เมนู

ความหลงเป็นอวิชชา กรรมที่ประมวลมาเป็นสังขาร ความพอใจเป็น
ตัณหา ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน ความคิดอ่านเป็นภพ (ย่อมมี)
เพราะอายตนะทั้งหลาย ในภพนี้แก่รอบ ธรรม 5 ประการในกรรมภพ
นี้เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิในอนาคต ปฏิสนธิในอนาคตเป็น
วิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ประสาทเป็นอายตนะ ส่วนที่ถูก
ต้องเป็นผัสสะ ความเสวยอารมณ์เป็นเวทนา ธรรม 5 ประการใน
อุปปัตติภพในอนาคตเหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในภพนี้ พระ-
โยคาวจร ย่อมรู้ ย่อมเห็น ย่อมทราบชัด ย่อมแทงตลอด ซึ่ง
ปฏิจจสมุปบาท มีสังเขป 4 กาล 3 ปฏิสนธิ 3 เหล่านี้ ด้วยอาการ 20
ด้วยประการดังนี้.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดปัจจัย
เป็นธรรมฐิติญาณ.

อรรถกถาธรรมฐิติญาณนิทเทส


94] พึงทราบวินิจฉัยในธรรมฐิติญาณนิทเทสดังต่อไปนี้ ใน
บทมีอาทิว่า อวิชฺชา สงฺขารานํ อุปฺปาทฏฺฐิติ - ต่อวิชชาเป็นเหตุเกิด
แห่งสังขารทั้งหลาย มีอธิบายดังนี้ ชื่อว่า ฐิติ เพราะอรรถว่าอวิชชา
เป็นเหตุตั้งสังขาร. ฐิติ นั้น คืออะไร ? คือ อวิชชา. เพราะว่า