เมนู

อรรถกถาปริญเญยยนิทเทส


56] พึงทราบวินิจฉัย ในปริญเญยยนิทเทสดังต่อไปนี้ ท่าน
สงเคราะห์ปริญญา 3 คือ ญาตปริญญา 1 ตีรณปริญญา 1 ปหาน
ปริญญา 1 ด้วยปริญญาติศัพท์ไว้ก็จริง แต่ในนิทเทสนี้ ท่านประสงค์เอา
ตีรณปริญญา เท่านั้น เพราะท่านกล่าวถึง ญาตปริญญา ว่า อภิญฺ-
เญยฺยา
ควรรู้ยิ่งไว้แล้วในตอนหลัง เพราะท่านกล่าวถึง ปหานปริญญา
ว่า ปหาตพฺพา ควรละไว้ตอนต่อไป.
บทว่า ผสฺโส สาสโว อุปาทานโย ผัสสะอันมีอาสวะเป็นที่ตั้ง
แห่งอุปาทาน ได้แก่ ผัสสะอันเป็นไปในภูมิ 3 เป็นปัจจัย แห่งอาสวะ
และอุปาทาน. จริงอยู่ ผัสสะนั้นชื่อว่า สาสวะ เพราะทำตนให้เป็น
อารมณ์พร้อมกับอาสวะที่เป็นไปอยู่ ชื่อว่า อุปาทานิยะ เพราะเข้าถึง
ความเป็นอารมณ์ แล้วหน่วงอุปาทานไว้ด้วยการผูกพันไว้กับอุปาทาน.
เพราะเมื่อผัสสะกำหนดรู้ได้ด้วยตีรณปริญญา อรูปธรรมแม้ที่เหลือ
ย่อมกำหนดรู้ได้ด้วยผัสสะเป็นประธานและรูปธรรม ย่อมกำหนดรู้ได้
ด้วยเป็นไปตามผัสสะนั้น, ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวผัสสะอย่างเดียวเท่านั้น.
แม้ในธรรมที่เหลือก็พึงประกอบตามควร. บทว่า นามํ ได้แก่ ขันธ์ 4
และนิพพานอันไม่มีรูป. บทว่า รูปํ ได้แก่ มหาภูตรูป 8 และ
อุปาทายรูป 24 อาศัยมหาภูตรูป 4. ขันธ์ 4 ชื่อว่า นาม เพราะ
อรรถว่าน้อมไป. จริงอยู่ขันธ์เหล่านั้นมีอารมณ์เป็นตัวนำ ย่อมน้อมไป.

นามแม้ทั้งหมดก็ชื่อว่า นาม ในอรรถว่าให้น้อมไป. จริงอยู่ ขันธ์ 4.
ยังกันและกันให้น้อมไปในอารมณ์, นิพพานยังธรรมที่ไม่มีโทษให้
น้อมไปในตน เพราะเป็นปัจจัยแห่งความเป็นใหญ่ในอารมณ์. ชื่อว่า
รูปํ เพราะอรรถว่าเปลี่ยนแปลงไปด้วยความเย็นเป็นต้น โดยอำนาจ
สันตติ - ความสืบต่อ.
บทว่า รูปนฏฺเฐน ได้แก่ ความกำเริบ. ธรรมชาติที่ถูกความ
หนาวเป็นต้น กระทบด้วยการปรวนแปรของสันตติ ท่านกล่าวว่า รูปํ.
แต่ในที่นี้ บทว่า นามํ ท่านประสงค์เอานามที่เป็นโลกิยะเท่านั้น,
ส่วนรูปเป็นโลกิยะโดยส่วนเดียว.
บทว่า ติสฺโส เวทนา เวทนา 3 ได้แก่ สุขเวทนา ทุกข-
เวทนา อทุกขมสุขเวทนา. เวทนาเหล่านั้นเป็นไปในโลกเท่านั้น.
บทว่า อาหารา ได้แก่ ปัจจัย. ปัจจัย ชื่อว่า อาหารา เพราะ
นำมาซึ่งผลแก่ตน. อาหาร 4 อย่าง คือ กพฬีการาหาร ( อาหาร คือ
คำข้าว ) 1 ผัสสาหาร ( อาหาร คือ ผัสสะ ) 1 มโนสัญเจตนาหาร
(อาหาร คือ มโนสัญเจตนา) 1 วิญญาณาหาร (อาหาร คือ วิญญาณ) 1.
ชื่อว่า กฬฬีการะ เพราะควรทำให้เป็นคำด้วยวัตถุ. ชื่อว่า อาหาร
เพราะควรกลืนกิน. บทนี้เป็นชื่อของโอชะอันเป็นวัตถุมีข้าวสุกและ
ขนมทำด้วยถั่วเขียวเป็นต้น. โอชะนั้น ชื่อว่า อาหาร เพราะนำมา
ซึ่งรูปมีโอชะเป็นที่ 8. ผัสสะ 6 อย่าง มีจักขุสัมผัสเป็นต้น ชื่อว่า
อาหาร เพราะนำมาซึ่งเวทนา 3. ชื่อว่า มโนสัญเจตนา เพราะ

มีความตั้งใจของใจ มิใช่ของสัตว์ เหมือนความที่จิตมีอารมณ์เดียว.
อีกอย่างหนึ่ง สัญเจตนาสัมปยุตด้วยใจ ชื่อว่า มโนสัญเจตนา
เหมือนรถเทียมด้วยม้าอาชาไนย. ได้แก่ กุศลเจตนาและอกุศลเจตนา
เป็นไปในภูมิ 3. มโนสัญเจตนานั้น ชื่อว่า อาหาร เพราะนำมาซึ่ง
ภพ 3.
บทว่า วิญฺญาณํ ได้แก่ ปฏิสนธิวิญญาณ 19 อย่าง. ปฏิสนธิ
วิญญาณนั้นชื่อว่าอาหาร เพราะนำมาซึ่งนามรูปอันเป็นปฏิสนธิ.
บทว่า อุปทานกฺขนฺธา ได้แก่ ขันธ์ อันเป็นโคจรของ
อุปาทาน พึงเห็นลบบทท่ามกลาง - มชฺฌปทโลโป. อีกอย่างหนึ่ง
ขันธ์ที่เกิดเพราะอุปาทาน ชื่อ อุปาทานขึ้น เหมือนไฟไหม้หญ้า
ไฟไหม้แกลบ. อีกอย่างหนึ่ง ขันธ์ที่เชื่อฟังอุปาทาน ชื่อ อุปาทาน-
ขันธ์ เหมือนราชบุรุษ. อีกอย่างหนึ่ง ขันธ์ที่มีอุปาทานเป็นแดนเกิด
ชื่อว่า อุปาทานขันธ์ เหมือนต้นไม้มีดอก ต้นไม้มีผล อุปาทานมี
4 อย่าง คือ กามุปาทาน - คือมั่นกาม 1 ทิฏฐุปาทาน - คือ
มั่นทิฏฐิ 1 สีลัพพตุปาทาน - คือมั่นศีลพรต 1 อัตตวาทุปาทาน
- คือมั่นวาทะว่าตน 1. แต่โดยอรรถ ชื่อว่า อุปาทาน เพราะยึดถือ
จัด. อุปาทานขันธ์ 5 คือ รูปูปาทานขันธ์ 1 เวทนูปาทานขันธ์ 1
สัญญูปาทานขันธ์ 1 สังขารูปาทานขันธ์ 2 วิญญาณูปาทานขันธ์ 1.

บทว่า ฉ อชฺฌตฺติกานิ อายตนานิ ได้แก่ อายตนะภายใน 6
คือ จักขายตนะ 1 โสตายตนะ 1 ฆานายตนะ 1 ชิวหายตนะ 1

กายายตนะ 1 มนายตนะ 1.
บทว่า สตฺต วิญฺญาณฏฺฐิติโย ได้แก่ วิญญาณฐิติ ภูมิ
เป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ 7.
วิญญาณฐิติ มีอะไรบ้าง ? พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญา
ต่างกัน เช่นมนุษย์ทั้งหลาย เทพบางพวก วินิปาติกะ เปรต
บางหมู่ นี้เป็นวิญญาณฐิติ ที่ 1.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญา
อย่างเดียวกัน เช่น เทพผู้อยู่ในพวกพรหม ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน
นี้เป็นวิญญาณฐิติ ที่ 2.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน
มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพอาภัสสรา นี้เป็นวิญญาณฐิติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน
มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพสุภกิณหา นี้เป็นวิญญาณ-
ฐิติ ที่ 4.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่ง ก้าวล่วงรูปสัญญาโดย
ประการทั้งปวง ดับปฏิฆสัญญา ไม่มนสิการถึงสัญญาต่างกัน เป็น
ผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนะว่า อนนฺโต อากาโส - อากาศไม่มี
ที่สุด นี้เป็นวิญญาณฐิติ ที่ 5.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่งก้าวล้วงอาสานัญ-
จายตนะโดยประการทั้งปวง เป็นผู้เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะว่า
อนนฺตํ วิญฺญาณํ วิญญาณไม่มีที่สุด นี้เป็นวิญญาณฐิติ ที่ 6.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่งก้าวล่วงวิญญาณัญจา-
ยตนะโดยประการทั้งปวง เป็นผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนะว่า นตฺถิ
กิญฺจิ
ไม่มีอะไร ๆ. นี้เป็นวิญญาณฐิติ ที่ 7. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
วิญญาณฐิติ 7 เหล่านี้แล.
1
บทว่า วิญฺญาณฏฺฐิติโย - ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ ได้แก่
ขันธ์พร้อมกับวิญญาณอันเป็นฐานแห่งปฏิสนธิวิญญาณ
ในบทเหล่านั้น บทว่า เสยฺยถาปิ เป็นนิบาตลงในอรรถว่า
การชี้แจง.
บทว่า มนุสฺสา คือ มนุษย์ แม้สองคนจะเป็นเช่นคนเดียวกัน
ก็ไม่มีด้วยวรรณะและสัณฐานเป็นต้นของมนุษย์ ไม่มีประมาณ ใน
จักรวาลอันหาประมาณมิได้. แม้มนุษย์จะเหมือนกันด้วยวรรณะหรือ
สัณฐาน ก็ไม่เหมือนกันด้วยการแลและการเหลียวเป็นต้น เพราะ
ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า นานตฺตกายา - มีกายต่างกัน.
ปฏิสนธิสัญญาของมนุษย์เหล่านั้น เป็นติเหตุกะบ้าง ทวิเหตุกะ
บ้าง อเหตุกะบ้าง, เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า นานตฺตสญฺญิโน-
มีสัญญาต่างกัน.

บทว่า เอกจฺเจ จ เทวา - เทพบางพวก ได้แก่ กามาวจรเทพ
1. องฺ. สตฺตก. 23/41.

6 ชั้น. บรรดาเทพเหล่านั้น เทพบางพวกมีกายสีเขียว, บางพวกมี
ผิวพรรณสีเหลืองเป็นต้น, แต่สัญญาของเทพเหล่านั้นเป็นไปกับติเหตุกะ
บ้าง ทวิเหตุกะบ้าง, ไม่เป็นอเหตุกะ.
บทว่า เอกจฺเจ จ วินิปาติกา - วินิปาติกะบางพวก ได้แก่
เวมานิกเปรตเหล่าอื่นอาทิอย่างนี้ คือ ยักษิณี ชื่อ ปุนัพพสุมาตา
ปิยังกรมาตา ผุสสมิตตา ธรรมคุตตา
พ้นจากอบาย 4. เปรต
เหล่านั้นมีกายต่างกัน โดยมีผิวขาว ดำ เหลือง และสีนิลเป็นต้น
และโดยมีลักษณะผอม อ้วน เตี้ย สูง. แม้สัญญาก็ต่างกันด้วยอำนาจ
ติเหตุกะ ทวิเหตุกะและอเหตุกะเหมือนสัญญาของมนุษย์ทั้งหลาย. แต่
เวมานิกเปรตเหล่านั้นไม่มีศักดิ์ใหญ่เหมือนเทพทั้งหลาย. มีศักดิ์น้อย
อาหารและเสื่อผ้าหาได้ยาก ถูกทุกข์บีบคั้นเหมือนมนุษย์ยากไร้.
วินิปาติกะบางพวก ในวันข้างแรมได้รับทุกข์ ในวันข้างขึ้นได้
รับสุข, เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า วินิปาติกา เพราะตกไปจาก
การสะสมสุข.
อนึ่ง ในบทนี้ แม้การรู้ธรรมของวินิปาติกะที่เป็นติเหตุกะก็มี
ได้ ดุจการรู้ธรรมของยักษิณี ชื่อว่า ปิยังกรมาตาเป็นต้น.
บทว่า พฺรหฺมกายิกา - พวกเทพผู้อยู่ในจำพวกพรหม ได้แก่
พรหมปาริสัชชะ พรหมปุโรหิตะ และมหาพรหม.
บทว่า ปฐมาภินิพฺพตฺตา - ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน ได้แก่ พวก
เทพทั้งหมดนั้น เกิดแล้ว ด้วยปฐมฌาน. ส่วนพรหมปาริสัชชะ เกิด

ด้วยฌานเล็กน้อย, พรหมปุโรหิตะ เกิดด้วยฌานอย่างกลาง. อนึ่ง
กายของพวกเทพเหล่านั้น แผ่ซ่านยิ่ง. มหาพรหมเกิดด้วยฌานอัน
ประณีต, กายของมหาพรหมเหล่านั้น แผ่ซ่านยิ่งนัก. พรหมกายิกา
เหล่านั้น ท่านกล่าวว่า มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เพราะ
กายต่างกัน เพราะสัญญาอย่างเดียวกันด้วยอำนาจปฐมฌาน.
สัตว์ที่เกิดในอบาย 4 ก็เหมือนกัน. ในนรกบางพวกร่างกาย
คาวุตหนึ่ง, บางพวกกึ่งโยชน์, บางพวก 3 คาวุต ส่วนเทวทัตมี
ร่างกายร้อยโยชน์. แม้ในเดียรัจฉาน บางพวกก็เล็ก, บางพวกก็ใหญ่.
แม้ในเปตติวิสัย บางพวกก็ 60 ศอก บางพวกก็ 80 ศอก บางพวก
ผิวงาม บางพวกผิวทราม. เหมือนกาลกัญชิกาสูร. อนึ่ง บรรดาเปรต
เหล่านี้ พวกทีฆปิฏฐิกาเปรตก็มีกายสูง 60 โยชน์. สัญญาของเปรต
ทั้งหมดนั้น เป็นไปกับอเหตุกะมีอกุศลเป็นวิบาก. แม้สัตว์ในอบาย
ทั้งหลายก็ถือได้ว่าเป็นผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน.
บทว่า อาภสฺสรา - พวกเทพอาภัสสระ รัศมีจากร่างกายของ
อาภัสสรเทพเหล่านั้น รุ่งเรืองสว่างไสวดุจขาดแล้ว ๆ ตกลงมาเหมือน
คบเพลิงมีด้าม จึงชื่อว่า อาภัสสรา. บรรดาเทพเหล่านั้น รัศมีเกิดขึ้น
เพราะเจริญทุติยฌานและตติยฌานทั้งสองในปัญจกนัยนิดหน่อย จึงชื่อ
ว่า ปริตตาภา. รัศมีเกิดขึ้นเพราะเจริญฌานปานกลาง จึงชื่อว่า
อัปปมาณาภา. รัศมีเกิดขึ้นเพราะเจริญฌานประณีต จึงชื่อว่า อาภัส-

สรา. แต่ในที่นี้ท่านกำหนดเอาเทพทั้งหมดเหล่านั้น ด้วยการกำหนด
ชั้นยอด. กายของเทพเหล่านั้นทั้งหมด แผ่ซ่านเป็นอันเดียวกัน, แต่
สัญญาต่างกัน เพราะไม่มีวิตกมีแต่วิจาร และเพราะไม่มีทั้งวิตกและ
วิจาร.
บทว่า สุภกิณฺหา - พวกเทพสุภกิณหะ ได้แก่ พวกเทพผู้เปี่ยม
กระจายไปด้วยความงาม. อธิบายว่า มีรัศมีเป็นก้อนเดียวกันด้วยดี
รัศมีจากร่างกาย. รัศมีของพวกสุภกิณหเทพเหล่านั้นไม่ขาดเป็นตอน ๆ
เหมือนรัศมีของพวกอาภัสสรเทพ. พวกเทพปริตตสุภะ อัปปมาณสุภะ
สุภกิณหะเกิดขึ้นด้วยอำนาจตติยฌานในจตุกกนัย จตุตถฌานในปัญจก-
นัย อันเป็นฌานนิดหน่อย ปานกลาง และประณีต. พวกเทพทั้งหมด
เหล่านั้น พึงทราบว่า มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน
ด้วยสัญญาในจตุตถฌาน. เวหัปผละ ย่อมรวมเข้ากับ วิญญาณฐิติ
ข้อที่ 4. อสัญญสัตว์ - สัตว์ไม่มีสัญญา ไม่สงเคราะห์เข้าในวิญญาณฐิติ
นี้ เพราะไม่มีวิญญาณ, สงเคราะห์เข้าใน สัตตาวาส - ภพเป็นที่อยู่
ของสัตว์.
สุทธาวาส - ภพเป็นที่อยู่ของผู้บริสุทธิ์ ดำรงอยู่ในฝ่ายแห่ง
วิวัฏฏะ (นิพพาน) มิใช่ดำรงอยู่ตลอดทุกกาล.ภพเทพสุทธาวาสย่อมไม่
เกิดในโลกที่ว่างจากพระพุทธเจ้าตลอดแสนกัปบ้าง, ตลอดอสงไขยกัปบ้าง.

เมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติในระหว่างหนึ่งหมื่นหกพันกัป ภพเทพสุทธาวาส
จึงเกิด. พวกเทพเหล่านั้นเป็นเหมือนกองทัพของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้ประกาศพระธรรมจักร, เพราะฉะนั้นจึงไม่เป็นวิญญาณฐิติ. ทั้งไม่
รวมเข้ากับสัตตาวาส. พระมหาสีวเถระกล่าวโดยพระสูตรนี้ว่า ดูก่อน
สารีบุตร สัตตาวาสที่เราไม่เคยอาศัยอยู่ นอกจากเทพสุทธาวาสโดยกาล
ยาวนานนี้หาได้ไม่ง่ายนักแล ดังนี้1แม้สุทธาวาสก็รวมเข้ากับวิญ-
ญาณฐิติที่ 4 และสัตตาวาสที่ 4, สูตรนั้นท่านเห็นตามด้วย เพราะ
เป็นสูตรที่ไม่ได้ห้ามไว้.
ชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะวิญญาณละเอียดจะ
มีวิญญาณก็ไม่ใช่ ไม่มีวิญญาณก็ไม่ใช่ เหมือนสัญญาละเอียด, เพราะ
ฉะนั้นท่านจึงไม่กล่าวไว้ในวิญญาณฐิติ.
บทว่า อฏฺฐ โลกธมฺมา - โลกธรรม 8 เหล่านี้ คือ ลาภ 1
เสื่อมลาภ 1 ยศ 1 เสื่อมยศ 1 นินทา 1 สรรเสริญ 1 สุข 1
ทุกข์ 1
เมื่อความเป็นไปของโลกมีอยู่ ธรรมของโลก จึงเรียกว่า
โลกธรรม เพราะมีความเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา. ชื่อว่า สัตว์จะพ้น
จากโลกธรรมเหล่านี้ ย่อมไม่มี. จะมีก็แต่พระพุทธเจ้าเท่านั้น. ดังที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม 8
เหล่านี้ ย่อมหมุนไปตามโลก, และโลกก็ย่อมหมุนไปตามโลก
ธรรม 8. โลกธรรม 8 คืออะไรบ้าง. โลกธรรม 8 คือ ลาภ 1

1. ม.มู. 12/189

เสื่อมลาภ 1 ยศ 1 เสื่อมยศ 1 นินทา 1 สรรเสริญ 1
สุข 1 ทุกข์ 1. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม 8 เหล่านี้
ย่อมหมุนไปตามโลก. และโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม 8
เหล่านี้.
1
ในบทเหล่านั้น บทว่า อนุปริวตฺตนฺติ - ย่อมหมุนไปตาม
ได้แก่ ติดตามไป คือไม่ละ. อธิบายว่า ไม่กลับไปจากโลก.
บทว่า ลาโภ - ลาภ คือลาภของบรรพชิต มีจีวรเป็นต้น,
ของคฤหัสถ์ มีทรัพย์และข้าวเปลือกเป็นต้น. เมื่อไม่ได้ลาภนั้น ชื่อว่า
เสื่อมลาภ. เมื่อกล่าวว่า น ลาโภ อลาโภ ไม่ใช่ลาภ - ชื่อว่า ไม่มี
ลาภ ไม่ควรเข้าใจโดยความไม่มีประโยชน์.
บทว่า ยโส - ยศ ได้แก่ บริวารยศ. เมื่อไม่ได้ยศนั้น ชื่อว่า
เสื่อมยศ.
บทว่า นินฺทา คือ พูดกล่าวโทษ. บทว่า ปสํสา คือ พูด
กล่าวถึงคุณ.
บทว่า สุขํ ได้แก่ สุขทางกายและสุขทางใจของกามาวจร.
บทว่า ทุกฺขํ ได้แก่ ทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจของปุถุชน
พระโสดาบัน พระสกทาคามี, พระอนาคามีและพระอรหันต์มีแต่ทุกข์
ทางกายเท่านั้น.
1. อง อฏฺฐก. 23/95.

บทว่า นว สตฺตาวาสา ได้แก่ ที่อยู่ของสัตว์ทั้งหลาย, อธิบาย
ว่า สถานที่เป็นที่อยู่.
สถานที่อยู่เหล่านั้น ได้แก่ ขันธ์ อันเป็นที่ปรากฏรู้กันแล้ว.
สัตตาวาส 9 คืออะไรบ้าง. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตตาวาส 9 เหล่านี้, สัตตาวาส 9
คืออะไรบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายต่างกัน
มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ พวกเทพบางหมู่ พวกวินิ
ปาติกะ
(เปรต) นี้เป็นสัตตาวาส ข้อที่ 1.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายต่างกัน มี
สัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพผู้อยู่ในจำพวกพรหม ผู้เกิด
ในปฐมฌาน นี้เป็นสัตตาวาส ข้อที่ 2.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน
มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพอาภัสสระ. นี้เป็นสัตตาวาส
ข้อที่ 3.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน
มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพสุภกิณหะ นี้เป็นสัตตาวาส
ข้อที่ 4.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่ง ไม่มีสัญญา ไม่เสวย
เวทนา เช่น พวกเทพผู้เป็นอสัญญีสัตว์ นี้เป็นสัตตาวาส ข้อที่ 5.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่ง ก้าวล่วงรูปสัญญา
โดยประการทั้งปวง ดับปฏิฆสัญญา ไม่ใส่ใจถึง สัญญาต่างกัน

เข้าถึงอากาสานัญจายตนะว่า อนนฺโต อากาโส - อากาศไม่มี
ที่สุด. นี้เป็นสัตตาวาส ข้อที่ 6.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่ง ก้าวล่วงอากาสา-
นัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะว่า
อนนฺตํ วิญญาณํ - วิญญาณไม่มีที่สุด นี้เป็นสัตตาวาส ข้อที่ 7.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่ง ก้าวล่วงวิญญาณัญจา-
ยตนะ โดยประการทั้งปวง เข้าถึงอากิญจัญญายตนะว่า นตฺถิ
กิญฺจิ
- ไม่มีอะไร ๆ นี้เป็นสัตตาวาส ข้อที่ 8.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่ง ก้าวล่วงอากิญจัญ-
ญายตนะ โดยประการทั้งปวง เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ
นี้เป็นสัตตาวาส ข้อที่ 9. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตตาวาส 9
เหล่านี้แล.
1
บทว่า ทสายตนานิ ได้แก่ อายตนะ 10 อย่างนี้ คือ จักขา-
ยตนะ 1 รูปายตนะ 1 โสตายตนะ 1 สัททายตนะ 1 ฆานายตนะ 1
คันธายตนะ 1 ชิวหายตนะ 1 รสายตนะ 1 กายายตนะ 1 โผฏ-
ฐัพพายตนะ 1. ส่วนมนายตนะ ธัมมายตนะ ท่านไม่จัดไว้ เพราะ
เจือด้วยโลกุตระ.
57] ในการวิสัชนา 10 เหล่านี้ ท่านกล่าวถึง ตีรณปริญญา
ด้วยอำนาจวิปัสสนา.
พึงทราบวินิจฉัยในบทมี อาทิว่า สพฺพํ ภิกฺขเว ปริญฺเญยฺยํ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรกำหนดรู้ดังต่อไปนี้. ท่านกล่าวถึง
1. อง. นวก. 23/228.

ตีรณปริญญา ด้วยการได้เฉพาะธรรมเหล่านี้ คือธรรม 3 มี อนัญญา-
ตัญญัสสามีตินทรีย์
( อินทรีย์ คืออัธยาศัยที่มุ่งบรรลุมรรคผล ของ
ผู้ปฏิบัติ) เป็นต้น, ธรรม 15 มี อนุปปาทธรรม เป็นต้น ของการ
ออกไปแห่งทุกข์เป็นต้น อันเป็นปฏิปทาของการดับทุกข์ เป็นการเจริญ
เพื่อทำให้แจ้ง เป็นการแทงตลอดธรรมเหล่านั้น, ธรรม 31 มี
ปริคฺคหฏฺโฐ - สภาพที่กำหนดไว้, ธรรม 3 มี อุตตริปฏิเวธัฏฐะ-
สภาพที่แทงตลอดยิ่งขึ้นไปเป็นต้น, ธรรม 8 อันเป็นองค์มรรค,
ธรรม 2 มีสภาพสงบแห่งปโยคะเป็นต้น, ธรรม 2 มีสภาพออกไป
แห่งสภาพที่เป็นอสังขตะ, ธรรม 3 มีสภาพตรัสรู้ตามสภาพที่นำสัตว์
ออกไปเป็นต้น, ธรรม 3 มีอนุโพธนัฏฐะ - สภาพที่รู้ตาม เป็นต้น,
ธรรม 3 มีอนุโพธปักขิยะ - ธรรมที่เป็นฝักฝ่ายแห่งการตรัสรู้ตาม
เป็นต้น, ธรรม 4 มีอุชโชตนัฏฐะ - สภาพที่รุ่งเรือง เป็นต้น,
ธรรม 18 มีปตาปนัฏฐะ - สภาพที่ทำให้เร่าร้อน เป็นต้น, ธรรม 9
มีวิวัฏฏนานุปัสสนา - การ - พิจารณาเห็นนิพพาน เป็นต้น. ญาณใน
ความสิ้นไป และญาณในความไม่เกิด นิพพานอันเป็นปัญญาวิมุตติ,
พึงทราบว่า ตีรณปริญญา ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาตามสมควร
แก่หมู่ธรรม และด้วยอำนาจการได้เฉพาะ.
58 ] ท่านกล่าวถึงตีรณปริญญาด้วยอรรถว่า เข้าถึงกิจ ด้วย
บทว่า เยสํ เยสํ ธมฺมานํ ฯเปฯ ติริตา จ ความว่า บุคคลผู้พยายาม
เพื่อจะได้ธรรมใด ๆ เป็นอันได้ธรรมนั้น ๆ แล้ว. ธรรมเหล่านั้นเป็น

ธรรมอันบุคคลกำหนดรู้แล้ว และพิจารณาแล้วอย่างนี้. เมื่อเข้าถึงกิจ
แล้ว เป็นอันได้ธรรมนั้น ๆ แล้ว. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ญาต-
ปริญญา ของผู้ยังไม่เข้าถึงวิปัสสนา นั่นไม่ดีเลย เพราะ ญาตปริญญา
ท่านกล่าวด้วยธรรมควรรู้ยิ่ง.
บทว่า ปริญฺญตา เจว โหนฺติ ตีริตา จ ธรรมอันบุคคลกำหนด
รู้แล้ว และพิจารณาแล้ว ความว่า ธรรมอันบุคคลได้แล้ว ชื่อว่า
เป็นอันกำหนดรู้แล้ว และชื่อว่าพิจารณาแล้ว. เป็นอันท่านกล่าวความ
ที่กำหนดรู้ ด้วยการเข้าถึงสมาบัติอย่างนี้.
59] บัดนี้ เพื่อประกอบอรรถนั้น ด้วยการได้ธรรมอย่าง
หนึ่ง ๆ แล้วแสดงสรุปในที่สุด พระสารีบุตร จึงกล่าวว่า เนกฺขมฺมํ
เป็นต้น. พึงทราบบททั้งหมดนั้น โดยทำนองตามดังที่ท่านกล่าวไว้แล้ว
ในตอนก่อนแล.
จบ อรรถกถาปริญเญยยนิทเทส
---------------------------------

ปหาตัพพนิทเทส


[60] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ปฐมฌาน เป็นอัน
ได้ปฐมฌานแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำลังรู้แล้ว และ
พิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ทุติยฌาน ฯลฯ