เมนู

นั้นในจักษุเป็นต้นนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า จกฺขุํ โลเก ปิยรูปํ สาตรูปํ
เอตฺเถสา ตณฺหา
ปหียมานา ปหียติ - จักษุเป็นที่รักเป็นที่ยินดีในโลก
ตัณหานี้ เมื่อละย่อมละได้ในจักษุนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวว่า เพราะกำหนดรู้วัตถุที่ตัณหาเกิด
ตัณหาจึงดับไปในวัตถุที่ตัณหาเกิดด้วยดับไปโดยไม่ให้เกิด เพราะไม่เกิด
อีกต่อไปในวัตถุที่กำหนดรู้. อนึ่ง ในบทนี้ ท่านกล่าวว่า ตัณหาย่อม
ละได้ด้วยเป็นปฏิปักษ์ต่อความเกิด ย่อมดับไปด้วยเป็นปฏิปักษ์ต่อความ
ตั้งอยู่ ดังนั้น.
จบ อรรถกถานิโรธสัจนิทเทส

มัคคสัจนิทเทส


[85]ในจตุรอริยสัจนั้น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
เป็นไฉน อริยมรรคมีองค์ 8 นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ... สัมมาสมาธิ.
ในอริยมรรคมีองค์ 8 นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์
ความรู้ในทุกขมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคา-
มินีปฏิปทา นี้ท่านกล่าวว่า สัมมาทิฏฐิ.
ในอริยมรรคมีองค์ 8 นั้น สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน ความดำริ
ในความออกจากกาม ความดำริในความไม่พยาบาท ความดำริในความ
ไม่เบียดเบียน นี้ท่านกล่าวว่า สัมมาสังกัปปะ.