เมนู

สมาธิภาวนามยญาณนิทเทส


[92]ปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ด้วยดี เป็นสมาธิภาวนา-
มยญาณอย่างไร ? สมาธิอย่างหนึ่ง คือ เอกัคตาจิต. สมาธิ 2 คือ
โลกิยสมาธิ 1 โลกุตรสมาธิ 1. สมาธิ 3 คือ สมาธิมีวิตกและวิจาร 1
สมาธิไม่มีวิตกมีแต่วิจาร 1 สมาธิไม่มีวิตกไม่มีวิจาร 1. สมาธิ 4 คือ
สมาธิมีส่วนเสื่อม 1 สมาธิเป็นส่วนตั้งอยู่ 1 สมาธิเป็นส่วนวิเศษ 1
สมาธิเป็นส่วนชำแรกกิเลส 1. สมาธิ 5 คือ สมาธิมีปีติแผ่ไป 1 สมาธิ
มีสุขแผ่ไป 1 สมาธิมีจิตแผ่ไป 1 สมาธิมีแสงสว่างแผ่ไป 1 สมาธิมี
การพิจารณาเป็นนิมิต 1. สมาธิ 6 คือ สมาธิมีเอกัคตาจิตมิได้ฟุ้งซ่าน
ด้วยสามารถพุทธานุสติ 1 ธรรมานุสติ 1 สังฆานุสติ 1 สีลานุสติ 1
จาคานุสติ 1 เทวตานุสติ 1. สมาธิ 7 คือ ความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ 1
เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ 1 ความเป็นผู้ฉลาดในการตั้งสมาธิ 1.
ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ 1 ความเป็นผู้ฉลาดในความงาม
แห่งสมาธิ 1 ความเป็นผู้ฉลาดในโคจรแห่งสมาธิ 1 ความเป็นผู้ฉลาด
ในการน้อมไปแห่งสมาธิ 1. สมาธิ 8 คือ สมาธิมีเอกัคตาจิตมิได้ฟุ้งซ่าน
ด้วยสามารถปฐวีกสิณ 1 อาโปกสิณ 1 เตโชกสิณ 1 วาโยกสิณ 1
นีลกสิณ 2 ปีตกสิณ 1 โลหิตกสิณ 1 โอทาตกสิณ 1. สมาธิ 9 คือ
รูปาวจรสมาธิส่วนเลว 1 ส่วนปานกลาง 1 ส่วนประณีต 1 อรูปา-
วจรส่วนเลว 1 ส่วนปานกลาง 1 ส่วนประณีต 1 สุญญตสมาธิ 1

อนิมิตตสมาธิ 1 อัปปณิหิตสมาธิ 1. สมาธิ 10 คือ สมาธิมีเอกัคตา-
จิตมิได้ฟุ้งซ่านด้วยสามารถอุทธุมาตกสัญญา 1 วินีลกสัญญา 1 วิปุพ-
พกสัญญา 1 วิฉิททกสัญญา 1 วิกขายิตกสัญญา 1 วิกขิตตกสัญญา 1
หตวิกขายิตกสัญญา 1 โลหิตกสัญญา 1 ปุฬุวกสัญญา 1 อัฏฐิกสัญญา 1
สมาธิเหล่านี้รวมเป็น 55.
[93] อีกอย่างหนึ่ง สภาพในความเป็นสมาธิแห่งสมาธิ 251
ประการ คือ สมาธิเพราะอรรถว่าอันสัทธินทรีย์เป็นต้นกำหนดถือเอา 1
เพราะอรรถว่าอินทรีย์เป็นบริวารแห่งกันและกัน 1 เพราะอรรถว่า
สัทธินทรีย์เป็นต้นบริบูรณ์ 1 เพราะอรรถว่ามีอารมณ์เป็นอันเดียว 1
เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน 1 เพราะอรรถว่าไม่แส่ไป 1 เพราะอรรถว่า
ไม่ขุ่นมัว 1 เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว 1 เพราะอรรถว่าหลุดพ้นจาก
กิเลส 1 เพราะความที่จิตตั้งอยู่ด้วยสามารถความตั้งมั่นในความเป็นจิต
มีอารมณ์เดียว 1 เพราะอรรถว่าแสวงหาความสงบ 1 เพราะอรรถว่า
ไม่แสวงหาธรรมอันเป็นข้าศกแก่ความสงบ 1 เพราะแสวงหาความสงบ
แล้ว 1 เพราะไม่แสวงหาธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบแล้ว 1 เพราะ
อรรถว่ายึดมั่นความสงบ 1 เพราะอรรถว่าไม่ยืดมั่นธรรมอันเป็นข้าศึก
แก่ความสงบ 1 เพราะยึดมั่นความสงบแล้ว 1 เพราะไม่ยึดมั่นธรรม
1. นับแล้วได้ 27.

อัน เป็นข้าศึกแก่ความสงบแล้ว 1 เพราะอรรถว่าปฏิบัติสงบ 1 เพราะ
อรรถว่าไม่ปฏิบัติสงบ 1 เพราะปฏิบัติสงบแล้ว 1 เพราะไม่ปฏิบัติ
ไม่สงบแล้ว 1 เพราะอรรถว่าเพ่งความสงบ 1 เพราะอรรถว่าเผาธรรม
อันเป็นข้าศึกแก่ความสงบ 1 เพราะเพ่งความสงบแล้ว 1 เพราะเผา
ธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบแล้ว 1 เพราะอรรถว่าเป็นธรรมสงบ
เป็นสภาพเกื้อกูลและนำสุขมาให้ 1 สภาพในความเป็นสมาธิ
เหล่านี้รวมเป็น 25.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถรู้ว่าธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการสรวมแล้ว
ตั้งไว้ดี เป็นสมาธิภาวนามยญาณ.

อรรถกถาสมาธิภาวนามยญาณนิทเทส


92] พึงทราบวินิจฉัยในสมาธิภาวนมยญาณนิทเทส ดังต่อ
ไปนี้ พระสารีบุตรเมื่อจะแสดงประเภทของสมาธิ ตั้งแต่หมวดหนึ่งๆ แต่
ต้นจนถึงหมวด 10 จึงกล่าวบทมีอาทิว่า เอโก สมาธิ อย่าง
หนึ่ง.
ในบทเหล่านั้น บทว่า จิตฺตสฺส เอกคฺคตา - ความว่าชื่อว่า
เอกคฺโค เพราะอรรถว่ามีอารมณ์เลิศ คือ สูงสุดอย่างหนึ่ง เพราะ