เมนู

สัจฉิกาตัพพนิทเทส


[77] ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่อง
รู้ชัดซึ่งธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่า
สุตมยญาณอย่างไร ?
ธรรมอย่างหนึ่งควรทำให้แจ้ง คือ เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบ, ธรรม
2 ควรทำให้แจ้ง คือ วิชชา 1. วิมุตติ 1, ธรรม 3 ควรทำให้แจ้ง คือ
วิชชา 3, ธรรม 4 ควรทำให้แจ้ง คือ สามัญญผล 4, ธรรม 5 ควร
ทำให้แจ้ง คือ ธรรมขันธ์ 5, ธรรม 6 ควรทำให้แจ้ง คือ อภิญญา 6,
ธรรม 7 ควรทำให้แจ้ง คือ กำลังของพระขีณาสพ 7, ธรรม 8 ควร
ทำให้แจ้ง คือ วิโมกข์ 8, ธรรม 9 ควรทำให้แจ้ง คือ อนุปุพพนิโรธ 9,
ธรรม 10 ควรทำให้แจ้ง คือ อเสกขธรรม 10.
[78] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรทำให้แจ้ง ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลายก็สิ่งทั้งปวงควรทำให้แจ้ง คือ อะไร ? คือ จักษุ รูป จักษุ-
วิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา
ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ควรทำให้แจ้งทุกอย่าง หู เสียง
ฯลฯ จมูก กลิ่น ฯลฯ ลิ้น รส ฯลฯ กาย โผฏฐัพพะ ฯลฯ ใจ
ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ
แม้อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ควรทำให้แจ้ง
ทุกอย่าง.

พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นรูป ย่อมทำให้แจ้งโดยทำให้เป็น
อารมณ์ เมื่อพิจารณาเห็นเวทนา . . . เมื่อพิจารณาเห็นสัญญา . . . เมื่อ
พิจารณาเห็นสังขาร . . . เมื่อพิจารณาเห็นวิญญาณ . . . เมื่อพิจารณา
เห็นจักษุ . . . เมื่อพิจารณาเห็นชราและมรณะ . . . เมื่อพิจารณาเห็น
นิพพานอันหยั่งลงในอมตะด้วยอรรถว่าเป็นที่สุด ย่อมทำให้แจ้งโดยทำ
ให้เป็นอารมณ์ ธรรมใด ๆ เป็นธรรมอันทำให้แจ้งแล้ว ธรรมนั้น ๆ
ย่อมเป็นธรรมอันถูกต้องแล้ว.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ๆ ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรม
ที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้
ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าสุตมยญาณ.
ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรม
ที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม
ธรรมเหล่านี้ไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วน
แห่งความวิเศษ ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนชำแรกกิเลส ชื่อว่าสุตมย-
ญาณ.
สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยกาม ของพระโยคาวจรผู้ได้
ปฐมฌานเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ความ
พอใจอันเป็นธรรมสมควรแก่ปฐมฌานนั้นยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไป

ในส่วนแห่งความตั้งอยู่ สัญญาและมนสิการอันไม่ประกอบด้วยวิตกเป็น
ไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ สัญญาและมนสิการ
อันสหรคตด้วยความเบื่อหน่าย ประกอบด้วยวิราคะเป็นไปอยู่ นี้เป็น
ธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส สัญญาและมนสิการอัน
ประกอบด้วยวิตก ของพระโยคาวจร ผู้ได้ทุติยฌานเป็นไปอยู่ นี้
เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ความพอใจอันเป็นธรรมสม-
ควรแก่ทุติยฌานนั้นยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่
สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยอุเบกขาและสุขเป็นไปอยู่ นี้เป็น
ธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ สัญญาและมนสิการอันสหรคต
ด้วยความเบื่อหน่าย ประกอบด้วยวิราคะเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไป
ในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยปีติ
และสุข ของพระโยคาวจร ผู้ได้ตติยฌานเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรม
เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ความพอใจอันเป็นธรรมสมควรแก่ตติย-
ฌานนั้นยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ สัญญา
และมนสิการอันประกอบด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรม
เป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ สัญญาและมนสิการอันสหรคตด้วยความ
เบื่อหน่าย ประกอบด้วยวิราคะเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วน
แห่งความชำแรกกิเลส สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยอุเบกขาและ
สุขของพระโยคาวจรผู้ได้จตุตถฌานเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปใน

ส่วนแห่งความเสื่อม ความพอใจอันเป็นธรรมสมควรแก่จตุตถฌานนั้น
ยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ สัญญาและมน-
สิการอันประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌานเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรม
เป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ สัญญาและมนสิการอันสหรคตด้วยความ
เบื่อหน่าย ประกอบด้วยวิราคะเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วน
แห่งความชำแรกกิเลส สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยรูป ของ
พระโยคาวจรผู้ได้อากาสานัญจายตนฌานเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็น
ไปในส่วนแห่งความเสื่อม ความพอใจอันเป็นธรรมสมควรแก่อากาสา-
นัญจายตนฌานนั้นยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่
สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานเป็นไปอยู่
นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ สัญญาและมนสิการอัน
สหรคตด้วยความเบื่อหน่าย ประกอบด้วยวิราคะเป็นไปอยู่ นี้เป็น
ธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส สัญญาและมนสิการอัน
ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌาน ของพระโยคาวจรผู้ได้วิญญาณัญ-
จายตนฌานเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม
ความพอใจอันเป็นธรรมสมควรแก่วิญญญาณัญจายตนฌานนั้นยังตั้งอยู่
นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ สัญญาและมนสิการอันประ-
กอบด้วยอากิญจัญญายตนฌานเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วน
แห่งความวิเศษ สัญญาและมนสิการอันสหรคตด้วยความเบื่อหน่าย

ประกอบด้วยวิราคะเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความ
ชำแรกกิเลส สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌาน
ของพระโยคาวจรผู้ได้อากิญจัญญายตนฌานเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรม
เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ความพอใจอันเป็นธรรมสมควรแก่อา-
กิญจัญญายตนฌานนั้นยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความตั้ง
อยู่ สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ สัญญาและมน-
การอันสหรคตด้วยความเบื่อหน่าย ประกอบด้วยวิราคะเป็นไปอยู่ นี้
เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส ชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถ
ว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา ด้วยอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึง
กล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัด
ธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม
ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วน
แห่งความวิเศษ ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส
ชื่อว่าสุตมยญาณ.

อรรถกถาสัจฉิกาตัพพนิทเทส


77] พึงทราบวินิจฉัยในสัจฉิกาตัพพนิทเทสดังต่อไปนี้ พระ-
สารีบุตรกล่าววิสัชนา เอกุตตรธรรม 10 ข้อ ด้วยการทำให้แจ้งถึงการ
ได้เฉพาะ.