เมนู

อรรถกถาภาเวตัพพนิทเทส


[67]พึงทราบวินิจฉัยในภาเวตัพพนิทเทส ดังต่อไปนี้ บทว่า
กายคตาสติ ได้แก่ สติสัมปยุตด้วยการมนสิการถึงอานาปานสติ อิริ-
ยาบถ 4 อิริยาบถเล็กน้อย อาการ 32 ธาตุ 4 ป่าช้า 9 และการ
กำหนดสิ่งเป็นปฏิกูล ท่านกล่าวไว้แล้วในสูตรอันว่าด้วยกายคตาสติและ
สัมปยุตด้วยรูปฌานตามสมควร. สตินั้นท่านกล่าวว่า กายคตา เพราะ
ไป คือ เป็นไปในกายเหล่านั้น.
บทว่า สาตสหคตา - สติสหรคตด้วยความสำราญ ได้แก่ ถึง
ภาวะมีเกิดขึ้นครั้งเดียวเป็นต้นกับด้วยความสำราญ กล่าวคือ การเสวย
สุขอันหวานชื่น. สหคตะศัพท์ปรากฏในชินวจนะลงในอรรถ 5 ประการ
คือ ในตัพภาวะ - ความกำหนัดด้วยความพอใจ 2 ในโวกิณณะ-
ความเจือ 1 ในอารัมมณะ - อารมณ์ 1 ในนิสสยะ - นิสัย 1
ในสังสัฏฐะ - ความเกี่ยวข้อง 1.
ปรากฏในอรรถร่า ตัพพภาวะ ดังในบทนี้ว่า ยายํ ตณฺหา
โปโนพฺภวิกา นนฺทิราคสหคตา
- ตัณหาทำให้เกิดภพใหม่สหรคตด้วย
นันทิราคะ, อธิบายว่า เป็นความกำหนัดด้วยความพอใจ. ปรากฏใน
อรรถว่า โวกิณณะ ดังในบทนี้ว่า ยา ภิกฺขเว วีมํสา โกสชฺช-
สหคตา โกสชฺชสมิปยุตฺตา
- วิมังสา สหรคตด้วยโกสัชชะ สัมป-
ยุตด้วยโกสัชชะ, อธิบายว่า วีมังสาเจือด้วยโกสัชชะเกิดขึ้นในระหว่าง ๆ.

ปรากฏในบทว่า อารัมมณะ ดังในบทนี้ว่า ลาภี โหติ รูปสหคตานํ
วา สมาปตฺตีนํ อรูปสหคตานํ วา สมาปตฺตีนํ
- ผู้ได้สมาบัติสหรคต
ด้วยรูป หรือสหรคตด้วยอรูป, อธิบายว่า สมาบัติอันมีรูปเป็นอารมณ์
และมีอรูปเป็นอารมณ์. ปรากฏในอรรถว่า นิสสยะ ดังในบทนี้ว่า
อฏฺฐิกสญฺญาสหคตํ สติสมฺโพชฺฌงฺคํ ภาเวติ - ภิกษุเจริญสติสัมโพช-
ฌงค์ หรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา, อธิบายว่า เจริญอัฏฐิกสัญญา อันมี
อัฏฐิกสัญญานอนเนื่องอยู่ในสันดานเป็นอันได้เฉพาะแล้ว. ปรากฏใน
อรรถว่า สังสัฏฐะ ดังในบทนี้ว่า อิทํ สุขํ อิมาย ปีติยา สหคตํ
โหติ สหชาตํ สมิปยุตฺตํ
- สุขนี้สหรคต คือเกิดร่วม คือสัมปยุตด้วย
ปีตินี้, อธิบายเกี่ยวข้องกัน. แม้ในบทนี้ ท่านก็ประสงค์เอาความ
เกี่ยวข้องกัน. เพราะสติเกี่ยวข้องด้วยความสำราญ ท่านกล่าวว่า สาต-
สหคตา - สหรคตด้วยความสำราญ.
จริงอยู่ สติเกี่ยวข้องด้วยความสำราญนั้น เว้นจตุตถฌานใน
ฌานที่เหลือย่อมเป็น สาตสหคตา - สหรคตด้วยความรำราญ, แม้เมื่อ
สติสหรคตด้วยอุเบกขามีอยู่ โดยมากท่านก็กล่าวว่า สาตสหคตา, อีก
อย่างหนึ่ง เพราะจตุตถฌานเป็นมูลของปุริมฌานเป็นอันท่านกล่าวถึง
สติหรคตด้วยอุเบกขาบ้าง เพราะสหรคตด้วยความสำราญ, ก็เมื่อ
ความสุขมีอยู่ด้วยอุเบกขา สติจึงเป็น สาตสหคตา เพราะพระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว ด้วยเหตุนั้นจึงเป็นอันท่านกล่าวถึงสติสัมปยุต
ด้วยจตุตถฌานด้วย.

บทว่า สมโถ จ วิปสฺสนา จ - สมถะและวิปัสสนา. ชื่อว่า
สมถะ เพราะยังธรรมที่เป็นข้าศึก มีกามฉันทะเป็นต้นให้สงบ คือให้
หมดไป สมถะนี้เป็นชื่อของสมาธิ. ชื่อว่า วิปัสสนา เพราะเห็น
ธรรมโดยอาการหลายอย่าง โดยมีความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น วิปัส-
สนานี้เป็นชื่อของปัญญา. ในสองบทนี้ ในทสุตตรปริยายสูตร ท่าน
กล่าวว่า เป็นบุพภาค, และในสังคีติปริยายสูตร ท่านกล่าวว่า เจือ
ด้วยโลกิยะและโลกุตระ.
บทว่า ตโย สมาธี - สมาธิ 3 ได้แก่ สมาธิมีวิตกไม่มีวิจาร 1
สมาธิไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร 1 สมาธิไม่มีทั้งวิตกไม่มีทั้งวิจาร 1. สมาธิ
พร้อมด้วยวิตกเป็นไปด้วยอำนาจสัมปยุตธรรม ชื่อว่า สวิตกฺโก,
สมาธิพร้อมด้วยวิจาร ชื่อว่า สวิจาโร. สมาธินั้น เป็นขณิกสมาธิ-
สมาธิชั่วขณะ เป็นวิปัสสนาสมาธิ - สมาธิเห็นแจ้ง เป็นอุปจารสมาธิ-
- สมาธิเฉียด ๆ ปฐมัชฌานสมาธิ - สมาธิในปฐมฌาน. ชื่อว่า อวิตกฺโก
เพราะสมาธิไม่มีวิตก ชื่อว่า วิจารมตฺโต เพราะในวิตกวิจาร สมาธิ
มีเพียงวิจารมีประมาณยิ่ง, อธิบายว่า สมาธิไม่ถึงการประกอบร่วมกัน
กับวิตกยิ่งกว่าวิจาร. ในปัญจกนัย สมาธินั้นเป็นสมาธิในทุติยฌาน,
สมาธิเว้นทั้งสองอย่างนั้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร. สมาธินั้น ในจตุกนัย
เป็นรูปาวจรสมาธิ มีทุติยฌานเป็นต้น, ในปัญจกนัยเป็นรูปาวจรสมาธิ
มีตติยฌานเป็นต้น. สมาธิแม้ทั้ง 3 เหล่านี้ ก็ยังเป็นโลกิยะอยู่นั่นเอง.
ในสังคีติปริยายสูตร ท่านกล่าวถึงสมาธิ 3 แม้อย่างอื่นอีก คือ สุญฺญต-

สมาธิ - สมาธิว่างจากราคะ โทสะ โมหะ อนิมิตฺตสมาธิ - สมาธิ
ไม่มีราคะ โทสะ โมหะเป็นนิมิต อปฺปณิหิตสมาธิ1- สมาธิหาราคะ
โทสะ โมหะเป็นที่ตั้งมิได้ ด้วยเหตุนั้นในที่นี้ ท่านไม่ประสงค์เอา
สมาธิเหล่านั้น.
บทว่า จตฺตาโร สติปฏฺฐานา - สติปัฏฐาน 4 ได้แก่ กายานุ-
ปัสสนาสติปัฏฐาน 1 เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน 1 จิตตานุปัสสนา
สติปัฏฐาน 2 ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน 1. พระโยคาวจรผู้กำหนด
กาย โดยวิธี 14 อย่าง ในส่วนเบื้องต้น พึงทราบว่า เป็นกายานุ-
ปัสสนาสติปัฏฐาน.
พระโยคาวจรผู้กำหนดเวทนา โดยวิธี 9 อย่าง พึงทราบว่า
เป็นเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน.
พระโยคาวจรผู้กำหนดจิต โดยวิธี 16 อย่าง พึงทราบว่า เป็น
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน.
พระโยคาวจรผู้กำหนดธรรม โดยวิธี 5 อย่าง พึงทราบว่า
เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน.
ในที่นี้ท่านไม่ประสงค์เอาโลกุตรธรรม.
บทว่า ปญฺจงฺคิโก สมาธิ - สมาธิมีองค์ 5 ได้แก่ สมาธิ
ในจตุตถฌาน. องค์ 5 คือ ปีติผรณตา - ปีติซาบซ่าน 1 สุขผรณตา
- ความสุขซาบซ่าน 1 เจโตผรณตา - จิตซาบซ่าน 1 อาโลกผรณตา
- แสงสว่างแผ่ซ่าน 1 ปัจจเวกขณนิมิต - การพิจารณาเป็นนิมิต 1.
1. ที. ปา. 11/228.


ปัญญาในฌาน 2 ชื่อว่า ปีติผรณตา เพราะแผ่ปีติเกิดขึ้น.
ปัญญาในฌาน 3 ชื่อว่า สุขผรณตา เพราะแผ่สุขเกิดขึ้น.
เจโตปริยปัญญา - ปัญญากำหนดรู้จิต ชื่อว่า เจโตผรณตา
เพราะแผ่จิตแก่คนอื่นเกิดขึ้น.
ทิพจักขุปัญญา - ปัญญาเกิดจากตาทิพย์ ชื่อว่า อาโลกผรณตา
เพราะแผ่แสงสว่างเกิดขึ้น.
ปัจจเวกขณญาณ ชื่อว่า ปัจจเวกขณนิมิต. แม้ข้อนี้ท่าน
ก็กล่าวไว้ว่า ปัญญาในฌาน 2 ชื่อว่า ปีติผรณตา, ปัญญาในฌาน 3
ชื่อว่า สุขผรณตา, ปรจิตตปัญญา ชื่อว่า เจโตผรณตา, ทิพจักขุ
ปัญญา ชื่อ อาโลกผรณตา, ปัจจเวกขณญาณของผู้ออกจากสมาธินั้น
ชื่อว่า ปัจจเวกขณนิมิต.
ปัจจเวกขณญาณนั้น ท่านกล่าวว่า เป็นนิมิต เพราะถือเอา
อาการที่เป็นไปของผู้ออกจากสมาธิแล้ว.
อนึ่ง ในสมาธิมีองค์ 5 นั้น ปีติผรณตา สุขผรณตา ดุจเท้า
ทั้งสอง, เจโตผรณตา อาโลกผรณตา ดุจมือทั้งสอง, จตุตถฌาน
มีอภิญญาเป็นบาท ดุจมัชฌิมกาย - กายในท่ามกลาง ปัจจเวกขณนิมิต
ดุจศีรษะ. ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระแสดงสัมมาสมาธิมี
องค์ 5 เปรียบบุรุษผู้สมบูรณ์ด้วยอวัยวะน้อยใหม่.
บทว่า ฉ อนุสฺสติฏฺฐานานิ - อนุสติ . สตินั่นแล เพราะ
เกิดขึ้นบ่อย ๆ จึงเรียกว่า อนุสติ, สติสมควรแก่กุลบุตรผู้บวชด้วย

ศรัทธา เพราะเป็นไปในฐานะที่ควรเป็นไป ชื่อว่า อนุสติก็มี,
อนุสตินั่นแล ชื่อว่า อนุสติฏฐานะ เพราะเป็นฐานแห่งปีติเป็นต้น.
อนุสติ 6 เป็นไฉน ? อนุสติ 6 คือ พุทธานุสติ 1
ธัมมานุสติ 1 สังฆานุสติ 1 สีลานุสติ 1 จาคานุสติ 1 เทวตานุสติ 1.
บทว่า โพชฌงฺคา คือ เพื่อการตรัสรู้, หรือองค์แห่งการ
ตรัสรู้. ท่านอธิบายไว้ว่า พระอริยสาวกย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคี
ได้แก่ สติ ธรรมวิจยะ วีริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา อันเป็น
ปฏิปักษ์ต่ออันตรายไม่น้อย มีความหดหู่ ฟุ้งซ่าน ติดแน่น สะสม
กามสุขัลลิกานุโยค อัตกิลมถานุโยค อุจเฉททิฏฐิ สัสสติทิฏฐิ การ
ยึดมั่นเป็นต้น อันเกิดขึ้นในขณะแห่งโลกุตรมรรค ด้วยเหตุนั้นท่าน
จึงกล่าวว่า โพธิ, บทว่า พุชฺฌติ ย่อมตื่น ได้แก่ ลุกจากหลับ
อันเป็นสันดานกิเลส, หรือแทงตลอดอริยสัจ 4. หรือทำนิพพานให้
แจ้ง, องค์แห่งการตรัสรู้ กล่าวคือ ธรรมสามัคคีนั้น ชื่อว่า โพช-
ฌังคา
บ้าง ดุจองค์ฌานและองค์มรรคเป็นต้น. อริยสาวกตรัสรู้ด้วย
ธรรมสามัคคีมีประการดังกล่าวแล้ว ท่านเรียกว่า โพธิ, องค์แห่ง โพธิ
นั้น ชื่อว่า โพชฌังคา ดุจองค์แห่งเสนาและองค์แห่งรถเป็นต้น. ด้วย
เหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวว่า องค์แห่งบุคคลผู้ตรัสรู้ ชื่อว่า
โพชฌังคา. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบอรรถแห่งโพชฌงค์ โดยนัยมี

อาทิว่า บทว่า โพชฺฌงฺคา ชื่อว่า โพชฌงค์ด้วยอรรถว่ากระไร ? ชื่อว่า
โพชฺฌงฺคา เพราะอรรถว่า ย่อมเป็นไปเพื่อการตรัสรู้
บทว่า อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค - อริยมรรคมีองค์ 8 ชื่อว่า
อริยะ เพราะไกลจากกิเลสที่ถูกฆ่าด้วยมรรคนั้น ๆ เพราะทำความเป็น
อริยะ และเพราะทำให้ได้อริยผล. มรรคมีองค์ 8 ชื่อว่า อัฏฐังคิกะ.
มรรคมีองค์ 8 นั้นดุจเสนามีองค์ 4, เพียงองค์เท่านั้นดุจดนตรีมีองค์ 5,
พ้นไปจากองค์แล้วย่อมไม่มี. องค์มรรคคือโพชฌงค์เป็นโลกุตระ, แม้
ส่วนเบื้องต้นก็ย่อมได้โดยปริยายแห่งทสุตตรสูตร.
บทว่า นว ปาริสุทฺธิปธานิยงฺคานิ - องค์เป็นประธานแห่งความ
บริสุทธิ์ 9 ได้แก่ สีลวิสุทธิ - ความบริสุทธิ์แห่งศีล เป็นองค์ เป็น
ประธานแห่งความบริสุทธิ์ 1 จิตตวิสุทธิ - ความบริสุทธิ์แห่งจิต เป็น
องค์เป็นประธานแห่งความบริสุทธิ์ 1 ทิฏฐิวิสุทธิ - ความบริสุทธิ์แห่ง
ทิฏฐิ เป็นองค์เป็นประธานแห่งความบริสุทธิ์ 1 กังขาวิตรณวิสุทธิ-
ความบริสุทธิ์แห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย เป็นองค์เป็น
ประธานแห่งความบริสุทธิ์ 1 มัคคามัคคญาณทัสนวิสุธิ - ความ
บริสุทธิ์แห่งญาณเป็นเครื่องเห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง เป็นองค์เป็นประ-
ธานแห่งความบริสุทธิ์ 1 ปฏิปทาญาณทัสนวิสุทธิ - ความบริสุทธิ์แห่ง
1. ขุ. ป. 31/557.

ญาณเป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติเป็นองค์เป็นประธานแห่งความบริสุทธิ์ 1
ญาณทัสนวิสุทธิ - ความบริสุทธิ์แห่งญาณทัสนะ เป็นองค์เป็น
ประธานแห่งความบริสุทธิ์ 1 ปัญญาวิสุทธิ - ความบริสุทธิ์แห่งปัญญา
เป็นองค์เป็นประธานแห่งความบริสุทธิ์ 1 วิมุตติวิสุทธิ - ความบริสุทธิ์
แห่งวิมุตติ เป็นองค์เป็นประธานแห่งความบริสุทธิ์1 1.
บทว่า สีลวิสุทฺธิ ได้แก่ จตุปาริสุทธิศีล อันสามารถให้ถึง
ความหมดจด. สีลวิสุทธินั้น ชำระมลทิน คือ ความเป็นผู้ทุศีล.
บทว่า ปาริสุทธิปธานิยงฺคํ คือองค์ เป็นประธานสูงสุดแห่ง
ความเป็นผู้บริสุทธิ์.
บทว่า จิตฺตวิสุทฺธิ ได้แก่ สมาบัติ 8 อันคล่องแคล่ว เป็น
ปทัฏฐานแห่งวิปัสสนา.
บทว่า ทิฏฺฐิวิสุทฺธิ คือ การเห็นนามรูปพร้อมด้วยปัจจัย.
ทิฏฐิวิสุทธินั้น ชำระมลทิน คือ สัตวทิฏฐิ - ความเห็นว่าเป็นสัตว์ให้หมดจด.
บทว่า กงฺขาวิตรณวสุทฺธิ คือ ความรู้ปัจจยาการ. พระ-
โยคาวจรเมื่อเห็นว่าธรรมทั้งหลาย ย่อมเป็นไปด้วยสามารถปัจจัยใน
อัทธา - กาลอันยืดยาว 3 ด้วยกังขาวิตรณวิสุทธินั้น ข้ามมลทิน คือ
ความสงสัย 7 ในอัทธาแม้ 3 ย่อมบริสุทธิ์.
1. ที. ปา. 11/456.

บทว่า มคฺคามคฺคณาณทสฺสนวิสุทฺธิ ได้แก่ วิปัสสนูปกิเลส 10
คือ :-
โอภาส - แสงสว่าง 1
ญาณ - ความรู้ 1
ปีติ - ความอิ่มใจ 1
ปัสสัทธิ - ความสงบ 1
สุข - ความสุข 1
อธิโมกข์ - ความน้อมใจเชื่อ 1
ปัคคหะ - ความเพียร 1
อุปัฏฐาน - ความตั้งมั่น 1
อุเบกขา - ความวางเฉย 1
นิกันติ - ความใคร่ 1
เกิดขึ้นในขณะ อุทยัพพยานุปัสสนา - พิจารณาเห็นความเกิด
และความดับ, มิใช่ทาง, อุทยัพพยญาณปฏิบัติไปตามวิถี เป็นทาง
ด้วยเหตุนั้นชื่อว่า มัคคามัคคญาณ - ญาณในทางและมิใช่ทาง ด้วย
ประการฉะนี้จึงยังมลทินอันมิใช่ทางให้หมดจดด้วยญาณนั้น.
บทว่า ปฏิปทาญาณทสฺสนวิสุทฺธิ ได้แก่ วิปัสสนาญาณ
9 เหล่านี้ คือ :-
อุทยัพพยานุปัสนาญาณ - ปรีชาคำนึงเห็นทั้งความเกิดทั้ง
ความดับ 1

ภังคานุปัสนาญาณ - ปรีชาคำนึงเห็นความดับ 1
ภยตูปัฏฐานานุปัสนาญาณ - ปรีชาคำนึงเห็นสังขารปรากฏ
เป็นของน่ากลัว 1
อาทีนวานุปัสนาญาณ - ปรีชาคำนึงเห็นโทษ 1
นิพพิทานุปัสนาญาณ - ปรีชาคำนึงถึงด้วยความเบื่อหน่าย 1
มุญจิตุกัมยตาญาณ - ปรีชาคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย 1
ปฏิสังขานุปัสนาญาณ - ปรีชาคำนึงด้วยพิจารณาหาทาง 1
สังขารุเปกขาญาณ - ปรีชาคำนึงด้วยความวางเฉยในสังขาร 1
สัจจานุโลมิกญาณ - ปรีชาเป็นไปโดยสมควรแก่กำหนดรู้อริย-
สัจ 1.
วิปัสสนาญาณเหล่านั้น ย่อมชำระมลทินมีความสำคัญว่าเที่ยงเป็นต้น.
บทว่า ญาณทสฺสนวิสุทฺธิ ได้แก่ ปัญญาในอริยมรรค 4.
อริยมรรคปัญญานั้น ย่อมชำระมลทินคือกิเลสที่ถูกฆ่าด้วยมรรคของ
ตน ๆ โดยเด็ดขาด.
บทว่า ปุญฺญาวิสุทฺธิ ได้แก่ ปัญญาในอรหัตผล.
บทว่า วิมุตฺตีวิสุทฺธิ ได้แก่ วิมุตติในอรหัตผล.
บทว่า ทส กสิณายตนานิ - กสิณ 10 ท่านกล่าวถึงกสิณ 10
ไว้อย่างนี้ คือ ท่านหนึ่งรู้พร้อมปฐวีกสิณ เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้อง

ขวาง ไม่มีสอง ไม่มีประมาณ, ท่านหนึ่งรู้พร้อมอาโปกสิณ ฯลฯ
ท่านหนึ่งรู้พร้อมเตโชกสิณ. ท่านหนึ่งรู้พร้อมวาโยกสิณ. ท่านหนึ่ง
รู้พร้อมนีลกสิณ. ท่านหนึ่งรู้พร้อมปีตกสิณ. ท่านหนึ่งรู้พร้อมโลหิต
กสิณ. ท่านหนึ่งรู้พร้อมโอทาตกสิณ. ท่านหนึ่งรู้พร้อมอากาสกสิณ.
ท่านหนึ่งรู้พร้อมวิญญาณกสิณ เบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มี
สอง ไม่มีประมาณ1. ชื่อว่า กสิณ เพราะอรรถว่าแผ่ไปทั่ว, อีก
อย่างหนึ่งชื่อว่า อายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นเขต หรือเป็นที่ตั้งของ
ธรรมอันมีกสิณนั้นเป็นอารมณ์.
บทว่า อุทฺธํ คือ มุ่งเฉพาะท้องฟ้าเบื้องบน. บทว่า อโธ
คือ มุ่งเฉพาะภาคพื้นเบื้องล่าง.
บทว่า ติริยํ คือ กำหนดไว้โดยรอบดุจบริเวณของพื้นที่. เพราะ
บางท่านเจริญกสิณเบื้องบน, บางท่านเบื้องต่ำ, บางท่านโดยรอบ
หรือว่าแม้ท่านหนึ่งประสงค์จะเห็นรูป ดุจประสงค์จะเห็นแสงสว่าง ย่อม
ขยายออกไปอย่างนี้ด้วยเหตุนั้น ๆ. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ท่านหนึ่งรู้
พร้อมปฐวีกสิณ เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง.
บทว่า อทฺวยํ นี้ ท่านกล่าวเพื่อไม่ให้กสิณอย่างหนึ่งถึงความ
เป็นอย่างอื่น. ปฐวีกสิณย่อมเป็นปฐวีกสิณเท่านั้น ปฐวีกสิณนั้นไม่มี
1. อํ. ทสก. 24/25

กสิณอื่นปะปนเหมือนเมื่อคนลงไปสู่น้ำ น่าเท่านั้นย่อมมีในทิศทั้งปวง
มิใช่อื่น. ในบททั้งปวงมีนัยอย่างนี้.
บทว่า อปฺปมาณํ นี้ ท่านกล่าวด้วยอำนาจการแผ่ไปของกสิณ
นั้นๆ ไม่มีกำหนด. จริงอยู่ กสิณนั้น เมื่อแผ่ไปทางใจ ชื่อว่า แผ่
ไปทั่ว, มิได้กำหนดว่า นี้เป็นเบื้องต้น นี้เป็นท่ามกลาง ของกสิณ
นั้น.
บทว่า อากาสกสิณํ ได้แก่ อากาศที่เพิกกสิณ และอากาศ
กสิณที่กำหนดไว้.
บทว่า วิญฺญาณกสิณํ ได้แก่ วิญญาณอันเป็นไปในอากาศ
ที่เพิกกสิณ. ในวิญญาณกสิณนั้น พึงทราบความเป็นเบื้องบน เบื้อง
ล่าง เบื้องขวาง ในอากาศที่เพิกกสิณ ด้วยอำนาจกสิณ ในวิญญาณ
อันเป็นไปแล้ว ในวิญญาณกสิณนั้น ด้วยอำนาจอากาศที่เพิกกสิณ,
พึงทราบด้วยสามารถกสิณนั้น เพราะแม้อากาสกสิณที่กำหนดไว้ก็ควร
เจริญดังนี้บ้าง.
68] บัดนี้ ท่านพระสารีบุตร เมื่อจะแสดงประเภทของภาวนา
จึงกล่าวบทมีอาทิว่า เทฺว ภาวนา - ภาวนา 2.
พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า เทฺว ภาวนา ดังต่อไปนี้ วัฏฏะ
ท่านกล่าวว่า โลก เพราะอรรถว่าแตกสลายไป. ชื่อว่า โลกิยา
เพราะอรรถว่าประกอบแล้วในโลก ด้วยความเกี่ยวเนื่องกันในวัฏฏะนั้น,

การเจริญธรรมอันเป็นโลกิยะ ชื่อว่า โลกิยา. แม้ท่านจะกล่าวว่า
การเจริญธรรมโดยโวหารก็จริง, ถึงดังนั้น ก็ไม่มีการเจริญแยกออก
จากธรรมเหล่านั้น. เพราะท่านเจริญธรรมเหล่านั้นนั่นเอ จึงเรียกว่า
ภาวนา. บทว่า อุติติณฺณา แปลว่า ข้าม. ชื่อว่า โลกุตฺตรา
เพราะอรรถว่า ข้ามไปจากโลกด้วยความไม่เกี่ยวข้องโลก.
ชื่อว่า รูปาวจรา เพราะอรรถว่า ท่องเที่ยวไปในรูปอันได้แก่
รูปภพ.
กุสล ศัพท์ ในบทว่า รูปาวจรกุสลานํ นี้ ย่อมปรากฏใน
ความไม่มีโรค ไม่มีโทษ ฉลาดและสุขวิบาก. ปรากฏในความไม่มีโรค
ในบทมีอาทิว่า กจฺจิ นุ โภโต กุสลํ, กจฺจิ โภโต อนาม1ยํ - พระ-
คุณเจ้าสบายดีหรือ, มีอนามัยดีหรือ. ปรากฏในความไม่มีโทษ ในบท
มีอาทิอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็กายสมาจารเป็นกุศล เป็นไฉน ?
มหาบพิตรกายสมาจารไม่มีโทษ2แลเป็นกุศล และในบทมีอาทิว่า ข้าแต่
ท่านผู้เจริญ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมใน
กุศลธรรม3 นั่นเป็น อนุตริยะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า. ปรากฏใน
ความฉลาด ในบทมีอาทิว่า ข้าแต่ราชกุมาร พระองค์เป็นผู้ฉลาด
ทรงสำคัญส่วนน้อยใหญ่ของรถเป็นอย่างไร,4 และในบทมีอาทิว่า หญิง
มีความสามารถ มีความสำเหนียก เป็นหญิงฉลาด การฟ้อนและการ
1. ขุ.ชา. 27/2133. 2. ม.ม. 13/554. 3. ที.ปา. 11/75.
4. ม.ม. 13/95.

ขับร้อง.1 ปรากฏในสุขวิบาก ในบทมีอาทิว่า บุญนี้ย่อมเจริญอย่างนี้
เพราะเหตุการสมาทานกุศลธรรม2 และในบทอาทิว่า เพราะทำ คือ
สะสมกุศลธรรม.4 กุสล ศัพท์ ในที่นี้ ย่อมสมควรแม้ในความไม่มี
โรค แม้ในความไม่มีโทษ แม้ในสุขวิบาก. ก็ในบทนี้ มีอธิบายคำ
ดังต่อไปนี้ กุจฺฉิเต ปาปเก ธมฺเม สลยนฺติ จลยนฺติ กมฺเปนฺติ
วิทฺธํ เสนฺตีติ กุสลา
- ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุสล เพราะอรรถว่า
ป้องกัน ย่อมทำให้หวั่นไหว ย่อมทำให้สะเทือน ย่อมกำจัดธรรมอัน
ลามก น่าเกลียด. อีกอย่างหนึ่ง บาปธรรม ชื่อว่า กุส เพราะอรรถ
ว่า ย่อมนอน คือ ย่อมเป็นไปโดยอาการอันน่าเกลียด. ชื่อว่า กุสล
เพราะอรรถว่า ตัด ทำลายกุสธรรมอันน่าเกลียด อันได้แก่อกุศล
เหล่านั้น, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า กุสล เพราะทำสิ่งน่าเกลียดให้น้อย
ให้สิ้นสุด ได้แก่ ญาณ. ชื่อว่า กุสล เพราะอรรถว่า พึงตัด พึงยึด
คือ พึงให้เป็นไปด้วย กุส - ญาณนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า กุสล
เพราะอรรถว่า กุศลแม้เหล่านี้ ย่อมตัดฝ่ายที่เป็นสังกิเลสที่ถึงส่วนทั้ง
สอง ทั้งที่เกิดและยังไม่เกิด, เหมือนหญ้าบาดมือ อันถึงส่วนทั้งสอง.
เพราะฉะนั้น จึงเหมือนหญ้าคาอันบุคคลตัด ได้แก่ การเจริญรูปาวจร
กุศลเหล่านั้น. ที่ชื่อว่า อรูปาวจร เพราะท่องเที่ยวไปในอรูป อัน
ได้แก่ อรูปภพ. ชื่อว่า ปริยาปนฺนา - การนับเนื่อง เพราะอรรถว่า
1. ขุ.ชา. 28/436. 2. ที.ปา. 11/33 3. อภิ.สํ. 34/338.

นับเนื่อง คือ หยั่งลงภายใน ในวัฏฏะเป็นไปในภูมิ 3, ที่ชื่อว่า
อปริยาปนฺนา - การไม่นับเนื่อง เพราะอรรถว่า ไม่นับเนื่องในวัฏฏะ
เป็นไปในภูมิ 3 นั้น จึงเป็น โลกุตระ.
หากถามว่า เพราะเหตุไรท่านจึงไม่กล่าวถึงการเจริญธรรมที่เป็น
กามาวจรกุศลเล่า ? ตอบว่า เพราะเมื่อการเจริญยังไม่ถึงขั้นอัปปนา
ท่านประสงค์เอาการเจริญในอภิธรรม ดังที่ท่านกล่าวไว้ในอภิธรรม
นั้นว่า
พระโยคาวจรไม่ได้สดับจากผู้อื่น ย่อม
ได้เฉพาะซึ่งขันติ ทิฏฐิ รุจิ มุติ - ความรู้ เปกขะ-
ความเพ่ง ธัมมนิชฌานักขันติ - ขันติคือความเพ่ง
ธรรม อันเป็นอนุโลมเห็นปานนี้ คือ รูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นกัมมสกตาญาณ
หรือสัจจานุโลมิกญาณ ในกัมมายตนะ สิปปายตนะ
วิทยฐานะ อันจัดไว้ด้วยโยคะ เป็นของไม่เที่ยง
นี้ท่านกล่าวว่า จินตามยปัญญา. อีกอย่างหนึ่ง
พระโยคาวจรได้สดับจากผู้อื่น ย่อมได้ซึ่งขันติ
ทิฏฐิ รุจิ มุติ เปกขะ ธัมมนิชฌานักขันติ ใน
กัมมายตนะอันจัดไว้ด้วยโยคะ ฯลฯ นี้ท่านกล่าวว่า

สุตมยปัญญา. ปัญญาของผู้เข้าถึงแล้วแม้ทั้งหมด
เป็นภาวนามยปัญญา1.

ส่วนกามาวจรภาวนานั้น พึงทราบว่า ท่านไม่เรียกว่า ภาวนา
เพราะความที่แห่งกามาวจรภาวนานั้น มีอยู่ในระหว่างอาวัชชนะและ
ภวังค์.
ความที่อุปจารสมาธิและวิปัสสนาสมาธิ เป็นบุญสำเร็จด้วย
ภาวนา เป็นอันสำเร็จแล้วเพราะบุญทั้งหมดหยั่งลงภายในบุญกิริยาวัตถุ
3 อย่าง. แต่ในที่นี้ท่านสงเคราะห์ภาวนาเข้าในโลกิยภาวนานั่นเอง
พึงทราบในความที่รูปาวจรและอรูปาวจร มี 3 อย่าง ดังต่อ
ไปนี้ บทว่า หีนา คือ ลามก. ภาวนาในท่ามกลางแห่งธรรมเลว
และธรรมสูงสุด ชื่อว่า มชฺฌา ปาฐะว่า มชฺฌิมา บ้าง. ชื่อว่า
ปณีตา เพราะอรรถว่า นำไปสู่ความเป็นประธาน ได้แก่ สูงสุด
พึงทราบความที่ภาวนาเป็นส่วนเลว เป็นส่วนปานกลาง และ
เป็นส่วนประณีต ด้วยการรวบรวมมา. เพราะว่าในขณะรวบรวมมา
ภาวนาที่เป็นฉันทะ วีริยะ จิตตะ วิมังสา เลว ชื่อว่า หีนา. ภาวนา
ที่เป็นธรรมปานกลาง ชื่อว่า มชฺฌิมา. ภาวนาที่เป็นประณีต ชื่อว่า
ปณีตา. อีกอย่างหนึ่ง ภาวนาที่สัมปยุตด้วยอินทรีย์อ่อน ชื่อว่า หีนา.
1. อภิ.วิ. 35/804.

ภาวนาที่สัมปยุตด้วยอินทรีย์ปานกลาง ชื่อว่า มชฺฌิมา. ภาวนาที่
สัมปยุตด้วยอินทรีย์มีประมาณยิ่ง ชื่อว่า ปณีตา. ท่านกล่าวถึงความ
ประณีตเท่านั้น เพราะภาวนาอันไม่นับเนื่อง ไม่มีส่วนเลวและส่วน
ปานกลาง. ภาวนานั้น ชื่อว่า ปณีตา เพราะอรรถว่าสูงสุดและ
เพราะอรรถว่าไม่เดือดร้อน.
69]ในปฐมภาวนาจตุกะ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ภาเวติิ ได้แก่ พระโยคาวจรเมื่อแทงตลอดอย่างนั้น ๆ
ในขณะเดียวเท่านั้น ชื่อว่า ย่อมเจริญอริยมรรค.
ในทุติยภาวนาจตุกะ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า เอสนาภาวนา ได้แก่ ภาวนาในส่วนเบื้องต้นของ
อัปปนา. เอสนาภาวนานั้น ท่านกล่าวว่า เอสนา เพราะเป็นเหตุ
แสวงหา อัปปนา.
บทว่า ปฏิลาภภาวนา ได้แก่ อัปปนาภาวนา. ปฏิลาภ
ภาวนานั้น ท่านกล่าวว่า ปฏิลาภ เพราะได้ด้วยการแสวงหานั้น.
บทว่า เอกรสาภาวนา ได้แก่ ภาวนาในเวลาประกอบความ
เพียรของผู้ใคร่จะบรรลุ ความเป็นผู้ชำนาญในการได้เฉพาะ. เอกรสา
ภาวนานั้นมีรสเป็นอันเดียวกันด้วยวิมุตติรส เพราะพ้นจากกิเลสนั้น ๆ
ด้วย ปหานะ นั้น ๆ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เอกรสา.

บทว่า อาเสวนาภาวนา ได้แก่ ภาวนาในเวลาบริโภคตาม
ความชอบใจของผู้บรรลุความชำนาญในการได้เฉพาะ. อาเสวนาภาวนา
นั้น ท่านกล่าวว่า อาเสวนา เพราะอรรถว่า เสพหนัก. แต่อาจารย์
บางพวกพรรณนาไว้ว่า อาเสวนาภาวนาเป็น วสีกรรม. เอกรสา
ภาวนา มีประโยชน์ทั้งหมด. พึงทราบความในจตุกวิภาคดังต่อไปนี้
บทว่า สมาธึ สมาปชฺชนฺตานํ - เมื่อพระโยคาวจรเข้าสมาธิอยู่ เป็น
คำกล่าวถึงปัจจุบันใกล้ปัจจุบัน.
บทว่า ตตฺถ ชาตา ได้แก่ ธรรมทั้งหลายที่เกิดในธรรมอัน
เป็นส่วนเบื้องต้นนั้น. บทว่า เอกรสา โหนฺติ ได้แก่ เป็นธรรม
มีกิจเสมอกันในการเข้าถึงอัปปนา. บทว่า สมาธึ สมาปนฺนานํ - เมื่อ
พระโยคาวจรเข้าสมาธิแล้ว ได้แก่ มีอัปปนาแน่นแฟ้นแล้ว.
บทว่า ตตฺถ ชาตา ได้แก่ ธรรมทั้งหลายที่เกิดในอัปปนานั้น.
บทว่า อญฺญมญฺญํ นาติวตฺตนฺติ - ไม่เป็นไปล่วงกันและกัน ได้แก่
ไม่ก้าวล่วงกันและกัน โดยเป็นไปเสมอกัน.
70] พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า อธิโมกฺขฏฺเฐน สทฺธินฺ-
ทฺริยํ ภาวยโต -
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัทธินทรีย์ ด้วยอรรถว่า
น้อมใจเธอ ดังต่อไปนี้ อินทรีย์แม้ที่เหลือมีกิจของตน ๆ เป็นเหตุ
ด้วยอาศัยอินทรีย์นั้น ๆ ในการทำกิจของตน ๆ แห่งอินทรีย์หนึ่ง ๆ
แม้ในขณะเดียวกัน จึงมีรสอย่างเดียวกันด้วยวิมุตติรส เพราะเหตุนั้น

จึงชื่อว่า ภาวนา เพราะอรรถว่า มีรสอย่างเดียวกันด้วยวิมุตติรส
นั่นแล. แม้ในพละ โพชฌงค์ และองค์มรรคก็มีนัยนี้เหมือนกัน. อนึ่ง
บทว่า เอกรสา เป็นลิงควิปลาส.
71] บทว่า อิธ ภิกฺขุ คือ ภิกษุในศาสนานี้. ชื่อว่า ภิกฺขุ
เพราะอรรถว่า เห็นภัยในสงสาร.
ในบทมีอาทิว่า ปุพฺพณฺหสมยํ เป็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถแห่ง
อัจจันตสังโยค - สิ้น, ตลอด, แต่โดยอรรถเป็นสัตตมีวิภัตติ มีความว่า
ในกาลก่อนแห่งวัน คือเวลาเช้า.
บทว่า อาเสวติ ได้แก่ เสพเป็นอันมาก ซึ่งสมาธิที่ถึงความ
ชำนาญ.
บทว่า มชฺฌนฺติกสมยํ ได้แก่ ในเวลากลางวัน คือเวลา
เที่ยง.
บทว่า สายณฺหสมยํ ได้แก่ ในเวลาเย็น.
บทว่า ปฺเรภตฺตํ ได้แก่ ในเวลาก่อนภัตในตอนกลางวัน.
บทว่า ปจฺฉาภตฺตํ ได้แก่ในเวลาหลังภัตตอนกลางวัน.
บทว่า ปุริเมปิ ยาเม ได้แก่ ในยามต้นของราตรี.
บทว่า กาเฬ ได้แก่ ในกาฬปักษ์ - ข้างแรม.
บทว่า ชุณฺเห ได้แก่ ในศุกลปักษ์ - ข้างขึ้น.
บทว่า ปุริเมปิ วโยชนฺเธ ได้แก่ ในส่วนวัยต้น คือปฐม

วัย. อนึ่งใน 3 วัย คนมีอายุ 100 ปี ในวัยหนึ่ง ๆ มีอายุ 33 ปี
4 เดือน.
72 - 76] พึงทราบวินิจฉัยในตติยภาวนาจตุกะ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ตตฺถ ชาตานํ ธมฺมานํ อนติวตฺตนฏฺเฐน-ภาวนาด้วย
อรรถว่าไม่ก้าวล่วงกันและกัน แห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นในภาวนานั้น
คือ ด้วยความไม่ก้าวล่วงกันและกัน แห่งธรรมคู่กัน ได้แก่ สมาธิ
และปัญญาที่เกิดขึ้นในภาวนาวิเศษ มีเนกขัมมะเป็นต้นนั้น.
บทว่า อินฺทฺริยานํ เอกรสฏฺเฐน - ภาวนาด้วยอรรถว่าอินทรีย์
ทั้งหลายมีรสอย่างเดียวกัน คือ ด้วยความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีศรัทธา
เป็นต้นมีรสอย่างเดียวกัน ด้วยวิมุตติรสเพราะพ้นจากกิเลสต่าง ๆ.
บทว่า ตทุปควีริยวาหนฏฺเฐน - ภาวนาด้วยอรรถว่า นำไปซึ่ง
ความเพียรอันเข้าถึงธรรมนั้น ๆ คือ ด้วยการนำไปซึ่งความเพียรอัน
สมควรแก่ความที่ธรรมนั้น มีรสเป็นอันเดียวกันไม่ก้าวล่วงกัน.
บทว่า อาเสวนฏฺเฐน - ภาวนาด้วยอรรถว่า เสพเป็นอันมาก
คือ ด้วยการเสพเป็นอันมากของการเสพที่เป็นไปในสมัยนั้น ๆ.
บทว่า รูปสญฺญํ ได้แก่ รูปสัญญา กล่าวคือ รูปาวจรฌาน
15 อย่าง ด้วยอำนาจกุศลวิบากกิริยา. แม้รูปาวจรฌานท่านก็กล่าวว่า
รูป ในบทมีอาทิว่า รูปี รูปานิ ปสฺสติ - ผู้มีรูปย่อมเห็นรูป,1 แม้

1. ที. มหา. 10/101.

อารมณ์แห่งฌานนั้น ท่านก็กล่าวว่า รูป ในบทมีอาทิว่า เห็นรูป
ภายนอกมีผิวงามและผิวทราม.1 รูปาวจรฌานเป็นสัญญาในรูปด้วยหัวข้อ
ว่า สัญญา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า รูปสัญญา.
บทว่า ปฏิฆสญฺญํ ได้แก่ ปฏิฆสัญญา 10 อย่าง คือกุศล
วิบาก 5, อกุศลวิบาก 5. สัญญาสัมปยุตด้วยทวิปัญจวิญญาณ ท่าน
เรียกว่า ปฏิฆสญฺญา เพราะวัตถุมีจักขุเป็นต้นและอารมณ์มีรูป
เป็นต้นเกิดขึ้นด้วยการกระทบ. ชื่อของสัญญานี้ คือ รูปสัญญา สัทท-
สัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญาบ้าง.
บทว่า นานตฺตสญฺญํ ได้แก่ นานัตตสัญญา 44 อย่าง คือ
กามาวจรกุศลสัญญา 8, อกุศลสัญญา 12, กามาวจรกุศลวิบากสัญญา 11,
อกุศลวิบากสัญญา 2 กามาวจรกิริยาสัญญา 11. นานัตตสัญญานั้น
เป็นสัญญาเป็นไปในโคจร อันมีประเภท มีรูปและเสียงเป็นต้น มี
ความต่างกัน คือ มีสภาพต่างกันเพราะเหตุนั้นจึงเป็น นานัตตสัญญา.
อีกอย่างหนึ่ง สัญญาไม่เหมือนกัน มีความต่างกัน มีสภาพต่างกัน
โดยประเภท 44 อย่าง ท่านกล่าวว่า เป็น นานตฺตสญฺญา แม้สัญญา
มีมากท่านก็ทำให้เป็นเอกวจนะด้วย ชาติ ศัพท์.
บทว่า นิจฺจสญฺญํ ได้แก่ สัญญาว่า เป็นของเที่ยง ชื่อ
นิจฺจสญฺญา. สุขสญฺญา อตฺตสญฺญา ก็อย่างนั้น. บทว่า นนฺทึ-
ความเพลิดเพลิน ได้แก่ ตัณหาอันมีความอิ่มใจ. บทว่า ราคํ ได้แก่
1. ที. มหา. 10/100.

ตัณหาไม่มีความอิ่ม. บทว่า สมุทยํ ได้แก่ เหตุเกิดราคะ. อีกอย่าง
หนึ่ง อุทยํ - ความเกิดแห่งสังขารทั้งหลาย เพราะเห็นความดับด้วย
ภังคานุปัสนาญาณ.
บทว่า อาทานํ - ความถือมั่น คือ ถือมั่นกิเลสด้วยอำนาจ
ความเกิด หรือถือมั่นอารมณ์อันเป็นสังขตะ เพราะยังไม่เห็นโทษ.
บทว่า ฆนสญฺญํ ได้แก่ สัญญาว่า เป็นก้อนด้วยสันตติ-
ความสืบต่อ.
บทว่า อายูหนํ ได้แก่ การทำความเพียรเพื่อประโยชน์แก่
สังขาร.
บทว่า ธุวสญฺญญํ ได้แก่ สัญญาว่ามั่นคง.
บทว่า นิมิตฺตํ ได้แก่ เครื่องหมายว่าเที่ยง.
บทว่า ปณิธึ ได้แก่ ปรารถนาความสุข.
บทว่า อภินิเวสํ ได้แก่ การยึดมั่นว่า ตนมีอยู่.
บทว่า สาราทานาภินิเวสํ - ความยึดมั่นด้วยถือว่าเป็นแก่นสาร
ได้แก่ ความยึดมั่นด้วยถือว่าตนมีแก่นสารเป็นนิจ.
บทว่า สมฺโมหาภินิเวสํ - ความยึดมั่นด้วยความหลงใหล ได้แก่
ความยึดมั่นด้วยความหลงใหลด้วยบทมีอาทิว่า เราได้เป็นแล้วตลอด
กาลในอดีต1 และด้วยบทมีอาทิว่า สัตวโลกเกิดจากพระผู้เป็นใหญ่.
บทว่า อาลยาภิหนิเวสํ - ความยึดมั่นด้วยความอาลัย ได้แก่
ยึดมั่นว่า นี้ควรยึดให้แน่นเพราะยังไม่เห็นโทษ.
1. สํ.นิ. 16/63.

บทว่า อปฺปฏิสงฺขํ - ความไม่พิจารณา ได้แก่ การไม่ถืออุบาย.
บทว่า สญฺโญคาภินิเวสํ - การยึดมั่นด้วยกิเลสเครื่องประกอบ
สัตว์ ได้แก่ ความเป็นไปแห่งกิเลสมีกามโยคะเป็นต้น.
บทว่า ทิฏฺเฐกฏเฐ - กิเลสที่ตั้งรวมกับทิฏฐิ ได้แก่ ชื่อว่า
ทิฏเฐกฏฺฐา เพราะอรรถว่า ตั้งในที่เดียวกันกับทิฏฐิ. ซึ่งกิเลสที่ตั้ง
รวมกันกับทิฏฐินั้น.
ชื่อว่า กิเลสา เพราะกิเลสทำให้เศร้าหมอง ให้เดือดร้อน
ให้ลำบาก. กิเลสตั้งอยู่ในที่เดียวกัน 2 อย่าง คือ ตั้งอยู่ในที่เดียวกัน
ด้วยการละ 1 อยู่ในที่เดียวกันด้วยเกิดร่วมกัน 1. ชื่อว่า ตั้งอยู่ใน
ที่เดียวกันด้วยการละเพราะละทิฏฐิ 63 มีสักกายทิฏฐิเป็นประธานด้วย
โสดาปัตติมรรค. อธิบายว่า กิเลสทั้งหลายตั้งอยู่ในบุคคลคนเดียว.
บทนี้ท่านประสงค์เอาในที่นี้. ในกิเลส 10 อย่าง ในที่นี้ หมายถึง
กิเลสคือทิฏฐิเท่านั้น. ก็ในกิเลสที่เหลือ กิเลส. อย่าง คือ โลภะ 1
โทสะ 1 โมหะ 1 มานะ 1 วิจิกิจฉา 1 ถีนะ 1 อุทธัจจะ 1 อหิริกะ 1
อโนตตัปะ 1 เป็นกิเลสทำสัตว์ให้ไปสู่อบาย ตั้งอยู่ในที่เดียวกันกับ
ทิฏฐิ ละได้ด้วยโสตาปัตติมรรค, กิเลสทั้งหมดนำสัตว์ไปสู่อบาย. อีก
อย่างหนึ่ง บรรดากิเลส 1,500 มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นประธาน
เมื่อละทิฏฐิได้ด้วยโสดาปัตติมรรค กิเลสทั้งหมดนำสัตว์ไปสู่อบาย
พร้อมกับทิฏฐิ ย่อมละได้ด้วยการตั้งอยู่ในที่เดียวกัน ด้วย ปหานะ,
ในกิเลสตั้งอยู่ในทีเดียวกันโดยการเกิดร่วมกัน มีอธิบายว่า กิเลส

ทั้งหลายตั้งอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับด้วยทิฏฐิ. เมื่อละจิตอันเป็นอสังขา-
ริกะ สัมปยุตด้วยทิฏฐิ 2 อย่าง ด้วยโสดาปัตติมรรคได้ กิเลสเหล่านี้
คือ โลภะ โมหะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ เกิดร่วมกันกับ
จิตเหล่านั้น ย่อมละได้ด้วยอำนาจกิจเลสตั้งอยู่ในที่เดียวกันโดยการเกิด
ร่วมกัน. เมื่อละจิตอันเป็นสสังขาริกที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ 2 อย่างได้
กิเลสเหล่านี้ คือ โลภะ โมหะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ
เกิดร่วมกับจิตเหล่านั้น ย่อมละได้ด้วยอำนาจกิเลสตั้งอยู่ในที่เดียวกัน
โดยการเกิดร่วมกัน.
บทว่า โอฬาริเก กิเลเส - กิเลสอย่างหยาบ ได้แก่ ถามราคะ
พยาบาทอันเป็นกิเลสอย่างหยาบ.
บทว่า อณุสหคเต กิเลเส - กิเลสอย่างละเอียด ได้แก่
กามราคะพยาบาทอันเป็นกิเลสอย่างละเอียด.
บทว่า สพฺพกิเลเส ได้แก่ กิเลสที่เหลือละได้ด้วยมรรคที่ 3.
บทว่า วีริยํ วาเหติ - ย่อมนำไปซึ่งความเพียร ความว่า
พระโยคาวจรยังความเพียรให้เป็นไป. ท่านกล่าวถึงเอสนาภาวนา ปฏิ-
ลาภเทสนา เอกรสาภาวนา อาเสวนาภาวนา ในหนหลังเพื่อแสดง
ถึงความต่างกันแห่งภาวนาทั้งหลายว่า ภาวนาเป็นอย่างนี้ เพื่อแสดง
เหตุแห่งภาวนา ท่านจึงกล่าวคำทั้งหลายว่า ชื่อว่า ภาวนาด้วยอรรถว่า
ไม่ก้าวล่วงธรรมที่เกิดในภาวนานั้น ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรส
อย่างเดียวกัน ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันเข้าถึงธรรมนั้น ๆ

ด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมาก. ท่านกล่าวว่า ภาวนา ด้วยเหตุนี้ และ
ด้วยเหตุนี้ แล้วกล่าวด้วยสามารถขณะต่าง ๆ กันว่า อาเสวนาภาวนา
ในภายหลัง, ในที่นี้ ชื่อว่า ภาวนา ด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมาก
เพราะเหตุนั้นจึงมีความต่างกัน ด้วยบทว่า เอกกฺขณวเสน - ด้วย
สามารถขณะหนึ่ง.
ในบทมีอาทิว่า รูปํ ปสฺสนฺโต ภาเวติ พระโยคาวจรเมื่อ
พิจารณาเห็นรูป ชื่อว่าเจริญภาวนา มีอธิบายว่า พระโยคาวจรเมื่อ
พิจารณาเห็นรูปเป็นต้นโดยอาการที่ควรเห็น ชื่อว่า ย่อมเจริญภาวนา
ที่ควรภาวนา.
บทว่า เอกรสา โหนฺติิ - ภาวนามีรสเป็นอันเดียวกัน คือ
มีรสเป็นอันเดียวกัน ด้วยวิมุตติรส หรือด้วยรสอันเป็นกิจ. บทว่า
วิมุตฺติรโส ได้แก่ สัมปัตติรส - รสคือการถึงพร้อม ชื่อว่า รส ท่าน
กล่าวด้วยอรรถว่าถึงพร้อมด้วยกิจ ด้วยเหตุนั้น เป็นอันท่านกล่าวไว้
แล้วแล.
จบ อรรถกถาภาเวตัพพนิทเทส
จบ อรรถกถาจตุตถภาณวาร

สัจฉิกาตัพพนิทเทส


[77] ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่อง
รู้ชัดซึ่งธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่า
สุตมยญาณอย่างไร ?
ธรรมอย่างหนึ่งควรทำให้แจ้ง คือ เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบ, ธรรม
2 ควรทำให้แจ้ง คือ วิชชา 1. วิมุตติ 1, ธรรม 3 ควรทำให้แจ้ง คือ
วิชชา 3, ธรรม 4 ควรทำให้แจ้ง คือ สามัญญผล 4, ธรรม 5 ควร
ทำให้แจ้ง คือ ธรรมขันธ์ 5, ธรรม 6 ควรทำให้แจ้ง คือ อภิญญา 6,
ธรรม 7 ควรทำให้แจ้ง คือ กำลังของพระขีณาสพ 7, ธรรม 8 ควร
ทำให้แจ้ง คือ วิโมกข์ 8, ธรรม 9 ควรทำให้แจ้ง คือ อนุปุพพนิโรธ 9,
ธรรม 10 ควรทำให้แจ้ง คือ อเสกขธรรม 10.
[78] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรทำให้แจ้ง ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลายก็สิ่งทั้งปวงควรทำให้แจ้ง คือ อะไร ? คือ จักษุ รูป จักษุ-
วิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา
ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ควรทำให้แจ้งทุกอย่าง หู เสียง
ฯลฯ จมูก กลิ่น ฯลฯ ลิ้น รส ฯลฯ กาย โผฏฐัพพะ ฯลฯ ใจ
ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ
แม้อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ควรทำให้แจ้ง
ทุกอย่าง.