เมนู

เลย ข้อนี้อันสัตว์ทั้งหลายไม่พึงได้ตามความปรารถนา แม้ความปรารถนา
สิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นี้ก็เป็นทุกข์ สัตว์ทั้งหลายมีชราเป็นธรรมดา ฯลฯ
สัตว์ทั้งหลายมีพยาธิเป็นธรรมดา ฯลฯ สัตว์ทั้งหลายมีมรณะเป็น
ธรรมดา ฯลฯ สัตว์ทั้งหลายมีโสกะปริเทวะ ทุกข์โทมนัสสะและอุปายาสะ
เป็นธรรมดา มีความปรารถนาเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ขอเราทั้งหลายอย่าพึง
มีความโศก ความร่ำไร ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความคับแค้น
ใจเป็นธรรมดาเลยและขอความโศก ความร่ำไร ความทุกข์กาย ความ
ทุกข์ใจและความคับแค้นใจ ไม่พึงมาถึงแก่เราทั้งหลายเลย ข้อนี้อัน
สัตว์ทั้งหลายไม่พึงได้ตามความปรารถนา ความไม่ได้สมปรารถนาแม้
นี้ก็เป็นทุกข์.
โดยย่ออุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์ ในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน
อุปาทานขันธ์ คือ รูป อุปาทานขันธ์ คือ เวทนา อุปาทานขันธ์ คือ
สัญญา อุปาทานขันธ์ คือ สังขาร อุปาทานขันธ์ คือ วิญญาณ
อุปาทานขันธ์เหล่านี้ ท่านกล่าวว่า โดยย่ออุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์
นิท่านกล่าวว่า ทุกขอริยสัจ.

อรรถกถาทุกขสัจนิทเทส


80]พระสารีบุตรได้ชี้แจงแม้จตุกอริยสัจ โดยเป็นอันเดียวกัน
เพราะสัจจะทั้งหลายเกี่ยวเนื่องเป็นอันเดียวกันด้วยอรรถว่า เป็นของ
จริงแท้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ ตตฺถ ได้แก่ ในอริยสัจ 4
เหล่านั้น. บทว่า กตมํ ได้แก่ กเถตุกัมยตาปุจฉา - ถามเพื่อประสงค์
จะตอบเอง.
บทว่า ทุกฺขํ อริยสจฺจํ - ทุกขอริยสัจ ได้แก่ เป็นการแสดง
ธรรมที่ถามแล้ว.
ในบทมีอาทิว่า ชาติปิ ทุกฺขา นั้นท่านประกาศอรรถแห่ง ชาติ
ศัพท์ไว้ไม่น้อย. ดังที่กล่าวไว้ว่า
ภพ ตระกูล พวก ศีล บัญญัติ ลักษณะ
ปสูติ ปฏิสนธิ ท่านประกาศอรรถแห่ง ชาติ ไว้
ด้วยประการฉะนี้.

จริงดังนั้น ชาติ ศัพท์มีอรรถว่า ภพ ในบทมีอาทิว่า เอกมฺปิ
ชาตึ เทฺวปิ ชาติโย1 - ภพแม้หนึ่ง แม้สองภพ. มีอรรถว่า ตระกูล
ในบทนี้ว่า อกฺขิตฺโต อนุปกฺกุฏฺโฐ ชาติวาเทน2 - ไม่ซัดทอด ไม่
คำว่า ถึงตระกูล. มีอรรถว่า พวก ในบทมีอาทิว่า อตฺถิ วิสาเข
นิคณฺฐา นาม สมณชาต3 ดูก่อนวิสาขา พวกสมณะนิครนถ์ยังมีอยู่.
มีอรรถว่า อริยศีล ในบทมีอาทิว่า ยโตหํ ภคินิ อริยาย ชาติยา
1. วิ. มหาวิภงฺค 1/3 2. ที. สี. 9/202 3. องฺ. ติก. 20/510

ชาโต นาภิชานามิ1 - ดูก่อนน้องหญิงตั้งแต่เราเกิดในอริยชาติแล้วจะได้
รู้สึกว่าแกล้งปลงสัตว์จากชีวิตหามิได้. มีอรรถว่า บัญญัติ ในบทมีอาทิ
ว่า ติริยา นาม ติณชาติ นาภิย อุคฺคนฺตฺวา นภํ อาหจฺจ ฐิตา
อโหสิ
2หญ้าคาผุดขึ้นจากนาภีพุ่งขึ้นไปจดท้องฟ้า. มีอรรถว่า สังขต-
ลักษณะ ในบทนี้ว่า ชาติ ทฺวีหิ ขนฺเขหิ สงฺคหิตา3 - ชาติ
ท่านสงเคราะห์ด้วยขันธ์ 2. มีอรรถว่า ปสูติ ในบทนี้ว่า สมฺปติ-
ชาโต อานนฺท โพธิสตฺโต
4- ดูก่อนอานนท์ โพธิสัตว์เกิดทันทีทันใด.
มีอรรถว่า ปฏิสนธิ โดยปริยายในบทนี้ว่า ภวปจฺจยา ชาติ5 เพราะ
ภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ. และบทว่า ชาติปิ ทุกฺขา6- แม้ชาติก็เป็นทุกข์.
แต่โดยนิปริยาย - โดยตรง ได้แก่ ความปรากฏครั้งแรกของขันธ์
ทั้งหลายที่ปรากฏแก่สัตว์ผู้เกิดในภพนั้น ๆ.
หากถามว่า เพราะเหตุไร ชาตินี้จึงเป็นทุกข์ ตอบว่า เพราะ
ชาติเป็นที่ตั้งของทุกข์ไม่น้อย. ทุกข์ไม่น้อย คือ ทุกขทุกข์ วิปริณาม
ทุกข์ สังขารทุกข์ ปฏิจฉันนทุกข์ อัปปฏิจฉันนทุกข์ ปริยายทุกข์
นิปริยายทุกข์ เพราะทุกข์เหล่านี้ทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจ ท่านกล่าว
ว่า ทุกขทุกข์ เพราะเป็นทุกข์โดยสภาพของเวทนาและโดยชื่อ.
1. ม.ม. 13/531 2. องุ. ปญฺจก. 22/196. 3. อภิ.ธา 36/67.
4. ม.อุ. 14/377. 5. อภิ. วิ. 35/255. 6. ขุ.ป. 31/80.

สุขเวทนา ช่อว่า วิปริณามทุกข์ เพราะเป็นเหตุเกิดทุกข์ด้วย
ความปรวนแปร.
อุเบกขาเวทนา และสังขารเป็นไปในภูมิ 3 ทั้งเหลือ ชื่อว่า
สังขารทุกข์ เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเกิดและความดับ.
อาพาธทางกาย ทางใจ มีปวดหู ปวดฟัน ความร้อนใจเกิด
เพราะราคะ เกิดเพราะโทสะเป็นต้น ชื่อว่า ปฏิจฉันนทุกข์ - ทุกข์
ปกปิด เพราะถามจึงรู้ และเพราะความเจ็บปวดไม่ปรากฏ.
อาพาธที่มีสมุฏฐานจากโทษ 32 เป็นต้น ชื่อว่า อัปปฏิจฉันน-
ทุกข์ -
ทุกข์ไม่ปกปิด เพราะไม่ต้องถามรู้ได้ และเพราะความเจ็บปวด
ปรากฏ.
แม้ทุกข์ทั้งหมดมีชาติเป็นต้น มาในสัจวิภังค์1 เว้น ทุกขทุกข์
ที่เหลือ ชื่อว่า ปริยายทุกข์ - ทุกข์โดยอ้อม เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์
นั้น ๆ. ส่วนทุกขทุกข์ท่านกล่าวว่า เป็น นิปริยายทุกข์-ทุกข์โดย
ตรง.
ในบทนั้นชาติเป็นอาปายิกทุกข์ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรง
ประกาศด้วยอุปมาในพาลบัณฑิตสูตร2เป็นต้น. อนึ่ง ชาติเป็นทุกข์
เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์อันเป็นประเภทมีทุกข์ มีมูลมาจากการหยั่งลงสู่
1. อภิ.วิ. 35/148.

ครรภ์เป็นต้น ซึ่งเกิดในมนุษยโลก แม้ในสุคติ. ในบทนี้ ชาตินี้เป็น
ทุกข์อันเป็นประเภทมีทุกข์ มีมูลจากการหยั่งลงสู่ครรภ์เป็นต้น. จริงอยู่
สัตว์นี้เกิดในครรภ์มารดา มิได้เกิดในดอกอุบล ดอกบัวหลวง และ
ดอกบัวขาวเป็นต้น. โดยที่แท้สัตว์ย่อมเกิดในท้องน้ำเกลียดอย่างยิ่ง
คล้ายเที่ยวไปในป่าใหญ่ที่มีกลิ่นเหม็นมากอบอวลด้วยกลิ่นซากศพนานา
ชนิด ทั้งมืดตื้อทั้งคับแคบอย่างยิ่งในท่ามกลางพื้นท้องกระดูกสันหลัง
ข้างล่าง กระเพาะอาหารข้างบนท้อง ดุจหนอนเกิดในปลาเน่ามนเปรี้ยว
บูด และหลุมขยะเป็นต้น. สัตว์นั้นเกิดในท้องมารดา อบอุ่นอยู่กับ
ท้องมารดาตลอด 10 เดือน เว้นจากการงอ การเหยียดเป็นต้น หมก
อยู่เหมือนอาหารใส่ไว้ในถุง เหมือนก้อนแป้งถูกหนึ่ง ย่อมเสวยความ
ทุกข์อย่างยิ่ง. นี้ชื่อว่าทุกข์มีมูลมาจากการหยั่งลงสู่ครรภ์. สัตว์นั้นในขณะ
ที่มารดาหกล้ม เดิน นั่ง ลุก เปลี่ยนอิริยาบถเป็นต้น อย่างรีบร้อน
ย่อมเสวยทุกข์หนัก เพราะความเจ็บปวดดีการคร่า ฉุด ทิ้ง ขยับไป
ขยับมาเป็นต้น ดุจลูกแกะตกอยู่ในมือของนักเลงสุรา และดุจลูกงูตก
อยู่ในมือของหมองู. สัตว์ย่อมเสวยทุกข์หนักในเวลามารดาดื่มน้ำเย็น
ปรากฏ ดุจเกิดในนรกเย็น ในเวลามารดากลืนข้าวต้มอาหารร้อนปรากฏ
ดุจฝนถ่านเพลิงโปรยลงมา ในเวลามารดากลืนของเค็มของเปรี้ยวเป็น
ต้น ปรากฏดุจได้รับโทษการแทงด้วยหอกอันคมเป็นต้น, นี้เป็นทุกข์
มีมูลมาจากการบริหารครรภ์.

อนึ่ง สัตว์ย่อมเสวยทุกข์ด้วยการผ่าตัดเป็นต้น ของมารดาผู้มี
ครรภ์หลงในที่เกิดของทุกข์ไม่ควรที่ แม้มิตร อำมาตย์ และเพื่อนสนิท
เป็นต้น ไม่ควรดู, นี้ชื่อว่าทุกข์มีมูลมาจากความวิบัติของครรภ์.
ทุกข์ย่อมเกิดแก่สัตว์ผู้ถูกลมเป็นของมารดาซึ่งจะคลอด พัดหมุน
กลับไปทางช่องคลอดน่ากลัวนัก ดุจตกเหว ดุจช้างถูกฉุดออกจากช่อง
ดาล เพราะปากช่องคลอดแคบอย่างยิ่ง และดุจสัตว์นรกถูกภูเขาใน
สังฆาตนรกบดละเอียด, นี้ทุกข์มีมูลจากการคลอด,
ทุกข์เช่นกับแทงด้วยปลายเข็มและเฉือนด้วยมีดโกน ย่อมเกิด
แต่สัตว์ผู้เกิดแล้วมีร่างกายแบบบาง เช่นกับแผลอ่อน ๆ ในเวลาจับมือ
อาบน้ำ ล้างหน้า เช็ดด้วยผ้าผืนเล็กเป็นต้น, นี้ทุกข์มีมูลออกไปภาย-
นอกจากท้องแม่.
ในความเป็นไปนอกจากนี้ ทุกข์ย่อมมีแก่ผู้ทำลายตนด้วยตนเอง
ผู้ประกอบความเพียรด้วยการทรมานตน ทำตนให้เดือดร้อนด้วยอเจลก-
วัตรเป็นต้น ผู้ไม่บริโภคและบีบคอยด้วยความโกรธ, นี้เป็นทุกข์มีมูล
จากความพยายามของตน, ที่นอกจากนี้ไปทุกข์ย่อมเกิดแก่ผู้เสวยกรรม
มีการฆ่าและการจองจำเป็นต้น, นี้ทุกข์มีมูลจากความพยายามของผู้อื่น.
ชาติ นี้เป็นที่ตั้งของทุกข์แม้ทั้งหมดด้วยประการฉะนี้. ด้วย
เหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ว่า

หากสัตว์ไม่พึงเกิดในนรกทั้งหลายไซร้ เขา
ก็จะไม่ต้องได้รับกรรม มีถูกไฟเผาเป็นต้นในชาติ
นั้น, สัตว์พึงได้ทุกข์เป็นที่พึ่งในที่ไหนเล่า พระ-
มุนีในธรรมวินัยนี้กล่าว ชาติ ว่าเป็นทุกข์ ด้วย
ประการฉะนี้.
ทุกข์ในจำพวกเดียรัจฉานมีไม่น้อย มีการ
กระหน่ำด้วยแส้ ปฏัก ท่อนไม้เป็นต้น, เว้นชาติ
เสีย ทุกข์จะพึงมีในสัตว์นั้นได้อย่างไร แม้เพราะ
เหตุนั้น ชาติ จึงชื่อว่าเป็นทุกข์ในพวกสัตว์นั้น.
ทุกข์ในเปรตทั้งหลาย เกิดเพราะวิหาร
และมีทุกข์ชนิดต่าง ๆ มีเกิดแต่ลมและแดดเป็น
ต้น, เพราะทุกข์ในที่นั้นย่อมมีแก่สัตว์ที่ยังไม่เกิด
ก็หาไม่ ฉะนั้นพระมุนีจึงตรัส ชาติ ว่าเป็นทุกข์.
ทุกข์ในหมู่อสูรในโลกันตรนรกมืดตื้อ เย็น
จัด, เพราะความเกิดในนรกนั้นไม่มีทุกข์ ก็มีไม่
ได้ เพราะฉะนั้นพระมุนีจึงตรัสว่า ทุกข์ทั้งหลายมี
เพราะชาติิ.

สัตว์เมื่ออยู่ในครรภ์มารดาก็เหมือนอยู่ในคูถ-
นรก เมื่ออยู่นานก็ดี ออกไปภายนอกก็ดี, สัตว์
ย่อมถึงทุกข์ เว้นขาดเสียแล้ว แม้ทุกข์อันร้ายแรง
ยิงนักก็ไม่มี เพราะชาตินี้มีจึงเป็นทุกข์ ด้วยประ-
การฉะนี้.
อันที่จริงทุกข์นี้มีอยู่ในโลกนี้ตลอดกาล
ประโยชน์ อะไรที่จะต้องพูดมากไปในกาลไหน ๆ
มิใช่หรือ, ทุกข์เว้นชาติเสียแล้วก็มีไม่ได้ เพราะ
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่ตรัสถึง
ชาติ นี้ว่าเป็นทุกข์ก่อนทุกข์อื่นทั้งหมด ดังนี้.

ในบทว่า ชราปิ ทุกฺขา - แม้ชราก็เป็นทุกข์นี้ มีอธิบายดังต่อ
ไปนี้ ชรามี 2 อย่าง คือ ลักษณะของสังขตะและความเป็นขันธ์เก่าอัน
เนื่องในภพเดียวในสันตติที่รู้กันว่ามีฟันหักเป็นต้น. ในที่นี้ ท่านประสงค์
เอาชรานั้น. ชรานั้นชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะความเป็นสังขารทุกข์ และ
เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์. ทุกข์ทางกายทางใจเกิดขึ้น มีหลายปัจจัยอาทิ
ว่าความเป็นหนุ่มสาวเสื่อมไปกำลังถดถอยสติปัญญาเสื่อมโทรม ถูกคน
อื่นดูแคลน เพราะอวัยวะน้อยใหญ่ย่อหย่อนและอินทรีย์วิกลวิการ, ชรา
จึงเป็นที่ตั้งของทุกข์นั้น, ดังที่ท่านไว้ว่า

เพราะอวัยวะหย่อน อินทรีย์วิการ ความเป็น
หนุ่มสาวเสื่อมกำลังถดถอย. สติเป็นต้นเสื่อม-
โทรม ขาดความเลื่อมใสจากลูกเมียของตน ถึง
ความอ่อนแอมากขึ้น. สัตว์ได้รับทุกข์ทั้งกายทาง
ใจทั้งหมดนั้น เพราะชราเป็นเหตุ ฉะนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่าชราเป็นทุกข์.

แม้เมื่อท่านควรกล่าว พยาธิทุกข์ในลำดับชราทุกข์ก็พึงทราบว่า
ท่านไม่กล่าว เพราะพยาธิทุกข์ท่านถือเอาด้วยกายิกทุกข์นั่นเอง.
ในบทว่า มรณมฺปิ ทุกฺขํ - แม้ความตายก็เป็นทุกข์ ความตาย
มี 2 อย่าง คือ ความตายที่ท่านกล่าวหมายถึงลักษณะของสังขตะว่า
ชรามรณะท่านสงเคราะห์ด้วยขันธ์ 2,1 และที่ท่านกล่าวหมายถึงการ
ขาดชีวิตินทรีย์อันเนื่องกันในภพหนึ่งว่า ความกลัวแต่ความตายเป็นนิจ
ในที่นี้ท่านประสงค์เอาความตายนั้น. ชื่อของความตายนั้น คือ ชาติ-
ปัจจยมรณะ - ความตายเพราะชาติเป็นปัจจัย, อุปักกมมรณะ - ความ
ตายเพราะความพยายาม, สรสมรณะ - ตายเพราะสิ้นอายุและกรรม,
อายุกขยมรณะ - ความตายเพราะสิ้นอายุ, บุญญักขยมรณะ - ความตาย
เพราะสิ้นบุญ. พึงทราบประเภทของความตายในที่นี้อีก คือ ขณิก-
1. อภิ.ธา. 36/67.

มรณะ - ความตายชั่วขณะ, สมมติมรณะ - ความตายโดยสมมติ,
สมุจเฉทมรณะ - ความตายเด็ดขาด. ประเภทของรูปธรรมและอรูป-
ธรรมในความเปลี่ยนแปลง ชื่อว่า ขณิกมรณะ.
บทนี้ว่า ติสฺโส มโต, ปุสฺโส มโต - นายติสสะตายแล้ว นาย
ปุสสะตายแล้ว ชื่อว่า สมมติมรณะ เพราะไม่มีสัตว์โดยประมัตถ์.
บทนี้ว่า สสฺสํ มตํ, รุกฺโข มโต - ข้าวกล้าตายแล้ว, ต้นไม้
ตายแล้ว ชื่อว่า สมมติมรณะ. เพราะไม่มีสัตว์โดยปรอินทรีย์
กาลกิริยาอันไม่มีปฏิสนธิของพระขีณาสพ ชื่อว่า สมุจเฉท-
มรณะ.
สมมติมรณะและสมุจเฉทมรณะนอกนี้ เว้นสมมติมรณะภาย-
นอกท่านสงเคราะห์ด้วยการตัดขาดการติดต่อ ตามที่กล่าวแล้ว, มรณะ
ชื่อว่าทุกข์ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
วัตถุเป็นที่รักของคนชั่วผู้เห็นนิมิตมีบาปกรรม
เป็นต้น ผู้ประสบสิ่งเจริญของพลัดพรากไป, ทุกข์
ทางใจของตนใกล้ตายโดยไม่แตกต่างกัน ทุกข์ใน
สรีระมีโรคลมอันตัดข้อต่อและเส้นเอ็นขาดเป็นต้น
ย่อมมีแก่สัตว์ทั้งปวงผู้ถูกทิ่มแทงส่วนสำคัญของ
ร่างกาย ย่อมเป็นทุกข์เกิดแต่สรีระ.

ความตายนี้เป็นสิ่งที่ทนไม่ได้ ไม่มีการตอบ.
แทน เป็นที่ตั้งของทุกข์, เพราะเหตุนั้นท่านจึง
กล่าวว่า ความตายนี้เป็นทุกข์แน่นอน.

81] จิตเร่าร้อนมีการเพ่งภายในเป็นลักษณะของผู้ที่ถูกความ
เสื่อมแห่งญาติเป็นต้นมากระทบ ชื่อว่าความโศกในบทว่า โสกะ เป็นต้น.
ความโศกชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ จากทุกขทุกข์. ด้วย
เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
ความโศกย่อมทิ่มแทงหัวใจของสัตว์ทั้งหลาย
ดุจถูกลูกศรอาบยาพิษเจาะ และย่อมแผดเผาอย่าง
แรงกล้าดุจหลาวเหล็กถูกไฟเผาสังหารอยู่
ความโศกย่อมนำมาซึ่งพยาธิ ชรา มรณะ
และการทำลาย แม้ทุกข์หลายอย่าง เพราะฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ความโศกเป็นทุกข์.

ความพร่ำเพ้อของผู้ถูกความเสื่อมจากญาติเป็นต้น มาถูกต้อง
ชื่อว่าปริเทวะ. ปริเทวะชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะความเป็นสังขารทุกข์
และเพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
สัตว์ถูกลูกศร คือ ความโศกกำลังร้องไห้คร่ำ.
ครวญ คือ ริมฝีปาก เพดานแห้งผากเป็นโรคผอม-

แห้ง, ย่อมได้รับทุกข์อย่างแสนสาหัส ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส ปริเทวะ ว่าเป็นทุกข์.

ทุกข์ชื่อว่าเป็นทุกข์ ได้แก่ ทุกข์ทางกายมีลักษณะบีบคั้นทางใจ,
อนึ่งชื่อว่าทุกข์เป็นทุกข์ เพราะเป็นทุกข์ในทุกข์ และเพราะนำมาซึ่ง
ทุกข์มีในใจ. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ว่า
ทุกข์นี้ย่อมบีบคั้นกาย และให้เกิดทุกข์ใจ
ยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวโดยวิเศษว่า ทุกฺขํ.

โทมนัสสะเป็นทุกข์ ได้แก่ ทุกข์ทางใจมีลักษณะบีบคั้นทางใจ.
อนึ่ง โทมนัสสะชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะเป็นทุกขในทุกข์ และเพราะนำมาซึ่ง
ทุกข์ทางกาย. จริงอยู่สัตว์ทั้งหลายที่ได้รับทุกข์ทางใจมาก ย่อมเสวยทุกข์
มากมายเช่นสยายผมร้องไห้คร่ำครวญ. ขยี้อก, หมุนมาหมุนไป หก
ขะเมน, คว้าศัสตรา, ดื่มยาพิษ, แขวนคอ, เข้ากองไฟ ดังที่ท่าน
กล่าวไว้ว่า
เพราะจิตได้รับการบีบคั้น และนำความบีบ-
คั้นแก่กายอีกด้วย, ฉะนั้นท่านจึงกล่าวโทมนัสสะ
ว่าเป็นทุกข์เพราะความเสียใจ.

อุปายาสะเป็นทุกข์ ได้แก่ โทสะทำให้เกิดทุกข์ทางใจอย่างยิ่งของ
ผู้ถูกความเสื่อมจากญาติเป็นต้นมาถูกต้อง. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
ธรรมข้อหนึ่งอันนับเนื่องด้วยสังขารขันธ์. อุปายาสะ ชื่อว่า เป็นทุกข์

เพราะเป็นสังขารทุกข์ เพราะเผาผลาญจิต เพราะความอึดอัดทางกาย.
ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
อุปายาสะเป็นทุกข์ เพราะความเผาผลาญจิต
และเพราะความอึดอัดทางกายเป็นอย่างมาก ย่อม
ยังทุกข์ให้เกิด เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า อุปา-
ยาสะเป็นทุกข์.

อนึ่ง ในบทว่า โสกะ ปริเทวะ และอุปายาสะนี้พึงเห็นว่า โสกะ
เหมือนน้ำหุงข้าวด้วยไฟอ่อนน้ำข้าวเดือดอยู่ภายในภาชนะ, พึงเห็น
ปริเทวะ เหมือนน้ำหุงข้าวด้วยไฟแรงน้ำข้าวก็เดือดล้นออกนอกภาชนะ,
พึงเห็นอุปายาสะ เหมือนน้ำข้าวส่วนที่เหลือจากการล้นออกไม่เพียงพอที่
จะออกได้ น้ำข้าวที่หุงก็จะหมดสิ้นไปภายในภาชนะนั่นเอง.
82 ] การอยู่ร่วมกับสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รัก ชื่อว่า อัป-
ปิยสัมปโยคทุกข์. อัปปิยสัมปโยคทุกข์์ ชื่อว่า เป็นทุกข์เพราะเป็นที่
ตั้งแห่งทุกข์. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ทุกข์ครั้งแรกย่อมเกิดในจิต เพราะเห็นสัตว์
และสังขารอันไม่เป็นที่รัก หรือทุกข์ที่เกิดเพราะ
การทรมาน ย่อมมีในกายนี้.
แม้ทุกข์ทั้งสองนี้โดยวัตถุ ก็เป็นการอยู่ร่วม
กับสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รัก เป็นที่รู้กันว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่ตรัสว่า การ
อยู่ร่วมกับสัตว์และสังขารว่าเป็นทุกข์.

การพลัดพรากจากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก ชื่อว่า ปิยวิปป-
โยคทุกข์.
ปิยวิปปโยคทุกข์ ชื่อว่า เป็นทุกข์เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์.
สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
คนพาลทั้งหลายเพียบพร้อมด้วยลูกศร คือ
ความโศก เพราะการพลัดพรากจากญาติและสมบัติ
ย่อมเสียดแทงหัวใจ วิปปโยคทุกข์ นี้ รู้กันแล้วว่า
เป็นทุกข์.

ในการไม่ได้สมความปรารถนาพึงทราบความต่อไปนี้ ความ
ปรารถนาในวัตถุที่ไม่ควรได้ท่านกล่าวว่า ยมฺปิจฺฉํ น ลภติ, ตมฺปิ-
ทุกฺขํ -
ความไม่ได้สมความปรารถนาก็เป็นทุกข์. อธิบายว่า เมื่อ
ปรารถนาในวัตถุที่ไม่ควรได้โดยธรรมก็ไม่ได้. ความปรารถนานั้นก็เป็น
ทุกข์. ความไม่ได้สมความปรารถนา ชื่อว่า เป็นทุกข์ เพราะเป็นที่ตั้ง
แห่งทุกข์. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ทุกข์เกิดจากการพิฆาต ย่อมเกิดแก่สัตว์ทั้ง-
หลายในโลกนี้โดยที่ไม่ได้สิ่งนั้น ๆ ตามปรารถนา.
เพราะความปรารถนาวัตถุที่ไม่ควรได้ อันเป็นเหต

แห่งทุกข์นั้น, ฉะนั้นพระชินเจ้าจึงได้ตรัสถึงความ
ไม่ได้สมปรารถนาว่าเป็นทุกข์.

ในบทว่า สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา - โดยย่ออุปาทาน-
ขันธ์ 5 เป็นทุกข์ มีอธิบายดังต่อไปนี้ บทว่า สงฺขิตฺเตน ท่านกล่าว
หมายถึงเทศนา. เพราะไม่สามารถจะย่อทุกข์ได้ว่า ทุกข์ร้อยมีประมาณ
เท่านี้ ทุกข์พันมีประมาณเท่านี้, แต่เทศนาสามารถจะย่อได้. ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงย่อเทศนาจึงตรัสอย่างนี้ว่า ชื่อว่า ทุกข์
ไม่มีอะไรอื่น, โดยย่ออุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์.

บทว่า ปญฺจ เป็นการกำหนดจำนวน. บทว่า อุปทานกฺ-
ขนฺธา
ได้แก่ ขันธ์อันเป็นอารมณ์ของอุปาทาน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้คงที่ตรัสถึงทุกข์ที่มีชาติ
เป็นแดนเกิด ไม่ตรัสถึงทุกข์ทั้งหมด ทุกข์นอก
จากนี้ก็ยังมีอยู่.
เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แสวงหาคุณ
อันยิ่งใหญ่ ทรงแสดงที่สุดของทุกข์ ว่า โดย
ย่ออุปาทานขันธ์เหล่านี้เป็นทุกข์.

เป็นความจริงดังนั้นชาติเป็นต้น เบียดเบียนอุปาทานขันธ์
ด้วยประการต่าง ๆ ดุจไฟกำจัดเชื้อไฟ, ดุจเครื่องประหารกำจัดเป้า,
ดุจเหลือบและยุงเป็นต้นกัดโค, ดุจคนตัดหญ้าทำลายดิน, ดุจโจรปล้น

ชาวบ้าน, ทำลายชาวบ้าน ฉะนั้น ย่อมเกิดในอุปาทานขันธ์นั่นเอง
ดุจหญ้าและเถาวัลย์เกิดบนแผ่นดิน, ดุจดอกไม้ ผลไม้และใบไม้อ่อน
เกิดโน้นต้นไม้.
ชาติ เป็นทุกข์ในเบื้องต้นของอุปาทานขันธ์.
ชรา เป็นทุกข์ในท่ามกลาง.
มรณะ เป็นทุกข์ในที่สุด,
โสกะ เป็นทุกข์ถูกเผาผลาญ ด้วยถูกทุกข์ใกล้จะตายเบียด-
เบียน,
ปริเทวะ เป็นทุกข์ด้วยการพร่ำเพ้อ เพราะทนทุกข์นั้นไม่ได้,
ทุกขะ เป็นทุกข์ด้วยความเจ็บป่วยของกาย เพราะประสบกับ
สัมผัสอันไม่น่าปรารถนา กล่าวคือ ธาตุกำเริบ,
โทมนัสสะ เป็นทุกข์ด้วยการรบกวนทางใจ เพราะเกิด
ปฏิฆะ - ความขึ้งเคียด ในโทมนัสของปุถุชนผู้ถูกโทมนัสนั้นเบียด-
เบียน,
อุปายาสะ เป็นทุกข์ด้วยความทอดถอนใจของผู้เกิดความตก-
ต่ำ เพราะความโศกเป็นต้นท่วมท้น.
การไม่ได้สมความปรารถนาเป็นทุกข์ เพราะทำลายความ
ปรารถนาของผู้ที่ถึงความหมดหวัง, อุปทานขันธ์ที่ถูกกำหนดโดย
ประการต่าง ๆ ด้วยประการฉะนี้ ชื่อว่า ทุกข์ เพราะฉะนั้น เพื่อจะแสดง

ทุกข์นั้นอย่างหนึ่ง ๆ นำมากล่าว แต่ก็ไม่สามารถจะกล่าวให้หมดสิ้นได้
ตั้งหลายกัป, เพื่อแสดงย่อทุกข์ทั้งหมดไว้ในอุปาทานขันธ์ 5 เป็นบาง
ส่วน ดุจรสน้ำในมหาสมุทรก็ย่อลงในหยาดน้ำเดียวกัน พระเถระจึง
ได้กล่าวพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า โดยย่ออุปาทาน-
ขันธ์ 5 เป็นทุกข์ ด้วยประการฉะนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในบทภาชนีย์ มีอาทิว่า ตตฺถ กตมา ชาติ.
บทว่า ตตฺถ คือ เมื่อชาติเป็นต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้แล้วในทุกขสัจนิทเทส.
บทว่า ยา เตสํ เตสํ สตฺตานํ คือ แสดงถึงสัตว์ไม่น้อย
ทั่วไปโดยสังเขป. เมื่อกล่าวอยู่อย่างนี้ตลอดวันว่า ชาติของเทวทัต,
ชาติของโสมทัต สัตว์ทั้งหลายย่อมไม่กำหนดถือเอา, การแสดงความอื่น
อีกทั้งหมดก็ย่อมไม่สำเร็จ, แต่ด้วยบทสองบทนี้ สัตว์ไร ๆ ก็ไม่กำหนด
ถือเอา การแสดงความอื่นอีกอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมไม่สำเร็จก็หามิได้.
บทว่า ตมฺหิ ตมฺหิ คือ การแสดงถึงหมู่สัตว์ไม่น้อยทั่วไป
ด้วยคติและชาติ.
บทว่า สตฺตนิกาเย - ในหมู่สัตว์ทั้งหลาย คือ ในชุมนุมสัตว์
ในที่ประชุมสัตว์.
บทว่า ชาติ คือ ความเกิด. บทนี้ในที่นี้เป็นปฐมาวิภัตติลง
ในอรรถสภาวะ แปลว่า ความเกิด.

บทว่า สญฺชาติ คือ ความเกิดพร้อม. บทนี้เพิ่มอุปสัคลงไป
แปลว่า ความเกิดพร้อม.
บทว่า โอกฺกนฺติ คือ ความก้าวลง. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
ชาติ ด้วยอรรถว่า ความเกิด, ท่านกล่าวว่า ชาติ นั้น โดยที่อายตนะ
ยังไม่บริบูรณ์. ชื่อว่า สัญชาติ ด้วยอรรถว่า เกิดพร้อม, ท่านกล่าว
สัพชาติ นั้น โดยที่อายตนะบริบูรณ์แล้ว. ชื่อว่า โอกกันติ ด้วย
อรรถว่า ก้าวลง ท่านกล่าว โอกกันติ นั้น ด้วยอำนาจของ อัณฑชะ
- เกิดในไข่ และ ชลาพุชะ - เกิดในครรภ์. เพราะว่าสัตว์เหล่านั้น
ก้าวลงสู่รังไข่และถุงกระเพาะ. สัตว์ก้าวลงย่อมถือปฏิสนธิ ดุจเข้าไป,
ชื่อว่า อภินิพพัตติ ด้วยอรรถว่า ความบังเกิด, ท่านกล่าว อภินิพ-
พัตติ
นั้น ด้วยอำนาจแห่ง สังเสทชะ - เกิดจากเถ้าไคล และ โอป-
ปาติกะ
- เกิดผุดขึ้น เพราะสัตว์เหล่านั้นเป็นผู้ปรากฏเกิดขึ้น, นี้เป็น
สมมุติกถา - กล่าวโดยสมมติเท่านั้น.
บัดนี้จะกล่าวโดยปรมัตถ์ว่า ขนฺธานํ ปาตุภาโว อายตนานํ
ปฏิลาโภ
- ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย ความกลับได้อายตนะ เพราะ
โดยปรมัตถขันธ์นั่นแล ปรากฏมิใช่สัตว์ปรากฏ. อนึ่ง ในบทว่า
ขนฺธานํ นี้ พึงทราบการถือเอาแม้ขันธ์ 5 ในภพแห่งขันธ์ 5 ขันธ์
หนึ่งในภพแห่งขันธ์หนึ่ง, ขันธ์ 4 ในภพแห่งขันธ์ 4. บทว่า ปาตุ-

ภาโว-ความปรากฏ ได้แก่ การเกิดขึ้น. บทว่า อายตนานํ พึง
ทราบว่า ท่านสงเคราะห์ด้วยอำนาจอายตนะซึ่งเกิดขึ้นในภพนั้น ๆ.
บทว่า ปฏิลาโภ - การได้เฉพาะ ได้แก่ ความปรากฏในเพราะ
สันตตินั่นเอง. เพราะว่า อายตนะเหล่านั้นปรากฏ เป็นอันชื่อว่า ได้
เฉพาะแล้ว.
บทว่า อยํ วุจฺจติ ชาติ คือ นี้ท่านกล่าวว่า ชาติ.
พึงทราบวินิจฉัยในชรานิทเทสดังต่อไปนี้ บทว่า ชรา เป็น
ปฐมาวิภัตติลงในอรรถสภาวะ แปลว่า ความแก่ บทว่า ชีรณตา
เป็นอาการนิทเทส แปลว่า ความชำรุด
สามบทมีบทว่า ขณฺฑิจฺจํ - ความเป็นผู้มีฟันหักเป็นต้น เป็น
กิจนิทเทส - แสดงกิจที่ปรากฏ ในขณะล่วงกาลผ่านวัย, สองบทหลัง
เป็นปกตินิทเทส - แสดงความเป็นปกติ
จริงอยู่ ความนี้ท่านแสดงโดยสภาวะด้วยบทว่า ชรา. เพราะ
เหตุนั้น บทว่า ขณฺฑิจฺจํ นี้ จึงเป็นปฐมาวิภัตติลงในอรรถแห่งสภาวะ
ของชรานั้น.
ด้วยบทว่า ชีรณตา - ความชำรุดนี้ท่านแสดงโดยอาการ, เพราะ
เหตุนั้น บทนี้จึงเป็นอาการนิทเทสของชรานั้น.

ด้วยบทว่า ขณฺฑิจฺจํ นี้ ท่านแสดงโดยกิจ คือ ความที่ฟัน
และเล็บหักในเมื่อล่วงกาลผ่านวัยไป.
ด้วยบทว่า ปาลิจฺจํ - ความเป็นผู้มีผมหงอก นี้ท่านแสดงโดย
กิจ คือ ความที่ผมและขนทั้งหลายหงอก.
ด้วยบทว่า วลิตฺตจตา - ความเป็นผู้มีหนังเหี่ยว นี้ท่านแสดง
โดยอาการ คือ ความที่เพื่อแห้งเหี่ยว และหนังย่น. เพราะเหตุนั้น
3 บทของชรานั้นจึงเป็นกิจนิทเทส ในขณะกาลเวลาผ่านไป. ด้วยบท
ทั้ง 3 นั้นท่านแสดงถึงชราปรากฏ เห็นได้ชัดด้วยแสดงความผิดปกติ
เหล่านี้. ทางไปของชราปรากฏในฟันเป็นต้น ด้วยความเป็นผู้มีฟันหัก
เป็นต้น แม้ลืมตาก็รู้ได้. อนึ่ง ชรามีความเป็นผู้มีฟันหักเป็นต้น รู้
ไม่ได้. เพราะชราจะพึงรู้ด้วยตาไม่ได้. เหมือนทางไปของน้ำ ลม
หรือไฟ ย่อมปรากฏ เพราะหญ้าและต้นไม้เป็นต้น โค่นหัก หรือถูก
ไฟไหม้ อนึ่ง ทางไปนั้นไม่ปรากฏ น้ำเป็นต้นเท่านั้นปรากฏ.
ด้วยบทเหล่านี้ว่า อายุโน สํหานิ อินฺทฺริยานํ ปริปาโก-
ความเสื่อมอายุ ความแก่แห่งอินทรีย์ทั้งหลาย คือท่านแสดงตามปกติ
กล่าวคือ ความสิ้นไปแห่งอายุ เพราะอายุเสื่อมยิ่งในขณะกาลเวลาผ่าน
ไปและความแก่แห่งอินทรีย์ มีชาติเป็นต้น, เพราะเหตุนั้นพึงทราบว่า
บททั้งสองนี้เป็นปกตินิทเทส.

ในบททั้งสองนั้น เพราะอายุของผู้มีชราย่อมเสื่อม ฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวชรา โดยผลูปจารนัย - โดยมุ่งผลว่า อายุใน สํหานิ-
ความเสื่อมแห่งอายุ ดังนี้. อนึ่ง ในเวลาเป็นหนุ่มอินทรีย์มีจักษุเป็นต้น
แจ่มใสดี สามารถจะรับวิสัยของตนแม้สุขุมได้โดยง่ายทีเดียว ครั้นถึง
ชราก็แก่หง่อม ขุ่นมัว หดหู่ ไม่สามารถจะรับวินัยของตนได้, ฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวโดยมุ่งผลว่า อินฺทฺริยานํ ปริปาโก - ความแก่แห่งอินทรีย์
ทั้งหลาย. ท่านชี้แจงชราไว้อย่างนี้ แม้ชราทั้งหมดก็มี 2 อย่าง คือ
ปรากฏ 1 ปกปิด 1.
ในชราเหล่านั้น ชราในรูปธรรมมีฟันเป็นต้น เป็นชราปรากฏ
เพราะแสดงความเป็นผู้มีฟันหักเป็นต้น, ส่วนชราในอรูปธรรม ชื่อว่า
ชราปกปิด เพราะไม่แสดงความผิดปรกติเช่นนั้น.
ในชราปรากฏนั้น ความที่ฟันหักเป็นต้น ย่อมปรากฏเป็นชนิด
ของฟันเป็นต้นเช่นนั้นเอง. บุคคลเห็นความที่ฟันหักเป็นต้นนั้นด้วยตา
แล้วคิดด้วยมโนทวารว่า ฟันเหล่านี้ถูกชราทำลายเสียแล้ว จึงรู้ชรา
เหมือนแลดูเขาโคเป็นต้น ที่เขาผูกไว้ในที่มีน้ำแล้วรู้ว่า ข้างล่างมีน้ำ
ยังมี ชรา อีก 2 อย่าง คือ สวีจิชรา - ชรารู้ง่าย 1 อวีจิชรา-
ชรารู้ยาก 1.
ในชรา 2 อย่างนั้น ชรา ชื่อว่า อวีจิชรา เพราะรู้ความ
แตกต่างของชนิดในระหว่าง ๆ มีแก้วมณี ทอง เงิน แก้วประพาฬ

ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์เป็นต้นได้ยาก เหมือนรู้สัตว์มีชีวิในจำพวก
มันททสกะ - วัยอ่อน 10 ขวบเป็นต้นได้ยาก. และเหมือนรู้ยิ่งไม่มี
ชีวิตในจำพวก ดอกไม้ ผลไม้และใบไม้เป็นต้นได้ยากฉะนั้น. อธิบาย
ว่า ได้แก่ นิรันตรชรา - ชราติดต่อกันไป. เมื่อกล่าวโดยประการอื่น
จากนั้น ชรา ชื่อว่า สวีจีชรา เพราะรู้ความแตกต่างของชนิดเป็นต้น
ในระหว่าง ๆ ได้ง่าย.
ในชรา 2 อย่างนั้น สวีจิชรา พึงทราบอย่างนี้ ด้วยอำนาจ
ของอุปาทินนกะและอนุปาทินนกะ ฟันน้ำมันย่อมขึ้นแก่เด็กเล็กเป็น
ครั้งแรก แต่ฟันน้ำมันเหล่านั้นไม่มั่นคง. เมื่อฟันน้ำมันหลุดไป ฟัน
ก็ขึ้นอีก ฟันเหล่านั้นครั้งแรกเป็นสีขาว, ครั้นถูกลมชรากระทบ ก็
กลายเป็นสีดำ. ผมครั้งแรกเป็นสีแดง, จากนั้นก็เป็นสีดำ, จากนั้น
ก็เป็นสีขาว. ผิวก็มีเลือดฝาด. เมื่อเจริญขึ้น ๆ ส่วนที่สีขาวก็ผ่องใส,
ส่วนที่สีดำก็ปรากฏเป็นสีดำ, เมื่อถูกลมชรากระทะ ก็มีรอยย่น.
ข้าวกล้าในเวลาหว่านก็เป็นสีขาว ภายหลังก็เป็นสีเขียว, เมื่อถูกลม
ชรากระทบก็เป็นสีเหลือง. ควรแสดงถึงพืชต้นมะม่วงบ้าง.
พึงทราบวินิจฉัยในมรณนิทเทสดังต่อไปนี้. บทว่า จุติ ท่าน
กล่าวด้วยอำนาจการเคลื่อน. บทนี้เป็นคำกล่าวถึงความเสมอกันของ
ขันธ์ 1 ขันธ์ 4 และขันธ์ 5.
บทว่า จวนตา - ความเคลื่อน เป็นบทชี้ถึงลักษณะ โดยกล่าว
ถึงภาวะ.

บทว่า เภโท - ความแตก เป็นบทแสดงถึงการเกิดความแตก
ของ จุติขันธ์.
บทว่า อนฺตรธานํ - ความหายไป เป็นบทแสดงถึงความไม่มี
ฐานะ โดยปริยายอย่างใด ๆ ของจุติขันธ์ที่แตกแล้ว ดุจหม้อที่แตก
บทว่า มจฺจุ มรณํ ได้แก่ ความตาย กล่าวคือ ถึงความตาย
มิใช่ตายชั่วขณะ มัจจุผู้ทำที่สุด ชื่อว่า กาละ, การทำกาละนั้น ชื่อว่า
กาลกิริยา. ด้วยเหตุเพียงนี้ ท่านแสดงถึงความตายโดยสมมติ.
บัดนี้ เพื่อแสดงโดยปรมัตถ์ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า
ขนฺธานํ เภโท - ความแตกแห่งขันธ์. จริงอยู่โดยปรมัตถ์ ขันธ์เท่านั้น
แตก สัตว์ไร ๆ ไม่ตาย. เมื่อขันธ์แตกสัตว์ก็ตาย. จึงมีคำกล่าวว่า
เมื่อขันธ์แตก สัตว์ตายแล้ว. อนึ่ง ในบทนี้พึงทราบความแตกแห่ง
ขันธ์ ด้วยอำนาจของขันธ์ 4 และขันธ์ 5. พึงทราบความทอดทิ้ง
ซากศพ ด้วยอำนาจของขันธ์ 1, พึงทราบความแตกแห่งขันธ์ ด้วย
อำนาจของขันธ์ 4 พึงทราบการทอดทิ้งซากศพ ด้วยอำนาจสองขันธ์
ที่เหลือ. ถามว่า เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะซากศพ คือ รูปกาย
ยังมีอยู่แม้ในสองภพ. อีกอย่างหนึ่ง เพราะขันธ์แม้ในชั้นจาตุมหา-
ราชิกายังแตกได้, ย่อมไม่ทอดทิ้งอะไร ๆ ไว้. ฉะนั้น ความแตกแห่ง
ขันธ์ ด้วยอำนาจขันธ์เหล่านั้นจึงเป็นการทอดทิ้งซากศพไว้ในมนุษย์
เป็นต้น. อนึ่ง ในบทนี้ท่านกล่าวถึงมรณะเพราะทำการทอดทิ้งซากศพ
ว่า กเฬวรสฺส นิกฺเขโป - การทอดทิ้งซากศพ.

ด้วยบทนี้ว่า ชีวิตินฺทฺริยสฺสุปจฺเฉโท - ความขาดแห่งชีวิตน-
ทรีย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ชื่อว่า มรณะ ย่อมมีแก่ผู้ที่
ยังมีอินทรีย์ผูกพันอยู่เท่านั้น, ย่อมไม่มีแก่ผู้ที่ไม่มีอินทรีย์ผูกพันอยู่.
ส่วนบทว่า สสฺสํ มตํ, รุกฺโข มโต - ข้าวกล้าตาย ต้นไม้ตายเป็น
เพียงโวหารเท่านั้น. แต่โดยอรรถคำเห็นปานนี้ แสดงถึงความสิ้นไป
และความเสื่อมไปของข้าวกล้าเป็นต้นเท่านั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ชาติ ชรา มรณะเหล่านี้เที่ยวแสวงหาช่องของ
สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ ดุจปัจจามิตรผู้มุ่งร้าย ฉะนั้น. เหมือนอย่างว่า
ปัจจามิตร 3 คน ของบุรุษเที่ยวคอยหาช่อง. ปัจจามิตรคนหนึ่งพึง
กล่าวว่า เราจักกล่าวพรรณนาคุณของป่าโน่น แล้วจักพาบุรุษนั้นไปที่
ป่านั้น, เราจะไม่ทำร้ายในบุรุษนี้เลย. ปัจจามิตรคนที่สองพึงกล่าวว่า
ในเวลาที่ท่านพาบุรุษนี้ไปเราจักโบยทำให้หมดกำลัง. เราจะไม่ทำรุณ
แรงในบุรุษนี้เลย. ปัจจามิตรคนที่สามพึงกล่าวว่า เมื่อท่านโบยบุรุษนี้
ทำให้หมดกำลังแล้ว การเอาดาบตัดศีรษะเป็นภาระของเรา ครั้นปัจจา-
มิตรเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้แล้วก็พึงทำตามนั้น.
การคร่าออกจากแวดวงของเพื่อนและญาติ แล้วให้ไปอยู่ในที่ใด
ที่หนึ่ง ดุจปัจจามิตรคนที่หนึ่งกล่าวพรรณนาคุณของป่า แล้วพาบุรุษ
นั้นไปในป่านั้น พึงทราบว่า เป็น กิจของชาติ, การล้มลงในขันธ์
ที่เกิดแล้วต้องอาศัยผู้อื่นและนอนพักผ่อนบนเตียง ดุจการโบยของ
ปัจจามิตรคนที่สองแล้วทำให้หมดกำลัง พึงทราบว่า เป็น กิจของชรา.

การทำให้ถึงสิ้นชีวิต ดุจการเอาดาบที่คมตัดศีรษะของปัจจามิตรคนที่สาม
พึงทราบว่า เป็น กิจของมรณะ.
อีกอย่างหนึ่ง ในบทนี้ ชาติทุกข์ พึงเห็นดุจการเข้าไปสู่ที่
มหากันดารอันมีโทษ, ชราทุกข์ พึงเห็นดุจคนที่ไม่มีข้าวและน้ำในที่
นั้นหมดกำลังลง มรณทุกข์ พึงเห็นดุจการถึงความเสื่อมและความ
พินาศด้วยสัตว์ร้ายเป็นต้นของคนที่หมดกำลัง ผู้หมดความพยายามใน
การเปลี่ยนอิริยาบถ.
พึงทราบวินิจฉัยในโสกนิทเทสดังต่อไปนี้ ชื่อว่า พฺยสนํ
เพราะอรรถว่าถึงความพินาศ, อธิบายว่า ทอดทิ้งประโยชน์และความ
สุขนอนซบเซา. ความพินาศของญาติทั้งหลาย ชื่อว่า ญาติพฺยสนํ,
ความสิ้นญาติเพราะภัยแต่โจรและโรคเป็นต้น ชื่อว่า ญาติวินาโส.
ด้วยความพินาศแห่งญาตินั้น.
บทว่า ผุฏฺฐสฺส - กระทบแล้ว คือ ท่วมทับ ครอบงำ, ได้แก่
ประกอบพร้อม. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. แต่ความต่างกัน
มีดังนี้ ความพินาศแห่งสมบัติ ชื่อว่า โภคพฺยสนํ. อธิบายว่า ความ
สิ้นสมบัติ ความพินาศแห่งโภคะ ด้วยราชภัยและโจรภัยเป็นต้น.
ความพินาศ คือ โรคนั้นเอง ชื่อว่า โรคพฺยสนํ. จริงอยู่
โรค ชื่อว่า พยสนะ เพราะอรรถว่า ยังความไม่มีโรคให้พินาศไป.
ความพินาศ แห่งศีล ชื่อว่า สีลพฺยสนํ บทนี้เป็นชื่อของ
ความเป็นผู้ทุศีล.

ความพินาศ คือ ทิฏฐินั้นเองเกิดขึ้นแล้วทำสัมมาทิฏฐิให้พินาศ
ชื่อว่า ทิฏฺฐพฺยสนํ-ความพินาศแห่งทิฏฐิ.
อนึ่ง ในบทนี้ สองบทแรกยังไม่สมบูรณ์,1 ตามบทหลังสมบูรณ์
แล้ว ถูกกำจัดด้วยไตรลักษณ์. อนึ่ง สามบทแรกเป็นกุศลก็ไม่ใช่
เป็นอกุศลก็ไม่ใช่. สองบท คือ สีลพยสนะ และทิฏฐิพยสนะเป็น
อกุศล
บทว่า อญฺญตรญฺญตคเรน- ความพินาศอื่น ๆ คือ เมื่อถูกความ
พินาศอย่างใดอย่างหนึ่งจับต้องก็ดี เมื่อถูกความพินาศแห่งมิตรและ
อำมาตย์อย่างใดอย่างหนึ่งไม่จับต้องก็ดี.
บทว่า สมนฺนาคตสฺส - ประจวบแล้ว คือ ติดตามอยู่เสมอ
ไม่พ้นไปได้.
บทว่า อญฺญตรญฺญตเรน ทุกฺขธมฺเมน - อันเหตุแห่งทุกข์
อื่น ๆ คือ เหตุเกิดทุกข์เพราะความโศกอย่างใดอย่างหนึ่ง.
บทว่า โสโก ได้แก่ ความโศก ด้วยอำนาจแห่งกิริยาที่โศก.
บทนี้เป็นปฐมาวิภัตติลงในอรรถแห่งสภาวะของความโศก อันเกิดขึ้น
ด้วยเหตุเหล่านั้น.
บทว่า โสจนา - กิริยาที่โศก ได้แก่ อาการของความโศก.
1. สองบทแรก คือ ญาติพยสนะ โภคพยสนะเป็นอนิปผันนะ

บทว่า โสจิตตฺตํ ได้แก่ ความเป็นผู้โศก. บทว่า อนฺโตโสโก
ได้แก่ ความโศก ณ ภายใน. บทที่สองเพิ่มอุปสรรคลงไป. จริงอยู่
ความโศกนั้น ท่านกล่าวว่า อนฺโตโสโก อนฺโตปริโสโก - ความ
ตรอมตรม ณ ภายใน เพราะความโศกเกิดขึ้นดุจเหี่ยวแห้งตรอมตรม
ณ ภายใน.
บทว่า เจตโส ปริชฺฌายนา - ความเผาจิต ได้แก่ อาการ
เผาจิต. เพราะความโศกเมื่อเกิดขึ้น. ย่อมเผาจิตดุจไฟเผา. ทำให้พูด
ได้ว่า จิตของเราถูกเผา, แสงสว่างไร ๆ ไม่มีแก่เราเลย.
ใจมีทุกข์ ชื่อว่า ทุมฺมโน - เสียใจ ความเป็นผู้เสียใจ ชื่อว่า
โทมนสฺสํ. ชื่อว่า โสกสลฺลํ ได้แก่ ลูกศร คือ ความโศก ด้วย
อรรถว่า เข้าไปข้างใน พึงทราบในปริเทวนิทเทสดังต่อไปนี้ ชื่อว่า
อาเทโว - ครวญหา ด้วยอรรถว่า เป็นเหตุร้องให้ครวญหาอย่างนี้ ว่า
ธิดาของฉัน, บุตรของฉันดังนี้.
ชื่อว่า ปริเทโว - ความคร่ำครวญ ด้วยอรรถว่าเป็นเหตุประการ
คุณความดีแล้วคร่ำครวญ. ท่านกล่าวสองบท สองบทอื่นจากบทนั้น
ด้วยแสดงถึงอาการของสองบทต้นนั่นเอง.
บทว่า วาจา คือ คำพูด.
บทว่า ปลาโป - ความบ่น ได้แก่ คำพูดที่ไร้ประโยชน์ไป
เปล่าๆ ชื่อว่า วิปฺปลาโป - ความเพ้อ ด้วยอรรถว่า บ่นเรื่อยเปื่อย
ไปโดยพูดไปได้หน่อยหนึ่ง แล้วก็พูดอย่างอื่นเป็นต้น.

บทว่า ลาลปฺโป ความพูดพร่ำเพรื่อ ได้แก่ พูดแล้วพูดอีก.
อาการพูดพร่ำเพรื่อ ชื่อว่า ลาลปฺปนา - กิริยาที่พูดพร่ำเพรื่อ. ความ
เป็นผู้พูดพร่ำเพรื่อ ชื่อว่า ลาลปฺปิตตฺตํ.
พึงทราบวินิจฉัยในทุกขนิทเทสดังต่อไปนี้ ชื่อว่า กายิกํ-
เพราะอาศัยกาย.

ชื่อว่า อสาตํ - ความไม่สำราญ ด้วยอรรถว่า ไม่มีความชื่นฉ่ำ
ความไม่สำราญทางใจย่อมใช้ด้วยบทว่า กายิกะ, ความสำราญทางกาย
ย่อมใช้ด้วยบทว่า อสาตํ.
ชื่อว่า ทุกฺขํ ด้วยอรรถว่า ถึงความยาก อธิบายว่า ทุกข์นั้น
เกิดแก่ผู้ใด. ย่อมทำผู้นั้นให้ลำบาก. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ทุกฺขํ
เพราะทนได้ยาก.
บทว่า กายสมฺผสฺสชํ ได้แก่ เกิดแต่กายสัมผัส.
บทว่า อสาตํ ทุกฺขํ เวทยิตํ - ความไม่สำราญ ความลำบาก
ที่สัตว์เสวยแล้ว ได้แก่ ความไม่สำราญที่สัตว์เสวยแล้ว, ความสำราญ
ที่สัตว์ไม่ได้เสวย, ทุกข์ที่สัตว์เสวยแล้ว, สุขที่สัตว์ไม่ได้เสวย.
สามบทข้างหน้าท่านกล่าวเป็นอิตถีลิงค์. ในบทนี้ มีอธิบาย
อย่างนี้ว่า ความไม่สำราญเป็นเวทนา, ความสำราญไม่ใช่เวทนา. ทุกข์
เป็นเวทนา สุขไม่ใช่เวทนา. พึงทราบโยชนาท่านแก้ไว้อย่างนี้ว่า
ความไม่สำราญ ความลำบากอันมีทางกายที่สัตว์เสวยแล้วอันใด. ความ

ไม่สำราญ ทุกขเวทนาอันเกิดแต่กายสัมผัส อันใด นี้ท่านกล่าวว่า
ทุกข์.
พึงทราบวินิจฉัยในโทมนัสสนิทเทสดังต่อไปนี้ ชื่อว่า ทุมฺมโน
เพราะอรรถว่า ใจเสีย, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ทุมฺมโน เพราะอรรถ
ว่า ใจน่าเกลียด เพราะได้รับแต่ความเลวร้าย. ความมีใจเสีย ชื่อว่า
โทมนสฺสํ.
ชื่อว่า เจตสิกํ เพราะอาศัยจิต.
บทว่า เจโตสมฺผสฺสชํ เกิดแต่สัมผัสทางใจ.
พึงทราบวินิจฉัยในอุปายาสนิทเทสดังต่อไปนี้ ชื่อว่า อายาโส
เพราะอรรถว่าความทุกข์ใจ. บทนี้เป็นชื่อของความลำบาใจ อันเป็น
ไปในอาการใจหายใจคว่ำ. ความทุกข์ใจมีกำลัง ชื่อว่า อุปายาโส - ความ
แค้น. ความเป็นผู้แค้น ชื่อว่า อายาสิตตฺตํ. ความเป็นผู้เคือง ชื่อว่า
อุปายาสิตตฺตํ.
พึงทราบวินิจฉัยในอัปปิยสัมปโยคนิทเทสดังต่อไปนี้ บทว่า อิธ
ได้แก่ ในโลกนี้.
บทว่า ยสฺส ตัดบทเป็น เย อสฺส.
บทว่า อนิฏฺฐา - ไม่น่าปรารถนา คือ ไม่น่าแสวงหา. จะน่า
แสวงหาก็ตาม ไม่น่าแสวงหาก็ตาม ยกไว้, บทนี้เป็นชื่อของอารมณ์
ที่ไม่น่าพอใจ.
ชื่อว่า อกนฺตา - ไม่น่าใคร่ เพราะอรรถว่า ไม่ก้าวเข้าไปในใจ.

ชื่อว่า อมนาปา-ไม่น่าพอใจ เพราะอรรถว่า ไม่น่ารักในใจ
หรือไม่เจริญใจ.
บทว่า รูปา เป็นต้น แสดงถึงสภาวะของบทเหล่านั้น.
ชื่อว่า อนตฺถกามา เพราะอรรถว่า หวัง คือ ปรารถนา
สิ่งไม่เป็นประโยชน์.
ชื่อว่า อหิตกามา เพราะอรรถว่า หวัง คือ ปรารถนาสิ่ง
ไม่เกื้อกูล.
ชื่อว่า อผาสุกามา เพราะอรรถว่า หวัง คือ ปรารถนาความไม่
ผาสุกอยู่อย่างลำบาก.
ชื่อว่า อโยคกฺเขมกามา เพราะอรรถว่า ไม่หวังความปลอด
โปร่ง ความปลอดภัย ความหลุดพ้นจากโยคะ 4 คือ หวังปรารถนา
ความมีภัย ความเวียนว่ายตายเกิด ของรูปเป็นต้นเหล่านั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อนตฺถกามา เพราะไม่หวังสิ่งเป็น
ประโยชน์ คือ ความเจริญแห่งศรัทธาเป็นต้น , และเพราะหวังสิ่งไม่
เป็นประโยชน์ คือ ความเสื่อมแห่งศรัทธาเป็นต้นเหล่านั้น.
ชื่อว่า อหิตกามา เพราะไม่หวังประโยชน์เกื้อกูลอันเป็นอุบาย
เข้าถึงศรัทธาเป็นต้น และเพราะหวังสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล อัน
เป็นอุบายเข้าถึงความเสื่อมศรัทธาเป็นต้น.
ชื่อว่า อผาสุกามา เพราะไม่หวังอยู่สบาย, และเพราะหวัง
อยู่ไม่สบาย.

ชื่อว่า อโยคกฺเขมกามา เพราะไม่หวังความปลอดภัยใด ๆ.
และเพราะหวังความมีภัย. พึงเห็นความในบทนี้ อย่างนี้ ด้วยประการ
ฉะนี้.
บทว่า สงฺคติ ได้แก่ การไปร่วมกัน.
บทว่า สมาคโม ได้แก่ การมาร่วมกัน.
บทว่า สโมธานํ ได้แก่ การอยู่ร่วมทั้งในเวลายืนเวลานั่ง
เป็นต้น.
บทว่า มิสฺสีภาโว ได้แก่ การทำกิจทั้งปวงร่วมกัน. บทนี้
โยชนาแก้ว่า ด้วยอำนาจสัตว์. แต่พึงถือเอากิจที่ได้ด้วยอำนาจของ
สังขาร. การอยู่ร่วมกันกับสัตว์หรือสังขารอันไม่เป็นที่รักนั้น โดยอรรถ
ชื่อว่า ธรรมข้อหนึ่งไม่มี, ท่านกล่าวว่า ทุกข์ เพราะความเป็นที่ตั้ง
แห่งทุกข์ แม้ 2 อย่าง ของสัตว์ผู้อยู่ร่วมกันกับสัตว์หรือสังขารอันไม่
เป็นที่รัก.
ปิยวิปปโยคนิทเทส พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.
ในบทมีอาทิว่า มาตา วา ท่านกล่าวเพื่อแสดงถึงความหวังประโยชน์
โดยสรุป.
ในบทเหล่านั้น ชื่อว่า มาตา เพราะอรรถว่า ถนอมรัก.
ชื่อว่า ปิตา เพราะอรรถว่า ประพฤติน่ารัก.
ชื่อว่า ภาตา เพราะอรรถว่า ย่อมคบ.
ชื่อว่า ภคินี ก็เหมือนกัน.

ชื่อว่า มิตร เพราะอรรถว่า เป็นที่รัก อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
มิตร เพราะอรรถว่า นับไว้ คือ วางใจได้ในความลับทั้งปวง
ชื่อว่า อมัจจา เพราะอรรถว่า เป็นอยู่ด้วยกัน โดยความ
ร่วมกันในกิจที่ควรทำ.
ชื่อว่า ญาติ เพราะอรรถว่า รู้ คือ เข้าใจอย่างนี้ว่า บุคคลนี้
เป็นคนภายในของเรา.
ชื่อว่า สาโลหิตา เพราะอรรถว่า เกี่ยวเนื่องกันทางสายเลือด.
ญาติ คือ คนฝ่ายบิดา, สาโลหิต คือ คนฝ่ายมารดา. อีก
อย่างหนึ่ง ญาติ คือ คนฝ่ายมารดาบิดา, สาโลหิต คือ คนฝ่าย
พ่อผัวแม่ผัว.
การพลัดพรากจากสัตว์หรือสังขารนี้ โดยอรรถ ชื่อธรรมข้อหนึ่ง
ย่อมไม่มี, ท่านกล่าวว่า ทุกข์ เพราะความเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ แม้
2 อย่าง ของสัตว์ผู้พลัดพรากจากสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รักอย่างสิ้น
เชิง. คำนี้ ในบทนี้ เป็นคำในอรรถกถาทั้งหมด. ควรจะกล่าวว่า
วัตถุอันไม่เป็นที่รักและเป็นที่รัก ต่างจากคำว่า สมฺปโยโค - การอยู่ร่วม
และคำว่า วิปฺปโยโค - ความพลัดพราก เพราะสัจธรรมทั้งหลายมี
ลักษณะเป็นของจริงแท้.

พึงทราบวินิจฉัยในอิจฉิตาลาภนิทเทสดังต่อไปนี้ บทว่า ชาติ
ธมฺมานํ - สัตว์ทั้งหลายมีความเกิดเป็นธรรมดา ได้แก่ มีความเกิดเป็น
สภาพ คือ มีความเกิดเป็นปรกติ
บทว่า อิจฺฉา อุปฺปชฺชติ - ความปรารถนาเกิดขึ้น ได้แก่ ตัณหา
เกิดขึ้น.
บทว่า อโห วต คือ ความปรารถนา.
บทว่า อสฺสาม แปลว่า พึงเป็น.
บทว่า น โข ปเนตํ อิจฺฉาย ปตฺตพฺพํ ข้อนี้ สัตว์ไม่พึงได้
ตามความปรารถนา. ข้อที่สัตว์ทั้งหลายปรารถนาความไม่มาแห่งชาติ
อันมีอยู่ในความดีทั้งหลายเป็นเหตุแห่งความละอย่างนี้ว่า ขอเราอย่ามี
ชาติเป็นธรรมดาและชาติอย่ามาถึงแก่เราเลย และมีอยู่ในความดับความ
ไม่เกิดเป็นธรรมดา นี้เป็นอันสัตว์ไม่พึงได้ตามความปรารถนา เพราะ
แม้ผู้ปรารถนาเว้นมรรคภาวนาก็ไม่พึงถึง และเพราะแม้ผู้ไม่ปรารถนา
ก็พึงถึงได้ด้วยภาวนา.
บทว่า อิทมฺปิ คือ เอตมฺปิ แม้ข้อนั้น. อปิศัพท์หมายถึง
บทที่เหลือข้างหน้า.
พึงทราบวินิจฉัยในอุปาทานขันธนิทเทสดังต่อไปนี้ บทว่า
เสยฺยถีทํ เป็นนิบาต, ความแห่งบทนั้นว่า หากถามว่า อุปาทานขันธ์

เหล่านั้นเป็นไฉน ? ตอบว่า อุปาทานขันธ์ คือ รูปนั่นเอง เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่า รูปูปาทานกฺขนฺโธ. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้
เหมือนกัน.
จบ อรรถกถาทุกขสัจนิทเทส

สมุทยสัจนิทเทส


[83]ในจตุราริยสัจนั้น ทุกขสมุทยอริยสัจเป็นไฉน ตัณหา
นี้ใดอันให้เกิดในภพใหม่ สหรคตด้วยนันทิราคะ อันเพลิดเพลินใน
อารมณ์นั้น ๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ก็ตัณหานี้นั้นแล
เมื่อเกิดย่อมเกิดที่ไหน เมื่อตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ที่ไหน สิ่งใดเป็นที่รักที่
ยินดีในโลก ตัณหานั้นเมื่อเกิดย่อมเกิดในสิ่งนั้น เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ใน
สิ่งนั้น ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นที่รักที่ยินดีในโลก จักษุเป็นที่รักที่ยินดีใน
โลก ตัณหานั้นเมื่อเกิดย่อมเกิดที่จักษุนั้น เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่จักษุนั้น
โสตะ...ฆานะ...ชิวหา...กายะ... มานะ เป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานั้น
เมื่อเกิดย่อมเกิดที่ใจนั้น เมื่อตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ที่ใจนั้น รูปทั้งหลายเป็น
ที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานั้นเมื่อเกิดย่อมเกิดที่รูปนั้น เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้ง
อยู่ที่รูปนั้น เสียง ฯลฯ ธรรมารมณ์...จักษุวิญญาณ ฯลฯ จักษุ
สัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่จักษุสัมผัส ฯลฯ เวทนา
ที่เกิดแต่มโนสัมผัส รูปสัญญา ฯลฯ ธรรมสัญญา รูปสัญเจตนา