เมนู

ตติยภาณวาร


[56] ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมา คือ เครื่องรู้ชัด
ธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ เป็นสุตมยญาณ
อย่างไร.
ธรรมอย่างหนึ่งควรกำหนดรู้ คือ ผัสสะอันมีอาสวะ เป็นที่
แห่งอุปาทาน ธรรม 2 ควรกำหนดรู้ คือ นาม 1 รูป 1, ธรรม 3
ควรกำหนดรู้ คือ เวทนา 3, ธรรม 4 ควรกำหนดรู้ คืออาหาร 4,
ธรรม 5 ควรกำหนดรู้ คือ อุปาทานขันธ์ 5, ธรรม 6 ควรกำหนดรู้
คือ อายตนะภายใน 6, ธรรม 7 ควรกำหนดรู้ คือ วิญญาณฐิติ 7,
ธรรม 8 ควรกำหนดรู้ คือ โลกธรรม 8, ธรรม 9 ควรกำหนดรู้
คือ สัตตาวาส 9, ธรรม 10 ควรกำหนดรู้ คือ อายตนะ 10.
[57] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรกำหนดรู้ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงที่ควรกำหนดรู้คืออะไร คือ ตา รูป จักขุวิญญาณ
จักขุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิด
ขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ควรกำหนดรู้ทุกอย่าง.
หู เสียง ฯลฯ จมูก กลิ่น ฯลฯ ลิ้น รส ฯลฯ กาย
โผฏฐัพพะ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุข-
เวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโน-
สัมผัสเป็นปัจจัย ควรกำหนดรู้ทุกอย่าง.

[58] รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักขุ ฯลฯ
ชราและมรณะ ฯลฯ นิพพานที่หยั่งลงในอมตะด้วยความว่าเป็นที่สุด
ควรกำหนดรู้ทุกอย่าง บุคคลผู้พยายามเพื่อจะได้ธรรมใด ๆ เป็นอันได้
ธรรมนั้น ๆ แล้ว ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้ว
และพิจารณาแล้วอย่างนี้.
[59] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้เนกขัมมะ เป็นอันได้
เนกขัมมะแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและ
พิจารณาแล้วอย่างนี้.
บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ความไม่พยาบาท เป็นอันได้
ความไม่พยาบาทแล้ว . . . บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้อาโลกสัญญา
เป็นอันได้อาโลกสัญญาแล้ว . . . บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ความ
ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอันได้ความไม่ฟุ้งซ่านแล้ว . . .บุคคลผู้พยายามเพื่อต้อง
การจะได้การกำหนดธรรม เป็นอันได้การกำหนดธรรมแล้ว . . .บุคคล
ผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ญาณ เป็นอันได้ญาณแล้ว . . . บุคคลผู้
พยายามเพื่อต้องการจะได้ความปราโมทย์ เป็นอันได้ความปราโมทย์
แล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้ว
อย่างนี้.

อรรถกถาปริญเญยยนิทเทส


56] พึงทราบวินิจฉัย ในปริญเญยยนิทเทสดังต่อไปนี้ ท่าน
สงเคราะห์ปริญญา 3 คือ ญาตปริญญา 1 ตีรณปริญญา 1 ปหาน
ปริญญา 1 ด้วยปริญญาติศัพท์ไว้ก็จริง แต่ในนิทเทสนี้ ท่านประสงค์เอา
ตีรณปริญญา เท่านั้น เพราะท่านกล่าวถึง ญาตปริญญา ว่า อภิญฺ-
เญยฺยา
ควรรู้ยิ่งไว้แล้วในตอนหลัง เพราะท่านกล่าวถึง ปหานปริญญา
ว่า ปหาตพฺพา ควรละไว้ตอนต่อไป.
บทว่า ผสฺโส สาสโว อุปาทานโย ผัสสะอันมีอาสวะเป็นที่ตั้ง
แห่งอุปาทาน ได้แก่ ผัสสะอันเป็นไปในภูมิ 3 เป็นปัจจัย แห่งอาสวะ
และอุปาทาน. จริงอยู่ ผัสสะนั้นชื่อว่า สาสวะ เพราะทำตนให้เป็น
อารมณ์พร้อมกับอาสวะที่เป็นไปอยู่ ชื่อว่า อุปาทานิยะ เพราะเข้าถึง
ความเป็นอารมณ์ แล้วหน่วงอุปาทานไว้ด้วยการผูกพันไว้กับอุปาทาน.
เพราะเมื่อผัสสะกำหนดรู้ได้ด้วยตีรณปริญญา อรูปธรรมแม้ที่เหลือ
ย่อมกำหนดรู้ได้ด้วยผัสสะเป็นประธานและรูปธรรม ย่อมกำหนดรู้ได้
ด้วยเป็นไปตามผัสสะนั้น, ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวผัสสะอย่างเดียวเท่านั้น.
แม้ในธรรมที่เหลือก็พึงประกอบตามควร. บทว่า นามํ ได้แก่ ขันธ์ 4
และนิพพานอันไม่มีรูป. บทว่า รูปํ ได้แก่ มหาภูตรูป 8 และ
อุปาทายรูป 24 อาศัยมหาภูตรูป 4. ขันธ์ 4 ชื่อว่า นาม เพราะ
อรรถว่าน้อมไป. จริงอยู่ขันธ์เหล่านั้นมีอารมณ์เป็นตัวนำ ย่อมน้อมไป.