เมนู

อรรถกถาหานภาคิยจตุกนิทเทส1


บัดนี้ เพราะความที่ธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ย่าม
มีโดยประเภทที่ว่างจากสมาธิอย่างหนึ่ง ๆ, ฉะนั้น พระสารีบุตรจึงได้
ชี้แจงหานภาคิยจตุกะโดยเป็นอันเดียวกัน.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปฐมสฺส ฌานสฺส ลาภึ คือ ของ
พระโยคาวจรผู้ได้ปฐมฌาน. บทว่า ลาภึ เป็นทุติยาวิภัตติลงใน
อรรถฉัฏฐีวิภัตติ. ลาโภ ท่านกล่าวเป็น ลาภี เพราะอรรถว่า มีการ
ทำให้แจ้ง.
ศัพท์ว่า สหคต ในบทว่า กามสหคตา นี้ท่านประสงค์เอา
ความว่า อารมณ์, อธิบายว่า มีวัตถุกามและกิเลสกามเป็นอารมณ์.
บทว่า สญฺญามนสิการา - สัญญาและมนสิการ ได้แก่ ชวน-
สัญญา และมนสิการด้วยความคำนึงถึงสัญญานั้น. มนสิการสัมปยุตด้วย
ญาณก็ควร. บทว่า สมุทาจรนฺติ ย่อมปรากฏ คือ ย่อมเป็นไป.
บทว่า ธมฺโม ได้แก่ ธรรม คือ ปฐมฌาน. พระโยคาวจร
เมื่อเสื่อมจากฌาน ชื่อว่า เสื่อมด้วยเหตุ 3 ประการ คือ ด้วยกิเลส
กำเริบ 1 ด้วยอสัปปายกิริยา 1 ด้วยการไม่ประกอบความเพียร 1.
เมื่อเสื่อมด้วยกิเลสกำเริบ ชื่อว่า เสื่อมเร็ว. เมื่อเสื่อมด้วยอสัปปายกิริยา
1. อยู่ในข้อ 78.

ด้วยอำนาจการประกอบความเป็นผู้ยินดีในการงาน ความเป็นผู้ยินดีใน
การพูดเหลวไหล ความเป็นผู้ยินดีในการนอน ความเป็นผู้ยินดีในการ
คลุกคลี ชื่อว่า เสื่อมช้า, เมื่อไม่เข้าถึงเนือง ๆ ด้วย ปลิโพธ - ความ
กังวล มีความเจ็บไข้และความวิบัติด้วยปัจจัยเป็นต้น แม้เมื่อเสื่อมด้วย
การไม่ประกอบความเพียร ก็ชื่อว่า เสื่อมช้า. แต่ในนิทเทสนี้ พระ-
สารีบุตรเมื่อจะแสดงเหตุอันมีกำลังเท่านั้น จึงกล่าวถึงกิเลสกำเริบอย่าง
เดียว.
ก็เมื่อพระโยคาวจรเสื่อมจากทุติยฌานเป็นต้น ชื่อว่า เสื่อม
แม้ด้วยความพอใจในฌานชั้นต่ำ ๆ กำเริบ. ถามว่า เป็นอันเสื่อมด้วย
เหตุประมาณเท่าไร ? ตอบว่า เป็นอันเสื่อมด้วยเหตุเท่าที่ไม่สามารถจะ
เข้าถึงได้.
บทว่า ตทนุธมฺมตา - ความพอใจอันเป็นธรรมสมควรแก่ปฐม-
ฌานนั้น คือ ธรรมอันเป็นไปสมควร ชื่อว่า อนุธมฺโม. บทนี้เป็น
ชื่อของธรรม คือ ความพอใจอันเป็นไปเพราะทำฌานให้ยิ่ง. ธรรมอัน
สมควรนั่นแล ชื่อว่า อนุธมฺมตา. ความเป็นธรรมสมควรแก่ฌานนั้น
ชื่อว่า ตทนุธมฺมุตา.
บทว่า สติ คือ พอใจ. บทว่า สนฺติฏฺฐติ คือ ตั้งอยู่. ท่าน
อธิบายว่า ความพอใจอันเป็นไปตามปฐมฌานนั้น ยังเป็นไปอยู่.

บทว่า อวิตกฺกสหคตา - ไม่สหรคตด้วยวิตก ได้แก่ มีทุติย-
ฌานเป็นอารมณ์. บทนั้นท่านกล่าวว่า อวิตกฺกํ เพราะในทุติยฌานนี้
ไม่มีวิตก.
บทว่า นิพฺพิทาสหคตา - สหรคตด้วยนิพพิทา ได้แก่ มีวิปัสสนา
เป็นอารมณ์. วิปัสสนานั้นท่านกล่าวว่า นิพฺพิทา เพราะเบื่อหน่ายใน
สังขารทั้งหลาย, สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า นิพฺพินฺทํ
วิรชฺชติ
1 เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด.
บทว่า วิราคูปสญฺหิตา ประกอบด้วย วิราคะ ได้แก่ วิปัสสนา
ประกอบด้วยอริยมรรค. วิปัสสนานั้นถึงยอดแล้ว ให้บรรลุความตั้งขึ้น
ของมรรค. เพราะฉะนั้น สัญญาและมนสิการมีวิปัสสนาเป็นอารมณ์
ท่านจึงกล่าวว่า วิราคูปสญฺหิตา - ประกอบด้วยวิราคะ, สมดังที่พระผู้-
มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า วิราคา วิมุจฺจติ2 เพราะคลายความกำหนัด
จิตย่อมหลุดพ้น.
บทว่า วิตกฺกสหคตา - สหรคตด้วยวิตก ได้แก่ มีปฐมฌาน
เป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจวิตก.
บทว่า อุเปกฺขาสุขสหคตา - สหรคตด้วยอุเบกขาและสุข ได้
แก่ มีตติยฌานเป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจอุเบกขา คือ เป็นกลางในฌาน
1. วิ. มหา. 4/23. 2. สํ. ขนฺธ. 17/109.

นั้นและด้วยสุขเวทนา.
บทว่า ปีติสุขสหคตา - สหรคตด้วยปีติและสุข ได้แก่ มีทุติย-
ฌานเป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจปีติและสุขเวทนา.
บทว่า อทุกฺขมสุขสหคตา - สหรคตด้วยอทุกขมสุข ได้แก่
มีจตุตถฌานเป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจอุเบกขาเวทนา. เวทนานั้นไม่มี
ทุกข์ ไม่มีสุข เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อทุกฺขมสุขเวทนา. ม
อักษรในบทนี้ท่านกล่าวด้วยบทสนธิ.
บทว่า รูปสหคตา - สหรคตด้วยรูป ได้แก่ แม้เมื่อมีธรรม
เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่
และธรรมเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลสของพระโยคาวจรผู้ตั้งอยู่
ในเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะมีรูปฌานเป็นอารมณ์ ท่านก็มิได้
ชี้แจงถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะไม่มีธรรมเป็นไปในส่วนแห่ง
ความวิเศษ. ท่านกล่าวว่า สมาธิอันเป็นโลกิยะนี้แม้ทั้งหมดเป็นไปใน
ส่วนแห่งความเสื่อมแก่พระโยคีผู้มีอินทรีย์อย่างอ่อน มีปกติอยู่ด้วยความ
ประมาท, เป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่แก่พระโยคีผู้มีอินทรีย์อย่าง
อ่อน มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท. เป็นไปในส่วนแห่งความพิเศษ
แก่พระโยคีผู้มีอินทรีย์แก่กล้าอันมีตัณหาเป็นจริต, เป็นไปในส่วนแห่ง
การชำแรกกิเลสแก่พระโยคีผู้มีอินทรีย์แก่กล้ามีทิฏฐิเป็นจริต.
จบ อรรถกถาหานภาคิยจตุกนิทเทส

ลักขณัตติกนิทเทส


[79] ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่อง
รู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวง
เป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ชื่อว่าสุตมยญาณอย่างไร ?
ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรม
ที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า รูปไม่เที่ยงเพราะความว่าในรูป เป็นทุกข์
เพราะความว่าน่ากลัว เป็นอนัตตาเพราะความว่าหาแก่นสารมิได้ ชื่อว่า
สุตมยญาณ ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัด
ธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ
ฯลฯ ชราและมรณะ ไม่เที่ยง เพราะความว่าสิ้นไป เป็นทุกข์เพราะ
ความว่าน่ากลัว เป็นอนัตตาเพราะความว่าหาแก่นสารมิได้ ชื่อว่า
สุตมยญาณ ชื่อว่าญาณด้วยอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญาด้วยอรรถ
ว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้
สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า สังขารทั้งปวง
ไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ชื่อว่า
สุตมยญาณ.