เมนู

นั้นในจักษุเป็นต้นนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า จกฺขุํ โลเก ปิยรูปํ สาตรูปํ
เอตฺเถสา ตณฺหา
ปหียมานา ปหียติ - จักษุเป็นที่รักเป็นที่ยินดีในโลก
ตัณหานี้ เมื่อละย่อมละได้ในจักษุนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวว่า เพราะกำหนดรู้วัตถุที่ตัณหาเกิด
ตัณหาจึงดับไปในวัตถุที่ตัณหาเกิดด้วยดับไปโดยไม่ให้เกิด เพราะไม่เกิด
อีกต่อไปในวัตถุที่กำหนดรู้. อนึ่ง ในบทนี้ ท่านกล่าวว่า ตัณหาย่อม
ละได้ด้วยเป็นปฏิปักษ์ต่อความเกิด ย่อมดับไปด้วยเป็นปฏิปักษ์ต่อความ
ตั้งอยู่ ดังนั้น.
จบ อรรถกถานิโรธสัจนิทเทส

มัคคสัจนิทเทส


[85]ในจตุรอริยสัจนั้น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
เป็นไฉน อริยมรรคมีองค์ 8 นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ... สัมมาสมาธิ.
ในอริยมรรคมีองค์ 8 นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์
ความรู้ในทุกขมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคา-
มินีปฏิปทา นี้ท่านกล่าวว่า สัมมาทิฏฐิ.
ในอริยมรรคมีองค์ 8 นั้น สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน ความดำริ
ในความออกจากกาม ความดำริในความไม่พยาบาท ความดำริในความ
ไม่เบียดเบียน นี้ท่านกล่าวว่า สัมมาสังกัปปะ.

ในอริยมรรคมีองค์ 8 นั้น สัมมาวาจาเป็นไฉน เจตนาเป็น
เครื่องงดเว้นจากการพูดเท็จ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดส่อ-
เสียด เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดคำหยาบ เจตนาเป็นเครื่อง
งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ นี้ท่านกล่าวว่า สัมมาวาจา.
ในอริยมรรคมีองค์ 8 นั้น สัมมากัมมันตะเป็นไฉนเจตนา
เป็นเครื่องงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการลัก-
ทรัพย์ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม นี้ท่าน
กล่าวว่า สัมมากัมมันตะ.
ในอริยมรรคมีองค์ 8 นั้น สัมมาอาชีวะเป็นไฉน อริยสาวก
ในธรรมวินัยนี้ ย่อมละอาชีพที่ผิด สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยอาชีพที่ชอบ
นี้ท่านกล่าวว่า สัมมาอาชีวะ.
ในอริยมรรคมีองค์ 8 นั้น สัมมาวายามะเป็นไฉน ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร
ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
ฯลฯ เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ. เพื่อยังกุศล
ธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ย่อมยังฉันทะให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม
ปรารภความเพียร ประคองจิตตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่
ฟั่นเฟือน เพื่อความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ

เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว นี้ท่านกล่าวว่า สัมมา-
วายามะ.
ในอริยมรรคมีองค์ 8 นั้น สัมมาสติเป็นไฉน ภิกษุในธรรม-
วินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย พิจารณาเห็นเวทนาทั้งหลายอยู่ มี
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ . . . พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มี
ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
นี้ท่านกล่าวว่า สัมมาสติ.
ในอริยมรรคมีองค์ 8 นั้น สัมมาสมาธิเป็นไฉน ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลกรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก
วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เข้าทุติยฌานอันเป็นความผ่องใส
แห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะ
วิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ภิกษุเป็นผู้มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌานที่
พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่
เป็นสุข เข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และ
ดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้
ท่านกล่าวว่า สัมมาสมาธิ นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา-
อริยสัจ ชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา ด้วยอรรถ

ว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้
สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า นี้ทุกข์ นี้
ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ชื่อว่าสุตมยญาณ
ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว ชื่อว่าสุตมยญาณอย่างนี้.

อรรถกถามรรคสัจนิทเทส


85]พึงวินิจฉัยใน มรรคสัจนิทเทส ดังต่อไปนี้ บทว่า
อยเมว คือ กำหนดธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อมรรคอื่น. บทว่า อริโย
ชื่อว่า อริยะ เพราะใกล้จากกิเลสอันมาด้วยมรรคนั้น ๆ. เพราะทำ
ความเป็นพระอริยะ และเพราะทำการได้อริยผล. ชื่อว่า อัฏฐังคิกะ
เพราะอรรถว่ามรรคนั้นมีองค์ 8. มรรคนั้นดุจะเสนามีองค์ 4, องค์
มรรคดุจดนตรีมีองค์ 5. พ้นจากองค์แล้วมีไม่ได้.
บัดนี้ พระสารีบุตรเมื่อแสดงว่ามรรคเป็นเพียงองค์เท่านั้น พ้น
จากองค์แล้วมีไม่ได้ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สมฺมาทิฏฺฐิ ฯเปฯ สมฺมา-
สมาธิ.

ในบทเหล่านั้น สัมมาทิฏฐิ มีการเห็นชอบเป็นลักษณะ.
สัมมาสังกัปปะ มีการยกขึ้นเป็นลักษณะ. สัมมาวาจา มีการกำหนด
เป็นลักษณะ. สัมมากัมมันตะ มีการให้ตั้งขึ้นเป็นลักษณะ. สัมมา-