
ปัจจุบันแล้วกำหนดไว้ เป็นสัมมสนญาณอย่างไร ?

พระโยคาวจรย่อมกำหนดรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคตและปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม
ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม มีในที่ไกลก็ตาม ในที่ใกล้
ก็ตาม โดยความเป็นของไม่เที่ยง การกำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณอย่าง
หนึ่ง กำหนดโดยความเป็นทุกข์ การกำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณอย่าง
หนึ่ง กำหนดโดยความเป็นอนัตตา การกำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณอย่าง
หนึ่ง พระโยคาวจรย่อมกำหนดเวทนา... สัญญา...สังขาร...วิญญาณอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม เป็น
ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม
มีในที่ไกลก็ตาม ในที่ใกล้ก็ตาม โดยความเป็นของไม่เที่ยง การ
กำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นทุกข์ การ
กำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นอนัตตา การ
กำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรย่อมกำหนดจักษุ
ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งที่เป็นอดีตอนาคตและปัจจุบัน โดยความ
เป็นของไม่เที่ยง การกำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง กำหนด
โดยความเป็นทุกข์ การกำหนดนี้เป็นสัมมญาณอย่างหนึ่ง กำหนด
โดยความเป็นอนัตตา การกำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง.

[100] ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า รูปทั้งที่เป็นอดีต
อนาคตและปัจจุบัน ไม่เที่ยงเพราะอรรถว่าสิ้นไป เป็นทุกข์เพราะอรรถ

ว่าน่ากลัว เป็นอนัตตาเพราะอรรถว่าหาแก่นสารมิได้ เป็นสัมมสนญาณ
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งที่เป็นอดีตอนาคตและปัจจุบัน ไม่เที่ยง
เพราะอรรถว่าสิ้นไป เป็นทุกข์เพราะอรรถว่าน่ากลัว เป็นอนัตตา
เพราะอรรถว่าหาแก่นสารมิได้ เป็นสัมมสนญาณ.

[101] ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า รูปทั้งที่เป็นอดีต
อนาคตและปัจจุบัน ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น
มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา เป็นสัมมสน-
ญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน ไม่
เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป
คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา เป็นสัมมสนญาณ.

[102] ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย
จึงมีชราและมรณะ เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะก็ไม่มี เป็นสัมมสน-
ญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาล
ก็ดี เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ เมื่อชาติไม่มี ชราและ
มรณะก็ไม่มี เป็นสัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า เพราะ
ภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เมื่อภพไม่มี ชาติก็ไม่มี ฯ ล ฯ เพราะอุปาทาน

เป็นปัจจัย จึงมีภพ เมื่ออุปาทานไม่มี ภพก็ไม่มี เพราะตัณหาเป็น
ปัจจัย จึงมีอุปาทาน เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานก็ไม่มี เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาก็ไม่มี เพราะผัสสะ
เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาก็ไม่มี เพราะสฬายตนะ
เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะก็ไม่มี เพราะนาม
รูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะก็ไม่มี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปก็ไม่มี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณก็ไม่มี
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารก็ไม่มี
เป็นสัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า ในอดีตกาลก็ดี ใน
อนาคตกาลก็ดี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เมื่ออวิชชาไม่มี
สังขารก็ไม่มี เป็นสัมมสนญาณ.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการย่อธรรม
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบันแล้วกำหนด เป็นสัมมสนญาณ.

อรรถกถาสัมมสนญาณนิทเทส


99] พึงทราบวินิจฉัย ในสัมมสนญาณนิทเทส ดังต่อไปนี้
บทว่า ยงฺกิญฺจิ คือ กำหนดถือเอาไม่มีเหลือ. บทว่า รูปํ ได้แก่