เมนู

เหล่านั้นเป็นไฉน ? ตอบว่า อุปาทานขันธ์ คือ รูปนั่นเอง เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่า รูปูปาทานกฺขนฺโธ. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้
เหมือนกัน.
จบ อรรถกถาทุกขสัจนิทเทส

สมุทยสัจนิทเทส


[83]ในจตุราริยสัจนั้น ทุกขสมุทยอริยสัจเป็นไฉน ตัณหา
นี้ใดอันให้เกิดในภพใหม่ สหรคตด้วยนันทิราคะ อันเพลิดเพลินใน
อารมณ์นั้น ๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ก็ตัณหานี้นั้นแล
เมื่อเกิดย่อมเกิดที่ไหน เมื่อตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ที่ไหน สิ่งใดเป็นที่รักที่
ยินดีในโลก ตัณหานั้นเมื่อเกิดย่อมเกิดในสิ่งนั้น เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ใน
สิ่งนั้น ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นที่รักที่ยินดีในโลก จักษุเป็นที่รักที่ยินดีใน
โลก ตัณหานั้นเมื่อเกิดย่อมเกิดที่จักษุนั้น เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่จักษุนั้น
โสตะ...ฆานะ...ชิวหา...กายะ... มานะ เป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานั้น
เมื่อเกิดย่อมเกิดที่ใจนั้น เมื่อตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ที่ใจนั้น รูปทั้งหลายเป็น
ที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานั้นเมื่อเกิดย่อมเกิดที่รูปนั้น เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้ง
อยู่ที่รูปนั้น เสียง ฯลฯ ธรรมารมณ์...จักษุวิญญาณ ฯลฯ จักษุ
สัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่จักษุสัมผัส ฯลฯ เวทนา
ที่เกิดแต่มโนสัมผัส รูปสัญญา ฯลฯ ธรรมสัญญา รูปสัญเจตนา

ฯลฯ ธรรมสัญเจตนา รูปตัณหา ฯลฯ ธรรมตัณหา รูปวิตก ฯลฯ
ธรรมวิตก รูปวิจาร ฯลฯ ธรรมวิจาร เป็นที่รักเป็นที่ยินดีในโลก
ตัณหานั้นเมื่อเกิดย่อมเกิดที่ธรรมวิจารนั้น เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธรรม
วิจารนั้น นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ.

อรรถกถาสมุทยสัจนิทเทส


83]พึงทราบวินิจฉัยในสมุทยสัจนิทเทสดังต่อไปนี้ บทว่า
ยายํ ตณฺหา - ตัณหานี้ใด. บทว่า โปโนพฺภวิกา - ตัณหาอันให้เกิด
ในภพใหม่ การทำภพใหม่ ชื่อว่า ปุนพฺภโว, ชื่อว่า โปโนพฺภวิกา
เพราะอรรถว่า สัตว์มีภพใหม่, อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า โปโนพฺภวิกา
เพราะอรรถว่า ตัณหาให้ภพใหม่, ตัณหาย่อมเป็นไปในภพใหม่, ตัณหา
ให้เกิดภพบ่อย ๆ. ตัณหานั้นให้ภพใหม่ก็มี ไม่ให้ภพใหม่ก็มี. ให้
เป็นไปในภพใหม่ก็มี ไม่ให้เป็นไปในภพใหม่ก็มี, เมื่อให้ปฏิสนธิแล้ว
ตัณหาทำให้ขันธ์แก่กล้าก็มี. ตัณหานั้นแม้ทำความแก้กล้าก็ย่อมได้ชื่อว่า
โปโนพฺภวิกา. ปาฐะว่า โปนพฺภวิกา บ้าง, มีความเหมือนกัน.
ชื่อว่า นนฺทิราคสหคตา - สหรคตด้วยนันทิราคะ เพราะอรรถ
ว่า ตัณหาสหรคตด้วยนันทิราคะ กล่าวคือ ความพอใจยิ่ง, ท่านอธิบาย