เมนู

เมื่อสัตว์เหล่านั้นสำคัญอยู่อย่างนี้ จักษุเป็นต้นเหล่านั้น ย่อม
เป็นปิยรูปและสาตรูป. เมื่อเป็นเช่นนั้น ตัณหาที่ยังไม่เกิดในปิยรูป
และลาตรูปนั้น ย่อมเกิดแก่สัตว์เหล่านั้น, และที่เกิดแล้วย่อมตั้งอยู่
ด้วยการเป็นไปบ่อย ๆ. เพราะฉะนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า จักษุเป็น
ปิยรูปสาตรูปในโลก, ตัณหานี้เมื่อเกิดย่อมเกิดในสิ่งนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อุปฺปชฺชมานา ความว่า เมื่อใดปิยรูป
สาตรูปเกิด, เมื่อนั้นตัณหาย่อมเกิดในสิ่งนี้.
จบ อรรถกถาสมุทยสัจนิทเทส

นิโรธสัจนิทเทส


[84]ในจตุราริยสัจนั้น ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน การ
ดับตัณหานั้นด้วยความคลายกำหนัดโดยไม่เหลือ ความสละ ความสละ
คืน ความหลุดพ้น ความไม่อาลัย ก็ตัณหานี้นั้นแล เมื่อละย่อมละ
ได้ที่ไหน เมื่อดับย่อมดับได้ที่ไหน สิ่งใดเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหา
นี้เมื่อละก็ละได้ในสิ่งนั้น เมื่อดับก็ดับได้ในสิ่งนั้น จักษุเป็นที่รักที่ยินดี
ในโลก ตัณหานี้เมื่อละย่อมละได้ที่จักษุนั้น เมื่อดับย่อมดับได้ที่จักษุนั้น
โสตะ ฯลฯ ธรรมวิจารเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานี้เมื่อละย่อมละได้
ที่ธรรมวิจารนั้น เมื่อดับก็ดับได้ที่ธรรมวิจารนั้น นี้ท่านกล่าวว่า ทุกข-
นิโรธอริยสัจ.