เมนู

ความเป็นผู้กระทำเป็นต้นของต้นนั้นได้แต่ไหน. สมดังที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากรูปนี้เป็นตัวตนแล้วไซร้,
รูปนี้จะไม่พึงเป็นไปเพื่อความอาพาธเลย.1 อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ชื่อว่า
อนัตตา เพราะไม่มีแก่นสารในตน ไม่มีแก่นสารเป็นนิจ.
จบ อรรถกถาลักขณัตติกนิทเทส


ทุกขสัจนิทเทส


[80] ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่อง
รู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วว่า นี้ทุกขอริยสัจ นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ นี้
ทุกขนิโรธอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ชื่อว่าสุตมยญาณ
อย่างไร ?
ในอริยสัจ 4 ประการนั้น ทุกขอริยสัจเป็นไฉน ชาติเป็นทุกข์
ชราเป็นทุกข์ มรณะเป็นทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
อุปายาสเป็นทุกข์ ความประจวบกับสังขารหรือสัตว์อันไม่เป็นที่รัก เป็น
ทุกข์ ความพลัดพรากจากสังขารหรือสัตว์อันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความ
ไม่ได้สมปรารถนา ก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์.
1. วิ. มหา. 4/20.

ชาติในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความเกิด ความเกิดพร้อม
ความก้าวลง ความบังเกิด ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์
ทั้งหลาย ความกลับได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ นี้ท่านกล่าวว่า ชาติ.
ชราในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความแก่ ความชำรุด ความ
เป็นผู้มีฟันหัก ความเป็นผู้มีผมหงอก ความเป็นผู้มีหนังเหี่ยว ความ
เสื่อมอายุ ความแก่แห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในหมู่สัตว์นั้น ๆ แห่งสัตว์
นั้นๆ นี้ท่านกล่าวว่า ชรา.
มรณะในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความจุติ ความเคลื่อน
ความแตก ความหายไป ความถึงตาย ความตาย ความทำกาละ
ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์
จากหมู่สัตว์นั้น ๆ แห่งสัตว์นั้น ๆ นี้ท่านกล่าวว่า มรณะ.
[81] โสกะในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความโศก กิริยาที่
โศก ความเป็นผู้โศก ความโศก ณ ภายใน ความตรอมตรม ณ ภายใน
ความเผาจิต ความเสียใจ ลูกศร คือ ความโศก แห่งบุคคลผู้ถูกความ
ฉิบหายแห่งญาติกระทบเข้าก็ดี ผู้ถูกความฉิบหายแห่งสมบัติกระทบเข้า
ก็ดี ผู้ถูกความฉิบหาย คือ โรคกระทบเข้าก็ดี ผู้ถูกความฉิบหายแห่ง
ศีลกระทบเข้าก็ดี ผู้ถูกความฉิบหายแห่งทิฏฐิกระทบเข้าก็ดี ผู้ประจวบ
กับความฉิบหายอื่น ๆ ก็ดี ผู้ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่น ๆ กระทบเข้าก็ดี นี้ท่าน
กล่าวว่า โสกะ.

ปริเทวะในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความครวญ ความคร่ำ-
ครวญ ความร่ำไร ความเป็นผู้ร่ำไร ความเป็นผู้รำพัน ความบ่นด้วย
วาจา ความเพ้อด้วยวาจา ความพูดพร่ำเพรื่อ กิริยาที่พูดพร่ำ ความ
เป็นผู้พูดพร่ำเพรื่อ แห่งบุคคลผู้ถูกความฉิบหายแห่งญาติกระทบเข้าก็ดี
. . . ผู้ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่น ๆ กระทบเข้าก็ดี นี้ท่านกล่าวว่า ปริเทวะ.
ทุกข์ในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความไม่สำราญ ความลำบาก
อันมีทางกาย ความไม่สำราญ ความลำบากที่สัตว์เสวยแล้วซึ่งเกิดแต่
กายสัมผัส กิริยาอันไม่สำราญ ทุกขเวทนาซึ่งเกิดแต่กายสัมผัส นี้ท่าน
กล่าวว่า ทุกข์.
โทมนัสสะในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความไม่สำราญ ความ
ลำบากอันมีทางใจ ความไม่สำราญ ความลำบากที่สัตว์เสวยแล้วเกิดแต่
สัมผัสทางใจ กิริยาอันไม่สำราญ ทุกขเวทนาซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางใจ นี้
ท่านกล่าวว่า โทมนัสสะ.
อุปายาสะในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความแค้น ความเคือง
ความเป็นผู้แค้น ความเป็นผู้เคือง แห่งบุคคลผู้ถูกความฉิบหายแห่งญาติ
กระทบเข้าก็ดี. . . ผู้ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่น ๆ กระทบเข้าก็ดี นี้ท่านกล่าวว่า
อุปายาสะ.
[82] ความประจวบกับสังขารหรือสัตว์อันไม่เป็นที่รัก เป็น
ทุกข์ในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน สังขารเหล่าใด คือ รูป เสียง กลิ่น

รส โผฏฐัพพะอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจในโลกนี้
ย่อมมีแก่บุคคลนั้น หรือ สัตว์เหล่าใดเป็นผู้ไม่หวังประโยชน์ ไม่หวัง
ความเกื้อกูล ไม่หวังความสบาย ไม่หวังความปลอดโปร่งจากโยคกิเลส
แก่บุคคลนั้น การไปร่วมกัน การมาร่วมกัน การอยู่ร่วมกัน การ
ทำกิจร่วมกัน กับสังขารหรือสัตว์เหล่านั้น นี้ท่านกล่าวว่า ความ
ประจวบกับสังขารหรือสัตว์อันไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์.
ความพลัดพรากจากสังขารหรือสัตว์อันเป็นที่รัก เป็นทุกข์ใน
ทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน สังขารเหล่าใด คือ รูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ในโลกนี้ ย่อมมีแก่
บุคคลนั้น หรือสัตว์เหล่าใด คือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย
พี่หญิง น้องหญิง มิตร พวกพ้อง ญาติ หรือสาโลหิตเป็นผู้หวัง
ประโยชน์ หวังความเกื้อกูล หวังความสบาย หวังความปลอดโปร่ง
จากโยคกิเลสแก่บุคคลนั้น การไม่ได้ไปร่วมกัน การไม่ได้มาร่วมกัน
การไม่ได้อยู่ร่วมกัน การไม่ได้ทำกิจร่วมกันกับสังขารหรือสัตว์เหล่านั้น
นี้ท่านกล่าวว่า ความพลัดพรากจากสังขารหรือสัตว์อันเป็นที่รัก เป็น
ทุกข์.
ความไม่ได้สมปรารถนาเป็นทุกข์ในทุกขอริยสัจเป็นไฉน สัตว์
ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา มีความปรารถนาเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า
ขอเราทั้งหลายอย่ามีชาติเป็นธรรมดา และชาติอย่างมาถึงแก่เราทั้งหลาย

เลย ข้อนี้อันสัตว์ทั้งหลายไม่พึงได้ตามความปรารถนา แม้ความปรารถนา
สิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นี้ก็เป็นทุกข์ สัตว์ทั้งหลายมีชราเป็นธรรมดา ฯลฯ
สัตว์ทั้งหลายมีพยาธิเป็นธรรมดา ฯลฯ สัตว์ทั้งหลายมีมรณะเป็น
ธรรมดา ฯลฯ สัตว์ทั้งหลายมีโสกะปริเทวะ ทุกข์โทมนัสสะและอุปายาสะ
เป็นธรรมดา มีความปรารถนาเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ขอเราทั้งหลายอย่าพึง
มีความโศก ความร่ำไร ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความคับแค้น
ใจเป็นธรรมดาเลยและขอความโศก ความร่ำไร ความทุกข์กาย ความ
ทุกข์ใจและความคับแค้นใจ ไม่พึงมาถึงแก่เราทั้งหลายเลย ข้อนี้อัน
สัตว์ทั้งหลายไม่พึงได้ตามความปรารถนา ความไม่ได้สมปรารถนาแม้
นี้ก็เป็นทุกข์.
โดยย่ออุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์ ในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน
อุปาทานขันธ์ คือ รูป อุปาทานขันธ์ คือ เวทนา อุปาทานขันธ์ คือ
สัญญา อุปาทานขันธ์ คือ สังขาร อุปาทานขันธ์ คือ วิญญาณ
อุปาทานขันธ์เหล่านี้ ท่านกล่าวว่า โดยย่ออุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์
นิท่านกล่าวว่า ทุกขอริยสัจ.

อรรถกถาทุกขสัจนิทเทส


80]พระสารีบุตรได้ชี้แจงแม้จตุกอริยสัจ โดยเป็นอันเดียวกัน
เพราะสัจจะทั้งหลายเกี่ยวเนื่องเป็นอันเดียวกันด้วยอรรถว่า เป็นของ
จริงแท้.