เมนู

อรรถกถาลักขณัตติกนิทเทส


79] บัดนี้ เพราะโลกิยธรรมแม้อย่างหนึ่ง ๆ ถูกกำจัดด้วย
ไตรลักษณ์, ฉะนั้นท่านจึงชี้แจงไตรลักษณ์เป็นอันเดียวกัน.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อนิจฺจํ ขยฏฺเฐน - รูปไม่เที่ยงเพราะ
อรรถว่า สิ้นไป คือ รูป ชื่อว่า ไม่เที่ยง เพราะความสิ้นไปในลักษณะ
นั้น ๆ. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ชื่อว่า ไม่เที่ยง เพราะมีความสิ้นไป
เสื่อมไป หมดความยินดี ดับไปเป็นธรรมดา.
บทว่า ทุกฺขํ ภยฏฺเฐน เป็นทุกข์ เพราะอรรถว่า น่ากลัว
คือ ชื่อว่า ทุกข์ เพราะความมีภัยเฉพาะหน้า. เพราะสิ่งใดเป็นทุกข์
สิ่งนั้นไม่เที่ยงย่อมนำมาซึ่งความน่ากลัว ดุจความทุกข์ของทวยเทพใน
สีโหปมสูตร1ฉะนั้น. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ชื่อว่า ทุกฺขํ ด้วยอรรถว่า
ชาติ ชรา พยาธิ และมรณะ เป็นสิ่งน่ากลัว.
บทว่า อนตฺตา อสารกฏฺเฐน เป็นอนัตตา เพราะอรรถว่า
หาแก่นสารมิได้ คือ ชื่อว่า อนัตตา เพราะไม่มีแก่นสารในตนที่
กำหนดไว้อย่างนี้ว่า ตัวตน ผู้อยู่อาศัย ผู้กระทำ ผู้รู้ ผู้มีอำนาจเอง
เพราะว่าสิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ สิ่งนั้น ไม่สามารถจะดำรงความไม่
เที่ยงแม้ของตนหรือความเกิด ความเสื่อมและความบีบคั้นไว้ได้, จะหา
1. สํ. ขนฺธ. 17/154.

ความเป็นผู้กระทำเป็นต้นของต้นนั้นได้แต่ไหน. สมดังที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากรูปนี้เป็นตัวตนแล้วไซร้,
รูปนี้จะไม่พึงเป็นไปเพื่อความอาพาธเลย.1 อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ชื่อว่า
อนัตตา เพราะไม่มีแก่นสารในตน ไม่มีแก่นสารเป็นนิจ.
จบ อรรถกถาลักขณัตติกนิทเทส


ทุกขสัจนิทเทส


[80] ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่อง
รู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วว่า นี้ทุกขอริยสัจ นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ นี้
ทุกขนิโรธอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ชื่อว่าสุตมยญาณ
อย่างไร ?
ในอริยสัจ 4 ประการนั้น ทุกขอริยสัจเป็นไฉน ชาติเป็นทุกข์
ชราเป็นทุกข์ มรณะเป็นทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
อุปายาสเป็นทุกข์ ความประจวบกับสังขารหรือสัตว์อันไม่เป็นที่รัก เป็น
ทุกข์ ความพลัดพรากจากสังขารหรือสัตว์อันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความ
ไม่ได้สมปรารถนา ก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์.
1. วิ. มหา. 4/20.