เมนู

ว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้
สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า นี้ทุกข์ นี้
ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ชื่อว่าสุตมยญาณ
ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว ชื่อว่าสุตมยญาณอย่างนี้.

อรรถกถามรรคสัจนิทเทส


85]พึงวินิจฉัยใน มรรคสัจนิทเทส ดังต่อไปนี้ บทว่า
อยเมว คือ กำหนดธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อมรรคอื่น. บทว่า อริโย
ชื่อว่า อริยะ เพราะใกล้จากกิเลสอันมาด้วยมรรคนั้น ๆ. เพราะทำ
ความเป็นพระอริยะ และเพราะทำการได้อริยผล. ชื่อว่า อัฏฐังคิกะ
เพราะอรรถว่ามรรคนั้นมีองค์ 8. มรรคนั้นดุจะเสนามีองค์ 4, องค์
มรรคดุจดนตรีมีองค์ 5. พ้นจากองค์แล้วมีไม่ได้.
บัดนี้ พระสารีบุตรเมื่อแสดงว่ามรรคเป็นเพียงองค์เท่านั้น พ้น
จากองค์แล้วมีไม่ได้ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สมฺมาทิฏฺฐิ ฯเปฯ สมฺมา-
สมาธิ.

ในบทเหล่านั้น สัมมาทิฏฐิ มีการเห็นชอบเป็นลักษณะ.
สัมมาสังกัปปะ มีการยกขึ้นเป็นลักษณะ. สัมมาวาจา มีการกำหนด
เป็นลักษณะ. สัมมากัมมันตะ มีการให้ตั้งขึ้นเป็นลักษณะ. สัมมา-

อาชีวะ มีการให้ผ่องแผ้วเป็นลักษณะ. สัมมาวายามะ มีการประคอง
ไว้เป็นลักษณะ. สัมมาสติ มีการเข้าไปตั้งมั่นเป็นลักษณะ. สัมมา-
สมาธิ
มีการตั้งไว้เสมอเป็นลักษณะ.
ในมรรคเหล่านั้น มรรคหนึ่ง ๆ ย่อมมีกิจอย่างละ 3. คือ
สัมมาทิฏฐิ ย่อมละมิจฉาทิฏฐิกับกิเลสที่เป็นข้าศึกของตน แม้เหล่าอื่น
ก่อน, ทำนิโรธให้เป็นอารมณ์, และเห็นสัมปยุตธรรม เพราะไม่หลง
ด้วยสามารถกำจัดโมหะอันปกปิดสัมปยุตธรรมทั้งหลายได้. แม้สัมมาสัง-
กัปปะเป็นต้น ก็ละมิจฉาสังกัปปะเป็นต้น ได้เช่นเดียวกัน, เละทำ
นิพพานให้เป็นอารมณ์. แต่โดยแปลกกันในบทนี้ สัมมาสังกัปปะ ยก
ขึ้นสู่สหชาตธรรมโดยชอบ สัมมาวาจา กำหนดเอาโดยชอบ. สัมมา-
กัมมันตะ
ให้ตั้งขึ้นโดยชอบ, สัมมาอาชีวะ ให้ผ่องแผ้วโดยชอบ,
สัมมาวายามะ ประคองไว้โดยชอบ, สัมมาสติ ให้เข้าไปตั้งไว้โดย
ชอบ สัมมาสมาธิ ตั้งมั่นไว้โดยชอบ.
อีกอย่างหนึ่ง สัมมาทิฏฐินี้ในส่วนเบื้องต้น มีขณะต่างกัน มี
อารมณ์ต่างกัน, ในกาลแห่งมรรคมีขณะอย่างเดียวกัน, มีอารมณ์อย่าง
เดียวกัน. แต่โดยกิจย่อมได้ชื่อ 4 อย่าง มีอาทิว่า ทุกฺเข ญาณํ - ความ
รู้ในทุกข์. แม้สัมมาสังกัปปะเป็นต้น ในส่วนเบื้องต้นก็มีขณะต่างกัน
มีอารมณ์ต่างกัน, ในกาลแห่งมรรคมีขณะอย่างเดียวกัน มีอารมณ์
อย่างเดียวกัน. ในมรรคเหล่านั้น สัมมาสังกัปปะโดยกิจย่อมได้ชื่อ 3.

อย่าง มี เนกฺขมฺมสงฺกปฺโป เป็นต้น. มรรค 3 สัมมาวาจา เป็นต้น
ในส่วนเบื้องต้น เป็นวิรัติบ้าง เป็นเจตนาบ้าง, แต่ในขณะแห่งมรรค
เป็นวิรัติอย่างเดียว, สองบทนี้ คือ สมฺมาวายาโม สมฺมาสติ โดย
กิจย่อมได้ชื่อ 4 อย่าง ด้วยสามาสัมมัปธานและสติปัฏฐาน. ส่วน
สัมมาสมาธิ แม้ในส่วนเบื้องต้น แม้ในขณะแห่งมรรคก็เป็นสมาธิ
เท่านั้น.
ในธรรม 8 อย่างเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสัมมา-
ทิฏฐิไว้ก่อน เพราะเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่พระโยคีผู้ปฏิบัติเพื่อถึง
นิพพาน. เพราะสัมมาทิฏฐินี้ท่านกล่าวว่า ปญฺญา ปชฺโชโต ปญฺญา-
สตฺถํ
1 ปัญญา เป็นแสงสว่าง เป็นดังศัสตรา. ฉะนั้น พระโยคาวจร
กำจัดความมืด คือ อวิชชาด้วยสัมมาทิฏฐิ กล่าวคือ วิปัสสนาญาณนั้น
ในส่วนเบื้องต้น แล้วฆ่าโจรคือกิเลสเสียได้ ย่อมถึงนิพพานโดยเกษม.
เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงสัมมาทิฏฐิไว้ก่อน.
ส่วนสัมมาสังกัปปะมีอุปการะมากแก่สัมมาทิฏฐินั้น, เพราะ
ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ในลำดับต่อไป. เหมือนอย่างว่า
เหรัญญิกใช้มือพลิกกลับไปกลับมาดูกหาปณะด้วยตาก็ย่อมรู้ว่า นี้ปลอม
นี้ไม่ปลอมฉันใด, แม้พระโยคาวจรก็ฉัน ในส่วนเบื้องต้นตรึกแล้ว
1. อภิ. สํ. 34/35, 45.

ตรึกเล่าด้วยวิตก มองดูด้วยวิปัสสนาปัญญา ย่อมรู้ว่าธรรมเหล่านี้เป็น
กามาวจร, เหล่านี้เป็นรูปาวจรเป็นต้น. หรือเหมือนอย่างว่าช่างไม้เอา
ขวานถากไม้ใหญ่ที่บุรุษจับไว้ที่ปลาย แล้วพลิกไปพลิกมาให้นำเข้าไป
ใช้ในการงานฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น กำหนดธรรมอันวิตกตรึก
ไปตรึกมาให้แล้วด้วยปัญญาโดยนัยมีอาทิว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกามาวจร
เหล่านี้เป็นรูปาวจรเป็นต้น แล้วนำเข้าไปในการงาน. เพราะฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสัมมาสังกัปปะไว้ในลำดับสัมมาทิฏฐิ. สัมมา-
สังกัปปะเป็นอุปการะ แม้แก่สัมมาวาจาเหมือนเป็นอุปการะแก่สัมมา-
ทิฏฐิฉะนั้น. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนคหบดีพระ-
โยคาวจรตรึกตรองในเบื้องต้นแล้วจึงเปล่งวาจาในภายหลังดังนี้1 เพราะ
ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสสัมมาวาจาในลำดับจากนั้น.
อนึ่ง เพราะชนทั้งหลายจัดแจงการงานด้วยวาจาก่อนว่า เรา
จักทำสิ่งนี้ ๆ แล้วจึงประกอบการงานในโลก ฉะนั้น พระผู้มีพระภาค-
เจ้าจึงตรัสสัมมากัมมันตะไว้ในลำดับของสัมมาวาจา เพราะวาจาเป็น
อุปการะแก่การทำงานทางกาย.
ก็เพราะอาชีวมัฏฐมกศีล - ศีลมีอาชีวะเป็นที่ 8 ย่อมบริบูรณ์แก่
ผู้ละวจีทุจริต 4 อย่าง กายทุจริต 3 อย่าง แล้วบำเพ็ญสุจริตทั้งสอง
1. ม. มู. 12/509.

ไม่บริบูรณ์แก่ผู้บำเพ็ญนอกไปจากนี้ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส
สัมมาอาชีวะไว้ในลำดับต่อจากทั้งสองนั้น.
อันผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์ไม่ควรทำความยินดีด้วยเหตุเพียงเท่านี้ว่า
อาชีวะของเราบริสุทธิ์ แล้วอยู่ด้วยความหลับและความประมาทอย่างนี้,
ที่แท้ควรปรารภความเพียรนี้ในทุกอิริยาบถ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อ
ทรงแสดงด้วยประการฉะนี้ จึงตรัสสัมมาวายามะไว้ในลำดับต่อจากนั้น.
จากนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงว่า อันผู้ปรารภความ
เพียรควรทำความตั้งสติมั่นในวัตถุ 4 อย่างมีกายเป็นต้น จึงตรัสสัมมา-
สติไว้ในลำดับต่อจากนั้น.
เพราะเมื่อสติตั้งมั่นดีอย่างนี้แล้ว จิตแสวงหาคติแห่งธรรมที่
เกื้อกูลและไม่เกื้อกูลแก่สมาธิ ย่อมเพียงพอเพื่อตั้งมั่นในอารมณ์ คือ
ความเป็นอันเดียว ฉะนั้น พึงทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสัมมา-
สมาธิในลำดับต่อจากสัมมาสติ.
พึงทราบวินิจฉัยในสัมมาทิฏฐินิทเทสดังต่อไปนี้ พระสารีบุตร
แสดงจตุสัจกรรมฐานด้วยมีอาทิว่า ทุกฺเข ญาณํ ดังนี้.
บรรดาสัจจะ 4 เหล่านั้น สัจจะ 2 ข้างต้นเป็นวัฏฏะ, 2 ข้าง-
หลังเป็นวิวัฏฏะ. ในสัจจะเหล่านั้น ความยึดมั่นกรรมฐานในวัฏฏะ
ย่อมมีแก่ภิกษุ ความยึดมั่นในวิวัฏฏะย่อมไม่มี. เพราะพระโยคาวจร
เรียนสัจจะ 2 ข้างต้นในสำนักอาจารย์โดยสังเขปอย่างนี้ว่า ปญฺจกฺ-

ขนฺธา ทุกฺขํ, ตณฺหา สมุทโย - ขันธ์ 5 เป็นทุกข์ ตัณหาเป็นเหตุ
ให้เกิดทุกข์, เละโดยพิสดารว่า กตเม ปญฺจกฺขนฺขฺธา, รูปกฺขนฺโธ
ขันธ์ 5 เป็นไฉน, คือ รูปขันธ์เป็นต้น แล้วท่องกลับไปมาบ่อย ๆ
ด้วยวาจา ย่อมทำกรรม. ส่วนในสัจจะ 2 นอกนี้พระโยคาวจรทำกรรม
ด้วยการฟังเท่านั้นอย่างนี้ว่า นิโรธสจฺจํ อิฏฺฐํ กนฺตํ มนาปํ, มคฺค-
สจฺจํ อิฏฺฐํ กนฺตํ มนาปํ -
นิโรธสัจ น่าใคร่ นำปรารถนา น่าชอบ
ใจ มรรคสัจ น่าใคร่ น่าปรารถนา น่าชอบใจ. พระโยคาวจรนั้น
เมื่อทำกรรมอย่างนี้ ย่อมแทงตลอดสัจจะ 4 โดยการแทงตลอดครั้งเดียว
ย่อมตรัสรู้โดยการตรัสรู้ครั้งเดียวเหมือนกัน. ย่อมแทงตลอดทุกข์โดย
การแทงตลอดด้วยปริญญา ย่อมแทงตลอดสมุทัยโดยการแทงตลอดด้วย
ปหานะ ย่อมแทงตลอดนิโรธโดยการแทงตลอดด้วยสัจฉิกิริยา. ย่อม
แทงตลอดมรรคโดยการแทงตลอดด้วยภาวนา. ย่อมตรัสรู้ทุกข์โดยการ
ตรัสรู้ด้วยปริญญา ฯลฯ ย่อมตรัสรู้มรรคโดยการตรัสรู้ด้วยภาวนา.
การแทงตลอดด้วยการเรียน การสอบถาม การฟัง การทรงไว้
และการพิจารณาในสัจจะ 2 ในส่วนเบื้องต้น ย่อมมีแก่ภิกษุนั้น, ใน
สัจจะ 2 ย่อมมีการแทงตลอดด้วยการฟังอย่างเดียว. ในส่วนอื่นย่อมมี
การแทงตลอดโดยกิจในสัจจะ 3 ย่อมมีการแทงตลอดโดยอารมณ์ใน
นิโรธ. ในสัจจะเหล่านั้น ความรู้ด้วยการแทงตลอดแม้ทั้งหมดเป็น
โลกุตระ, ความรู้ด้วยการฟัง การทรงไว้ และการพิจารณาเป็นโลกิย-

กามาวจร ส่วนการพิจารณาย่อมมีแก่มรรคสัจจะ นี้เป็นอาทิกัมมิกะ-
กรรมเบื้องต้น. เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่กล่าวการพิจารณานั้นไว้ในที่
นี้. อนึ่ง การพิจารณาด้วยความผูกใจ ความรวบรวม ความใส่ใจว่า
เรารู้ทุกข์ เราละสมุทัย เราทำให้แจ้งนิโรธ เราเจริญภาวนา ดังนี้.
ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนี้ผู้กำหนดไว้ก่อน. ย่อมมีได้ตั้งแต่ขณะกำหนด. ส่วน
ในภายหลังทุกข์เป็นอันภิกษุกำหนดรู้แล้ว ฯ ล ฯ มรรคเป็นอันภิกษุ
เจริญแล้ว.
ในสัจจะเหล่านั้น สัจจะ 2 ลึกซึ้งเพราะเห็นได้ยาก. สัจจะ 2
เห็นได้ยาก เพราะลึกซึ้ง. จริงอยู่ทุกขสัจจะปรากฏแต่เกิด. ในขณะ
ถูกตอและหนามทิ่มแทงเป็นต้น ก็ร้องว่าโอยเจ็บ ! สมุทยสัจจะปรากฏ
แต่เกิดด้วยอยากจะเคี้ยวอยากจะกินเป็นต้น. สัจจะแม้ทั้งสอง ชื่อว่า
ลึกซึ้ง เพราะแทงตลอดด้วยลักษณะ. สัจจะเหล่านั้น ชื่อว่าลึกซึ้ง
เพราะเห็นได้ยากด้วยประการฉะนี้. การประกอบความเพียรเพื่อเห็น
สัจจะ 2 อย่าง นอกนี้ก็เหมือนเหยียดมือเพื่อถือเอาภวัคคพรหม
เหมือนเหยียดเท้าเพื่อสัมผัสอเวจี และเหมือนการจรดปลายขนทรายที่
แยกออกร้อยส่วนด้วยปลายขนทราย. สัจจะเหล่านั้น ชื่อว่าเห็นได้ยาก
เพราะลึกซึ้งด้วยประการฉะนี้.
พระสารีบุตรกล่าวบทมีอาทิว่า ทุกเข ญาณํ นี้หมายถึงการ
เกิดแห่งญาณอันเป็นส่วนเบื้องต้นด้วยการเรียนเป็นต้น ในสัจจะ 4

ชื่อว่าลึกซึ้ง เพราะเห็นได้ยาก และชื่อว่าเห็นได้ยากเพราะลึกซึ้ง แต่
ในขณะแทงตลอดญาณนั้นเป็นอย่างเดียวเท่านั้น.
ส่วนอาจารย์เหล่าอื่นกล่าวว่า ญาณในสัจจะทั้งหลายมี 4 อย่าง
คือ สุตมยญาณ - ญาณเกิดจากการฟัง 1 ววัตถานญาณ - ญาณ
เกิดจากการกำหนด 1 สัมมสนญาณ - ญาณเกิดจากการพิจารณา 1
อภิสมยภาณ - ญาณเกิดจากการตรัสรู้ 1.
ในญาณเหล่านั้น สุตมยญาณ เป็นไฉน ? พระโยคาวจรฟัง
สัจจะ 4 โดยย่อหรือโดยพิสดารย่อมรู้ว่า นี้ทุกข์, นี้สมุทัย, นี้นิโรธ,
นี้มรรค. นี้ชื่อว่า สุตมยญาณ.
ววัตถานญาณ เป็นไฉน ? พระโยคาวจรนั้นย่อมกำหนดความ
ของการฟัง โดยธรรมดา และโดยลักษณะ ย่อมลงความเห็นว่า ธรรม
เหล่านี้นับเนื่องในสัจจะนี้ นี้เป็นลักษณะของสัจจะนี้
นี้ชื่อว่า
ววัตถานญาณ.
สัมมสนญาณ เป็นไฉน ? พระโยคาวจรนั้น กำหนดสัจจะ 4
ตามลำดับอย่างนี้แล้วถือเอาทุกข์เท่านั้น ย่อมพิจารณาตลอดไปถึงโคตร-
ภูญาณ โดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา
นี้ชื่อว่า สัมมสนญาณ.
อภิสมยญาณ เป็นไฉน ? พระโยคาวจรนั้น ตรัสรู้สัจจะ 4
ด้วยญาณหนึ่ง ในขณะโลกุตรมรรค ไม่ก่อน ไม่หลัง คือย่อมตรัสรู้

ทุกข์ โดยการตรัสรู้ด้วยการกำหนดรู้, ย่อมตรัสรู้ สมุทัย โดยการตรัสรู้
ด้วยการละ, ย่อมตรัสรู้ นิโรธ โดยการตรัสรู้ด้วยการทำให้แจ้ง, ย่อม
ตรัสรู้ มรรค โดยการตรัสรู้ด้วยการเจริญ นี้ชื่อว่า อภิสมยญาณ.
พึงทราบวินิจฉัยในสัมมาสังกัปปนิทเทสดังต่อไปนี้ ชื่อว่า เนก-
ขัมมสังกัปโป
เพราะอรรถว่าออกไปจาก กาม.
ชื่อว่า อัพยาปาทสังกัปโป เพราะอรรถว่าออกไปจาก พยา-
บาท.
ชื่อว่า อวิหิงสาสังกัปโป เพราะอรรถว่าออกไปจาก วิหิงสา.
ในวิตกเหล่านั้น เนกขัมมวิตก ทำการทำลายเหตุ ตัดเหตุ
ของ กามวิตก เกิดขึ้น, อัพยาปาทวิตก ทำการทำลายเหตุ ตัดเหตุของ
พยาปาทวิตก เกิดขึ้น, อวิหิงสาวิตก ทำการทำลายเหตุ ตัดเหตุของ
วิหิงสาวิตก เกิดขึ้น อนึ่ง เนกขัมมวิตก อัพยาปาทวิตก อวิหิงสา-
วิตก เป็นข้าศึกของกามวิตก พยาปาทวิตก และวิหิงสาวิตกเกิดขึ้น.
ในวิตกเหล่านั้น พระโยคาวจร ย่อมพิจารณากามวิตกหรือ
สังขารอย่างใดอย่างหนึ่งอื่น เพื่อทำลายเหตุแห่งกามวิตก. อนึ่ง ความ
ดำริสัมปยุตด้วยวิปัสสนา ในขณะแห่งวิปัสสนาของพระโยคาวจรนั้น
ทำการทำลายเหตุ ตัดเหตุของกามวิตกด้วยสามารถตทังคะ - ชั่วขณะ
นั้นเกิดขึ้น, พระโยคาวจรขวนขวายวิปัสสนาแล้วบรรลุมรรค. อนึ่ง
ความดำริสัมปยุตด้วยมรรคในขณะแห่งมรรคของพระโยคาวจรนั้น ทำ
การทำลายเหตุ ตัดเหตุของกามวิตกด้วยสามารถสมุจเฉท - การตัดขาด

เกิดขึ้น. พระโยคาวจรย่อมพิจารณา พยาปาทวิตก หรือสังขารอื่น
เพื่อทำลายเหตุแห่งพยาปาทวิตก, พิจารณาวิหิงสาวิตก, หรือสังขาร
อื่นเพื่อทำลายเหตุแห่งวิหิงสาวิตก. อนึ่ง พึงประกอบบททั้งปวงว่า
อสฺส วิปสฺสนากขเณ - ในขณะแห่งวิปัสสนาของพระโยคาวจรนั้น
โดยนัยก่อนนั่นแล.
ก็เมื่อจำแนกอารมณ์ 38 ไว้ในบาลี แม้กรรมฐานอย่างหนึ่ง
ชื่อว่าไม่เป็นข้าศึก แก่วิตก 3 มีกามวิตกเป็นต้น ย่อมไม่มี. ปฐมฌาน
ในอสุภะนั่นแล เป็นข้าศึกของกามวิตกโดยส่วนเดียว. ฌานหมวด 3
หมวด 4 แห่งเมตตาเป็นข้าศึกของพยาปาทวิตก, ฌานหมวด 3 หมวด
4 แห่งกรุณาเป็นข้าศึกของวิหิงสาวิตก. เมื่อพระโยคาวจรนั้นกระทำ
การบริกรรมอสุภะแล้วเข้าฌานวิตกสัมปยุตด้วยฌานในขณะแห่งการเข้า
สมาบัติเป็นข้าศึกของกามวิตกด้วยสามารถวิกขัมภนะ- การข่มไว้ เกิด
ขึ้น. เมื่อพระโยคาวจรทำฌานให้เป็นบาทแล้วเริ่มตั้งวิปัสสนา ความดำริ
สัมปยุตด้วยวิปัสสนาในขณะแห่งวิปัสสนา เป็นข้าศึกของกามวิตกด้วย
สามารถชั่วขณะนั้นเกิดขึ้น. เมื่อพระโยคาวจรขวนขวายวิปัสสนาแล้ว
บรรลุมรรค ความดำริสัมปยุตด้วยมรรคในขณะแห่งมรรคเป็นข้าศึก
ของกามวิตกด้วยสามารถการตัดได้เด็ดขาดเกิดขึ้น. ความดำริอันเกิดขึ้น
อย่างนี้ พึงทราบว่าท่านกล่าวว่า เนกฺขมฺมสงฺกปฺโป.

พึงทราบบททั้งปวงว่า พระโยคาวจรทำบริกรรมด้วยเมตตา, ทำ
บริกรรมด้วยกรุณาแล้วเข้าฌาน โดยนัยก่อนนั่นแล. ความดำริอันเกิด
ขึ้นอย่างนี้ พึงทราบว่าท่านกล่าวว่า อพฺยาปาทสงฺกปฺ อวิหิงฺสา-
สงฺกปฺโป.
เนกขัมมสังกัปปะเป็นต้น เหล่านี้ต่างกันในส่วนเบื้องต้น
เพราะการเกิดขึ้นต่างด้วยอำนาจวิปัสสนาและฌาน, แต่ความดำริที่
เป็นกุศลอย่างเดียวเท่านั้น ยังองค์มรรคให้บริบูรณ์ด้วยทำการไม่เกิดให้
สำเร็จ เพราะตัดเหตุแห่งความดำริที่เป็นอกุศล ซึ่งเกิดขึ้นในฐานะ 3
เหล่านี้ ในขณะแห่งมรรคเกิดขึ้น นี้ชื่อว่า สัมมาสังกัปปะ.
พึงทราบวินิจฉัยใน สัมมาวาจานิทเทส ดังต่อไปนี้ เพราะ
ภิกษุเว้นจาก มุสาวาทด้วยจิตอื่น เว้นจากปิสุณาวาจาเป็นต้น ด้วยจิต
อื่นๆ ฉะนั้นการเว้นอย่างนี้ จึงต่างกันในส่วนเบื้องต้น, แต่
ในขณะแห่งมรรค การเว้นที่เป็นกุศลกล่าวคือสัมมาวาจาอย่างเดียวเท่า
นั้น ยังองค์มรรค 8 ให้บริบูรณ์ด้วยสามารทำความไม่เกิดให้สำเร็จได้
เพราะตัดทางแห่งเจตนาอันเป็นอกุศล และความเป็นผู้ทุศีล 4 อย่าง
กล่าวคือมิจฉาวาจา ย่อมเกิดขึ้น นี้ชื่อว่า สัมมาวาจา.
พึงทราบวินิจฉัยใน สัมมากัมมันตนิทเทส ดังต่อไปนี้ เพราะ
ภิกษุเว้นจากปาณาติบาตด้วยจิตอื่น เว้นจากอทินนาทานด้วยจิตอื่น
เว้นจากมิจฉาจารด้วยจิตอื่น ฉะนั้นการเว้น 3 อย่างเหล่านี้ จึงต่างกัน
ในส่วนเบื้องต้น แต่ในขณะแห่งมรรค การเว้นที่เป็นกุศล กล่าวคือ

สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างเดียว ยังองค์แห่งมรรคให้บริบูรณ์ด้วย
สามารถทำการไม่เกิดให้สำเร็จ เพราะตัดทางแห่งเจตนาอันเป็นอกุศล
และความเป็นผู้ทุศีล 3 อย่าง ได้แก่ มิจฉากัมมันตะ เกิดขึ้น. นี้
ชื่อว่า สัมมากัมมันตะ.
พึงทราบวินิจฉัยใน สัมมาอาชีวนิทเทส ดังต่อไปนี้ บทว่า
อิธ ได้แก่ ในศาสนานี้. บทว่า อริยสาวโก ได้แก่ สาวกของ
พระพุทธเจ้าผู้เป็นอริยะ. บทว่า มิจฺฉาอาชีวํ ปหาย ได้แก่ ละ
อาชีวะที่ลามก. บทว่า สมฺมาอาชีเวน ได้แก่ อาชีพที่ดีที่พระพุทธเจ้า
ทางสรรเสริญ. บทว่า ชีวิตํ กปฺเปติ-สำเร็จความเป็นอยู่ ได้แก่
ยังความเป็นไปของชีวิตให้เป็นไป.
เพราะภิกษุในศาสนานี้ เว้นจากการก้าวล่วงทางกายทวารด้วย
จิตอื่น เว้นจากการก้าวล่วงทางวจีทวารด้วยจิตอื่น ฉะนั้นอาชีวะย่อม
เกิดขึ้นในขณะต่าง ๆ กันในส่วนเบื้องต้น แต่ในขณะแห่งมรรคการ
เว้นที่เป็นกุศล กล่าวคือ สัมมาอาชีวะเป็นอย่างเดียว ยังองค์แห่งมรรค
ให้บริบูรณ์ด้วยสามารถทำความไม่เกิดให้เสร็จ เพราะตัดทางแห่งเจตนา
อันเป็นมิจฉาอาชีวะ และความเป็นผู้ทุศีลอันเกิดขึ้นด้วยสามารถกรรม-
บถ 7 ในทวาร 2 เกิดขึ้น นี้ชื่อว่า สัมมาอาชีวะ.
พึงทราบวินิจฉัยใน สัมมาวายามนิทเทส ดังต่อไปนี้ บทว่า
อิธ ภิกฺขุ ได้แก่ ภิกษุผู้ปฏิบัติในศาสนานี้.

บทว่า อนุปฺปนฺนานํ ได้แก่ ยังไม่เกิด. บทว่า ปาปกานํ
ได้แก่ ลามก. บทว่า อกุสลานํ ธมฺมานํ ได้แก่ ธรรมที่เป็นอกุศล.
บทว่า อนุปฺปาทาย ได้แก่ เพื่อไม่ให้เกิดขึ้น.
บทว่า ฉนฺทํ ชเนติ - ย่อมยังฉันทะให้เกิดขึ้น ได้แก่ ยัง
ฉันทะในกุศล กล่าวคือความเป็นผู้ใคร่ทำให้เกิด คือ ให้เกิดขึ้น. บทว่า
วายมติ-ย่อมพยายาม ได้แก่ ยังความเพียรให้เกิด คือ ทำความเพียร.
บทว่า วีริยํ อารภติ- ปรารภความเพียร ได้แก่ ทำความเพียรทาง .
กายและทางจิต. บทว่า จิตฺตํ ปคฺคณหาติ - ประคองจิต ได้แก่
ยกจิตขึ้นด้วยความเพียรอันรวมกันนั้นนั่นเอง. บทว่า ปทหติ - ตั้ง
จิตไว้ ได้แก่ ทำความเพียรเป็นที่ตั้ง. พึงประกอบบท 4 บทเหล่านี้
ด้วย อาเสวนา- การเสพ ภาวนา- การเจริญ พหุลีกรรม-การ
ทำให้มาก สาตัจจกิริยา-การทำติดต่อ ตามลำดับไป.
บทว่า อุปฺปนฺนานํ-ที่เกิดขึ้นแล้ว ได้แก่ ถึงความไม่ควรจะ
กล่าวว่า อนุปฺปนฺานํ - ที่ยังไม่เกิด. บทว่า ปหานาย ได้แก่
เพื่อละ, บทว่า อนุปฺปนฺนานํ กุสลานํ ธมฺมานํได้แก่ กุศลธรรม
ที่ยังไม่เกิด.
บทว่า อุปฺปาทาย ได้แก่ เพื่อให้เกิดขึ้น. บทว่า อุปฺปนฺนานํ
ได้แก่ ที่เกิดขึ้นแล้ว. บทว่า ฐิติยา ได้แก่ เพื่อความตั้งมั่น. บทว่า
อสมฺโมสาย - เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน ได้แก่ เพื่อความไม่ฉิบหาย.

บทว่า ภิยฺโยภาวาย - เพื่อความเจริญโดยยิ่ง ได้แก่ เพื่อความเจริญ
บ่อย ๆ. บทว่า เวปุลฺลาย ได้แก่ เพื่อความไพบูลย์. บทว่า ภาวนาย
ได้แก่ เพื่อความเจริญ. บทว่า ปาริปูริยา ได้แก่ เพื่อความบริบูรณ์.
ก็สัมมัปธาน 4 อัน ได้แก่ สัมมาวายามะ เหล่านี้เป็นโลกิยะ
ในส่วนเบื้องต้น เป็นโลกุตระในขณะแห่งมรรค. แต่ในขณะแห่มรรค
ความเพียรอย่างเดียวเท่านั้น ย่อมได้ชื่อ 4 อย่าง ด้วยสามารถทำกิจ
4 อย่างให้สำเร็จ.
ในสัมมัปธานเหล่านั้น พึงทราบสัมมัปธานที่เป็นโลกิยะ โดย
นัยที่ท่านกล่าวไว้ในกัสสปสังยุตนั่นแล. ในกัสสปสังยุตนั้นท่านกล่าว
ไว้ว่า
ดูก่อนท่านผู้มีอายุ สัมมัปธาน 4 เหล่านี้.
สัมมัปธาน 4 เป็นไฉน ? ดูก่อนอาวุโส ภิกษุใน
ศาสนานี้ทำความเพียรว่า อกุศลธรรมอันลามก
ยังไม่เกิดแก่เรา เมื่อเกิดพึงเป็นไปเพื่อความฉิบ-
หาย, ภิกษุทำความเพียรว่า อกุศลธรรมอันลามก
เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อไม่เกิดขึ้น จะพึงเป็นไปเพื่อ
ความฉิบหาย, ภิกษุความเพียรว่า กุศลธรรม
ยังไม่เกิดแก่เรา เมื่อไม่เกิดขึ้น จะพึงเป็นไป
เพื่อความฉิบหาย, ภิกษุทำความเพียรว่า กุศลธรรม

เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อดับไปพึงเป็นไปเพื่อความ
ฉิบหายดังนี้.
1
ในบทเหล่านั้นบทว่า อนุปฺปนฺนา ได้แก่ กิเลสที่ยังไม่เกิด
ด้วยความไม่ปรากฏ หรือด้วยอารมณ์ที่ยังไม่เกิด. อกุศลธรรมอันลามก
ที่ยังไม่เกิดในสงสารอันไม่รู้เบื้องต้นและที่สุดโดยประการอื่น ย่อมไม่มี,
อกุศลธรรมเหล่านี้นั่นแหละ ที่ยังไม่เกิดและเมื่อเกิดก็ย่อมเกิด, แม้เมื่อ
ละก็ย่อมละได้.
ในบทนั้น กิเลสทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏ ด้วยสามารถวัตร
คันถะ ธุดงค์ สมาธิ วิปัสสนา นวกรรม และภพอย่างใดอย่างหนึ่ง
แก่ภิกษุบางรูป. ถามว่า อย่างไร ? ตอบว่า เพราะภิกษุบางรูปเป็นผู้
ถึงพร้อมแล้วด้วยวัตร กิเลสทั้งหลายไม่ได้โอกาสแก่ภิกษุผู้ประพฤติ
ขันธกวัตร 802 มหาวัตร 143 และเจติยังคณวัตร - บูชาลานเจดีย์
โพธิยังคณวัตร - บูชาลานโพธิ์ ปานียมาฬกวัตร - ตั้งน้ำดื่มไว้ที่เรือน
ยอด อุโปสถาคารวัตร - ปฏิบัติในโรงอุโบสถ อาคันตุกวัตร - ต้อนรับ
ภิกษุผู้จรมา คมิกวัตร - ปฏิบัติต่อภิกษุผู้เตรียมจะไป แต่ภายหลังเมื่อ
ภิกษุนั้นสละวัตรทั้งหลาย ทำลายวัตรเที่ยวไป กิเลสทั้งหลายอาศัยความ

ไม่ใส่ใจ และความปล่อยสติ ย่อมเกิดขึ้นได้. แม้ด้วยประการฉะนี้
กิเลสทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ด้วยยังไม่ปรากฏ ชื่อว่าย่อมเกิดขึ้น
ภิกษุบางรูปเป็นผู้ประกอบด้วยคนถะ, ย่อมเรียนนิกาย 1 บ้าง
2 นิกายบ้าง 3 นิกายบ้าง 4 นิกายบ้าง 5 นิกายบ้าง. กิเลสทั้งหลาย
ย่อมไม่ได้โอกาสแก่ภิกษุนั้น ผู้เรียน ท่อง คิด บอก แสดง ชี้แจง
พระไตรปิฎกอันเป็นพุทธวจนะ ด้วยบาลี ด้วยการสืบต่อ ด้วยบทต้น
บทหลัง. แต่ภายหลังเมื่อภิกษุนั้นละการคัมภีร์ เกียจคร้านเที่ยว
เตร่ กิเลสทั้งหลายอาศัยความไม่ใส่ใจ ความปล่อยสติ ย่อมเกิดขึ้นได้.
แม้ด้วยประการฉะนี้ กิเลสทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ด้วยยังไม่ปรากฏ ชื่อว่า
ย่อมเกิดขึ้น.
ภิกษุบางรูปเป็นผู้ทรงธุดงค์ ปฏิบัติธุดงคคุณ 13, กิเลสย่อม
ไม่ได้โอกาสแก่ภิกษุนั้นผู้ปฏิบัติธุดงคคุณ แต่ภายหลังเมื่อภิกษุนั้นสละ
ธุดงค์เสีย เวียนมาเพื่อความมักมากเที่ยวเตร่ กิเลสทั้งหลายอาศัยความ
ไม่ใส่ใจ ความปล่อยสติ ย่อมเกิดขึ้น. แม้ด้วยประการฉะนี้ กิเลส
ทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ด้วยยังไม่ปรากฏ ชื่อว่าย่อมเกิดขึ้น.
ภิกษุบางรูปเป็นผู้เจริญวิปัสสนา, ปฏิบัติอยู่ในอนุปัสนา 71
หรือมหาวิปัสสนา 182 เมื่อภิกษุนั้นปฏิบัติอยู่อย่างนี้ กิเลสทั้งหลาย
1. ขุ. ป. 31/727 2.ขุ. ป. 31/.61-62

ย่อมไม่ได้โอกาส. แต่ภายหลังเมื่อภิกษุนั้นเลิกบำเพ็ญวิปัสสนามากไป
ด้วยการยึดมั่นกายกิเลสทั้งหลายอาศัยความไม่ใส่ใจ ความปล่อยสติ
ย่อมเกิดขึ้น. แม้ด้วยประการฉะนี้ กิเลสทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ด้วยยังไม่
ปรากฏ ชื่อว่าย่อมเกิดขึ้น.
ภิกษุบางรูปเป็นนวกัมมิกะ, ทำการก่อสร้างโรงอุโบสถและหอ-
ฉันเป็นต้น, เมื่อภิกษุนั้นคิดถึงอุปกรณ์การก่อสร้างโรงอุโบสถและหอ-
ฉันเหล่านั้นอยู่ กิเลสทั้งหลายยังไม่ได้โอกาส. แต่ภายหลังเมื่อนวกรรม
ของภิกษุนั้นสำเร็จแล้วหรือทอดทิ้งเสีย กิเลสทั้งหลายอาศัยความไม่
ใส่ใจ ความปล่อยสติ ย่อมเกิดขึ้น. แม้ด้วยประการฉะนี้ กิเลส
ทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ด้วยยังไม่ปรากฏ ชื่อว่าย่อมเกิดขึ้น.
ภิกษุบางรูปมาจากพรหมโลก เป็นสัตว์บริสุทธิ์, กิเลสทั้งหลาย
ย่อมไม่ได้โอกาสด้วยการไม่ซ่องเสพของภิกษุนั้น, แต่ภายหลังเมื่อภิกษุ
นั้นซ่องเสพสิ่งที่ได้มา กิเลสทั้งหลายอาศัยความไม่ใส่ใจ ความปล่อยสติ
ย่อมเกิดขึ้น. แม้ด้วยประการฉะนี้กิเลสทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ด้วยยังไม่
ปรากฏ ชื่อว่าย่อมเกิดขึ้น. พึงทราบความที่กิเลสยังไม่เกิด ด้วยยังไม่
ปรากฏอย่างนี้.
กิเลสยังไม่เกิดด้วยอารมณ์ที่ไม่เคยเกิดเป็นอย่างไร ? ภิกษุบาง
รูปในศาสนาได้อารมณ์ที่น่าพอใจเป็นต้น ซึ่งไม่เคยเกิดมาก่อน, กิเลส

ทั้งหลายมีราคะเป็นต้น อาศัยความไม่ใส่ใจ ความปล่อยสติของภิกษุนั้น
ย่อมเกิดขึ้น, ด้วยประการฉะนี้ กิเลสที่ยังไม่เกิดด้วยอารมณ์ที่ไม่เคย
เกิด ชื่อว่าย่อมเกิดขึ้น เมื่อมีอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นอย่างนี้ ภิกษุ
เห็นความฉิบหายของตน ย่อมเจริญสัมมัปธานข้อต้นด้วยเจริญสติปัฏ-
ฐาน เพื่อความไม่เกิดแห่งอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดเหล่านั้น, เมื่ออกุศล-
ธรรมเหล่านั้นเกิด. ภิกษุเห็นความฉิบหายของตน เพราะไม่ละอกุศล-
ธรรมเหล่านั้น แล้วจึงเจริญสัมมัปธานข้อที่สอง เพื่อละอกุศลธรรม
เหล่านั้น.
บทว่า อนุปฺปนฺนา กุสลา ธมฺมฺา - กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด
ได้แก่ สมถวิปัสสนาและมรรค. ภิกษุเห็นความฉิบหายของตนในเพราะ
กุศลธรรมเหล่านั้นที่ยังไม่เกิด แล้วจึงเจริญสัมมัปธานข้อที่สาม เพื่อให้
กุศลธรรมเหล่านั้นเกิด.
บทว่า อุปฺปนฺนา กุสลา ธมฺมา - กุศลธรรมที่เกิดแล้ว ได้แก่
สมถวิปัสสนานั่นเอง. ส่วนมรรคเกิดครั้งเดียวแล้วดับ จะไม่เป็นไป
เพื่อความฉิบหายเลย. เพราะมรรคนั้นให้ปัจจัยแก่ผลแล้วก็ดับไป. ภิกษุ
ครั้นเห็นความฉิบหายของตน เพราะสมถะและวิปัสสนาเหล่านั้นดับไป
จึงเจริญสัมมัปธานข้อที่สี่ เพื่อความตั้งมั่นแห่งสมถะและวิปัสสนาเหล่า
นั้น. ในขณะแห่งโลกุตรมรรค ย่อมเจริญวิริยะอย่างเดียวเท่านั้น.

ภิกษุย่อมยังกิจ คือ ความไม่เกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมเหล่านั้น ที่
ยังไม่เกิดขึ้นและกิจคือการละอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้สำเร็จ เหมือน
อย่างที่กุศลธรรมยังไม่เกิดพึงเกิดขึ้น.
อนึ่งในบทว่า อุปฺปนฺนา นี้ อุปปันนะ คือธรรมที่เกิดขึ้นมี
4 อย่าง คือ
วตฺตมานุปฺปนฺนํ - เกิดขึ้นกำลังเป็นไป 1
ภูตาปคตุปฺปนฺนํ - เกิดขึ้นเสพอารมณ์แล้วดับไป 1
โอกาสกตุปฺปนฺนํ - เกิดขึ้นทำโอกาส 1
ภูมิลทฺธุปฺปนฺนํ - เกิดขึ้นในภูมิที่ได้ 1.
ในอุปปันนะเหล่านั้น ธรรมที่เกิดมาพร้อมกับ อุปปาทะ ชรา
ภังคะ
- เกิด แก่ ตาย ชื่อว่า วตฺตมานุปฺปนฺนํ.
กุศลอกุศลเสวยรสอารมณ์แล้วดับไป คือ เสพแล้วก็ปราศไป
และสังขตธรรมที่เหลือ กล่าวคือ เข้าถึงลักษณะ 3 มีอุปปาทะเป็นต้น
แล้วดับไปคือเสพแล้ว เป็นไปทั่วแล้ว ชื่อว่า ภูตาปคคุปฺปนฺนํ.
ชื่อว่า โอกาสกตุปฺปนฺนํ เพราะห้ามกรรมอันเป็นวิบากอื่นที่
มีอยู่ แม้ในอดีตดังที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า กรรมที่ผู้นั้น
ได้ทำไว้แล้วในชาติก่อน
1 แล้วทำโอกาสแห่งวิบากของตนตั้งอยู่ และ
1. ม. อุ. 14/471.

เพราะวิบากอันเป็นโอกาสที่ตนทำไว้แล้วอย่างนั้น แม้ยังไม่เกิดก็จะเกิด
ขึ้นโดยส่วนเดียวในโอกาสที่ตนทำไว้อย่างนั้น
อกุศลที่ยังไม่ถอนในภูมิ 3 นั้น ๆ ชื่อว่า ภูมิลทฺธุปฺปนฺนํ.
อนึ่ง ในบทนี้พึงทราบความต่างกันของ ภูมิ และ ภูมิลัทธะ
- ภูมิอันได้แล้ว จริงอยู่ขันธ์ 5 อันเป็นไปในภูมิ 3 เป็นอารมณ์แห่ง
วิปัสสนา ชื่อว่า ภูมิ กิเลสชาตอันควรเกิดในขันธ์เหล่านั้น ชื่อว่า
ภูมิลัทธะ, เพราะเหตุที่กิเลสนั้นได้ภูมิ ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ภูมิ-
ลัทธะ, ภูมินั้นไม่ได้ด้วยอารมณ์. จริงอยู่กิเลสทั้งหลายปรารภขันธ์ แม้
ทั้งหมดทั้งในอดีต อนาคต และแม้ที่พระขีณาสพกำหนดรู้แล้ว ย่อม
เกิดขึ้นด้วยอารมณ์. ผิว่าอารมณ์จะพึงชื่อว่า ภูมิลัทธะ แล้ว ใคร ๆ ก็
จะพึงละมูลรากของภพไม่ได้ เพราะละ ภูมิลัทธะ นั้นยังไม่ได้. อนึ่ง
พึงทราบ ภูมิลัทธะ ด้วยสามารถวัตถุ จริงอยู่ขันธ์ที่กำหนดรู้ไม่ได้
ด้วยวิปัสสนาใน ภูมิลัทธะ ใด ๆ, กิเลสชาตอันเป็นมูลของวัฏฏะจำเดิม
แต่ใน ภูมิลัทธะ นั้น ย่อมนอนเนื่องอยู่ในขันธ์เหล่านั้น. พึงทราบ
ว่า กิเลสชาต นั้น ชื่อว่า ภูมิลัทธะ ด้วยอรรถว่ายังละไม่ได้.
อนึ่ง ในบทนั้นมีความว่า ขันธ์ทั้งหลายของผู้ที่มีกิเลสนอน-
เนื่องอยู่ด้วยอรรถว่ายังละไม่ได้ เป็นที่ตั้งแห่งกิเลสเหล่านั้น. ขันธ์
ทั้งหลายมิใช่ของคนอื่น อนึ่ง ขันธ์ในอดีตเป็นที่ตั้งของกิเลสที่ยังละ
ไม่ได้และนอนเนื่องอยู่ในขันธ์ในอดีต. ขันธ์นอกนี้ไม่เป็นที่ตั้ง ขันธ์


ในอนาคตเป็นต้น ก็มีนัยนี้. อนึ่ง กามาวจรขันธ์นั่นแลเป็นที่ตั้งของ
กิเลสที่ยังละไม่ได้และนอนเนื่องอยู่ในกามาวจรขันธ์, ขันธ์นอกนี้ไม่
เป็นที่ตั้ง. ในรูปาวจรขันธ์และอรูปาวจรขันธ์ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. อนึ่ง
ในโสดาบันเป็นต้น กิเลสใดอันเป็นมูลของวัฏฏะนั้น ๆ ในขันธ์
พระอริยบุคคลใด ๆ ละได้ด้วยมรรคนั้น ๆ, ขันธ์เหล่านั้นของพระ-
อริยบุคคลนั้น ๆ ไม่นับว่าเป็น ภูมิ เพราะไม่เป็นที่ตั้งแห่งกิเลสอันเป็น
มูลของวัฏฏะเหล่านั้นซึ่งละได้แล้ว. กุศลกรร หรืออกุศลกรรมอย่างใด
อย่างหนึ่งที่บุคคลทำ ย่อมมีแก่ปุถุชนโดยประการทั้งปวง เพราะยังละ
กิเลสอันเป็นมูลแห่งวัฏฏะยังไม่ได้, วัฏฏะอันเป็นปัจจัยของกรรมกิเลส
ย่อมควรแก่ผู้นั้นด้วยประการฉะนี้, ธรรมนั้นของบุคคลนั้น ๆ เป็นมูล
ของวัฏฏะในรูปขันธ์นั่นเอง, ไม่ใช่ในเวทนาขันธ์เป็นต้น. หรือใน
วิญญาณขันธ์เท่านั้น. ไม่ควรกล่าวว่า ไม่ใช่ในรูปขันธ์เป็นต้น.
เพราะเหตุไร ? เพราะกิเลสนอนเนื่องอยู่ในขันธ์แม้ทั้ง 5 โดยไม่
แปลกกัน. อย่างไร ? เหมือนรสดิน (ปฐวีรสํ) เป็นต้น อยู่ในต้นไม้.
เหมือนอย่างว่า เมื่อต้นไม้ใหญ่ตั้งอยู่บนพื้นดิน อาศัยรสดินและรสน้ำ
(อาโปรสํ) งอกงามด้วยราก ลำต้น กิ่งน้อยใหญ่ ใบอ่อน ใบแก่ ดอก
และผล เพราะรสดิน รสน้ำนั้น เต็มฟ้า จนสิ้นกัป สืบเชื้อสายของต้น
ไม้ด้วยการผลิตพืชต่อ ๆ กันมาดำรงอยู่, พืชไม้นั้นตั้งอยู่ที่รากมีรากดิน

เป็นต้นเท่านั้น, ไม่ใช่ที่ลำต้นเป็นต้น, หรือในผลเท่านั้น, ไม่ควร
กล่าวว่า ไม่ใช่ที่รากเป็นต้น.
เพราะเหตุไร ? เพราะอาศัยอยู่ในรากเป็นต้นทั้งหมด. เหมือน
อย่างว่า บุรุษคนหนึ่ง ไม่พอใจดอกไม้และผลไม้เป็นต้นของต้นไม้นั้น
จึงทิ่มหนามพิษ ชื่อว่ามัณฑูกกัณฏกะ - หนามกระเบน ลงไปใน 4
ทิศ ครั้นต้นไม้นั้นถูกหนามพิษนั้นเข้าไม่สามารถจะสืบต่อไปได้อีก โดย
ไม่ผลิดอกออกผลได้ตามธรรมดา เพราะรสดินรสน้ำถูกควบคุมเสียแล้ว
ฉันใด, กุลบุตรผู้เบื่อหน่ายในความเป็นไปของขันธ์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เริ่มเจริญมรรค 4 ในสันดานของตน ดุจบุรุษนั้นประกอบหนามพิษลง
ในต้นไม้ใน 4 ทิศ ฉะนั้น.
เมื่อเป็นเช่นนั้นขันธสันดานของกุลบุตรนั้น ถูกสัมผัสด้วยพิษ
คือ มรรค 4 นั้นกระทบแล้ว เป็นประเภทของกรรมทั้งปวงมีกายกรรม
เป็นต้น เข้าถึงเพียงสภาวะของกิริยา เพราะกิเลสอันเป็นมูลของวัฏฏะ
ถูกครอบงำไว้โดยประการทั้งปวง ไม่สามารถจะสืบสันดานในภพอื่นได้
หมดความยึดถือดับวิญญาณดวงสุดท้ายสิ้นเชิง ดุจไฟไม่มีเชื้อฉะนั้น.
พึงทราบความต่างกันของ ภูมิ และ ภูมิลัทธะ อย่างนี้.
อุปปันนะ คือ ธรรมที่เกิด 4 อย่าง อีกอย่างหนึ่ง คือ
สมุทาจารุปฺปนินํ - สิ่งเกิดขึ้นกำลังเป็นไปอยู่ 1
อารมฺมณาธิคฺคหิตุปฺปนฺนํ - เกิดด้วยการ ถืออารมณ์ 1

อวิกฺขมฺภตุปฺปนฺนํ - เกิดด้วยการไม่ข่ม 1
อสมูหตุปฺปนฺนํ - เกิดด้วยการไม่ถอน 1.
ในบทอุปปันนะเหล่านั้น สิ่งที่เกิดขึ้นกำลังเป็นไปอยู่ ชื่อว่า
สมุทาจารุปฺปนฺนํ. กิเลสชาตแม้ยังไม่เกิดในส่วนเบื้องต้นในอารมณ์
อันไปสู่คลองแห่งจักษุเป็นต้น ท่านกล่าวว่า อารมฺมณาธิคฺคหิตุปฺปนฺนํ
โดยเกิดขึ้น โดยส่วนเดียวในกาลอื่น เพราะถือเอาอารมณ์. กิเลส
ชาตไม่ข่มไว้ด้วยสมถะและวิปัสสนาอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ไม่เจริญด้วย
การสืบของจิต ก็ชื่อว่า อวิกฺขมฺภิตุปฺปนฺนํ เพราะไม่มีเหตุที่จะห้าม
การเกิดได้. กิเลสชาต แม้ข่มไว้ด้วยสมถะและจะวิปัสสนา ท่านก็กล่าวว่า
อสมูหตุปฺปนฺนํ เพราะไม่ถอนด้วยอริยมรรค เพราะไม่ล่วงเลย
ธรรมดาของความเกิด.
พึงทราบว่า อารมฺมณาธิคฺคหิตุปฺปนฺนํ อวิกฺขมฺภิตุปฺปนฺนํ
อสฺมูหตุปฺปนฺนํ ทั้งสามนี้ ย่อมสงเคราะห์ลงด้วย ภูมิลัทธะ นั่นเอง.
เมื่ออุปปันนธรรมมีประเภทดังกล่าวแล้วนี้เกิดขึ้นแล้ว กิเลส-
ชาตใด ได้แก่ วัตตมานะ ภูตาปคตะ โอกาสคติ สมุทาจาระ
เกิดขึ้น กิเลสชาตนั้นเป็นอันมรรคญาณใด ๆ ไม่พึงละ เพราะไม่ถูก
ทำลายด้วยมรรค. อนึ่ง กิเลสชาตใด กล่าวคือ ภูมิลัทธะ อารัมม-
ณาธิคหิตะ อวิกขัมภิตะ อสมูหตะ เกิดขึ้นแล้ว กิเลสชาตนั้น
ยังความเกิดของพระโยคีนั้นให้เสื่อมไป เพราะโลกิยญาณและโลกุตร-

ญาณนั้นเกิดขึ้น, ฉะนั้นกิเลสชาต แม้ทั้งหมดนั้นก็เป็นอันมรรคนั้น ๆ
พึงละได้. ด้วยประการฉะนี้ มรรคย่อมละกิเลสเหล่าใด หมายเอา
กิเลสเหล่านั้น จึงกล่าวว่า อุปฺปนฺนานํ.
เมื่อเป็นเช่นนั้น การเจริญเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศลที่ยังไม่เกิด
ย่อมมีได้ในขณะแห่งมรรคเป็นอย่างไร ? และเพื่อความตั้งมั่นแห่งกุศล
ที่เกิดขึ้นแล้วเป็นอย่างไร ? เพื่อเข้าถึงมรรคนั่นเอง. เพราะท่านกล่าว
ว่า มรรคที่เป็นไปอยู่ ชื่อว่ายังไม่เคยเกิด เพราะไม่เคยเกิดมาก่อน.
จริงอยู่ มีผู้มาสู่ฐานะที่ไม่เคยมาหรือเสวยอารมณ์ที่ไม่เคยเสวย แล้ว
กล่าวว่า เรามาสู่ฐานะที่ยังไม่ได้มา เราเสวยอารมณ์ที่ไม่เคยเสวยดังนี้.
ความเป็นไปแห่งกุศลธรรมนั้น ชื่อว่า ฐิติ , ควรกล่าวว่า ฐิติยา ภาเวติ-
เจริญเพื่อความตั้งมั่น. นี้คือความเพียรของภิกษุนั้นในขณะแห่งโลกุตร-
มรรคย่อมได้ชื่อ 4 อย่าง มีอาทิว่า อนุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ อกุสลานํ
ธมฺมานํ อนุปาทาย -
เพื่อยังอกุศลอันลามกที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น.
กถานี้เป็นสัมมัปธานกถาในขณะแห่งโลกุตรมรรค. ในบทนี้ท่านชี้แจง
สัมมัปธานเจือด้วยโลกิยะและโลกุตระไว้อย่างนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในสัมมาสตินิทเทสดังต่อไปนี้ บทว่า กาเย
ได้แก่ รูปกาย รูปกายในที่นี้ท่านประสงค์ว่า กาย - หมู่ ดุจหัตถิ-
กาย - หมู่ช้าง รถกาย - หมู่รถ เป็นต้น ด้วยอรรถว่าเป็นที่รวม
อวัยวะใหญ่น้อยและสิ่งทั้งหลายมีผมเป็นต้น. อนึ่ง ชื่อว่า กาย ด้วย

อรรถว่าเป็นที่เกิดแห่งสิ่งน่าเกลียดทั้งหลายเหมือน ที่ชื่อว่า กาย ด้วย
อรรถว่าเป็นที่รวมฉะนั้น. ชื่อว่า กาย เพราะเป็นที่เกิดของสิ่งน่า
เกลียด คือ น่าเกลียดอย่างยิ่ง. บทว่า อาโย ได้แก่ ที่เกิด. ใน
บทนั้นมีอธิบายคำว่า อาโย เพราะอรรถว่า สิ่งทั้งหลายย่อมเกิดจาก
กายนั้น. อะไรเกิด ? สิ่งน่าเกลียดมีผมเป็นต้น. ชื่อว่า กาโย เพราะ
อรรถว่าเป็นที่เกิดของสิ่งน่าเกลียด ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า กายานุปสฺสี - พิจารณาเห็นกาย ได้แก่ พิจารณาเห็น
กายเป็นปกติ, หรือพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งกาย, แม้กล่าวว่า กาเย แล้ว
ยังถือเอากายเป็นครั้งที่ 2 อีกว่า กายานุปสฺสี พึงทราบว่า ท่านกล่าว
เพื่อแสดงการกำหนดและแยกออกจากเป็นก้อน โดยไม่ปนกัน. ด้วย
เหตุนั้น ท่านจึงไม่กล่าวว่า เวทนานุปสฺสี หรือ จิตฺตธมฺมานุปสฺสี
ในกาย, ที่แท้ก็ กายานุปสฺสี นั่นเอง เพราะเหตุนั้นจึงเป็นอันท่าน
แสดงการกำหนดโดยไม่ปนกันด้วยอาการของ กายานุปัสสนา ในวัตถุ
คือ กาย นั่นเอง. อนึ่ง ภิกษุไม่พิจารณาเห็นธรรมอย่างหนึ่งพ้นจาก
อวัยวะใหญ่น้อยในกาย, มิใช่พิจารณาเห็นหญิงและบุรุษพ้นจากผมและ
ขนเป็นต้น. อนึ่ง ในบทนี้ภิกษุไม่พิจารณาเห็นธรรมอย่างหนึ่งพ้นจาก
ภูตรูปและอุปาทายรูป แม้ในกายอันเป็นที่รวมภูตรูปและอุปาทายรูป
มีผมและขนเป็นต้น. ที่แท้พิจารณาเห็นการประชุมอวัยวะใหญ่น้อย
ดุจพิจารณาเห็นเครื่องประกอบรถ, พิจารณาเห็นการประชุมผมและขน

เป็นต้น ดุจพิจารณาเห็นส่วนของนคร, พิจารณาเห็นการประชุมภูต-
รูปและอุปาทายรูป ดุจแยกต้นกล้วยใบกล้วยและเครือกล้วยออกจากกัน
และดุจแบกำมือที่เปล่าออก เพราะเหตุนั้นจึงเป็นอันท่านแสดงการแยก
ออกจากเป็นก้อน ด้วยการเห็นโดยประการต่างกันของวัตถุ กล่าวคือ
สังขารด้วยการประชุมกันนั่นเอง. จริงอยู่ ในบทนี้ กายก็ดี หญิงก็ดี
ชายก็ดี ธรรมใดๆ อื่นก็ดีพ้นจากการประชุมกันตามที่กล่าวแล้ว ย่อม
ไม่ปรากฏ. แต่ในเหตุเพียงการประชุมธรรมตามที่กล่าวแล้วนั่นแล
สัตว์ทั้งหลายย่อมทำการยึดมั่นผิดอย่างนั้นๆ. ด้วยเหตุนั้นท่านโบราณา-
จารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวไว้ว่า
ยํ ปสฺสติ น ตํ ทิฏฺฐํ ยํ ทิฏฺฐํ ตํ น ปสฺสติ
อปสฺสํ พชฺฌเต มูฬฺโห พชฺฌมาโน น มุจฺจติ
บุคคล เห็นสิ่งใด สิ่งนั้น ชื่อว่า อันเขา
เห็นแล้ว ก็หาไม่ สิ่งใดที่เห็นแล้ว ชื่อว่า ย่อม
ไม่เห็นสิ่งนั้น คนหลงเมื่อไม่เห็นย่อมติด เมื่อติด
ย่อมไม่หลุดพ้น
ดังนี้.
ท่านกล่าวไว้ดังนี้ เพื่อแสดงการแยกเป็นก้อนออกไปเป็นต้น.
อนึ่ง ด้วยอาทิศัพท์ในบทนี้พึงทราบความดังนี้, เพราะเนื้อความนี้ ได้
แก่ การพิจารณาเห็นกายในการนี้นั่นเอง. มิใช่การพิจารณาเห็นธรรม
อื่น. ท่านอธิบายไว้อย่างไร ? ท่านอธิบายไว้ว่า มิใช่พิจารณาเห็นความ

เป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นตัวตน เป็นความงาม ในกายนี้ซึ่งเป็น
สิ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน และเป็นของไม่งามเหมือนการ
พิจารณาเห็นน้ำที่พยับแดดซึ่งไม่มีน้ำฉะนั้น, อันที่จริงแล้วพิจารณา
เห็นกาย ก็คือพิจารณาเห็นการประชุมอาการที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่
ใช่ตัวตน และเป็นของไม่งามนั่นเอง.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวถึงกายมีลมอัสสาสะปัสสาสะ เป็นเบื้อง
ต้นและมีกระดูกป่นละเอียดเป็นที่สุด โดยนัยมีอาทิว่า อิธ ภิกฺขเว
ภิกฺขุ อรญฺญคโต วา รุกฺขมูลคดต วา ฯเปฯ โส สโตว
อสฺสสติ
1 ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุในศาสนานี้ ไปสู่ป่าก็ดี
ไปสู่โคนไม้ก็ดี ฯลฯ ภิกษุนั้นมีสติหายใจเข้า ... ในสติปัฏฐานกถา
ข้างหน้า พึงเห็นความอย่างนี้ว่า ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย เพราะ
พิจารณาเห็นในกายนี้เท่านั้นของกายทั้งหมดที่ท่านกล่าวถึงกายว่า ภิกษุ
บางรูปในศาสนานี้ ย่อมพิจารณาเห็นกองปฐวีธาตุ กองอาโปธาตุ
กองเตโชธาตุ กองวาโยธาตุ กองผม กองขน กองผิว กองหนัง
กองเนื้อ กองเลือด กองกระดูก กองเยื่อในกระดูก.2
อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นความอย่างนี้ว่า ภิกษุพิจารณาเห็นกาย
กล่าวคือ การประชุมธรรมมีผมเป็นต้นในกาย เพราะพิจารณาเห็น
1. ที. มหา. 10/274. 2. ขุ. ป. 31/727.

การประชุมธรรมต่างๆ มีผมและขนเป็นต้นนั้นๆ นั่นเอง เพราะไม่
เห็นอะไร ? ที่ควรยึดถืออย่างนี้ว่า เรา หรือ ของเรา ในกาย. อีก
อย่างหนึ่ง พึงเห็นความแม้อย่างนี้ว่า ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย
แม้เพราะพิจารณาเห็นกาย กล่าวคือ การประชุมอาการมีอนิจลักษณะ
เป็นต้น ทั้งหมดอันมีนัยมาแล้วข้างหน้า โดยลำดับมีอาทิว่า ภิกษุย่อม
พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงในกายนี้, ไม่พิจารณาเห็นโดย
ความไม่เที่ยงเป็นของเที่ยง1 ดังนี้ นี้เป็นความทั่วไปในสติปัฏฐาน 4.
บทว่า กาเย กายานุปสฺสี - ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย
ความว่า ภิกษุพิจารณาเห็นกายอย่างหนึ่งๆ ในกายดังที่กล่าวไว้เป็น
ส่วนมาก มีกองอัสสาสะ และกองปัสสาสะเป็นต้น.
บทว่า วิหรติ นี้แสดงถึงการบำเพ็ญวิหารธรรมอย่างใดอย่าง
หนึ่งในวิหารธรรม คือ อิริยาบถ 4. อธิบายว่า ภิกษุเปลี่ยนความ
เมื่อยในอิริยาบถหนึ่ง ด้วยอิริยาบถอื่นแล้วนำตนที่ยังซบเซาอยู่ให้คล่อง
แคล่ว.
คำว่า อาตาปี - มีความเพียรนี้ แสดงถึงการบำเพ็ญความเพียร
กำหนดกาย. อธิบายว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยความเพียรที่ท่าน
กล่าวว่า อาตาโป เพราะเผากิเลสในภพ 3 ในสมัยนั้น, ฉะนั้นท่านจึง
กล่าวว่า อาตาปี - มีความเพียร.
1. ขุ. ป. 31/727.

บทว่า สมฺปชาโน - มีสัมปชัญญะ คือ เป็นผู้ประกอบด้วยญาณ
อันได้แก่ สัมปชัญญะอันกำหนดกาย.
บทว่า สติมา - มีสติ คือ เป็นผู้ประกอบด้วยสติกำหนดกาย.
ก็เพราะภิกษุนี้กำหนดอารมณ์ด้วยสติแล้วพิจารณาเห็นด้วยปัญญา. จริง
อยู่ ผู้ไม่มีสติจะพิจารณาเห็นไม่ได้เลย. ด้วยเหตุนั้นแหละ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า สติญฺจ ขฺวาหํ ภิกฺขเว สพฺพตฺถิกํ วทามิ1- ดูก่อน-
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสติแลมีประโยชน์ในที่ทั้งปวง.
- ฉะนั้นใน
บทนี้ท่านจึงกล่าวถึงกรรมฐาน คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ด้วย
ข้อความเพียงเท่านี้ว่า กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ - ภิกษุพิจารณา
เห็นกายในกายอยู่ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะไม่มีความเพียรเป็นผู้หดหู่ในภายใน เป็นผู้
ทำอันตราย, ผู้ไม่มีสัมปชัญญะย่อมหลงในการกำหนดอุบาย และใน
การเว้นสิ่งไม่เป็นอุบาย. ผู้มีสติหลงใหลย่อมไม่สามารถในการไม่สละ
อุบาย และในการไม่กำหนดสิ่งไม่เป็นอุบาย ฉะนั้น, ด้วยเหตุนั้น
กรรมฐานนั้นจึงไม่สำเร็จ แก่ภิกษุนั้น, ฉะนั้นกรรมฐานเป็นย่อมสำเร็จ
ด้วยอานุภาพของธรรมเหล่าใด เพื่อแสดงถึงธรรมเหล่านั้น พึงทราบ
ว่าท่านจึงกล่าวบทนี้ว่า อาตาปี สมฺปชาโน สติมา - ภิกษุมีความ
เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติดังนี้.
1. สํ.มหา. 19/552.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดง กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
และองค์ประกอบแล้วบัดนี้ เพื่อทรงแสดงองค์แห่ง ปหานะ จึงตรัสว่า
วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ - กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสีย.
ในบทเหล่านั้นบทว่า วิเนยฺย- กำจัดเสีย ได้แก่ กำจัดด้วย
ตทังควินัย - กำจัดชั่วคราวหรือวิกขัมภนวินัย - กำจัดด้วยการข่มไว้.
บทว่า โลเก ความว่า กายใดกำหนดไว้ในคราวก่อน กาย
นั้นนั่นแล ชื่อว่า โลก ในที่นี้ ด้วยอรรถว่าแตกและสะลายไป ละ
อภิชฌาและโทมนัสในโลกนั้นเสีย.
อนึ่ง เพราะภิกษุนั้นย่อมอภิชฌา และโทมนัสในส่วนเพียง
กายเท่านั้นก็หาไม่, ย่อมละแม้ในเวทนาเป็นต้นอีกด้วย, ฉะนั้นท่าน
จึงกล่าวไว้ในวิภังค์ว่า ปญฺจปิ อุปาทานกฺขนฺธา โลโก1 - แม้อุปา-
ทานขันธ์ 5 ก็เป็นโลก. พึงทราบว่า ท่านกล่าวบทนี้ด้วยการถอดความ
ซึ่งธรรมเหล่านั้น เพราะธรรมเหล่านั้นนับเข้าในโลก.
พระสารีบุตรกล่าวว่า ในบทว่า โลเก นั้น โลกเป็นไฉน ?
กายนั้นนั่นแลเป็นโลก. นี้เป็นคำอธิบายในบทนี้. ท่านกล่าวย่อไว้ว่า
อภิชฺฌาโทมนสฺสํ ดังนี้. ก็ในระหว่างปาฐะในสังยุตตนิกายและอัง-
คุตตรนิกาย อาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ต่างหากกัน. ชื่อว่า อภิชฺฌา
เพราะอรรถว่าเป็นเหตุเพ่ง คือ ปรารถนาหรือเพ่งเอง หรือเพียงความ
1. อภิ. วิ. 35/440.

เพ่งเท่านั้น. อนึ่ง ในบทว่า อภิชฌาโทมนสฺสํ นี้ เพราะกามฉันทะ
สงเคราะห์เข้ากับอภิชฌา. พยาบาทสงเคราะห์เข้ากับโทมนัส. ฉะนั้น
พึงทราบว่าท่านกล่าวถึงการละนิวรณ์ ด้วยแสดงธรรมทั้งสองอันเป็น
ธรรมมีกำลังนับเนื่องในนิวรณ์.
อนึ่ง ในบทนี้โดยความต่างกันท่านกล่าวถึงการละความยินดีอัน
เป็นมูลเหตุของสมบัติทางกาย ด้วยกำจัดอภิชฌา, ละความยินร้าย
อันเป็นมูลเหตุของความวิบัติทางกาย ช่วยกำจัดโทมนัส. อนึ่ง ละความ
ยินดีในกายด้วยกำจัดอภิชฌา, ละความไม่ยินดีในกายภาวนาด้วยกำจัด
โทมนัส, ละการเพิ่มเติมความงามและความสุขเป็นต้น ที่ไม่เป็นจริง
ในกายด้วยกำจัดอภิชฌา, ละการนำออกความไม่งามความไม่เป็นสุข
เป็นต้น อันเป็นจริงในกายด้วยกำจัดโทมนัส. เป็นอันท่านแสดงถึง
อานุภาพของโยคะ และความสามารถในโยคะของพระโยคาวจรด้วยบท
นั้น. อานุภาพของโยคะ คือ พระโยคาวจรเป็นผู้พ้นจากความยินดี
ยินร้าย เป็นผู้อดกลั้นความไม่ยิน และความยินดี และเป็นผู้เว้นจาก
การเพิ่มเติมในสิ่งที่ไม่เป็นจริง และการนำสิ่งที่เป็นจริงออก.
อนึ่ง พระโยคาวจรนั้นเป็นผู้พ้นจากความยินดียินร้าย เป็นผู้
อดกลั้นความไม่ยินดี และความยินดี ไม่หมกมุ่นในสิ่งไม่เป็นจริง และ
กำจัดสิ่งเป็นจริง เป็นผู้สามารถในโยคะด้วยประการฉะนี้.

อีกนัยหนึ่งในบทว่า กาเย กายานุปสฺสี นี้ ท่านกล่าวถึง
กรรมฐานแห่ง อนุปสฺสนา ในบทว่า วิหรติ นี้ ท่านกล่าวถึงการ
บริหารกายของภิกษุผู้บำเพ็ญกรรมฐานด้วยวิหารธรรมดังกล่าวแล้ว. พึง
ทราบว่า ในบทมีอาทิว่า อาตาปี ท่านกล่าวถึงสัมมัปธานด้วยความเพียร,
กล่าวธรรมฐานอันมีประโยชน์ทั้งหมด หรืออุบายการบริหารกรรมฐาน
ด้วยสติสัมปชัญญะ, กล่าวสมถะที่ได้ด้วยอำนาจกายานุปัสสนาด้วยสติ,
กล่าววิปัสสนาด้วยสัมปชัญญะ, กล่าวผู้ของภาวนาด้วยกำจัดอภิชฌา
และโทมนัส.
อนึ่ง ในบทมีอาทิว่า เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี - ภิกษุพิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย พึงประกอบความในคำของเวทนาเป็นต้น
ต่อไปแล้วพึงทราบตามควรโดยนัยดังกล่าวแล้ว ในกายานุปัสสนานั่น
แล. อรรถอันไม่ทั่วไปมีดังต่อไปนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาอย่างหนึ่ง ๆ
โดยมีความไม่เที่ยงเป็นต้น เป็นอย่าง ๆ ไป ในเวทนาทั้งหลายมีประเภท
ไม่น้อยมีสุขเวทนาเป็นต้น, พิจารณาเป็นจิตดวงหนึ่ง ๆ โดยมีความไม่
เที่ยงเป็นต้น อย่างหนึ่ง ๆ ในจิตมีประเภท 16 ดวง มีจิตมีราคะเป็นต้น,
พิจารณาเห็นธรรมอย่างหนึ่ง ๆ โดยมีความไม่เที่ยงเป็นต้น อย่างหนึ่ง ๆ
ในธรรมเป็นไปในภูมิ 3 ที่เหลือ เว้นกายเวทนา และจิต, หรือ
พิจารณาเป็นธรรมมีนิวรณ์เป็นต้น โดยนัยดังกล่าวแล้วในสติปัฏฐาน
สูตร1.
1. ที. มหา. 10/273.

อนึ่ง ในบทเหล่านี้ พึงทราบว่า บทว่า กาเย เป็นเอกวจนะ
เพราะสรีระมีหนึ่ง. บทว่า จิตฺเต เป็นเอกวจนะท่านทำโดยถือเอาชาติ
เพราะไม่มีความต่างแห่งสภาวะของจิต. อนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นโดย
ประการที่พึงเห็นเวทนาเป็นต้น พึงทราบว่า เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนา
ในเวทนาทั้งหลาย, เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิต, เป็นผู้พิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมทั้งหลาย. พึงพิจารณาเห็นเวทนาอย่างไร ? พึงพิจารณา
เห็นสุขเวทนาโดยความเป็นทุกข์, พึงพิจารณาเห็นทุกขเวทนาโดยความ
เป็นดังลูกศร, พึงพิจารณาเห็นอทุกขมสุขโดยความเป็นของไม่เที่ยง.
ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
โย สุขํ ทุกฺขโต อทฺท ทุกฺขมทิทกฺขิ สลฺลโต
อทุกฺขมสุขํ สนฺตํ อทฺทกฺขิ นํ อนิจฺจโต.
ส เว สมฺมทฺทโส ภิกฺขุ ปริชานาติ เวทนา.1
ภิกษุใดได้เห็นสุขโดยความเป็นทุกข์ ได้เห็น
ทุกข์โดยความเป็นดังลูกศร ได้เห็นอทุกขมสุขอัน
สงบระงับแล้วนั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยง. ภิกษุ
นั้นแลเป็นผู้เห็นชอบ ย่อมรู้รอบเวทนาทั้งหลาย.

1. สํ. สฬา. 18/368.

อนึ่ง พึงพิจารณาเห็นเวทนาทั้งหมดโดยความเป็นทุกข์ ดังที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เรากล่าวว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ได้เสวยแล้ว.
สิ่งนั้นทั้งหมดเป็นไปในทุกข์.1

อนึ่ง พึงพิจารณาเห็นโดยความเป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้าง. ดังที่
ท่านกล่าวว่า สุขเวทนาเป็นสุขเพราะตั้งอยู่ เป็นทุกข์เพราะ
ปรวนแปร. ทุกขเวทนาเป็นสุขเพราะตั้งอยู่ เป็นสุขเพราะ
ปรวนแปร, อทุกขมสุขเวทนาเป็นสุขเพราะรู้ เป็นทุกข์เพราะไม่รู้.
2
แต่ก็ควรพิจารณาด้วยอำนาจการพิจารณาเห็นสัตว์มีความไม่เที่ยงเป็น
ต้น.
พึงทราบวินิจฉัยในจิตและธรรมดังต่อไปนี้ พึงพิจารณาเห็นจิต
ก่อน ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นสัตว์มีความไม่เที่ยงเป็นต้น อัน
มีประเภทจิตที่ต่าง ๆ กัน โดยมี อารัมมณะ อธิปติ สหชาตะ ภูมิ กรรม
วิบาก
และ กิริยา เป็นต้นและประเภทแห่งจิต 16 อย่าง มี สราคจิต
เป็นต้น. พึงพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย ด้วยสามารถแห่งการพิจารณา
เห็นสัตว์ มีความไม่เที่ยงเป็นต้นแห่งสุญญตาธรรม อันมีลักษณะของ
ตนและสามัญลักษณะ ทั้งมีความสงบและไม่สงบเป็นต้น.
อนึ่ง ในบทนี้ อภิชฌาโทมนัสนั้นที่ภิกษุละได้ในโลก อัน
ได้แก่กายจึงเป็นอันละได้แม้ในโลกมีเวทนาเป็นต้นด้วยโดยแท้, แต่ถึง
1. สํ. สฬา. 18/391. 2. ม. มู. 12/511.

กระนั้นท่านก็กล่าวไว้ในที่ทั้งปวง ด้วยสามารถบุคคลต่างกัน และด้วย
สามารถการเจริญสติปัฏฐานอันมีในขณะต่างกัน. อีกอย่างหนึ่ง ครั้น
ละได้ในส่วนหนึ่งแล้ว, แม้ในส่วนที่เหลือก็เป็นอันละได้ด้วย. ด้วย
เหตุนั้นแล พึงทราบว่าท่านกล่าวอย่างนี้ เพื่อแสดงการละอภิชฌาของ
ภิกษุนั้น.
สติปัฏฐาน 4 เหล่านี้ ย่อมได้ในจิตต่าง ๆ ในส่วนเบื้องต้น
ด้วยประการฉะนี้. ภิกษุย่อมกำหนดกายด้วยจิตอื่น กำหนดเวทนาด้วย
จิตอื่น กำหนดจิตด้วยจิตอื่น กำหนดธรรมทั้งหลายด้วยจิตอื่น. แต่
ในขณะโลกุตรมรรค สติปัฏฐานย่อมได้ในจิตดวงเดียวเท่านั้น.
สติสัมปยุตด้วยวิปัสสนา ของบุคคลผู้มากำหนดกายตั้งแต่ต้น
ชื่อว่า กายานุปัสสนา. บุคคลผู้ประกอบด้วยสตินั้น ชื่อว่า กายานุ-
ปัสสี.
สติสัมปยุตด้วยมรรคในขณะแห่งมรรคของบุคคลผู้ขวนขวาย
วิปัสสนาแล้วบรรลุอริยมรรค ชื่อว่า กายานุปัสสนา, บุคคลผู้ประกอบ
ด้วยสตินั้น ชื่อว่า กายานุปัสสี. สติสัมปยุตด้วยวิปัสสนาของบุคคล
ผู้มากำหนดเวทนา กำหนดจิต กำหนดธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า ธัม-
มานุปัสสนา,
บุคคลผู้ประกอบด้วยสตินั้น ชื่อว่า ธัมมานุปัสสี.
สติสัมปยุตด้วยมรรค ในขณะแห่งมรรคของบุคคลผู้ขวนขวายวิปัสสนา
แล้วบรรลุอริยมรรค ชื่อว่า ธัมมานุปัสสนา, บุคคลผู้ประกอบด้วย
สตินั้น ชื่อว่า ธัมมานุปัสสี.

การแสดงอย่างนี้ ย่อมตั้งอยู่ในบุคคล. แต่สติกำหนดกาย ละ
ความเห็นผิดในกายว่างาม ย่อมสำเร็จด้วยมรรค เพราะเหตุนั้น จึง
ชื่อว่า กายานุปัสสนา. สติกำหนดเวทนา ละความเห็นผิดในเวทนา
ว่าเป็นสุข ย่อมสำเร็จด้วยมรรค เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เวทนานุ-
ปัสสนา.
สติกำหนดจิต ละความเห็นผิดในจิตว่า เป็นของเที่ยง
ย่อมสำเร็จด้วยมรรค เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า จิตตานุปัสสนา. สติ
กำหนดธรรม ละความเห็นผิดในธรรมทั้งหลายว่า เป็นตัวตน ย่อม
สำเร็จด้วยมรรค เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ธัมมานุปัสสนา. สติ
สัมปยุตด้วยมรรคอย่างเดียว ย่อมได้ชื่อ 4 อย่าง โดยความที่ยังกิจ
4 อย่างให้สำเร็จด้วยประการฉะนี้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏ-
ฐาน 4 ย่อมได้ในจิตดวงเดียวเท่านั้น ในขณะแห่งโลกุตรมรรค.
พึงทราบวินิจฉัยในสัมมาสมาธินิทเทสดังต่อไปนี้ บทว่า วิวิจฺเจว
กาเมหิ -
สงัดจากกาม ได้แก่ สงัด เว้น หลีกจากกามทั้งหลาย. พึง
ทราบว่า เอว ศัพท์ ในบทนี้ มีความว่า แน่นอน. เพราะเอวศัพท์
ความว่า แน่นอน ฉะนั้น พระสารีบุตรแสดงถึงความที่กามแม้ไม่มี
อยู่ในขณะเข้าถึงปฐมฌาน เป็นปฏิปักษ์ของปฐมฌานนั้น และการ
บรรลุปฐมฌานนั้น ด้วยการสละกามนั่นเอง. อย่างไร ? เพราะเมื่อ
ทำความแน่นอนอย่างนี้ว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ ปฐมฌานนี้ ย่อมปรากฏ,
กามทั้งหลายเป็นปฏิปักษ์ของฌานนี้แน่นอน, เมื่อยังมีกามอยู่ฌานนี้ย่อม

เป็นไปไม่ได้, เหมือนเมื่อความมืดยังมีอยู่และประทีปก็ยังส่องไปไม่ได้.
การบรรลุฌานนั้นด้วยการละกามเหล่านั้น เหมือนการถึงฝั่งนอกด้วย
การสละฝั่งใน, ฉะนั้น จึงทำความแน่นอน.
ในบทนั้นพึงมีคำถามว่า เพราะเหตุไรท่านจึงกล่าวการบรรลุนี้
ไว้ในบทก่อน, ไม่กล่าวไว้ในบทหลังเล่า, ภิกษุแม้ไม่สงัดจากอกุศล-
ธรรม ก็ยังจะเข้าฌานได้หรือ ? ข้อนั้นไม่ควรเห็นอย่างนั้น. เพราะ
ท่านกล่าวการบรรลุนั้นไว้แล้วในบทก่อน เพราะการสลัดออกจากกาม
นั้น. อนึ่ง ฌานนี้เป็นการสลัดออกไปแห่งกามทั้งหลาย เพราะก้าว
ล่วงกามธาตุ และเพราะเป็นปฏิปักษ์ของกามราคะ. ดังที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า กามานเมตํ นิสฺสรณํ ยทิทํ เนกฺขมฺ1มํ - เนกขัมมะ
เป็นการสลัดออกจากกามทั้งหลาย. แม้ในบทหลังก็พึงกล่าวเหมือน
อย่างที่ท่านนำ เอว อักษรมากล่าวไว้ในบทนี้ว่า อิเธว ภิกฺขเว
สมโณ, อิธ ทุติโย สมโณ2- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะมีใน
ศาสนานี้เท่านั้น, สมณะที่สองก็มีในศาสนานี้.

เพราะไม่สงัดจกกอกุศลธรรมอันได้แก่นิวรณ์ แม้อื่นจากนี้ก็ไม่
อาจเข้าฌานได้, ฉะนั้น พึงเห็นความแม้ในสองบทอย่างนี้ว่า วิวิจฺเจว
กาเมหิ วิวิจฺเจว อกุสเลหิ -
สงัดจากกามนั่นแล สงัดจากอกุศลนั่นแล
ดังนี้. ตทังควิเวก วิกขัมภนวิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิวิเวก
นิสสรณวิเวก และจิตตวิเวก กายวิเวก อุปธิวิเวก ย่อมสงเคราะห์
1. ขุ. อิติ. 25/250. 2. ม. มู. 12/154.

ด้วยคำทั่วไปนี้ว่า วิวิจฺจ ก็จริง แม้ถึงอย่างนั้นก็พึงเห็นกายวิเวก
จิตตวิเวก วิกขัมภนวิเวก ในส่วนเบื้องต้นด้วย. พึงเห็นกายวิเวก
จิตตวิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิวิเวก และนิสสรณวิเวก ในขณะ
แห่งโลกตรมรรคด้วย.
ก็ด้วยบทว่า กาเมหิ นี้ ท่านกล่าวถึงวัตถุกามไว้ในมหานิทเทส
โดยนัยมีอาทิว่า กตเม วตฺถุกามา มนาปิกา รูปา1 - วัตถุกามมีรูปที่น่า
พอใจเป็นไฉน และท่านกล่าวถึงกิเลสกามไว้ในวิภังค์นั้น อย่างนี้ว่า
ฉนฺโท กาโม ราโค กาโม ฉนฺทราโค กาโม, สงฺกปฺโป กาโม
ราโค กาโม, สงฺกปฺปราโค กาโม2
- ฉันทะเป็นกาม ราคะเป็นกาม
ฉันทราคะเป็นกาม สังกัปปะเป็นกาม ราคะเป็นกาม สังกัปปราคะ
เป็นกาม พึงเห็นว่าท่านสงเคราะห์กามเหล่านั้นไว้ทั้งหมด. เมื่อเป็น
อย่างนี้ บทว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ ความว่า สงัดจากวัตถุกามนั่นแล
สมควร. ด้วยบทนั้น เป็นอันท่านกล่าวถึงกายวิเวก.
บทว่า วิวจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ - สงัดจากอกุศลธรรม ความ
ว่า สงัดจากกิเลสกามหรืออกุศลทั้งหมด ดังนี้ สมควร. ด้วยบทนั้น
เป็นอันท่านกล่าวถึงจิตตวิเวก. อนึ่ง ในสองบทนี้ ด้วยบทต้นเป็นอัน
เจริญการสละกามสุข เพราะคำว่า สงัดจากวัตถุกาม, ด้วยบทที่สอง
เป็นอันเจริญการกำหนดเนกขัมมสุข เพราะคำว่า สงัดจากกิเลสกาม.
1-2. ขุ. มหา. 29/2.

อนึ่ง เพราะคำว่า สงัดจากวัตถุกามและกิเลสกาม พึงทราบว่า ด้วย
บทต้น เป็นอันเจริญการละวัตถุอันเศร้าหมอง, ด้วยบทที่สอง เป็นอัน
เจริญละความเศร้าหมอง. ด้วยบทที่หนึ่ง เป็นอันเจริญการสละเหตุ
แห่งความโลเล, ด้วยบทที่สอง เป็นอันเจริญการสละเหตุแห่งความเป็น
พาล, และด้วยบทที่หนึ่ง เป็นอันเจริญความบริสุทธิ์ด้วยความเพียร,
ด้วยบทที่สอง เป็นอันเจริญความกล่อมเกลาอัธยาศัย. ในบรรดากาม
ทั้งหลายที่ท่านกล่าวไว้ในบทว่า กาเมหิ นี้ มีนัยเดียวกันในฝ่ายวัตถุ
กาม.
พึงทราบวินิจฉัยในฝ่ายกิเลสกามดังต่อไปนี้ กามฉันทะมีหลาย
ประเภทด้วยบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ฉันทะ และ ราคะ ท่านประสงค์
เอาว่า กาม. กามนั้นแม้นับเนื่องในอกุศล ท่านก็กล่าวไว้ต่างหากใน
วิภังค์ โดยนัยมีอาทิว่า กามเป็นไฉน ? ฉันทะเป็นกาม1 เพราะ
เป็นปฏิปักษ์ขององค์ฌานเบื้องบน หรือท่านกล่าวไว้ในบทก่อน เพราะ
เป็นกิเลสกาม. ท่านกล่าวไว้ในบทที่สอง เพราะนับเนื่องในอกุศล.
อนึ่ง ท่านไม่กล่าวว่า กามโต - จากกาม เพราะกามนั้นมี
หลายประเภท จึงกล่าวว่า กาเมหิ - จากกามทั้งหลาย. เมื่อธรรมแม้
เหล่าอื่นเป็นอกุศลยังมีอยู่ ท่านกล่าวนิวรณ์ทั้งหลายไว้ในวิภังค์ โดย
นัยมีอาทิว่า อกุศลธรรมเป็นไฉน ? กามฉันทะเป็นอกุศลธรรม2
1. อภิ. วิ. 35/651 2. อภิ. วิ. 35/65.

เพราะความเป็นข้าศึกและเป็นปฏิปักษ์ต่อองค์ฌานเบื้องบน. จริงอยู่
นิวรณ์เป็นข้าศึกต่อองค์ฌาน, องค์ฌานเป็นปฏิปักษ์ต่อนิวรณ์เหล่านั้น
ท่านอธิบายว่า กำจัด ทำให้พินาศ. ท่านกล่าวไว้ในปิฎกว่า สมาธิ
เป็นปฏิปักษ์ต่อกามฉันทะ, ปีติเป็นปฏิปักษ์ต่อพยาบาท, วิตก
เห็นปฏิปักษ์ต่อถีนมิทธะ, สุขเป็นปฏิปักษ์ต่ออุทธัจจกุกกุจจะ,
วิจารเป็นปฏิปักษ์ต่อวิจิกิจฉา
ดังนี้.
ในบทนี้ ด้วยบทว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ เป็นอันท่านกล่าวถึง
ความสงัดด้วยการข่มกามฉันทะ, ด้วยบทว่า วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ
นี้ เป็นอันท่านกล่าวถึงการข่มนิวรณ์ทั้ง 5. ก็ด้วยการถือเอาแล้วไม่
ถือเอาอีก เป็นอันท่านกล่าวถึงความสงัด ด้วยการข่มกามฉันทะด้วย
ฌานที่ 1, เป็นอันท่านกล่าวถึงความสงัด ด้วยการข่มนิวรณ์ที่เหลือ
ด้วยฌานที่ 2.
อนึ่ง ท่านกล่าวถึงความสงัด ด้วยการข่มโลภะอันเป็นที่ตั้งของ
กามคุณ 5 ในอกุศลมูล 3 ด้วยฌานที่ 1, ท่านกล่าวถึงความสงัด
ด้วยการข่มโทสะ โมหะ อันเป็นที่ตั้งของประเภทแห่งอาฆาตวัตถุเป็นต้น
ด้วยฌานที่ 2. หรือในธรรมทั้งหลายมีโอฆะเป็นต้น ท่านกล่าวถึง
ความสงัดด้วยการข่มกาโมฆะ กามโยคะ กามาสวะ กามุปาทาน
อภิชฌากายคันถะ และกามราคสังโยชน์ด้วยฌานที่หนึ่ง, ท่านกล่าวถึง
ความสงัด ด้วยการละโอฆะ โยคะ อาสวะ อุปาทาน คันถะ และ

สังโยชน์ที่เหลือด้วยฌานที่ 2. ท่านกล่าวถึงความสงัดด้วยการข่ม
กิเลสอันสัมปยุตด้วยตัณหา ด้วยฌานที่ 1. ท่านกล่าวความสงัดด้วย
การข่มกิเลส อันสัมปยุตด้วยอวิชชา ด้วยฌานที่ 2. อีกอย่างหนึ่ง
พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงความสงัดด้วยการข่ม จิตตุปบาท 8 ดวง อัน
สัมปยุตด้วยโลภะ ด้วยฌานที่ 1, ท่านกล่าวถึงความสงัดด้วยการข่ม
จิตตุปบาทที่เป็นอกุศล 4 ดวงที่เหลือด้วยฌานที่ 2.
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระสารีบุตรครั้นแสดงองค์แห่งการละ
ฌานที่ 1 แล้ว บัดนี้ เพื่อแสดงองค์แห่งการประกอบร่วมกัน จึงกล่าว
บทมีอาทิว่า สวิตกฺกํ สวิจารํ - มีวิตกวิจาร ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น วิตก มีลักษณะยกจิตไว้ในอารมณ์. วิจาร
มีลักษณะคลุกเคล้าอารมณ์. อนึ่ง เมื่ออารมณ์เหล่านั้นยังไม่ออกไป
ในที่ไหน ๆ วิตก คือ อารมณ์ที่เกาะจิตเป็นครั้งแรก ด้วยอรรถว่า
เป็นอารมณ์หยาบ และด้วยอรรถไปถึงก่อนดุจเคาะระฆัง, วิจาร คือ
อารมณ์ที่ผูกพันอยู่กับจิต ด้วยอรรถว่า เป็นอารมณ์ละเอียดและมีสภาพ
คลุกเคล้าด้วยจิต ดุจเสียงครางของระฆัง.
อนึ่ง วิตกมีการกระจายไปในอารมณ์ ในขณะเกิดครั้งแรกทำ
ให้จิตสั่นสะเทือน ดุจนี้ประสงค์จะบินไปบนอากาศกระพือปีก, และ
ดุจภมรตามกลิ่นหอมบินมุ่งไปเกาะที่ดอกบัวฉะนั้น. วิจารมีความเป็นไป
อย่างสงบ ไม่ทำจิตให้สั่นสะเทือนดุจนกที่บินขึ้นไปบนอากาศเหยียดปีก
ออกไป และดุจภมรเกาะที่ดอกบัวเคล้าอยู่บนดอกบัวฉะนั้น.

ก็ในอรรถกถาทุกนิบาตท่านกล่าวไว้ว่า วิตกเป็นไปด้วยการยก
จิตไว้ในอารมณ์ ดุจนกใหญ่ไปในอากาศเอาปีกทั้งสองจับลมไว้แล้ว ทำให้
ปีกทั้งสองสงบเงียบบินไป, วิจารเป็นไปด้วยความคลุกเคล้าอารมณ์ ดุจ
นกกระพือปีกเพื่อจับลมแล้วจึงบินไปฉะนั้น. วิจารย่อมสมควรในการ
เป็นไปด้วยความผูกพันอารมณ์นั้น. ส่วนความแตกต่างวิตกวิจารนั้น
ปรากฏในฌานที่ 1 และฌานที่ 2. อีกอย่างหนึ่ง วิตกเหมือนมือที่จับ
แน่นของคนผู้จับภาชนะสำริดที่สนิมกัดด้วยมือข้างหนึ่งแน่น. แล้วขัด
ด้วยแปรงทำด้วยหางสัตว์จุ่มน้ำมันผสมผงละเอียดด้วยมืออีกข้างหนึ่ง.
วิจารเหมือนมือที่ขัด.
อนึ่ง วิตกเหมือนมือที่บังคับของช่างหม้อผู้ใช้ไม้หมุนล้อทำ
ภาชนะ, วิจารเหมือนมือที่เลื่อนไปข้างโน้นข้างนี้. อนึ่ง วิตกยกจิตไว้
ในอารมณ์เหมือน กณฺฏโก - หนามที่เสียบไว้ท่ามกลางของผู้ทำวงกลม,
วิจารการคลุกเคล้าอารมณ์เหมือนหนามที่หมุนอยู่ภายนอก. ปฐมฌาน
ย่อมเป็นไปกับด้วยวิตกและวิจาร เหมือนต้นไม้ย่อมเป็นไปกับด้วยดอก
ไม้และผลไม้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวฌานนี้ว่า สวิตกฺกํ สวิจารํ
ดังนี้.
ในบทว่า วิเวกชํ นี้ ความสงัด คือ วิเวก ความว่า
ปราศจากนิวรณ์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิเวก เพราะอรรถว่า สงัด,

ได้แก่ หมวดธรรมสัมปยุตด้วยฌาน สงัดจากวิเวก. เพราะฉะนั้น
ชื่อว่า วิเวกชํ เพราะอรรถว่า เกิดจากวิเวกหรือเกิดในวิเวกนั้น.
ในบทว่า ปีติสุขํ นี้ ชื่อว่า ปีติ เพราะอรรถว่า อิ่มใจ,
ปีตินั้นมีลักษณะอิ่มเอิบ. ปีตินั้นมี 5 อย่าง คือ
ขุททกาปีติ - ปีติอย่างน้อย 1.
ขณิกาปีติ - ปีติชั่วขณะ 1.
โอกกันติกาปีติ - ปีติเป็นพัก ๆ 1.
อุพเพงคาปีติ - ปีติอย่างโลดโผน 1.
ผรณาปีติ - ปีติซาบซ่าน 1.
ในปีติเหล่านั้น บทว่า ขุททกาปีติ ได้แก่ เมื่อเกิดขึ้นสามารถ
ทำเพียงให้ขนชันในร่างกายเท่านั้น. บทว่า ขณิกาปีติ ได้แก่ เมื่อ
เกิดขึ้นเช่นกับสายฟ้าแลบเป็นพัก ๆ. บทว่า โอกกันติกาปีติ ได้แก่
เมื่อเกิดขึ้นทำร่างกายให้ซู่ซ่าแล้วหายไปเหมือนคลื่นกระทบฝั่ง. บทว่า
อุพเพงคาปีติ ได้แก่ ปีติมีกำลังทำให้กายลอยขึ้นไปถึงกับโลดขึ้นไป
บนอากาศชั่วระยะหนึ่ง. บทว่า ผรณาปีติ ได้แก่ ปีติมีกำลังยิ่ง.
จริงอยู่ เมื่อปีตินั้นเกิด สรีระทั้งสิ้นสั่นสะเทือนดุจปัสสาวะเต็มกระเพาะ
และหลืบภูเขาที่ยื่นออกไปทางห้วงน้ำใหญ่. ปีติ 5 อย่างนั้น ถือเอา
ซึ่ง คพฺภํ - ท้องถึงการแก่รอบแล้ว ย่อมยังปัสสัทธิ 2 อย่าง คือ กาย
ปัสสัทธิและจิตตปัสสัทธิให้บริบูรณ์. ปีตินั้นถือ เอาซึ่งท้องแห่งปัสสัทธิ

ถึงการแก่รอบแล้ว ย่อมยังสุขแม้ 2 อย่าง คือ กายิกสุขและเจตสิกสุข
ให้บริบูรณ์. สุขนั้นถือเอาท้องคือครรภ์ ถึงการแก่รอบแล้ว ย่อม
ยังสมาธิ 3 อย่าง คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ
ให้บริบูรณ์. ให้ปีติเหล่านั้น ปีติที่ท่านประสงค์เอาในอรรถนี้ ได้แก่
ผรณาปีติซึ่งเป็นเหตุของอัปปนาสมาธิเจริญงอกงามอยู่ ถึงความประกอบ
พร้อมแห่งสมาธิ.
อนึ่ง บทต่อไป ชื่อว่า สุขํ เพราะอรรถว่า ให้ถึงสุข, อธิบาย
ว่า ปีติเกิดแก่ผู้ใด, ย่อมทำผู้นั้นให้ถึงสุข. อีกอย่างหนึ่ง ความสบาย
ชื่อว่า สุขํ, ธรรมชาติใด ย่อมเคี้ยวกินดีและการทำลายความเบียด
เป็นทางกายและจิต ชื่อว่า สุขํ, บทนี้เป็นชื่อของ โสมนัสสเวทนา.
ความสุขนั้นมีลักษณะเป็นความสำราญ. แม้เมื่อปีติและสุขยังไม่พราก
ไปในที่ไหน ๆ ความยินดีในการได้อารมณ์ที่น่าปรารถนาเป็น ปีติ,
การเสวยรสที่ได้แล้วเป็น สุ.
ปีติในที่ใด ความสุขย่อมมีในที่นั้น. ความสุขมีในที่ใด ปีติ
โดยความแน่นอนย่อมไม่มีในที่นั้น, ปีติสงเคราะห์เข้าในสังขารขันธ์,
สุขสงเคราะห์เข้าในเวทนาขันธ์. ปีติเหมือนในการได้เห็นได้ฟังว่ามีน้ำ
อยู่ชายป่าของผู้ที่เหน็ดเหนื่อยในทางกันดาร, สุขเหมือนในการเข้าไป
อาศัยในเงาป่าและการดื่มน้ำ. พึงทราบว่าท่านกล่าวถึงบทนี้ เพราะ

ความปรากฏในสมัยนั้น ๆ. ปีตินี้และสุขนี้มีอยู่แก่ฌานนั้น หรือมีอยู่
ในฌานนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวฌานนี้ว่า ปีติสุขํ ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ปีติและสุข ชื่อว่า ปีติสุขํ เหมือนธรรมและ
วินัยเป็นต้น, ปีติสุขเกิดแต่วิเวก ย่อมมีแก่ฌานนั้น หรือมีในฌานนั้น
เพราะเหตุนั้น ปีติสุขจึงเกิดแต่วิเวกด้วยประการฉะนี้. แม้ปีติสุขในญาณ
นี้ก็เกิดแต่วิเวกเท่านั้น เช่นเดียวกับฌาน. อนึ่ง ปีติสุขมีแก่ฌานนั้น.
เพราะฉะนั้น การทำเป็นอโลปสมาส - สมาสที่ไม่ลบวิภัตติ แล้วกล่าวว่า
วิเวกชํ ปีติสุขํ - ปีติสุขเกิดแต่วิเวก ดังนี้ โดยบทเดียวเท่านั้นสมควร.
บทว่า ปฐมํ ชื่อว่า ปฐม เพราะตามลำดับของการนับ,
ชื่อว่า ปฐม เพราะอรรถว่า เกิดก่อนบ้าง.
บทว่า ฌานํ ฌานมี 2 อย่าง คือ อารัมมณูปนิชฌาน-
เพ่งอารมณ์ และ ลักขณูปนิชฌาน - เพ่งลักษณะ ในฌาน 2 อย่าง
นั้น สมาบัติ 8 เข้าไปเพ่งอารมณ์มีปฐวีกสิณเป็นต้น ชื่อว่า อารัม-
มณูปนิชฌาน. วิปัสสนามรรคและผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน.
ในวิปัสสนามรรคและผลเหล่านั้น วิปัสสนา ชื่อว่า ลักขณู-
ปนิชฌาน เพราะเข้าไปเพ่ง ซึ่งลักษณะมีอนิจลักษณะเป็นต้น, มรรค
ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะกิจทำด้วยวิปัสสนาสำเร็จด้วยมรรค,
ส่วนผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะอรรถว่า เข้าไปเพ่งนิโรธสัจ
อันเป็นลักษณะที่จริงแท้. ในฌานทั้งสองนั้น ในส่วนเบื้องต้นนี้ท่าน

ประสงค์เอา อารัมมณูปนิชณาน, ในขณะแห่งโลกุตรมรรคท่าน
ประสงค์เอา ลักขณูปนิชฌาน, เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ชื่อว่า
ฌาน เพราะเข้าไปเพ่ง อารมณ์, เข้าไปเพ่ง ลักขณะ, และเข้าไป
เพ่ง ธรรมเป็นข้าศึก.
บทว่า อุปสมฺปชฺช คือ เข้าถึง, อธิบายว่า บรรลุแล้ว.
อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เข้าไปถึงแล้ว คือ ให้สำเร็จแล้ว.
บทว่า วิหรติ ได้แก่ เป็นผู้มีความพร้อมด้วยฌานมีประการ
ดังกล่าวแล้ว ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่ในอิริยาบถอันเหมาะสม ควรแก่
ฌานนั้น ยังความเป็นไปแห่งอัตภาพให้สำเร็จ.
ในบทว่า วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา - เพราะวิตกวิจารสงบไปนี้
คือ เพราะองค์ฌานสองอย่างนี้ คือ วิตกและวิจาร สงบ คือ ก้าวล่วง
อธิบายว่า เพราะไม่ปรากฏในขณะทุติยฌาน. ในบทนั้น ธรรม คือ
ปฐมฌานแม้ทั้งหมดไม่มีในทุติยฌานก็จริง, แต่ผัสสะเป็นต้นเหล่าอื่น
ในปฐมฌานยังมีอยู่. ในทุติยฌานนี้ไม่มี. พึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้
อย่างนี้ว่า วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา เพื่อแสดงว่า การบรรลุทุติยฌาน
เป็นต้นเหล่าอื่นจากปฐมฌาน ย่อมมีได้เพราะก้าวล่วงองค์หยาบ ๆ.
ในบทว่า อชฺฌตฺตํ ในภายในนี้ท่านประสงค์เอาภายในของ
ตน, เพราะฉะนั้น จึงเกิดในตน, อธิบายว่า เกิดในสันดานของตน.

บทว่า สมฺปสาทนํ อันเป็นความผ่องใส ศรัทธาท่านกล่าวว่า
เป็นความผ่องใส. แม้ฌานก็เป็นความผ่องใส เพราะประกอบด้วยความ
เชื่อ เหมือนผ้าสีเขียวเพราะย้อมด้วยสีเขียว.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะฌานนั้นเป็นความผ่องใสแห่งจิต เพราะ
ประกอบด้วยความเชื่อและเพราะสงบ ความกำเริบของวิตกวิจาร, ฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า สมฺปสาทนํ. ในอรรถวิกัปนี้ พึงทราบการเชื่อมบท
อย่างนี้ว่า สมฺปสาทนํ เจตโส - ความผ่องใสแห่งจิต ส่วนในอรรถ
วิกัปก่อน พึงประกอบบทว่า เจตโส นี้ กับด้วย ศัพท์ เอโกทิภาวะ
- ความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น.
พึงทราบการแก้อรรถในบทว่า เอโกทิภาวะ นั้นดังต่อไปนี้
ชื่อว่า เอโกทิ เพราะอรรถว่า เป็นธรรมเอกเกิดขึ้น อธิบายว่า
ทุติยฌานเป็นธรรมเลิศประเสริฐผุดขึ้น เพราะไม่มีวิตกวิจารเกิดขึ้น
ภายใน. จริงอยู่ แม้บุคคลที่ประเสริฐท่านก็เรียกว่าเป็น เอก ในโลก.
หรือควรจะกล่าวว่าทุติยฌานเป็นธรรมเอก ไม่มีสอง เพราะเว้นจาก
วิตกวิจารดังนี้บ้าง.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อุทิ. เพราะเกิดขึ้นในสัมปยุตธรรม. คือ
ยังสัมปยุตธรรมให้เกิดขึ้น. ชื่อว่า เอโกทิ เพราะอรรถว่า เป็น
ธรรมเอกเกิดขึ้นด้วยอรรถว่า ประเสริฐที่สุด. บทนี้เป็นชื่อของสมาธิ.
ทุติยฌานนี้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะยังทุติยฌานเป็นธรรมเอกผุดขึ้น

ให้เจริญงอกงาม. อนึ่ง เพราะ เอโกทิ นี้ เป็นธรรมเอกเกิดขึ้น
แก่จิต มิใช่แก่สัตว์ มิใช่แก่ชีวะ. ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจตโส
เอโกทิภาวํ - ความเป็นธรรมเอกเกิดขึ้นแก่จิต.
ศรัทธานี้แม้ในปฐมฌานก็มี, อนึ่ง สมาธินี้มีชื่อว่า เอโกทิ
มิใช่หรือ. เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ท่านจึงกล่าวว่า สมฺปสาทนํ
เจตโส เอโกทิภาวํ - ทุติยฌานอันเป็นการผ่องใสแห่งจิต เป็นธรรม
เอกผุดขึ้น. แก้ว่า เพราะปฐมฌานนั้นยังไม่ผ่องใสดีด้วยวิตกวิจารกำเริบ
เหมือนน้ำ กำเริบด้วยลูกคลื่น, ฉะนั้น แม้เมื่อมีศรัทธาท่านก็ไม่กล่าว
ว่า สมฺปสาทนํ - เป็นความผ่องใส. อนึ่ง แม้สมาธิในปฐมฌานนี้
ก็ไม่ปรากฏด้วยดีเพราะไม่ผ่องใส, เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่กล่าวว่า
เอโกทิภาวํ.
อนึ่ง ในฌานนี้ศรัทธามีกำลังได้โอกา เพราะไม่มีความพัวพัน
ด้วยวิตกและวิจาร. ศรัทธามีกำลังสมาธิก็ปรากฏ เพราะได้เพื่อนนั่น
เอง. เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า บทนี้ ท่านจึงกล่าวไว้อย่างนี้.
บทว่า อวิตกกํ อวิจารํ - ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร. ชื่อว่า อวิตกฺกํ
เพราะอรรถว่า วิตกไม่มีในฌานนี้หรือแก่ฌานนี้ เพราะละได้ด้วย
ภาวนา. ชื่อว่า อวิจารํ ก็โดยนัยนี้เหมือนกัน.
ในบทนี้ พระสารีบุตรกล่าวว่า แม้ด้วยบทนี้ว่า วิตกฺกวิจารานํ
วูปสมา
- เพราะวิตกวิจารสงบ ก็สำเร็จความนี้แล้วมิใช่หรือ, เมื่อเป็น

เช่นนั้น เพราะเหตุไรท่านจึงกล่าวว่า อวิตกฺกํ อวิจารํ อีกเล่า.
แก้ว่า เป็นอย่างนั้นแน่นอน. สำเร็จความนี้แล้ว, แต่บทนี้ยังไม่แสดง
ความข้อนั้น, เราได้กล่าวไว้แล้วมิใช่หรือว่าท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า
อวิตกฺกวิจารานํ วูปสมา เพื่อแสดงว่าการบรรลุทุติยฌานเป็นต้นอื่น
จากปฐมฌาน เพราะก้าวล่วงองค์หยาบ ๆ.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบ ฌานนี้จึงเป็นความผ่องใส
มิใช่ผ่องใสเพราะการสะสมของกิเลส, อนึ่ง มิใช่เพราะความปรากฏ
แห่งองค์ดุจปฐมฌาน เพราะเหตุนั้น คำกล่าวนี้จึงแสดงถึงเหตุแห่ง
การเข้าทุติยฌานเป็นความผ่องใสเป็นธรรมเอกผุดขึ้นอย่างนี้.
อนึ่ง เพราะวิตกวิจาราสงบ ฌานนี้จึงไม่มีวิตกวิจาร, มิใช่
เพราะไม่มีดุจตติยฌานและจตุตถฌาน และจักขุวิญญาณเป็นต้น, เพราะ
เหตุนั้น คำกล่าวนี้จึงแสดงเหตุของความไม่มีวิตกวิจารอย่างนี้. มิใช่
แสดงเพียงความไม่มีวิตกวิจาร. แต่คำกล่าวนี้ว่า อวิตกฺกํ อวิจารํ
แสดงเพียงความไม่มีวิตกวิจารเท่านั้น. เพราะฉะนั้น แม้กล่าวไว้ก่อน
แล้วก็ควรกล่าวอีกได้.
บทว่า สมาธิชํ - เกิดแต่สมาธิ อธิบายว่า ทุติยฌานเกิดแต่
สมาธิในปฐมฌานหรือแต่สมาธิที่ถึงพร้อมแล้ว. ในบทนั้นแม้ปฐมฌาน
เกิดแต่สมาธิที่ถึงพร้อมแล้วก็จริง ถึงดังนั้นสมาธินี้แลควรจะกล่าวว่า
สมาธิ ได้ เพราะไม่หวั่นไหวนัก และเพราะยังไม่ผ่องใสด้วยดีโดยที่

วิตกวิจารยังกำเริบ. เพราะฉะนั้น เพื่อพรรณนาถึงคุณของฌานนี้
ท่านจึงกล่าวว่า สมาธิชํ. บทว่า ปีติสุขํ นี้ มีนัยดังกล่าวแล้ว.
บทว่า ทุติยํ คือ ฌานที่สองตามลำดับของการนับ, ชื่อ ทุติยํ เพราะ
เกิดครั้งที่สองบ้าง.
บทว่า ปีติยา จ วิราคา - อนึง เพราะปีติสิ้นไป ความว่า
การเกลียดหรือการก้าวล่วงปีติมีประการดังกล่าวแล้ว ชื่อว่า วิราคะ,
ศัพท์ในระหว่างสองบทนั้นเป็น สัมปิณฑนัตถะ ลงในอรรถว่า
รวม. ศัพท์นั้นย่อมรวมความสงบ หรือวิตกวิจารสงบเข้าด้วยกัน.
เพราะปีติสิ้นไปในขณะที่รวมความสงบไว้ได้นั่งเอง, อย่างไรก็ดี โดย
เฉพาะอย่างยิ่ง พึงทราบการประกอบอย่างนี้ว่า วูปสมา จ ดังนี้.
อนึ่ง การสิ้นไปแห่งปีติที่ประกอบไว้นี้ มีความว่าน่าเกลียด,
เพราะฉะนั้น พึงเห็นความนี้ว่า เพราะน่าเกลียดและก้าวล่วงปีติ, เพราะ
ปีติสิ้นไปในขณะรวมความสงบแห่งวิตกวิจารไว้, อย่างไรก็ดี โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งพึงทราบการประกอบอย่างนี้ว่า เพราะวิตกวิจารสงบดังนี้. การ
สิ้นปีติที่ประกอบไว้นี้ มีความว่าก้าวล่วง, เพราะฉะนั้น พึงเห็นความ
อย่างนี้ว่า เพราะปีติก้าวล่วงไป และเพราะวิตกวิจารสงบ.
วิตกวิจารเหล่านี้สงบแล้วในทุติยฌานก็จริง, แต่ถึงดังนั้น เพื่อ
แสดงมรรคและเพื่อพรรณนาคุณของฌานนี้ ท่านจึงกล่าวบทนี้ไว้.
จริงอยู่ เมื่อท่านกล่าวว่า วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา ฌานนี้ย่อมปรากฏ

ว่ามรรคของฌานนี้มีวิตกวิจารสงบโดยแน่นอน. อนึ่ง เหมือนอย่างว่า
ท่านกล่าวถึงการละไว้อย่างนี้ว่า ปญฺจนฺนํ โอรมฺภาคิยานํ สํโยชนานํ
ปหานา1 -
เพราะละสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ดังนี้ เป็นการพรรณนาคุณ
ของกิเลสมีสักกายทิฏฐิเป็นต้น แต่ไม่ละในอริยมรรคที่ 3. เพื่อบรรลุ
ถึงฌานนั้น การพรรณนาคุณของฌานนั้น ย่อมให้เกิดอุตสาหะเพื่อ
ความขวนขวายต่อไปฉันใด, ท่านกล่าวถึงความสงบของวิตกวิจารแม้ยัง
ไม่สงบไว้ในบทนี้ ก็เป็นการพรรณนาคุณฉันนั้นเหมือนกัน. ด้วย
เหตุนั้นท่านจึงกล่าวความนี้ไว้ว่า ปีติยา จ สมติกฺกมา วิตกฺกวิกวจาร-
นญฺจ วูปสมา -
ก้าวล่วงปีติและสงบวิตกวิจารดังนี้.

ในบทว่า อุเปกฺขโก จ วิหรติ ภิกษุเป็นผู้มีอุเบกขานี้มีความ
ดังต่อไปนี้ ชื่อว่า อุเปกฺขา เพราะอรรถว่า เห็นโดยบังเกิดขึ้น.
อธิบายว่า เห็นเสมอ คือ เป็นผู้ไม่ตกไปในพรรค เห็นอยู่. เป็นผู้มี
ความพร้อมในตติยฌาน เพราะประกอบด้วยอุเบกขานั้น อันบริสุทธิ์
ไพบูลย์ มีกำลัง ท่านจึงกล่าวว่า อุเปกฺขโก - เป็นผู้มีอุเบกขา.
อุเบกขา มี 10 อย่าง คือ ฉฬังคุเบกขา 1 พรหมวิหารุ-
เบกขา 1 โพชฌังคุเบกขา 1 วีริยุเบกขา 1 สังขารุเบกขา เวท-
1. ที. สี. 9/252.

นุเบกขา 1 วิปัสสนุเบกขา 1 ตัตรมัชฌัตตุเบกขา 1 ฌานุเบกขา 1
ปาริสุทธุเบกขา 1.
ในอุเบกขาเหล่านั้น ฉฬังคุเบกขา คือ อุเบกขา อันเป็น
อาการของความไม่ละความเป็นปรกติอันบริสุทธิ์ ในคลองอารมณ์ 6
ทั้งที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนาในทวาร 6 ของพระขีณาสพที่มา
อย่างนี้ว่า อิธ ภิกฺขเว ขีณาสโว ภิกฺขุ รูปํ ทิสฺวา เนว สุมโน
โหติ น ทุมฺมโน, อุเปกฺขโก จ วิหรติ สโต สมฺปชาโน1-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุขีณาสพในศาสนานี้ เห็นรูปแล้วไม่ดีใจ ไม่
เสียใจ, เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ.
พรหมวิหารุเบกขา คือ อุเบกขาอันเป็นอากาของความเป็น
กลางในสัตว์ทั้งหลายที่มาแล้วอย่างนี้ว่า อุเปกฺขาสหคเตน เจตสา
เอกํ ทิสํ ผริตฺวา วิหรติ2 -
ภิกษุมีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาแผ่ไปยัง
ทิศหนึ่งอยู่.
โพชฌังคุเบกขา คือ อุเบกขาอันเป็นอาการของความเป็น
กลางของธรรมอันเกิดร่วมกันที่มาแล้วอย่างนี้ว่า อุเปกฺขาสมฺโพชฺณงฺคํ
ภเวติ วิเวกนิสฺสิตํ3 -
ภิกษุเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อาศัยวิเวก.
วิริยุเบกขา คือ อุเบกขาอันได้แก่ความเพียรไม่ย่อหย่อนด้วย
การปรารภถึงความไม่เที่ยงที่มาแล้วอย่างนี้ว่า กาเลน กาลํ อุเปกฺ-
1. องฺ. ฉกฺก 22/272. 2.ที.สี. 9/384. 3.ม.ม. 13/338.

ขานิมิตฺตํ มนสิกโรติ1- ภิกษุใส่ใจถึงอุเบกขานิมิตตลอดกาล.
สังขารุเบกขา คือ อุเบกขาอันเป็นกลางในความไม่ยึดถือการ
ดำรงอยู่ในความพิจารณานิวรณ์เป็นต้นอันมาแล้วอย่างนี้ว่า กติ สงฺขา-
รุเปกฺขา สมถวเสน อุปฺปชฺชนฺติ, กติ สงฺขารุเปกฺขา วิปสฺ-
สนาวเสน อุปฺปชฺชนฺติ, อฏฺฐ สงฺขารุเปกฺขา สมถวเสน อุปฺ-
ปชฺชนฺติ, ทส สงฺขารุเปกฺขา วิปสฺสนาวเสน อุปฺปชฺชนฺติ2-

สังขารุเบกขา ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมณะเท่าไรล สังขารุเบกขา ย่อม
เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนาเท่าไร, สังขารุเบกขา 8 ย่อมเกิดขึ้นด้วย
อำนาจสมถะ. สังขารุเบกขา 10 ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา.
เวทนุเบกขา คือ อุเบกขาที่ไม่รู้ทุกข์ไม่รู้สุขอันมาแล้วอย่างนี้
ว่า ยสฺมึ สมเย กามาวจรํ กุสลํ จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ โหติ อุเปกฺขา-
สหคตํ3-
สมัยใด จิตเป็นกามาวจรกุศลสหรคตด้วยอุเบกขาเกิดขึ้น.
วิปัสสนุเบกขา คือ อุเบกขาที่เป็นกลางในการค้นคว้าอันมา
แล้วอย่างนี้ว่า ยทตฺถิ ยํ ภูตํ, ตํ ปชหติ, อุเปกฺขํ ปฏิลภติ4- ภิกษุ
ย่อมละสิ่งที่มีที่เป็นย่อมได้อุเบกขา.
ตัตรมัชณัตตุเบกขา คือ อุเบกขาที่นำสหชาตธรรมไปเสมอ
อันมาในเยวาปนกธรรมมีฉันทะเป็นต้น.
1. องฺ. ติก. 20/542. 2. ขุ. ป. 31/133. 3. อภิ. สํ. 34/135
4. ม. อุ. 14/90.

ฌานุเบกขา คือ อุเบกขาอันยังธรรมที่ไม่ตกไปในฝักฝ่ายให้
เกิดในฌานนั้น แม้เป็นสุขอย่างเลิศอันมาแล้วอย่างนี้ว่า อุเปกฺขโก
จ วิหรติ
1 - ภิกษุผู้มีอุเบกขาอยู่.
ปาริสุทธุเบกขา คือ อุเบกขาอันไม่ขวนขวายแม้ในความสงบ
จากธรรมเป็นข้าศึก บริสุทธิ์จากธรรมเป็นข้าศึกทั้งหมดอันมาแล้วอย่าง
นี้ว่า อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ จตุตฺถํ ฌานํ2- ภิกษุเข้าจตุตถฌานมี
อุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์.
ในอุเบกขาเหล่านั้น ฉฬังคุเบกขา พรหมวิหารุเบกขา โพช-
ฌังคุเบกขา ตัตรมัชฌัตตุเบกขา ฌานุเบกขา และปาริสุทธุเบกขา
โดยอรรถเป็นอย่างเดียวกัน, คือเป็น ตัตรมัชฌัตตุเบกขา. แต่
อุเบกขานั้นต่างกันโดยความต่างแห่งความไม่คงที่ ดุจความต่างของคน
แม้คนหนึ่งโดยเป็นกุมาร เป็นหนุ่ม เป็นเถระ เป็นเสนาบดี เป็น
พระราชาเป็นต้น, เพราะฉะนั้น พึงทราบว่าในอุเบกขาเหล่านั้น ฉฬัง-
คุเบกขามีอยู่ในฌานใด, ในฌานนั้นไม่มีฉฬังคุเบกขาเป็นต้น, หรือ
ว่าในฌานใดมีโพชฌังคุเบกขา, ในฌาณนั้นไม่มีฉฬังคุเบกขาเป็นต้น.
ความเป็นอย่างเดียวกัน โดยอรรถของอุเบกขาเหล่านั้นฉันใด,
แม้ของสังขารุเบกขาและวิปัสสนุเบกขาก็ฉันนั้น. จริงอยู่อุเบกขานั้น
1. ที.สี. 9/128. 2. อภิ. สํ. 34/146.

คือ ปัญญานั่นเอง โดยกิจแยกออกเป็นสองอย่าง. เหมือนอย่างว่า
บุรุษเมื่อจะจับงูที่เลื้อยเข้าไปยังเรือน ในเวลาเย็นแสวงหาไม้ตีนแพะ
เห็นงูนั้นนอนอยู่ที่ห้องเล็ก จึงมองดูว่า งูหรือไม่ใช่งู, ครั้นเห็นเครื่อง
หมาย 3 แฉกก็หมดสงสัย ความเป็นกลางในสืบเสาะดูว่างู, ไม่ใช่งู,
ย่อมเกิดขึ้นฉันใด, เมื่อภิกษุเจริญวิปัสสนาเห็นไตรลักษณ์ด้วยวิปัสสนา-
ญาณ ความเป็นกลางในการค้นหาไตรลักษณ์มีความไม่เที่ยงเป็นต้น
ของสังขารย่อมเกิดขึ้น ฉันนั้น นี้ คือ วิปัสสนุเบกขา. อนึ่ง เมื่อ
บุรุษนั้นเอาไม้ตีนแพะจับงูจนมั่น คิดว่า ทำอย่างไร1 เราจะไม่ทำร้ายงูนี้
และจะไม่ให้งูนี้กัดตนพึงปล่อยไป แล้วหาวิธีที่จะปล่อยงูไป ในขณะจับ
นั้น ย่อมมีความเป็นกลางฉันใด, ความเป็นกลางในการยึดถือสังขาร
ของภิกษุผู้เห็นภพ 3 ดุจเห็นไฟติดทั่วแล้ว เพราะเห็นไตรลักษณ์ก็
ฉันนั้น นี้ คือ สังขารุเบกขา. เมื่อวิปัสสนุเบกขาสำเร็จแล้ว แม้
สังขารุเบกขาก็เป็นอันสำเร็จแล้วด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง ด้วยบทนี้อุเบกขานี้แบ่งเป็นสองส่วน โดยกิจกล่าวคือ
ความเป็นกลางในการพิจารณาและการจับ. ส่วนวิริยุเบกขาและเวทนุ-
เบกขา โดยอรรถยังต่างกันอยู่ คือ เป็นของต่างซึ่งกันและกัน และ
ยังต่างจากอุเบกขาที่เหลือ.
1. กินฺตาหํ อิมํ สปฺปํ อวิเหเฐนฺโต...

อนึ่ง ในอธิการนี้พระสารีบุตรกล่าวว่า
อุเบกขา 10 โดยพิสดาร คือ มัชฌัตตุเบกขา
พรหมวิหารุเบกขา โพชฌังคุเบกขา ฉฬังคุเบกขา
ฌานุเบกขา ปาริสุทธุเบกขา วิปัสสนุเบกขา
สังขารุเบกขา เวทนุเบกขา และวิริยุเบกขา, จาก
นั้นมีมัชฌัตตุเบกขาเป็นต้น 6 จากปัญญุเบกขา
อย่างละ 2 รวมเป็น 4.

ในอุเบกขาเหล่านั้น ในที่นี้ท่านประสงค์เอาฌานุเบกขา. ฌานุ-
เบกขานั้นมีลักษณะเป็นกลาง. ในอธิการนี้พระสารีบุตรกล่าวว่า อุเบก-
ขานี้โดยอรรถย่อมเป็นตัตรมัชฌัตตุเบกขามิใช่หรือ. อนึ่ง อุเบกขานั้น
อยู่แม้ในปฐมฌานและทุติยฌาน. เพราะเหตุนั้นแม้ในฌานนั้นก็ควร
กล่าวถึงอุเบกขาอย่างนี้ว่า อุเปกฺขโก จ วิหรติ, เพราะเหตุไรท่าน
จึงไม่กล่าวถึงอุเบกขานั้นเล่า ? เพราะความไม่เฉียบแหลมเป็นกิจ. กิจ
ในฌานเป็นของภิกษุนั้นชื่อว่า ความไม่เฉียบแหลม เพราะถูกวิตก
เป็นนั้น ครอบงำ, แต่ในอธิการนี้ อุเบกขานี้ มีความเฉียบแหลมเป็น
กิจ เพราะไม่ถูกวิตก วิจาร ปีติครอบงำ ดุจเงยศีรษะขึ้น, เพราะฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวไว้.

บัดนี้พึงทราบวินิจฉัยในบทนี้ว่า สโต จ สมฺปชาโน ดังต่อ
ไปนี้ ชื่อว่า สโต เพราะระลึกได้. ชื่อว่า สมฺปชาโน เพราะรู้พร้อม.
สติและสัมปชัญญะท่านกล่าวโดยบุคคล. ในบทนั้นสติมีความระลึกได้
เป็นลักษณะ. สัมปชัญญะมีความไม่หลงเป็นลักษณะ. สติสัมปชัญญะ
นี้มีอยู่ แม้ในปุริมฌานก็จริง ถึงดังนั้นผู้มีสติลุ่มหลง ไม่มีสัมปชัญญะ
สติสัมปชัญญะแม้เพียงอุปจารก็ยังไม่สมบูรณ์ จะพูดไปทำไมถึง อัปปนา.
เพราะสติสัมปชัญญะหยาบ คติแห่งจิตของบุรุษย่อมเป็นสุข ดุจในภูมิ
แห่งฌานเหล่านั้น, ความไม่เฉียบแหลม มีสติสติมปชัญญะในคตินั้น
เป็นกิจ.
ก็เพราะฌานนี้ละเอียดโดยละองค์อย่างหยาบเสีย พึงปรารถนา
คติแห่งจิตอย่างนี้ กำหนดสติสัมปชัญญะเป็นกิจ ดุจบุรุษปรารถนาคติ
ในคมมีดฉะนั้น เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ในที่นี้. อะไรเล่ายิ่งไป
กว่านั้นเหมือนลูกโคเข้าไปหาแม่โค ถูกนำออกไปจากแม่โค ไม่ได้รับ
การดูแล จึงเข้าไปหาแม่โคอีกฉันใด สุขในตติยฌานนี้ก็ฉันนั้น ถูก
นำออกจากปีติอันสติสัมปชัญญะไม่รักษา พึงเข้าไปหาปีติอีก, สุขใน
ตติยฌานพึงสัมปยุตด้วยปีตินั่นแล. สัตว์ทั้งหลายย่อมยินดีแม้ในความ
สุข, ความสุขนี้มีรสหวานชื่นยิ่งนัก เพราะไม่มีสุขยิ่งไปกว่านั้น. เพื่อ
แสดงความพิเศษของอรรถนี้ว่า ด้วยอานุภาพของสติสัมปชัญญะ ความ

ไม่ยินดีย่อมมีในความสุขนี้ มิได้มีด้วยประการอื่น พึงทราบว่า ท่าน
จึงกล่าวบทว่า สโต จ สมฺปชาโน นี้ไว้ในที่นี้.
บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในบทนี้ว่า สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเว-
เทติ -
ภิกษุเสวยสุขด้วยนามกายดังต่อไปนี้ ภิกษุผู้มีความพร้อมด้วย
ตติยฌาน ย่อมไม่มีความผูกใจในการเสวยสุขโดยแท้, แม้เมื่อเป็นเช่น
นั้น เพราะสุขสัมปยุตด้วยนามกายของภิกษุนั้น, สุขสัมปยุตด้วยนาม-
กายเป็นของธรรมดา, เพราะรูปกายของภิกษุนั้นถูกรูปที่ประณีตยิ่ง
อันมีความสุขนั้นเป็นสมุฏฐานถูกต้องแล้ว, ภิกษุแม้ออกจากฌาน
เพราะรูปประณีตถูกต้องแล้วก็ยังพึงเสวยความสุขอยู่ได้, ฉะนั้น พระ-
สารีบุตรเมื่อจะแสดงความนี้จึงกล่าวว่า สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทติ
ดังนี้.
บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในบทนี้ว่า ยนฺตํ อริยา อาจิกฺขนฺติ
อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารี
ดังต่อไปนี้ ภิกษุเข้าตติยฌานที่พระ-
อริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
ดังต่อไปนี้ พระอริยเจ้าทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมบอก ย่อม
แสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้ง ย่อมเปิดเผย ย่อมแจกแจง ย่อมทำให้
ง่าย ย่อมประกาศ, อธิบายว่า ย่อมสรรเสริญบุคคลผู้พร้อมด้วยตติย-
ฌานนั้น เพราะฌานเป็นเหตุเป็นปัจจัย. สรรเสริญว่าอย่างไร ? สรร-

เสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข. ในบทนี้พึงทราบ
การประกอบอย่างนี้ว่า ภิกษุเข้าตติยฌานนั้นอยู่เป็นสุข ดังนี้.
ก็เพราะเหตุไรพระอริยเจ้าเหล่านั้น จึงสรรเสริญบุคคลนั้นอย่าง
นี้ ? เพราะเป็นผู้ควรแก่การสรรเสริญ. ด้วยว่าบุคคลนี้แม้เมื่อความสุข
มีรสสดชื่นยิ่ง บรรลุบารมีอันเป็นความสุขแล้วก็ยังเป็นผู้มีอุเบกขาใน
ตติยฌาน, ไม่ถูกความข้องต่อความสุขในฌานนั้นฉุดคร่าไว้. ภิกษุชื่อว่า
มีสติ เพราะตั้งสติไว้มั่นโดยที่ปีติยังไม่เกิด.
อนึ่ง เพราะภิกษุเสวยสุขไม่เศร้าหมองที่อริยชนใคร่ และอริย-
ชนเสพด้วยนามกาย ฉะนั้น จึงเป็นผู้ควรแก่การสรรเสริญ. เพราะ
ภิกษุเป็นผู้ควรแก่การสรรเสริญ พระอริยเจ้าเหล่านั้นจึงประกาศบุคคล
นั้นในคุณอันเป็นเหตุควรแก่การสรรเสริญอย่างนี้ พึงทราบว่า ท่าน
สรรเสริญไว้อย่างนี้ว่า อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารี - เป็นผู้มีอุเบกขา
มีสติอยู่เป็นสุขดังนี้. บทว่า ตติยํ ชื่อว่า ตติยะ เพราะตามลำดับของ
การนับ. ชื่อว่า ตติยะ เพราะเกิดเป็นครั้งที่ 3 บ้าง.
บทว่า สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา - เพราะ
ละสุขและละทุกข์ ได้แก่ เพราะละสุขทางกาย และทุกข์ทางกาย.
บทว่า ปุพฺเพว คือ เพราะละสุขและทุกข์นั้นก่อนๆ ได้, มิ
ใช่ละได้ในขณะจตุตถฌาน. บทว่า โสมนสฺสโทมนสฺสานํ อตฺถงฺ-
คมา
- เพราะดับโสมนัสและโทมนัสได้ คือ เพราะดับโสมนัสและโทม-

นัสทั้งสองนี้ คือ สุขทางใจและทุกข์ทางใจก่อน ๆ ได้, เป็นอันท่าน
กล่าวว่า ปหานา - เพราะละอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
ทั้งสองนั้นจะละได้เมื่อไร ? ละได้ในขณะอุปจารแห่งฌาน 4
จริงอยู่ โสมนัสละได้ในขณะอุปจารแห่งฌานที่ 4 เท่านั้น, ทุกข์
โทมนัส สุขละได้ในขณะอุปจารแห่งฌานที่ 1 ที่ 2 และที่ 3. เมื่อ
ท่านไม่กล่าวฌานเหล่านี้ตามลำดับแห่งการละอย่างนี้ แต่ในอินทริย-
วิภังค์1 พึงทราบการละสุข ทุกข์ โสมนัส และโทมนัสไว้ในที่นี้ตาม
ลำดับแห่งอุทเทสของอินทรีย์ทั้งหลาย.
ผิว่า สุข ทุกข์ โสมนัสและโทมนัสเหล่านี้ละได้ในขณะอุป-
จารแห่งฌานนั้น ๆ ไซร้, เมื่อเป็นเช่นนั้นเหตุไรท่านจึงกล่าว นิโรธ
นั้นไว้ในฌานอย่างนี้ว่า ก็ทุกขินทรีย์เกิดแล้วย่อมดับไม่มีเหลือใน
ที่ไหน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม
ฯลฯ เข้าถึงปฐมฌานอยู่. ทุกขินทรีย์เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป
ไม่มีเหลือในที่นี้. โทมนัสสินทรีย์ สุขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์
เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่ไหน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ เข้าถึง
จตุตถฌานอยู่. โสมนัสสินทรีย์เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มี

1. อภิ. วิ. 35/236.

เหลือในที่นี้1 เพราะดันวิเศษยิ่ง. จริงอยู่การดับอย่างวิเศษยิ่งของทุก-
ขินทรีย์เป็นต้น เหล่านั้นมีในปฐมฌานเป็นต้น, มิใช่นิโรธในอุปจาร
เท่านั้นดับ. นิโรธดับในขณะแห่งอุปจาร มิใช่ดับอย่างดียิ่ง. เป็น
ความจริงอย่างนั้น ทุกขินทรีย์แม้ดับไปในอุปจารแห่งปฐมฌานในการ
พิจารณาต่าง ๆ ก็พึงเกิดขึ้นได้ด้วยถูกเหลือบและยุงเป็นต้นกัด หรือ
ด้วยความลำบากที่มีอาสนะไม่เรียบ มิใช่ภายในอัปปนาเท่านั้น.

อีกอย่างหนึ่ง ทุกขินรีย์เป็นต้นนี้ แม้ดับแล้วในอุปจาร, ก็เป็น
อันว่ายังดับไม่มีนัก เพราะยังกำจัดปฏิปักษ์ไม่ได้, แต่กายทั้งหมดหยั่ง
ลงสู่ความสุขด้วยการซ่านไปแห่งปีติในภายในอัปปนา, อนึ่ง ทุกขิน-
ทรีย์เป็นอันดับไปด้วยดี เพราะกายหยั่งลงสู่ความสุขกำจัดปฏิปักษ์เสีย
ได้.

อนึ่ง ทุกขินทรีย์นี้เมื่อยังมีความลำบากกายและจิตมุ่งร้าย แม้
มีวิตกวิจารเป็นปัจจัย ย่อมเกิดขึ้นแก่โทมนัสสินทรีย์ แม้ละได้แล้วใน
อุปจารแห่งทุติยฌาน ในการพิจารณาต่าง ๆ, ทุติยฌาน ย่อมเกิดขึ้น
เพราะไม่มีวิตกวิจารนั่นเอง. ทุกขินทรีย์เกิดขึ้นในความมีวิตกวิจารใน
ฌานที่ทุกขินทรีย์เกิดขึ้น. ทุกขินทรีย์พึงเกิดขึ้นในฌานนั้น เพราะ
วิตกวิจารยังละไม่ได้ในอุปจารแห่งทุติยฌาน, ในทุติยฌานไม่ต้องพูดถึง
กันละเพราะมีปัจจัยอันละได้แล้ว.
1. สํ. มหา. 19/957.

อนึ่ง แม้สุขินทรีย์ละได้แล้วในอุปจารแห่งตติยฌาน กายที่ถูก
รูปประณีตมีปีติเป็นสมุฏฐานก็พึงเกิดขึ้นได้, ในตติยฌานไม่ต้องพูดถึง
กันละ. เพราะในตติยฌานปีติเป็นปัจจัยแห่งความสุขเป็นอันดับไปโดย
ประการทั้งปวง. เพราะโสมนัสสินทรีย์แม้ละได้ในอุปจารแห่วจตุตถ-
ฌานก็ใกล้เข้าไปแล้วเช่นกัน เพราะไม่มีอุเบกขาที่ถึงขั้นอัปปนา และ
เพราะไม่ก้าวล่วงไปโดยชอบ ปีติก็จะพึงเกิดขึ้นได้. ในจตุตถฌานไม่ต้อง
พูดถึงกันละ. เพราะฉะนั้นจึงถือเอาโดยไม่เหลือในบทนั้น ๆ ว่า เอตฺ-
ถุปฺปนฺนํ ทุกฺขินฺทฺริยํ อปริเสสํ นิรุชฺฌติ -
ทุกขินทรีย์เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้ ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้.
ในบทนี้พระเถระกล่าวว่า เมื่อเป็นเช่นนั้นเวทนาแม้ละได้แล้ว
ในอุปจารแห่งฌานนั้น ๆ อย่างนี้ เหตุใดจึงนำมารวมไว้ในที่นี้อีก ? เพื่อ
ถือเอาสุขเวทนา. จริงอย่างนั้นอทุกขมสุขเวทนาที่ท่านกล่าวไว้ในบทนี้
ว่า อทุกฺขมสุขํ เป็นเวทนาที่ละเอียดอ่อนรู้ได้ยาก. คือ ไม่สามารถ
ถือเอาได้ง่ายนัก, เพราะฉะนั้น จึงนำเวทนาทั้งหมดมารวมกันเพื่อถือ
เอาความสุขเหมือนคนเลี้ยงโคนำโคทั้งหมดมารวมกันในคอกเดียว เพื่อ
จะจับโคดุ ซึ่งไม่มีใครสามารถจะเข้าไปจับใกล้ ๆ ได้ เพราะมันเป็นโคดุ,
ครั้นแล้วจึงนำออกทีละตัว สั่งให้จับตัวที่มาถึงตามลำดับว่านี้โคตัวนั้นจับ
มันดังนี้. ครั้นแสดงเวทนาเหล่านี้ที่นำมารวมไว้อย่างนี้แล้วว่า สิ่งใด

ไม่ใช่สุข, ไม่ใช่ทุกข์, ไม่ใช่โสมนัส, ไม่ใช่โทมนัส สิ่งนี้เป็นอทุกขม-
สุขเวทนาดังนี้แล้วจึงสามารถกำหนดถือเอาเวทนานี้ได้.
อีกอย่างหนึ่งพึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงเวทนาเหล่านี้ก็เพื่อแสดง
เหตุของเจโตวิมุตติด้วยอทุกขมสุขเวทนา. เพราะว่าการละสุขเวทนาและ
ทุกขเวทนาเป็นต้น เป็นปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้น. ดังที่ท่าน
กล่าวไว้ว่า ดูก่อนอาวุโส ปัจจัย 4 แล เพื่อความถึงพร้อมเจโต-
วิมุตติ อันเป็นอทุกขมสุขเวทนา, ดูก่อนอาวุโส ภิกษุในธรรม-
วินัยนี้ เพราะละสุขและทุกข์ ฯลฯ เข้าถึงจตุตถฌานอยู่, ดูก่อน
อาวุโส ปัจจัย 4 เหล่านี้แล เพื่อความถึงพร้อมแห่งเจโตวิมุตติ
อันเป็นอทุกขมสุขเวทนา.1
อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวถึงสักกายทิฏฐิเป็นต้น แม้ละได้แล้ว
ในที่อื่นก็เป็นอันละได้ในที่นั้น เพื่อพรรณนาคุณของอนาคามิมรรค
ฉันใด, พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงเวทนาเหล่านั้นไว้ในที่นี้ ก็เพื่อ
พรรณนาคุณของฌานนี้ฉันนั้น. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่าในที่นี้ท่าน
กล่าวถึงเวทนาเหล่านั้น เพื่อแสดงถึงความที่ราคะโทสะยังไกลนักด้วย
การทำลายเหตุ. จริงอยู่ในเวทนาเหล่านั้น สุขเวทนาเป็นปัจจัยแห่ง
โสมนัส, โสมนัสเป็นปัจจัยแห่งราคะ, ทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแห่งโทม-
1. ม.ม. 12/503.

นัส, โทมนัสเป็นปัจจัยแห่งโทสะ. อนึ่ง ราคะโทสะพร้อมด้วยเหตุถูก
ทำลายเสียแล้วด้วยการทำลายสุขเวทนาเป็นต้น เพราะเหตุนั้น เวทนา
เหล่านั้นจึงอยู่ในที่ไกลนัก.

บทว่า อทุกขมสุขํ ชื่อว่า อทุกฺขํ เพราะไม่มีทุกข์. ชื่อว่า
อสุขํ เพราะไม่มีสุข. ด้วยบทนี้ท่านแสดงเวทนาที่ 3 อันเป็นปฏิปักษ์
ต่อทุกข์และสุขไว้ในที่นี้. ไม่แสดงเพียงความไม่มีทุกข์และสุข. อทุกขม-
สุขเวทนา ชื่อว่าเวทนาที่ 3, ท่านกล่าวว่าอุเบกขาบ้าง. อุเบกขาเวทนา
นั้นมีลักษณะเสวยอารมณ์ตรงกันข้ามกับอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์.

บทว่า อุเปกฺขาสติปาริสุทธึ คือ ความบริสุทธิ์ของสติเกิดด้วย
อุเบกขา. เพราะสติบริสุทธิ์ด้วยมีในฌานนี้, ความบริสุทธิ์แห่งสตินั้น
บำเพ็ญด้วยอุเบกขา, มิใช่ด้วยอย่างอื่น. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าว
บทนี้ว่า อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ. พึงทราบว่า ความบริสุทธิ์แห่งสติ
ด้วยอุเบกขาในที่นี้โดยอรรถ ได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตา. อนึ่ง ในที่นี้
มิใช่สติบริสุทธิ์ด้วยอุเบกขาอย่างเดียวเท่านั้น, สัมปยุตธรรมแม้ทั้งหมด
ก็บริสุทธิ์ด้วย แต่ท่านกล่าวเทศนาด้วยหัวข้อของสติ.

ในเวทนาเหล่านั้น อุเบกขาเวทนานี้มีอยู่ในฌาน 3 เบื้องต่ำก็
จริง ก็ดวงจันทร์คือตัตรมัชฌัตตุเบกขาแม้นี้ ครอบงำด้วยเดชแห่งธรรม
อันเป็นข้าศึกมีวิตกเป็นต้น ไม่ได้ราตรี คือ อุเบกขาเวทนาอันเป็นสภาค

กันแม้มีอยู่ ก็เป็นอันไม่บริสุทธิ์ในประเภทมีปฐมฌานเป็นต้น เหมือน
ดวงจันทร์ครอบงำแสงอาทิตย์ในกลางวัน ไม่ได้ราตรีอันเป็นสภาคกัน
โดยความเป็นดวงจันทร์หรือโดยความเป็นอุปการะของตน แม้มีอยู่ใน
กลางวันมีไม่บริสุทธิ์ไม่ผ่องใสฉะนั้น.
อนึ่ง เมื่อดวงจันทร์ คือ ตัตรมัชฌัตตุเบกขานั้นไม่บริสุทธิ์
สติเป็นต้น แม้เป็นสหชาตปัจจัยก็เป็นอันไม่บริสุทธิ์ด้วย ดุจรัศมีของ
ดวงจันทร์ที่ไม่บริสุทธิ์ในกลางวันฉะนั้น. เพราะฉะนั้น ในเวทนา
เหล่านั้นท่านไม่กล่าวถึงเวทนาแม้อย่างหนึ่งว่า อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธิ.
แต่ในที่นี้ดวงจันทร์ คือ ตัตรมัชฌัตตุเบกขานี้ไม่มีการครอบงำด้วย
ธรรมเดชอันเป็นข้าศึกแก่วิตกเป็นต้น และได้ราตรี คือ อุเบกขาเวทนา
อันเป็นสภาคกัน จึงเป็นอันบริสุทธิ์อย่างยิ่ง, เพราะดวงจันทร์ คือ
ตัตรมัชฌัตตุเบกขานั้นบริสุทธิ์ สติเป็นต้น แม้เป็นสหชาตธรรมก็เป็น
อันบริสุทธิ์ผ่องใส ดุจรัศมีของดวงจันทร์บริสุทธิ์ฉะนั้น. เพราะฉะนั้น
พึงทราบว่า ท่านกล่าวบทนี้ไว้อย่างนี้ว่า อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ ดังนี้.
บทว่า จตุตฺถํ ชื่อว่า จตุตถะ เพราะตามลำดับของการนับ, ชื่อว่า
จตุตถะ เพราะเกิดเป็นครั้งที่ 4 บ้าง.
ฌาน 4 เหล่านี้ต่างกันในส่วนเบื้องต้นบ้าง, ในขณะแห่งมรรค
บ้าง. ในส่วนเบื้องต้นต่างกันด้วยสมาบัติ, ในขณะแห่งมรรคต่างกัน
ด้วยมรรค. จริงอยู่ ปฐมมรรคแห่งฌานหนึ่งมีอยู่ในปฐมฌาน, แม้

ทุติยมรรคเป็นต้น ก็มีอยู่ในปฐมฌาน หรือยู่ในฌานอย่างใดอย่าง
หนึ่ง ในทุติยฌานเป็นต้น. ปฐมมรรคแห่งฌานหนึ่งมีอยู่ในฌานอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง ในทุติยฌานเป็นต้น, แม้ทุติยมรรคเป็นต้น ก็มีอยู่ใน
ฌานอย่างใดอย่างหนึ่ง ในทุติยฌานเป็นต้น หรือมีอยู่ในปฐมฌาน
มรรคแม้ 4 อย่างเหมือนกันบ้าง ไม่เหมือนกันบ้าง เหมือน
กันบางส่วนบ้าง ด้วยอำนาจของฌาน ด้วยประการฉะนี้. ความวิเศษ
แห่งมรรคนั้นย่อมมีโดยกำหนดฌานเป็นบาท.
จริงอยู่ เมื่อผู้ได้ปฐมฌานออกจากปฐมฌานแล้วเห็นแจ้งมรรค
ที่เกิดแล้ว ย่อมมีในปฐมฌาน, อนึ่ง โพชฌงค์อันเป็นองค์แห่งมรรค
เป็นอันบริบูรณ์แล้วในปฐมฌานนี้. เมื่อผู้ได้ทุติยฌานออกจากทุติย-
ฌานแล้วเห็นแจ้งมรรคที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมมีในทุติยฌาน, องค์แห่ง
มรรคในทุติยฌานนี้มี 7 อย่าง. ผู้ได้ตติยฌานออกจากตติยฌานแล้ว
เห็นแจ้งมรรคที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมมีในตติยฌาน. องค์แห่งมรรคใน
ตติยฌานนี้มี 7 อย่าง โพชฌงค์มี 6 อย่าง. นัยนี้ย่อมได้ตั้งแต่
จตุตถฌานจนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน. จตุกฌานและปัญจกฌาน
ย่อมเกิดในความไม่มีรูป. อนึ่ง จตุกฌานและปัญจกฌานนั้นแล เป็น
โลกุตระ ท่านกล่าวว่าไม่เป็น โลกิยะ. ในฌานนี้ท่านกล่าวไว้อย่างไร ?
ภิกษุใดออกจากฌานมีปฐมฌานเป็นต้นในฌานนี้แล้ว ได้โสดาปัตติ
มรรคแล้วเจริญอรูปสมาบัติเกิดแล้วในความไม่มีรูป, มรรค 3 ในฌาน

นั้น ย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้นผู้ได้ฌานนั้น. เธอย่อมกำหนดฌานเป็นบาท
เท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

ส่วนพระเถระบางรูปกล่าวว่า ขันธ์อันเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา
ย่อมกำหนด. บางรูปกล่าวว่า อัธยาศัยของบุคคล ย่อมกำหนด บาง
รูปกล่าวว่า วิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินี ย่อมกำหนด.

ในบทนั้นมีกถาตามลำดับอย่างนี้ มรรคที่เกิดขึ้นแก่พระสุกข-
วิปัสสกโดยกำหนดวิปัสสนาบ้าง, มรรคที่ไม่ทำฌานให้เป็นบาทเกิดขึ้น
แก่ผู้ได้สมาบัติบ้าง, มรรคที่ภิกษุทำปฐมฌานให้เป็นบาทแล้วพิจารณา
สังขารเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้เกิดขึ้นบ้าง, ย่อมมีอยู่ในปฐมฌานทั้งนั้น ใน
มรรคทั้งหมด ได้แก่ โพชฌงค์ 7 องค์มรรค 8 องค์ฌาน 5.
วิปัสสนาอันเป็นส่วนเนื่องต้นของมรรคเหล่านั้น สหรคตด้วยโสมนัส
บ้าง สหรคตด้วยอุเบกขาบ้าง ถึงความเป็นสังขารุเบกขาในเวลาออก
เป็นอันสหรคตด้วยโสมนัสทั้งนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในปัญจกนัยดังต่อไปนี้ ฌานมีองค์ 4 มีองค์ 3
และมีองค์ 2 ย่อมมีตามลำดับในมรรคที่ภิกษุทำทุติยฌานตติยฌานและ
จตุตถฌานให้เป็นบาทแล้วให้เกิดขึ้น. ในฌานทั้งหมดองค์มรรคมี 7
ในฌานที่ 4 โพชฌงค์มี 6. ความวิเศษนี้ย่อมมิได้ด้วยการกำหนด
ฌานเป็นบาท และด้วยการกำหนดวิปัสสนา.

จริงอยู่ วิปัสสนาเป็นส่วนเบื้องต้นของฌานเหล่านั้น เป็นอัน
สหรคตด้วยโสมนัสบ้าง สหรคตด้วยอุเบกขาบ้าง, วุฏฐานคามินี สหร-
คตด้วยโสมนัสเท่านั้น. องค์ฌาน 2 ด้วยสามารถแห่งอุเบกขาและความ
มีจิตมีอารมณ์เดียว ในมรรคที่ทำปฐมฌานให้เป็นบาทแล้วเกิดขึ้น, องค์
แห่งโพชฌงค์ 6 และ 7. ความวิเศษแม้นี้ย่อมมีด้วยสามารถความนิยม
ทั้งสอง.
จริงอยู่ ในนัยนี้วิปัสสนาในส่วนเบื้องต้น สหรคตด้วยโสมนัส
หรือสหรคตด้วยอุเบกขา. วุฏฐานคามินี สหรคตด้วยอุเบกขาเท่านั้น.
นี้ในมรรคที่ภิกษุทำอรูปฌานให้เป็นบาทแล้วให้เกิดขึ้น ก็พึงทราบนัย
นี้เหมือนกัน. ส่วนในจตุกนัยนี้พึงนำวิตกวิจารออกไป แล้วประกอบ
ส่วนที่เหลือ เพราะทุติยฌานไม่มีวิตกวิจาร. สมาบัติที่ภิกษุอยู่ในที่ที่
ใกล้มรรค ซึ่งภิกษุออกจากฌานเป็นบาทอย่างนี้แล้วพิจารณาสังขาร
อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วทำให้เกิดขึ้น ย่อมทำสมาบัติเช่นกับตน เช่นเดียว
กับเหี้ยทำสีให้เหมือนสีพื้นดินฉะนั้น.
ในวาทะของพระเถระรูปที่ 2 มีอยู่ว่ามรรคย่อมเป็นเช่นกับสมา-
บัติที่ภิกษุออกแล้วพิจารณาถึงธรรมในสมาบัติเกิดขึ้น. แม้ในวาทะของ
พระเถระนั้นพึงทราบวิปัสสนานิยม โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
ในวาทะของพระเถระรูปที่ 3 มีว่ามรรคเป็นเช่นกับฌานที่ทำ
ให้เป็นบาท ตามสมควรแก่อัธยาศัยของตนแล้ว พิจารณาธรรมในฌาน

เกิดขึ้น. ฌานนั้นเว้นฌานเป็นบาท หรือฌานที่พิจารณาแล้ว ย่อม
ไม่สำเร็จโดยเพียงอัธยาศัยเท่านั้น. อนึ่ง แม้ในวาทะของพระเถระ
ก็พึงทราบวิปัสสนานิยม โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
บทว่า อยํ วุจฺจติ สมฺมาสมาธิ - นี้ท่านกล่าวว่าสัมมาสมาธิ
ความว่า ความที่จิตมีอารมณ์เดียวในฌาน 4 เหล่านี้ ในส่วนเบื้องต้น
เป็นโลกิยะ, ในส่วนเบื้องปลายเป็นโลกุตระ ท่านกล่าวว่า ชื่อว่า
สัมมาสมาธิ. พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรแสดงมรรคสัจด้วยโลกิยะ
และโลกุตระด้วยประการฉะนี้.
องค์มรรคทั้งหมดในโลกิยมรรคนั้น เป็นอารมณ์อย่างใดอย่าง
หนึ่ง ในอารมณ์ 6 ตามสมควร. ส่วนในโลกุตรมรรค สัมมาทิฏฐิ
อันเป็นปัญญาจักษุถอนอวิชชานุสัย มีนิพพานเป็นอารมณ์ของความ
เป็นอริยะ เป็นไปแล้วด้วยการแทงตลอดอริยะสัจ 4,
อนึ่ง สัมมาสังกัปปะ คือการยกขึ้นสู่บทแห่งนิพพานทางใจ
ถอนมิจฉาสังกัปปะ 3 อย่าง สัมปยุตด้วยสัมมาทิฏฐินั้น ของผู้มี่ทิฏฐิถึง
พร้อมแล้ว,
สัมมาวาจา เว้นมิจฉาวาจา ถอนวจีทุจริต 4 อย่าง สัมปยุต
ด้วยสัมมาสังกัปปะนั้นของผู้เห็นและตรึกอย่างนั้น
สัมมากัมมันตะ เว้นมิจฉากัมมันตะตัดมิจฉากัมมันตะ 3 อย่าง
สัมปยุตด้วยสัมมาวาจานั้นของผู้เว้นอย่างนั้น,

สัมมาอาชีวะคือเว้นจากมิจฉาอาชีวะตัดความหลอกลวงเป็นต้น
สัมปยุตด้วยสัมมากัมมันตะนั้น เป็นความผ่องแผ้วของวาจากัมมันตะ
เหล่านั้นของบุคคลนั้น.
สัมมาวายามะ ปรารภความเพียร ตัดความเกียจคร้าน สัมปยุต
ด้วยสัมมากัมมันตะนั้น สมควรแก่สัมมากัมมันตะนั้น ของบุคคลผู้ตั้งอยู่
ในศีลภูมิ กล่าวคือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ
และให้สำเร็จโดยไม่ให้อกุศลเกิดขึ้น ละอกุศลที่เกิดขึ้น ทำกุศลที่ยัง
ไม่เกิดให้เกิดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ในกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว,
สัมมาสติ ความที่จิตไม่ลุ่มหลง กำจัดมิจฉาสติสัมปยุตด้วย
สัมมาวายามะนั้นของผู้พยายามอยู่อย่างนี้ และให้สำเร็จการพิจารณากาย
ในกายเป็นต้น,
สัมมาสมาธิ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวกำจัดมิจฉาสมาธิสัมปยุต
ด้วยสัมมาสตินั้นของผู้ที่คุ้มครองจิต ตั้งจิตไว้ดีด้วยสติอย่างยอดเยี่ยม.
นี้ คือ อัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐ เป็นโลกุตระ.
มรรคที่เป็น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นั้น พร้อมด้วยโลกิย-
มรรค ได้แก่ วิชชา และ จรณะ เพราะสงเคราะห์สัมมาทิฏฐิและ
สัมมาสังกัปปะด้วย วิชชา สงเคราะห์ธรรมที่เหลือด้วย จรณะ. อนึ่ง.
ได้แก่ สมถะและวิปัสสนา เพราะสงเคราะห์ธรรมทั้งสองอย่างนั้นด้วย


วิปัสสนายาน สงเคราะห์ธรรมนอกนั้นด้วยสมถยาน. ได้แก่ขันธ์ 3
และสิกขา 3 เพราะสงเคราะห์ธรรมทั้งสองนั้นด้วยปัญญาขันธ์ สง-
เคราะห์ธรรม 3 อย่างในลำดับธรรมนั้นด้วยสีลขันธ์ สงเคราะห์ธรรม
3 อย่างที่เหลือด้วยสมาธิขันธ์ และสงเคราะห์ด้วยอธิปัญญาสิกขา อธิ-
สีลสิกขา และอธิจิตตสิกขา.
พระอริยสาวกประกอบด้วยมรรค เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและ
จรณะ ดุจคนเดินทางไกลประกอบด้วยตาสามารถเห็นได้ และด้วย
เท้าสามารถเดินไปได้ เว้นที่สุด 2 อย่าง คือ เว้น กามสุขัลลิกานุโยค
ด้วยวิปัสสนายาน เว้น อัตกิลมถานุโยค ด้วยสมถยาน ปฏิบัติ
มัชฌิมาปฏิปทา ทำลายกองโมหะด้วยปัญญาขันข์... กองโทสะด้วย
สีลขันธ์...กองโลภะด้วยสมาธิขันธ์ ถึงสมบัติ 3 คือ ปัญญาสัมปทาด้วย
อธิปัญญาสิกขา, สีลสัมปทาด้วยอธิสีลสิกขา, สมาธิสัมปทาด้วยอธิ-
จิตตสิกขา แล้วบรรลุนิพพานอันเป็นอมตะ. ภิกษุหยั่งลงสู่อริยภูมิ
กล่าวคือ สัมมัตตนิยาม อันวิจิตรด้วยธรรมรัตนะ คือ โพธิ-
ปักขิยธรรม 37 งามในเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด ด้วยประการฉะนี้.
จบ อรรถกถามรรคสัจนิทเทส

อรรถกถาสัจปกิณกะ


ก็ในสัจจะ 4 เหล่านั้น ทุกขสัจจะ มีลักษณะเบียดเบียน.
สมุทยสัจจะ มีลักษณะเป็นแดนเกิด, นิโรธสัจจะ มีลักษณะสงบ,
มรรคสัจจะ มีลักษณะนำออก, อีกอย่างหนึ่ง อริยสัจมีปวัตติ- การ
เป็นไป มีปวัตตกะ-ผู้ให้เป็นไป มีนิวัตติ-การไม่เป็นไป และมี
นิวัตตกะ-เหตุไม่เป็นไป เป็นลักษณะโดยลำดับ และมีสังขตะคือทุกข์
มีตัณหา คือเหตุให้เกิดทุกข์ มีอสังขตะ คือนิพพาน และมีทัศนะ คือ
มรรคเป็นลักษณะเหมือนกัน
หากมีคำถามว่า ก็เพราะเหตุไรท่านจึงกล่าวอริยสัจ 4 ไม่หย่อน
ไม่ยิ่ง. เพราะไม่มีอย่างอื่น และเพราะไม่ควรทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
ออกไป. เพราะว่าสิ่งอื่น หรือยิ่งไปกว่านี้ หรืออริยสัจเหล่านั้นจะพึง
นำออกแม้อย่างเดียว ไม่มี.
สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์
พึงมาในที่นี้ กล่าวว่า ข้อที่พระสมณโคดมแสดง
ไม่ใช่ทุกขอริยสัจ ทุกขอริยสัจเป็นอย่างอื่นนั้น,
เราจักบัญญัติทุกขอริยสัจอย่างอื่น เว้นทุกขอริย-
สัจ 4 ดังนี้ ข้อนั้นมิใช่ฐานะที่จะมีได้ดังนี้เป็นต้น.