เมนู

อรรถกถาปริญเญยยนิทเทส


56] พึงทราบวินิจฉัย ในปริญเญยยนิทเทสดังต่อไปนี้ ท่าน
สงเคราะห์ปริญญา 3 คือ ญาตปริญญา 1 ตีรณปริญญา 1 ปหาน
ปริญญา 1 ด้วยปริญญาติศัพท์ไว้ก็จริง แต่ในนิทเทสนี้ ท่านประสงค์เอา
ตีรณปริญญา เท่านั้น เพราะท่านกล่าวถึง ญาตปริญญา ว่า อภิญฺ-
เญยฺยา
ควรรู้ยิ่งไว้แล้วในตอนหลัง เพราะท่านกล่าวถึง ปหานปริญญา
ว่า ปหาตพฺพา ควรละไว้ตอนต่อไป.
บทว่า ผสฺโส สาสโว อุปาทานโย ผัสสะอันมีอาสวะเป็นที่ตั้ง
แห่งอุปาทาน ได้แก่ ผัสสะอันเป็นไปในภูมิ 3 เป็นปัจจัย แห่งอาสวะ
และอุปาทาน. จริงอยู่ ผัสสะนั้นชื่อว่า สาสวะ เพราะทำตนให้เป็น
อารมณ์พร้อมกับอาสวะที่เป็นไปอยู่ ชื่อว่า อุปาทานิยะ เพราะเข้าถึง
ความเป็นอารมณ์ แล้วหน่วงอุปาทานไว้ด้วยการผูกพันไว้กับอุปาทาน.
เพราะเมื่อผัสสะกำหนดรู้ได้ด้วยตีรณปริญญา อรูปธรรมแม้ที่เหลือ
ย่อมกำหนดรู้ได้ด้วยผัสสะเป็นประธานและรูปธรรม ย่อมกำหนดรู้ได้
ด้วยเป็นไปตามผัสสะนั้น, ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวผัสสะอย่างเดียวเท่านั้น.
แม้ในธรรมที่เหลือก็พึงประกอบตามควร. บทว่า นามํ ได้แก่ ขันธ์ 4
และนิพพานอันไม่มีรูป. บทว่า รูปํ ได้แก่ มหาภูตรูป 8 และ
อุปาทายรูป 24 อาศัยมหาภูตรูป 4. ขันธ์ 4 ชื่อว่า นาม เพราะ
อรรถว่าน้อมไป. จริงอยู่ขันธ์เหล่านั้นมีอารมณ์เป็นตัวนำ ย่อมน้อมไป.