เมนู

ด้วยความเป็นอนัตตา ด้วยความว่าเป็นที่สุด ย่อมละกิเลสที่ควรละได้
ธรรมใด ๆ เป็นธรรมที่ละได้แล้วธรรมนั้น ๆ เป็นอันสละได้แล้ว ชื่อว่า
ญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ไดสดับมาแล้ว
คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรละ ชื่อว่า
สุตมยญาณ.
จบ ตติยภาณวาร
-----------------------------

อรรถกถาปหาตัพพนิทเทส


60-64] พึงทราบวินิจฉัยในปหาตัพพนิทเทส ดังต่อไปนี้.
บทว่า อสฺมิมาโน - มานะว่าเป็นเรา ได้แก่ ชื่อว่า มานะ เพราะ
เป็นเราในอุปาทานขันธ์ 5 มีรูปเป็นต้น. จริงอยู่เมื่อละมานะนั้นได้
เป็นอันได้บรรลุพระอรหัต พึงทราบว่า แม้เมื่อรูปราคะเป็นต้น ยังมี
อยู่ก็ไม่กล่าวถึงสังโยชน์ที่เหลือกกล่าวถึงอัสมิมานะเท่านั้น เพราะอัสมิ-
มานะนั้นหยาบเทียบได้กับทิฏฐิ.
บทว่า อวิชฺชา คือความไม่รู้ในฐานะ 4 มีทุกข์เป็นต้น โดย
สุตตันตปริยาย, การไม่รู้ในฐานะ 8 กับที่สุดของเบื้องต้นเป็นต้น
โดยอภิธรรมปริยาย. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ในธรรมเหล่านั้นอวิชชาเป็นไฉน ? อวิชชา
คือความไม่รู้ทุกข์ 1 ไม่รู้ทุกขสมุทัย - ไม่รู้ทุกข-
นิโรธ 1 ไม่รู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา 1 ไม่รู้ส่วน
เบื้องต้น 1 ไม่รู้ส่วนเบื้องปลาย 1 ไม่รู้ทั้งส่วน
เบื้องต้นและส่วนเบื้องปลาย 1 ไม่รู้ปฏิจจสมุป-
ปาทธรรมอันเป็นอิทัปปัจจยตา1 - สิ่งนี้เป็นปัจจัย
ของสิ่งนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี.

บทว่า ภวตณฺหา ได้แก่ ปรารถนาในภพมีกามภพเป็นต้น. ดังที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ในตัณหา 3 นั้น ภวตัณหาเป็นไฉน ? ภว-
ตัณหา คือ ความพอใจในภพ ความกำหนัดในภพ
ความเพลิดเพลินในภพ ความอยากในภพ ความ
เสน่หาในภพ ความเร่าร้อนในภพ ความสยบใน
ภพ ความพะวงหลงใหลในภพ.
2
บทว่า ติสฺโส ตณฺหา - ตัณหา 3 ได้แก่ กามตัณหา 1 ภว-
ตัณหา 1 วิภวตัณหา 1. ในอภิธรรมท่านชี้แจงตัณหาเหล่านั้นไว้
อย่างนี้ว่า ในตัณหา 3 นั้น ภวตัณหาเป็นไฉน ? ราคะสหรคตด้วย
ภวทิฏฐิ ฯลฯ จิตมีราคะ นี้เรียกว่าภวตัณหา.
1. อภิ. สํ. 34/691. 2. อภิ. วิ. 35/912.

วิภวตัณหาเป็นไฉน ? ราคะสหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ ฯลฯ จิต
มีราคะ นี้เรียกว่าวิภวตัณหา. ตัณหานอกนั้นเป็นกามตัณหา
กามตัณหาเป็นไฉน ? ราคะประกอบด้วยกามธาตุ ฯลฯ จิตมี
ราตะ นี้เรียกว่ากามตัณหา.
ภวตัณหาเป็นไฉน ? ราคะประกอบด้วยรูปธาตุและอรูปธาตุ ฯลฯ
วิภวตัณหาเป็นไฉน ? ราคะสหรคตด้วยอุจเฉททิฏ1ฐิ ฯลฯ
แต่ในอรรถกถาท่านกล่าวว่า ราคะเป็นไปในกามคุณ 5 ชื่อว่า
กามตัณหา, ราคะในรูปภพและอรูปภพ ราคะสหรคตด้วยความใคร่
ในฌาน และสัสสตทิฏฐิ ความปรารถนาด้วยอำนาจภพ ชื่อว่า ภว-
ตัณหา,
ราคะสหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ ชื่อว่า วิภวตัณหา. นี้แก้ไว้
โดยปริยายแห่งทสุตตรสูตร. แม้ตัณหาท่านกล่าวไว้โดยปริยายแห่งสัง-
คีติ และโดยปริยายแห่งอภิธรรมว่า ตัณหา 3 อย่างอื่นอีก คือ กาม-
ตัณหา รูปตัณหา อรูปตัณหา. อย่างอีกอีก 3 คือ รูปตัณหา อรูป-
ตัณหา นิโรธตัณหา** ถูกต้องในนิทเทสนี้. ในตัณหาเหล่านั้น ตัณหา
5 ประกอบด้วยกามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ, ตัณหาสุดท้ายสหรคตด้วย
อุจเฉททิฏฐิ.
บทว่า จตฺตาโร โอฆา - โอฆะ 4 คือ กาโมฆะ 1 ภโวฆะ 1
ทิฏโฐฆะ 1 อวิชโชฆะ 1. ชื่อว่า โอฆะ เพราะอรรถว่า ย่อมยังสัตว์
1. อภิ. วิ. 35/933. 2. ที. ปา. 11/228.

นั้นให้จมลงในวัฏฏะ. โอฆะทั้งหลายเหล่านี้เป็นกิเลสมีกำลัง. โอฆะใน
กาม ได้แก่ กามคุณ ชื่อว่า กาโมฆะ. คำว่า กาโมฆะ นี้เป็นชื่อ
ของ กามตัณหา. โอฆะในภพ 2 อย่าง คือ รูปภพและอรูปภพ จาก
กรรม และจากอุปบัติ ชื่อว่า ภโวฆะ. คำว่า ภโวฆะ นี้ เป็นชื่อของ
ภวตัณหา. โอฆะ คือ ทิฏฐินั่นแล ชื่อว่า ทิฏโฐฆะ คำว่า ทิฏฺโฐ-
ฆะ
นี้ เป็นชื่อของทิฏฐิมีอาทิว่า สสฺสโต โลโก - โลกเที่ยง. โอฆะ
คือ อวิชชานั่นแล ชื่อว่า อวิชโชฆะ. คำวำ อวิชโชฆะ นี้ เป็น
ชื่อของความไม่รู้ในทุกข์เป็นต้น.
บทว่า ปญฺจ นีวรณานิ - นิวรณ์ 5 คือ กามฉันทะ 1 พยา-
บาท 1 ถีนมิทธะ 1 อุทธัจจกุกกุจจะ 1 วิจิกิจฉา 1. ชื่อว่า นีวรณานิ
-เพราะห้าม คือ รัดรึงจิตไว้. ชื่อว่า กามา - เพราะเป็นเหตุใคร่.
ได้แก่ กามคุณ 5. ความพอใจในกาม ชื่อว่า กามฉันทะ. อีกอย่าง
หนึ่ง ชื่อว่า กาโม เพราะย่อมใคร่. ความพอใจ คือ กาม, มิใช่ความ
พอใจใคร่จะทำ มิใช่ความพอใจในธรรม เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า กาม-
ฉันทะ.
บทนี้เป็นชื่อของ กามตัณหา.
ชื่อว่า พฺยาปาโท เพราะจิตย่อมปองร้าย คือ ถึงความเสีย
ด้วยความปองร้ายนั้น, อีกอย่างหนึ่ง จิตยังวินัยอาจาระ รูปสมบัติ
ประโยชน์ สุข ให้ถึงความพินาศ. บทนี้เป็นชื่อของ โทสะ.

ชื่อว่า ถีนํ เพราะความหดหู่, ชื่อว่า มิทฺธํ เพราะความท้อแท้,
อธิบายว่า ความไม่เพิ่มพูน ความอุตสาหะและกำจัด ความไม่สามารถ.
จิตไม่ขะมักเขม้น ชื่อว่า ถีนะ, ความที่เจตสิกไม่ควรแก่การงาน ชื่อว่า
มิทธะ, ความหดหู่และท้อแท้ ชื่อว่า ถีนมิทธะ.
ความที่จิตฟุ้งซ่าน ชื่อว่า อุทฺธจฺจํ ได้แก่ ความไม่สงบ. บทนี้
เป็นชื่อของความฟุ้งซ่าน. จิตทำความน้ำเกลียด ชื่อว่า กุกฺกตํ, ความ
ที่จิตทำความน่าเกลียด ชื่อว่า กุกฺกุจฺจํ, อธิบายว่า ความเป็นผู้มี
กิริยาน่าติเตียน. บทนี้เป็นชื่อของความเดือดร้อนในภายหลัง.
ชื่อวา วิจิกิจฺฉา เพราะปราศจากความคิด, อธิบายว่า หมด
ปัญญา. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิจิกิจฉา เพราะเป็นเหตุค้นหาความ
จริง ยาก ลำบาก. บทนี้เป็นชื่อของความสงสัย. นิวรณ์ คือ กาม-
ฉันทะนั่นแล ชื่อว่า กามฉันทนิวรณ์. แม้ในบทที่เหลือก็อย่างนี้.
บทว่า ฉ ธมฺมา ปาฐะว่า ฉทฺธมฺมา บ้าง. บทว่า ฉ
ตณฺหากายา - หมวดตัณหา 6 คือ. รูปตัณหา 1 สัททตัณหา 1 คันธ-
ตัณหา 1 รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา 2 ธรรมตัณหา 1. ตัณหา
ในรูป ชื่อว่า รูปตัณหา. ตัณหานั้นนั่นแลท่านกล่าวว่า เป็นหมวด
ด้วยอรรถว่าเป็นกอง เพราะมีหลายประเภท โดยแยกกันมีกามตัณหา
เป็นต้น แม้ในบทที่เหลือก็อย่างนี้.

บทว่า สตฺตานุสยา - อนุสัย 7 คือ กามราคานุสัย 1 ปฏิ-
ฆานุสัย 2 มานานุสัย 1 ทิฏฐานุสัย 1 วิจิกิจฉานุสัย 1 ภวราคา-
นุสัย 1 อวิชชานุสัย 1.
ชื่อว่า อนุสัย เพราะนอนเนื่องโดยอรรถว่าละไม่ได้. ความ
กำหนัดในกาม ชื่อว่า กามราคะ, อีกอย่างหนึ่ง ราคะ คือ กาม
ชื่อว่า กามราคะ. ชื่อว่า ปฏิฆะ เพราะกระทบกระทั่งในอารมณ์.
ชื่อว่า ทิฏฺฐิ เพราะอรรถว่า ไม่เห็นความเป็นจริง. ชื่อว่า มานะ
เพราะสำคัญว่าดีกว่าเขาเป็นต้น. ความกำหนัดในภพ ชื่อว่า ภวราคะ.
กามราคะมีกำลัง ชื่อว่า กามราคานุสัย. แม้ในบทที่เหลือก็อย่างนี้.
บทว่า อฏฺฐ มิจฺฉตฺตา - ความเป็นผิด 8 คือ มิจฉาทิฏฐิ 1
มิจฉาสังกัปปะ 1 มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ 1 มิจฉาอาชีวะ 1
มิจฉาวายามะ 1 มิจฉาสติ 1 มิจฉาสมาธิ 1. ชื่อว่า มิจฉัตตา - ความ
เป็นผิด เพราะมีสภาพผิดโดยที่แม้หวังอย่างนี้ว่า เขาจักนำประโยชน์
และความสุขมาให้แก่เราก็ไม่เป็นอย่างนั้น และโดยที่เป็นไปวิปริตใน
สิ่งไม่งามว่างามเป็นต้น. ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะเห็นผิด, หรือ
ทิฏฐิเป็นเหตุเห็นผิด, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะความ
เห็นวิปริต, หรือเพราะความเห็นไม่จริง, หรือเพราะความเห็นเหลวไหล,
หรือเพราะความเห็นอันบัณฑิตเกลียด เพราะนำความเสื่อมมาให้. แม้
ในคำว่า มิจฉาสังกัปปะ เป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า มิจฺฉาทิฏฐิ - เห็นผิด ได้แก่ ยึดมั่นสัสสตทิฏฐ และ
อุจเฉททิฏฐิ.
บทว่า มิจฺฉาสงฺกปฺโป - ดำริผิด ได้แก่ วิตก 3 อย่างมีกาม-
วิตกเป็นต้น.
บทว่า มิจฺฉาวาจา - เจรจาผิด ได้แก่ เจตนา 4 อย่างมีมุสา-
วาทเป็นต้น.
บทว่า มิจฺฉากมฺมนฺโต - การงานผิด ได้แก่ เจตนา 3 อย่าง
มีปาณาติบาตเป็นต้น.
บทว่า มิจฺฉาอาชีโว - อาชีพผิด ได้แก่ เจตนาตั้งขึ้นโดยประ-
กอบมิจฉาอาชีวะ.
บทว่า มิจฺฉาวายาโม - เพียรผิด ได้แก่ ความเพียรประกอบ
ด้วยอกุศลจิต.
บทว่า มิจฺฉาสติ - ระลึกผิด ได้แก่ อกุศลจิตเกิดเป็นปฏิปักษ์
ต่อสติ.
บทว่า มิจฺฉาสมาธิ - ตั้งใจผิด ได้แก่ อกุศลสมาธิ.
บทว่า นว ตณฺหามูลกา1 - ธรรมมีตัณหาเป็นมูลเหตุ 9 ได้แก่
เพราะอาศัยตัณหาจึงเกิดการแสวงหา เพราะอาศัยการแสวงหาจึงเกิด
1. ที. มหา. 10/59.

ลาภ 1 เพราะอาศัยลาภจึงเกิดการตกลงใจ 1 เพราะอาศัยการตกลงใจจึง
เกิดการรักใคร่พึงใจ เพราะอาศัยการรักใคร่พึงใจจึงเกิดการพะวง 1
เพราะอาศัยการพะวงจึงเกิดการยึดถือ 1 เพราะอาศัยความยึดถือจึงเกิด
ความตระหนี่ 1 เพราะอาศัยความตระหนี่จึงเกิดการป้องกัน 1 เพราะ
อาศัยการป้องกัน อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย คือ การถือไม้ ถือมีด
การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวว่า มึง มึง การพูด
คำส่อเสียด การพูดปด ย่อมเกิดขึ้น 1. ธรรมมีตัณหาเป็นมูลเหตุ 9
เหล่านี้ ชื่อว่า ตัณหามูลกา เพราะธรรมมีตัณหาเป็นมูลเหตุ. การ
แสวงหาเป็นต้น เป็นอกุศลทั้งนั้น.
บทว่า ตณฺหํ ปฏิจฺจ คือ อาศัยตัณหา. บทว่า ปริเยสนา
คือ การแสวงหาอารมณ์มีรูปเป็นต้น. เพราะเมื่อตัณหามีอยู่ การแสวง
หานั้นก็มี.
บทว่า ลาโภ ได้แก่ การได้อารมณ์มีรูปเป็นต้น, เพราะเมื่อ
การแสวงหามีอยู่ ลาภนั้นก็มี. การตกลงใจมี 4 อย่าง คือ ญาณ 1
ตัณหา 1 ทิฏฐิ 1 วิตก 1.
ในวินิจฉัย คือ การตกลงใจเหล่านั้น ชื่อว่า ญาณวินิจฺฉโย1 - การ
ตกลงใจด้วยความรู้ เพราะพึงรู้สุขวินิจฉัย ครั้นรู้สุขวินิจฉัยแล้วพึง
ขวนขวายหาความสุขในภายใน.
1. ม.อุ. 14/654.

ตัณหาวิจริต 118 ที่ปรากฏอย่างนี้ว่า บทว่า วินิจฺฉโย ได้แก่
วินิจฉัย 2 อย่าง คือ ตัณหาวินิจฉัย 1 ทิฏฐิวินิจฉัย 1. ชื่อว่า ตณฺหา-
วินจฺฉโย1 - การตกลงใจด้วยตัณหา.
ทิฏฐิ 62 ชื่อว่า ทิฏฺฐิวินิจฺฉโย - การตกลงใจด้วยทิฏฐิ. ใน
ที่นี้ท่านกล่าววิตกว่า วินิจฉยะ มาแล้วในสูตรนี้ว่า ฉนฺโท โข เท-
วานมินฺท วิตกฺกนิทาโน
2 - ข้าแต่จอมเทพ ฉันทะแลมีวิตกเป็นเหตุ.
ครั้นได้ลาภแล้ว ย่อมตัดสินถึงสิ่งที่ชอบ ไม่ชอบ และดี ไม่ดี ด้วยวิตก
ว่า สิ่งมีประมาณเท่านี้จักมีแก่เราเพื่อประโยชน์แก่รูปารมณ์, มีประมาณ
เท่านี้จักมีแก่เราเพื่อประโยชน์แก่สัททารมณ์เป็นต้น, มีประมาณเท่านี้
จักเป็นของเรา, มีประมาณเท่านี้จักเป็นของผู้อื่น, มีประมาณเท่านี้เรา
จักใช้สอย, มีประมาณเท่านี้เราจักเก็บไว้. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ลาภํ ปฏิจฺจ วินิจฺฉโย - อาศัยลาภจึงเกิดการ
ตกลงใจ.

บทว่า ฉนฺทราโค - การรักใคร่พึงใจ ได้แก่ เมื่อวิตกถึงวัตถุ
ด้วยอกุศลวิตกอย่างนี้แล้ว ย่อมเกิดราคะอย่างอ่อนและอย่างแรง. บทว่า
ฉนฺโท เป็นชื่อของราคะอย่างอ่อน, บทว่า ราโค เป็นชื่อของราคะ
อย่างแรง.
1. ขุ. มหา. 29/470. 2. ที. มหา. 10/256.

บทว่า อชฺโฌสานํ - ความพะวง ได้แก่ การตกลงอย่างแรงว่า
เรา ของเรา.
บทว่า ปริคฺคโห - ความยึดถือ ได้แก่ ทำความยึดถือด้วย
ตัณหาทิฏฐิ.
บทว่า มจฺฉริยํ - ตระหนี่ ได้แก่ ไม่ยอมให้เป็นสิ่งสาธารณะ
แก่คนอื่น, ด้วยเหตุนั้นโบราณาจารย์จึงกล่าวความหมายของ บทว่า
มัจฉริยะ ไว้อย่างนี้ว่า ท่านกล่าวว่า มัจฉริยะ เพราะเป็นไปใน
ความว่า ของอัศจรรย์นี้จงมีแก่เราเท่านั้น จงอย่ามีแก่ผู้อื่นเลย
บทว่า อารกฺโข - การป้องกัน ได้แก่ การรักษาด้วยดี ด้วย
ปิดประตู เก็บไว้ในหีบเป็นต้น.
ชื่อว่า อธิกรณํ เพราะทำให้ยิ่ง. บทนี้เป็นชื่อของเหตุ.
บทว่า อารกฺขาธิกรณํ - เป็นภาวนปุงสกลิงค์ ได้แก่ เหตุแห่ง
การป้องกัน.
พึงทราบวินิจฉัยในบทมีการถือไม้เป็นต้น ดังต่อไปนี้ การถือ
ไม้เพื่อป้องกันผู้อื่น ชื่อว่า พณฺฑาทานํ. การถือศัสตรามีคมข้างเดียว
เป็นต้น ชื่อว่า สตฺถาทานํ. การทะเลาะทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง ชื่อว่า
กลโห. โกรธกันมาครั้งก่อน ๆ ชื่อว่า วิคฺคโห. โกรธกันครั้งหลัง ๆ
ชื่อว่า วิวาโท. บทว่า ตุวํตุวํ ได้แก่ พูด มึง มึง ด้วยความไม่
เคารพ.

บทว่า ทส มิจฺฉตฺตา - ความเป็นผิด 10 คือ มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
มิจฉาสมาธิ มิจฉาญาณะ มิจฉาวิมุตติ.
ในบทเหล่านั้น บทว่า มิจฺฉาญาณํ - รู้ผิด ได้แก่ โมหะเกิด
ขึ้น ด้วยคิดถึงอุบายในการทำชั่ว และด้วยอาการพิจารณาว่า เราทำชั่ว
ก็เป็นการทำของตนเอง.
บทว่า มิจฺฉาวมุตฺติ - พ้นผิด ได้แก่ เมื่อยังไม่พ้นสำคัญว่าพ้น.
65] บัดนี้ เพื่อแสดงธรรมที่ควรละด้วยปหานะ มีประเภท
หลายอย่าง พระสารีบุตรจึงเริ่มบทมีอาทิว่า เทฺว ปหานานิ - ปหานะ
2 ก็เมื่อรู้แจ้งปหานะแล้วควรรู้ธรรมที่ควรละด้วยปหานะนั้น ๆ. ใน
ปหานะ 5 ท่านกล่าวถึงโลุกุตรปหานะ 2 พร้อมกับ ปโยคะ ก่อนเว้น
ปหานะ 2 ทางโลก และ นิสสรณปหานะ การละด้วยอุบายเครื่องสลัด
ออก อันไม่เป็น ปโยคะ.
ชื่อว่า สมุจเฉทะ เพราะปหานะเป็นเหตุทำให้กิเลสขาดไป
โดยชอบ, ชื่อว่า ปหานะ เพราะปหานะเป็นเหตุละกิเลส.
ชื่อว่า สมุจเฉทปหานะ เพราะละกิเลสอันเป็นสมุจเฉท ไม่ใช่
ละกิเลสที่ยังมีเหลือ.
ชื่อว่า ปฏิปัสสัทธิ เพราะกิเลสสงบ, ชื่อว่า ปหานะ เพราะ
ละกิเลส, การละอันเป็นความสงบ ชื่อว่า ปฏิปัสสัทธิปหานะ.

ชื่อว่า โลกุตระ เพราะข้ามโลก. ชื่อว่า ขยคามี เพราะถึงความ
สิ้นไป ได้แก่ นิพพาน. ขยคามีและมรรค ชื่อว่า ขยคามิมรรค,
อธิบายว่า มรรคของผู้เจริญขยคามิมรรค ชื่อว่า สมุจเฉทปหานะ.
โลกุตรผล ในขณะแห่งผล ชื่อว่า ปฏิปัสสัทธิปหานะ.
พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า กามานเมตํ นิสฺสรณํ - เนก-
ขัมมะเป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามเป็นต้น. ชื่อว่า นิสสรณะ เพราะ
เนกขัมมะเป็นเหตุสลัดออกจากกาม จากรูป จากสังขตะ. อีกอย่างหนึ่ง
ชื่อว่า นิสสรณะ เพราะออกไปจากกามเหล่านั้น. นิสสรณะ คือ
อสุภฌาน.
ชื่อว่า เนกขัมมะ เพราะออกจากกาม. หรือ ได้แก่ อนาคามิมรรค.
จริงอยู่อสุภฌาน ชื่อว่า นิสสรณะ เพราะข่มกามไว้ได้. ส่วน อุป-
ปาทิตอนาคามิมรรค -
อนาคามิมรรคยังฌานให้เกิด ทำฌานนั้นให้
เป็นบาท ชื่อว่า อจฺจนฺตนิสฺสรณํ - เป็นอุบายสลัดออกโดยส่วนเดียว
เพราะขาดจากกามโดยประการทั้งปวง. ชื่อว่า รูปํ เพราะอรรถว่า
สลายไป, อธิบายว่า อรูปมิใช่รูปเป็นปฏิปักษ์ต่อรูป ดุจอมิตรเป็นปฏิ-
ปักษ์ย่อมิตร, และดุจอโลภะเป็นต้น เป็นปฏิปักษ์ต่อโลภะเป็นต้น. อีก
อย่างหนึ่ง ชื่อว่า อรูปํ เพราะอรรถว่า ในฌานนี้ไม่มีรูปด้วยอำนาจ
แห่งผล, อรูปนั่นแล ชื่อว่า อารุปฺปํ - อรูปฌาน. อารุปปะ คือ
อรูปฌาน. อรูปฌานเหล่านั้นเป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป. อรหัต-

มรรค ชื่อว่า อุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูปโดยประการทั้งปวง เพราะ
ห้ามการเกิดใหม่ด้วยอรูปฌาน. บทว่า ภูตํ คือ เกิดแล้ว. บทว่า
สงฺขตํ คือ อาศัยปัจจัยปรุงแต่ง.
บทว่า ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนํ - ธรรมอาศัยกันเกิดขึ้น ได้แก่
ปัจจัยนั้น ๆ เกิดขึ้นโดยชอบและร่วมกัน. เป็นอันท่านแสดงความไม่
เที่ยง ด้วยแสดงถึงความเกิดครั้งแรก, เมื่อมีความไม่เที่ยงครั้งที่ 2 ท่าน
ก็แสดงถึงความเป็นไปในเบื้องหน้าด้วยการแสดงถึงอานุภาพของปัจจัย,
เมื่อมีความเป็นไปในเบื้องหน้าครั้งที่ 3 ท่านก็แสดงถึงความเป็นธรรมดา
อย่างนี้ ด้วยการแสดงถึงความเป็นผู้ขวนขวายปัจจัย.
บทว่า นิโรโธ คือ นิพพาน. ท่านกล่าวว่า นิโรโธ เพราะ
อรรถว่า อาศัยนิพพานดับทุกข์. นิโรธ นั้น ชื่อว่า เป็นอุบายสลัดออก
แห่งสังขตะนั้น เพราะสลัดออกจากสังขตะทั้งหมด. ส่วนในอรรถกถา
ท่านกล่าวไว้ว่า
ในบทนี้ว่า นิโรโธ ตสฺส นิสฺสรณํ - นิโรธ
เป็นอุบายสลัดออกแห่งสังขตะนั้น ท่านประสงค์
อรหัตผลว่า นิโรธ. จริงอยู่เมื่อเห็นนิพพานด้วย
อรหัตผล สังขารทั้งปวงก็จะไม่มีต่อไปอีก เพราะ
เหตุนั้นท่านจึงกล่าว นิโรโธ เพราะเป็นปัจจัย
แห่งนิโรธอันได้แก่พระอรหัต.

พึงทราบวินิจฉัยโดยบทมีอาทิว่า เนกฺขมฺมํ ปฏิลทฺธสฺส - เมื่อ
บุคคลผู้ได้เนกขัมมะแล้วมีดังต่อไปนี้ เมื่อบุคคลผู้ได้เนกขัมมะเป็นอัน
ละและสละกามได้แล้ว ด้วย วิกขัมภนปหานะในเพราะอุบายสลัดออก
แห่งอสุภฌาน. ด้วย สมุจเฉทปหานะ ในเพราะอบายสลัดออกแห่ง
อนาคามิมรรค. พึงประกอบรูปทั้งหลายอย่างนี้ในเพราะอุบายสลัดออก
แห่งอรูปฌานและในเพราะอุบายสลัดออกแห่งอรหัตมรรค. การตัดขาด
รูปย่อมมีด้วยการละฉันทราคะในรูปทั้งหลาย, อนึ่งในบทว่า รูปา นี้
เป็นลิงควิปาลาส. เมื่อบุคคลผู้ได้นิโรธเป็นอันละและสละสังขารได้แล้ว
ด้วย นิสสรณปหานะ ในเพราะพระนิพพานเป็นเครื่องสลัดออก, ด้วย
ปฏิปัสสัทธิปหานะในเพราะอรหัตผลเป็นเครื่องสลัดออก. พึงทราบว่า
การได้เฉพาะด้วยสามารถทำให้เป็นอารมณ์ ในเพราะความที่พระ
นิพพานเป็นเครื่องสลัดออก
พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า ทุกฺขสจฺจํ ดังต่อไปนี้.
บทว่า ปริญฺญาปฏิเวธํ - การแทงตลอดด้วยการกำหนดรู้เป็น
ต้น เป็นภาวนปุงสกะ. การแทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ ชื่อว่า ปริญฺ-
ญาปฏิเวธํ.
ทุกขสัจนั้นเป็นการแทงตลอดด้วยการกำหนดรู้. แม้ใน
บทที่เหลือก็มีนัยนี้.
บทว่า ปชหาติ - ย่อมละ พึงถือเอาความว่า บุคคลผู้แทงตลอด
ได้อย่างนั้น ๆ ย่อมละกิเลสที่ควรละได้. อธิบายว่า ย่อมละกิเลสเหล่านั้น

ด้วยละฉันทราคะแม้ในโลกิยะและโลกุตระ. ปาฐะว่า ปชหติ บ้าง.
มรรคญาณย่อมตรัสรู้อริยสัจ 4 ในขณะเดียวกันไม่ก่อนไม่หลัง. ย่อม
ตรัสรู้ทุกข์ ด้วยปริญญาภิสมัย - การตรัสรู้ด้วยการกำหนดรู้, ย่อม
ตรัสรู้สมุทัย ด้วยปหานาภิสมัย - การตรัสรู้ด้วยการละ, ย่อมตรัสรู้
มรรค ด้วยภาวนาภิสมัย - การตรัสรู้ด้วยการทำให้เกิด, ย่อมตรัสรู้
นิโรธ ด้วยสัจฉิกิริยาสมัย - การตรัสรู้ด้วยการทำให้แจ้ง. เหมือนเรือ
ย่อมทำกิจ 4 อย่างในขณะเดียวกัน, ย่อมละฝั่งใน, ตัดกระแส, นำ
สินค้าไป, ย่อมถึงฝั่งโน้น ฉะนั้น. ท่านอธิบายไว้อย่างไร ? พึงทราบ
ว่า ท่านกล่าวถึง ปหานะ แม้ในขณะเดียวกันก็ดุจแยกกัน เพราะ
ท่านกล่าวว่า พระโยคาวจรท่านิโรธให้เป็นอารมณ์ ย่อมบรรลุ ย่อม
เห็น ย่อมแทงตลอดอริยสัจ 4.
พึงทราบวินิจฉัยในปหานะ 5 ดังต่อไปนี้ การข่ม การทำให้ กล
ซึ่งปัจนิกธรรมมีนิวรณ์เป็นต้น ด้วยโลกิยสมาธินั้น ๆ ดุจเอาหม้อ
เหวี่ยงลงไปในน้ำที่มีแหน ทำให้แหนกระจายไปใกล้ ฉะนั้น นี้ชื่อว่า
วิกขัมภนปหานะ.
บทว่า วิกฺขมฺภนปหานญฺจ นีวรณานํ ปมชฺณานํ ภาว-
ยโต
- การละนิวรณ์ด้วยการข่มไว้ ย่อมมีแก่ผู้เจริญปฐมฌาน พึง
ทราบว่า ท่านกล่าวถึงการละนิวรณ์ เพราะนิวรณ์ปรากฏ. อันที่จริง
นิวรณ์ยังไม่ครอบงำจิตเร็วนักทั้งในส่วนเบื้องต้น ทั้งในส่วนเบื้องหลัง

แห่งฌาน. เมื่อจิตถูกนิวรณ์ครอบงำ ฌานย่อมเสื่อม, แต่วิตกเป็นต้น
ยังเป็นไปได้ไม่เป็นปฏิปักษ์ทั้งก่อนหลังตั้งแต่ทุติยฌานเป็นต้น. เพราะ
ฉะนั้น การข่มนิวรณ์จึงปรากฏ. การละธรรมที่ควรละนั้น ๆ โดยเป็น
ปฏิปักษ์กันด้วยองค์ฌานอันเป็นส่วนของวิปัสสนานั้น ๆ ดุจตามประทีป
ไว้ในตอนกลางคืนละความมืดเสียได้ นี้ชื่อว่า ตทังคปหานะ.
บทว่า ตทงฺคปฺปหานญฺจ ทิฏฺฐิคตานํ นิพฺเพธภาคิยํ สมาธึ
ภาวยโต -
การละทิฏฐิด้วยองค์นั้น ๆ ย่อมมีแก่ผู้เจริญสมาธิอันเป็นไป
ในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงการละทิฏฐิโดย
เป็นของหยาบ. เพราะทิฏฐิเป็นของหยาบ, นิจสัญญาเป็นต้นละเอียด.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺฐิคตานํ คือ ทิฏฐินั่นแล ชื่อว่า
ทิฏฐิคตะ ดุจบทมีอาทิว่า คูถคตํ มุตฺตคตํ1 - คูถมูตร. ทิฏฐิคตะ
นี้เที่ยวไปด้วยทิฏฐิ เพราะความเป็นของที่ควรไปบ้าง ชื่อว่า ทิฏฐิ-
คตะ.
ไปในทิฏฐิ เพราะหยั่งลงภายในทิฏฐิ 62 บ้าง ชื่อว่า ทิฏฐิ-
คตะ.
ทิฏฐิคตะเหล่านั้น ท่านกล่าวเป็นพหุวจนะ.
บทว่า นิพฺเพธภาคิยํ สมาธึ - สมาธิอันเป็นไปในส่วนแห่ง
การชำแรกกิเลส ได้แก่ สมาธิสัมปยุตด้วยวิปัสสนา. การละโดยอาการ
ที่เป็นไปไม่ได้อีกต่อไปแห่งธรรมอันเป็นสังโยชน์ ด้วยอริยมรรคญาณ
ดุจต้นไม้ที่ถูกสายฟ้าฟาด นี้ชื่อว่า สมุจเฉทปหานะ.
1. องฺ. นวก. 23/215.

บทว่า นิโรโธ นิพฺพานํ - นิโรธ คือ นิพพาน ได้แก่
นิพพาน กล่าวคือ นิโรธ.
66] เพื่อแสดงธรรมที่ควรละด้วย ปหานะ อย่างนี้แล้วแสดง
ธรรมที่ควรละอีกโดยสรุป พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพุทธพจน์มีอาทิว่า
สพฺพํ ภิกฺขเว ปหาตพฺพํ - ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรละ.
ในธรรมเหล่านั้น ควรละธรรมมีจักษุเป็นต้น ด้วยการละฉันท-
ราคะ.
พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า รูปํ ปสฺสนฺโต ปชหาติ - เมื่อ
เห็นรูปย่อมละ ได้แก่ เมื่อพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นของไม่เที่ยง
เป็นต้น ย่อมละกิเลสที่ควรละได้. เมื่อพิจารณาเห็น สำรวจ เพ่ง
ปรารถนา อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ในสองไปยาลว่า จกฺขุํ ฯเปฯ
ชรามรณํ ฯเปฯ อมโตคธํ นิพฺพานํ,
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์
ในโลกุตรธรรมเหล่านั้น มีอาทิว่า ปสฺสนฺโต ปชหาติ - เมื่อพิจารณา
เห็น ย่อมละได้ ย่อมละกิเลสที่ควรละ ในขณะแห่งวิปัสสนา เพราะ
เหตุนั้นควรประกอบโดยอนุรูปแก่ธรรมนั้น ๆ.
จบ อรรถกถาปหาตัพพนิทเทส
จบ อรรถกถาตติยภาณวาร

จตุตถภาณวาร - ภาเวตัพพนิเทส


[67]ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่อง
รู้ชัดธรรมทั้งได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ ชื่อว่าสุตมย-
ญาณอย่างไร ?
ธรรมอย่างหนึ่งควรเจริญ คือ กายคตาสติอันสหรคตด้วยความ
สำราญ. ธรรม 2 ควรเจริญ คือ สมถะ 1. วิปัสสนา 1. ธรรม 3
ควรเจริญ คือ สมาธิ 3. ธรรม 4 ควรเจริญ คือ สติปัฏฐาน 4.
ธรรม 5 ควรเจริญ คือ สัมมาสมาธิมีองค์ 5. ธรรม 6 ควรเจริญ
คือ อนุสติ 6. ธรรม 7 ควรเจริญ คือ โพชฌงค์ 7. ธรรม 8
ควรเจริญ คือ อริยมรรคมีองค์ 8. ธรรม 9 ควรเจริญ คือ องค์
อันเป็นประธานแห่งความบริสุทธิ์ - ปาริสุทธิ 9. ธรรม 10 ควร
เจริญ คือ กสิณ 10.
[ 68 ]ภาวนา 2 คือโลกิยภาวนา 1 โลกุตรภาวนา 1.
ภาวนา 3 คือ การเจริญธรรมอันเป็นรูปาวจรกุศล 1 การเจริญธรรม
อันเป็นอรูปาวจรกุศล 1 การเจริญกุศลธรรมอันไม่นับเนื่องในโลก
คือโลกุตรกุศล 1. การเจริญธรรมอันเป็นรูปาวจรกุศล เป็นส่วนเลว
ก็มี เป็นส่วนปานกลางก็มี เป็นส่วนประณีตก็มี, การเจริญธรรมอัน
เป็นอรูปาวจรกุศล เป็นส่วนเลวก็มี เป็นส่วนปานกลางก็มี เป็นส่วน
ประณีตก็มี, การเจริญกุศลธรรมอันไม่นับเนื่องในโลก เป็นส่วนประณีต