เมนู

อรรถกถาภาเวตัพพนิทเทส


[67]พึงทราบวินิจฉัยในภาเวตัพพนิทเทส ดังต่อไปนี้ บทว่า
กายคตาสติ ได้แก่ สติสัมปยุตด้วยการมนสิการถึงอานาปานสติ อิริ-
ยาบถ 4 อิริยาบถเล็กน้อย อาการ 32 ธาตุ 4 ป่าช้า 9 และการ
กำหนดสิ่งเป็นปฏิกูล ท่านกล่าวไว้แล้วในสูตรอันว่าด้วยกายคตาสติและ
สัมปยุตด้วยรูปฌานตามสมควร. สตินั้นท่านกล่าวว่า กายคตา เพราะ
ไป คือ เป็นไปในกายเหล่านั้น.
บทว่า สาตสหคตา - สติสหรคตด้วยความสำราญ ได้แก่ ถึง
ภาวะมีเกิดขึ้นครั้งเดียวเป็นต้นกับด้วยความสำราญ กล่าวคือ การเสวย
สุขอันหวานชื่น. สหคตะศัพท์ปรากฏในชินวจนะลงในอรรถ 5 ประการ
คือ ในตัพภาวะ - ความกำหนัดด้วยความพอใจ 2 ในโวกิณณะ-
ความเจือ 1 ในอารัมมณะ - อารมณ์ 1 ในนิสสยะ - นิสัย 1
ในสังสัฏฐะ - ความเกี่ยวข้อง 1.
ปรากฏในอรรถร่า ตัพพภาวะ ดังในบทนี้ว่า ยายํ ตณฺหา
โปโนพฺภวิกา นนฺทิราคสหคตา
- ตัณหาทำให้เกิดภพใหม่สหรคตด้วย
นันทิราคะ, อธิบายว่า เป็นความกำหนัดด้วยความพอใจ. ปรากฏใน
อรรถว่า โวกิณณะ ดังในบทนี้ว่า ยา ภิกฺขเว วีมํสา โกสชฺช-
สหคตา โกสชฺชสมิปยุตฺตา
- วิมังสา สหรคตด้วยโกสัชชะ สัมป-
ยุตด้วยโกสัชชะ, อธิบายว่า วีมังสาเจือด้วยโกสัชชะเกิดขึ้นในระหว่าง ๆ.