เมนู

ธรรมอันบุคคลกำหนดรู้แล้ว และพิจารณาแล้วอย่างนี้. เมื่อเข้าถึงกิจ
แล้ว เป็นอันได้ธรรมนั้น ๆ แล้ว. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ญาต-
ปริญญา ของผู้ยังไม่เข้าถึงวิปัสสนา นั่นไม่ดีเลย เพราะ ญาตปริญญา
ท่านกล่าวด้วยธรรมควรรู้ยิ่ง.
บทว่า ปริญฺญตา เจว โหนฺติ ตีริตา จ ธรรมอันบุคคลกำหนด
รู้แล้ว และพิจารณาแล้ว ความว่า ธรรมอันบุคคลได้แล้ว ชื่อว่า
เป็นอันกำหนดรู้แล้ว และชื่อว่าพิจารณาแล้ว. เป็นอันท่านกล่าวความ
ที่กำหนดรู้ ด้วยการเข้าถึงสมาบัติอย่างนี้.
59] บัดนี้ เพื่อประกอบอรรถนั้น ด้วยการได้ธรรมอย่าง
หนึ่ง ๆ แล้วแสดงสรุปในที่สุด พระสารีบุตร จึงกล่าวว่า เนกฺขมฺมํ
เป็นต้น. พึงทราบบททั้งหมดนั้น โดยทำนองตามดังที่ท่านกล่าวไว้แล้ว
ในตอนก่อนแล.
จบ อรรถกถาปริญเญยยนิทเทส
---------------------------------

ปหาตัพพนิทเทส


[60] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ปฐมฌาน เป็นอัน
ได้ปฐมฌานแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำลังรู้แล้ว และ
พิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ทุติยฌาน ฯลฯ

ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน เป็นอันได้จตุตถฌานแล้ว . . . บุคคลผู้
พยายามเพื่อต้องการจะได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ. . . วิญญาณัญ-
จายตนสมาบัติ . . . อากิญจัญญายตนสมาบัติ. . . เนวสัญญานา-
สัญญายตนสมาบัติ เป็นอันได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติแล้ว
ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้ว และพิจารณาแล้ว
อย่างนี้.
61] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้อนิจจานุปัสนา เป็น
อันได้อนิจจานุปัสนาแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้
แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ทุกขา-
นุปัสนา ... อนัตตานุปัสนา . . . นิพพิทานุปัสนา . . . วิราคานุปัสนา. . .
นิโรธานุปัสนา . . . ปฏินิสสัคคานุปัสนา . . . ขยานุปัสนา . . . วยา-
นุปัสนา. . . วิปริณามานุปัสนา. . . อนิมิตตานุปัสนา... อัปปณิหิตา-
นุปัสนา. . . สุญญตานุปัสนา . . . เป็นอันได้สุญญตานุปัสนาแล้ว ธรรม
นั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้.
[62] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้อธิปัญญาธรรมวิปัสสนา
การพิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอันได้อธิปัญญาธรรม
จะปัสสนาแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและ
พิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ยถาภูตญาณ-
ทัสนะ. . . อาทีนวานุปัสนา. . . ปฏิสังขานุปัสนา. . . วิวัฏฏนานุปัสนา

. . . เป็นอันได้วิวัฏฏนานุปัสนาแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้น
กำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้.
[63] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้โสดาปัตติมรรค เป็น
อันได้โสดาปัตติมรรคแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนด
รู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้สกทา-
คามิมรรค . . . อนาคามิมรรค . . . อรหัตมรรค เป็นอันได้อรหัตมรรค
แล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้ว
อย่างนี้ บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ธรรมใด ๆ เป็นอันได้ธรรม
นั้น ๆ แล้ว ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและ
พิจารณาแล้วอย่างนี้ ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่า
ปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา
เครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมา
แล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าสุตมยญาณ.
[64] ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่อง
รู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรละ ชื่อว่าสุตมยญาณ
อย่างไร ?
ธรรมอย่างหนึ่งควรละ คือ อัสมิมานะ, ธรรม 2 ควรละ คือ
อวิชชา 1 ตัณหา 1, ธรรม 3 ควรละ คือ ตัณหา 3, ธรรม 4 ควรละ
คือ โอฆะ 4, ธรรม 5 ควรละ คือ นิวรณ์ 5, ธรรม 6 ควรละ คือ

หมวดตัณหา 6, ธรรม 7 ควรละ คือ อนุสัย 7, ธรรม 8 ควรละ คือ
มิจฉัตตะ - ความเป็นผิด 8, ธรรม 9 ควรละ คือ ธรรมมีตัณหาเป็น
มูลเหตุ 9. ธรรม 10 ควรละ คือ มิจฉัตตะ 10.
[65] ปหานะ 2 คือ สมุจเฉทปหานะ 1 ปฏิปัสสัทธิ-
ปหานะ 1 สมุทเฉทปหานะ อันเป็นโลกุตรมรรค และปฏิปัสสัทธิ-
ปหานะอันเป็นโลกุตรผล ในขณะแห่งผล ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญมรรค
เครื่องให้ถึงความสิ้นไป.
ปหานะ 3 คือ เนกขัมมะ เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกาม 1
อรูปฌาน เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป 1 นิโรธ เป็นอุบายเครื่อง
สลัดออกแห่งสังขตธรรมที่เกิดขึ้นแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาศัยกัน
และกันเกิดขึ้น 1 บุคคลผู้ได้เนกขัมมะเป็นอันละและสละกามได้แล้ว
บุคคลผู้ได้อรูปฌานเป็นอันละและสละรูปได้แล้ว บุคคลผู้ได้นิโรธเป็น
อันละและสละสังขารได้แล้ว.
ปหานะ 4 คือ บุคคลผู้แทงตลอดทุกขสัจ อันเป็นการแทง
ตลอดด้วยการกำหนดรู้ ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ 1 บุคคลผู้แทงตลอด
สมุทัยสัจ อันเป็นการแทงตลอดด้วยการละ ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ 1
บุคคลผู้แทงตลอดนิโรธสัจ อันเป็นการแทงตลอดด้วยการทำให้แจ้ง
ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ 1 บุคคลผู้แทงตลอดมรรคสัจ อันเป็นการ
แทงตลอดด้วยการเจริญ ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ 1.

ปหานะ 5 คือ วิกขัมภนปหานะ 1 ตทังคปหานะ 1 สมุจ-
เฉทปหานะ 1 ปฏิปัสสัทธิปหานะ 1 นิสสรณปหานะ 1 การละนิวรณ์
ด้วยการข่มไว้ ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญปฐมฌาน การละทิฏฐิด้วยองค์
นั้น ๆ ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญสมาธิอันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรก
กิเลส สมุจเฉทปหานะอันเป็นโลกุตรมรรค และปฏิปัสสัทธิปหานะ
อันเป็นโลกุตรผล ในขณะแห่งผล ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญมรรคเครื่อง
ให้ถึงความสิ้นไป และนิสสรณปหานะเป็นนิโรธ คือ นิพพาน.
[66] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรละ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงควรละคืออะไร คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ
จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิด
ขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยควรละทุกอย่าง.
หู เสียง ฯลฯ จมูก กลิ่น ฯลฯ ลิ้น รส ฯลฯ กาย
โผฏฐัพพะ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ ฯลฯ มโนวิญญาณ ฯลฯ มโน-
สัมผัส ฯลฯ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนาที่เกิด
ขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยควรละทุกอย่าง.
เมื่อพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ย่อมละ
กิเลสที่ควรละได้ เมื่อพิจารณาเห็นเวทนา . . . สัญญา. . . สังขาร . . .
วิญญาณ... จักษุ ... ชราและมรณะ โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น
ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ เมื่อพิจารณาเห็นนิพพานอันหยั่งลงสู่อมตะ

ด้วยความเป็นอนัตตา ด้วยความว่าเป็นที่สุด ย่อมละกิเลสที่ควรละได้
ธรรมใด ๆ เป็นธรรมที่ละได้แล้วธรรมนั้น ๆ เป็นอันสละได้แล้ว ชื่อว่า
ญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ไดสดับมาแล้ว
คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรละ ชื่อว่า
สุตมยญาณ.
จบ ตติยภาณวาร
-----------------------------

อรรถกถาปหาตัพพนิทเทส


60-64] พึงทราบวินิจฉัยในปหาตัพพนิทเทส ดังต่อไปนี้.
บทว่า อสฺมิมาโน - มานะว่าเป็นเรา ได้แก่ ชื่อว่า มานะ เพราะ
เป็นเราในอุปาทานขันธ์ 5 มีรูปเป็นต้น. จริงอยู่เมื่อละมานะนั้นได้
เป็นอันได้บรรลุพระอรหัต พึงทราบว่า แม้เมื่อรูปราคะเป็นต้น ยังมี
อยู่ก็ไม่กล่าวถึงสังโยชน์ที่เหลือกกล่าวถึงอัสมิมานะเท่านั้น เพราะอัสมิ-
มานะนั้นหยาบเทียบได้กับทิฏฐิ.
บทว่า อวิชฺชา คือความไม่รู้ในฐานะ 4 มีทุกข์เป็นต้น โดย
สุตตันตปริยาย, การไม่รู้ในฐานะ 8 กับที่สุดของเบื้องต้นเป็นต้น
โดยอภิธรรมปริยาย. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า