เมนู

เพราะไม่พ้นไปจากวัฏฏามิสและโลกุามิส ชื่อว่า นิรามิส (ไม่มีเครื่อง
ล่อ) เพราะตรงกันข้ามกับ สามิส. สิ่งใดเป็นสามิส สิ่งนั้นเป็น
เพียงสังขารเท่านั้น. ชื่อว่า นิพพาน เพราะสงบจากสิ่งตรงกันข้าม
กับสังขาร. เพราะสังขารเป็นของร้อน นิพพานเป็นของสงบ. พึง
ทราบว่าท่านกล่าวไว้อย่างนั้นหมายถึงความเป็นไปโดยอาการนั้น ๆ อย่าง
นี้ว่า โดยอาการที่เป็นทุกข์ โดยอาการที่เป็นภัย โดยอาการที่เป็นสามิส
โดยอาการที่เป็นสังขาร ด้วยประการฉะนี้.
จบ อรรถกถาปฐมภาณวาร

ทุติยภาณวาร


[30] สภาพแห่งธรรมที่ควรกำหนดถือเอา สภาพแห่งธรรม
ที่เป็นบริวาร ภาพแห่งธรรมที่เต็มรอบ สภาพแห่งสมาธิที่มีอารมณ์
อย่างเดียว ภาพแห่งสมาธิไม่มีความฟุ้งซ่าน ภาพแห่งธรรมที่ประ-
คองไว้ ภาพแห่งธรรมที่ไม่กระจายไป สภาพแห่งจิตไม่ขุ่นมัว สภาพ
แห่งจิตไม่หวั่นไหว ภาพแห่งจิตตั้งอยู่ด้วยสามารถแห่งความปรากฏ
แห่งจิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพแห่งธรรมเป็นอารมณ์ สภาพแห่ง
ธรรมเป็นโคจร สภาพแห่งธรรมที่ละ สภาพแห่งธรรมที่สละ สภาพ
แห่งธรรมที่ออก สภาพแห่งธรรมที่หลีกไป สภาพแห่งธรรมที่ละเอียด

สภาพแห่งธรรมที่ประณีต สภาพแห่งธรรมที่หลุดพ้น สภาพแห่งธรรม
ที่ไม่มีอาสวะ สภาพแห่งธรรมเครื่องข้าม สภาพแห่งธรรมที่ไม่มีเครื่อง
หมาย สภาพแห่งธรรมที่ไม่มีที่ตั้ง สภาพแห่งธรรมที่ว่างเปล่า สภาพ
แห่งธรรมที่มีกิจเสมอกัน สภาพแห่งธรรมที่ไม่ล่วงเลยกัน สภาพแห่ง
ธรรมที่เป็นคู่ สภาพแห่งธรรมที่นำออก ภาพแห่งธรรมที่เป็นเหตุ
สภาพแห่งธรรมที่เห็น สภาพแห่งธรรมที่เป็นอธิบดี ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[31] สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมถะ สภาพที่พิจารณาเห็นแห่ง
วิปัสสนา สภาพที่มีกิจเสมอกันแห่งสมถะและวิปัสสนา สภาพมิได้ล่วง
กันแห่งธรรมที่เป็นคู่ สภาพที่สมาทานแห่งสิกขาบท สภาพที่โคจร
แห่งอารมณ์ สภาพที่ประคองจิตที่ย่อท้อ สภาพที่ปราบจิตที่ฟุ้งซ่าน
สภาพที่คุมจิตอันบริสุทธิ์จากความย่อท้อและฟุ้งซ่านทั้ง 2 ประการ
สภาพที่จิตบรรลุคุณวิเศษ สภาพที่แทงตลอดอริยมรรคอันประเสริฐ
สภาพที่ตรัสรู้สัจจะ สภาพที่ให้จิตตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ ควรรู้ยิ่งทุก
อย่าง.
[32] สภาพที่น้อมไปแห่งสัทธินทรีย์ สภาพที่ประคองไว้
แห่งวีริยินทรีย์ สภาพที่ตั้งมั่นแห่งสตินทรีย์ สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่ง
สมาธินทรีย์ สภาพที่เห็นแห่งปัญญินทรีย์ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[33] สภาพที่สัทธาพละมิได้หวั่นไหวในเพราะความไม่มีสัทธา
สภาพที่วีริยพละมิได้หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน สภาพที่สติ-

พละมิได้หวั่นไหวเพราะความประมาท สภาพที่สมาธิพละมิได้หวั่นไหว
เพราะอุทธัจจะ สภาพที่ปัญญาพละมิได้หวั่นไหวเพราะอวิชชา ควรรู้ยิ่ง
ทุกอย่าง.
[34] สภาพที่ตั้งมั่นแห่งสติสัมโพชฌงค์ สภาพที่เลือกเฟ้น
แห่งธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ สภาพที่ประคองแห่งวีริยสัมโพชฌงค์
สภาพที่แผ่ไปแห่งปีติสัมโพชฌงค์ สภาพที่สงบแห่งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ สภาพที่พิจารณาหาทางแห่ง
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[35] สภาพที่เห็นแห่งสัมมาทิฏฐิ สภาพที่ตรึกแห่งสัมมาสัง-
กัปปะ สภาพที่กำหนดแห่งสัมมาวาจา สภาพที่ตั้งขึ้นแห่งสัมมากัมมันตะ
สภาพที่ผ่องแผ้วแห่งสัมมาอาชีวะ สภาพที่ประคองไว้แห่งสัมมาวายามะ
สภาพที่ตั้งมั่นแห่งสัมมาสติ สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสัมมาสมาธิ ควรรู้
ยิ่งทุกอย่าง.
[36] สภาพที่เป็นใหญ่แห่งอินทรีย์ สภาพที่ไม่หวั่นไหวแห่ง
พละ สภาพที่นำออกแห่งโพชฌงค์ สภาพที่เป็นเหตุแห่งมรรค สภาพ
ที่ตั้งมั่นแห่งสติปัฏฐาน สภาพที่เริ่มตั้งแห่งสัมมัปธาน สภาพที่สำเร็จ
แห่งอิทธิบาท สภาพที่เที่ยงแท้แห่งสัจจะ สภาพที่ระงับแห่งประโยชน์
สภาพที่ทำให้แจ้งแห่งผล สภาพที่ตรึกแห่งวิตก สภาพที่ตรวจตราแห่ง
วิจาร สภาพที่แผ่ไปแห่งปีติ สภาพที่ไหลมาแห่งสุข สภาพที่มีอารมณ์

เดียวแห่งจิต สภาพที่คำนึง สภาพที่รู้แจ้ง สภาพที่รู้ชัด สภาพที่จำได้
สภาพที่สมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[37] สภาพที่รู้แห่งปัญญาที่รู้ยิ่ง สภาพที่พิจารณาแห่ง
ปริญญา สภาพที่สละแห่งปหานะ สภาพแห่งภาวนามีกิจเป็นอย่างเดียว
สภาพที่ถูกต้องแห่งสัจฉิกิริยา สภาพที่เป็นกองแห่งทุกข์ ภาพที่ทรงไว้
แห่งธาตุ สภาพที่ต่อแห่งอายตนะ สภาพที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งสังขต-
ธรรม สภาพที่ปัจจัยไม่ได้ปรุงแต่แห่งอสังขตธรรม ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง
ที่เป็นปัจจัย.
[38] สภาพที่คิด สภาพที่ไม่มีระหว่างแห่งจิต สภาพที่ออก
แห่งจิต สภาพที่หลีกไปแห่งจิต สภาพที่เป็นเหตุแห่งจิต สภาพที่เป็นปัจ-
จัยแห่งจิต สภาพที่เป็นที่ตั้งแห่งจิต สภาพที่เป็นภูมิแห่งจิต สภาพที่เป็น
อารมณ์แห่งจิต สภาพที่เป็นโคจรแห่งจิต สภาพที่เที่ยวไปแห่งจิต สภาพ
ที่ไปแห่งจิต สภาพที่นำไปยิ่งแห่งจิต สภาพที่นำออกแห่งจิต สภาพ
ที่สลัดออกแห่งจิต ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[39] สภาพที่นึกในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่รู้
แจ้ง... สภาพที่รู้ชัด... สภาพที่จำได้... สภาพที่จิตมั่นคง ...
สภาพที่เนื่อง... สภาพที่แล่นไป... สภาพที่ผ่องใส ... สภาพที่
ตั้งมั่น... สภาพที่หลุดพ้น... สภาพที่เห็นว่านี่ละเอียด... ภาพที่
ทำให้เป็นเช่นดังยาน... สภาพที่ทำให้เป็นที่ตั้ง ... สภาพที่ตั้งขึ้น
เนืองๆ ... สภาพที่อบรม ... สภาพที่ปรารภชอบด้วยดี... สภาพที่

กำหนดถือไว้... สภาพที่เป็นบริวาร ... สภาพที่เต็มรอบ... สภาพ
ที่ประชุม ... สภาพที่อธิษฐาน... สภาพที่เสพ... สภาพที่เจริญ... สภาพ
ที่ทำให้มาก... สภาพที่รวมดี... สภาพที่หลุดพ้นด้วยดี... สภาพที่ตรัสรู้...
สภาพที่ตรัสรู้ตาม... สภาพที่ตรัสรู้เฉพาะ ... สภาพที่ตรัสรู้พร้อม...
สภาพที่ตื่น... สภาพที่ตื่นตาม... สภาพที่ตื่นเฉพาะ... สภาพที่
ตื่นพร้อม.. . สภาพที่เป็นไปในฝักฝ่ายความตรัสรู้... สภาพที่เป็นไป
ในฝักฝ่ายความตรัสรู้ตาม ... สภาพที่เป็นไปในฝักฝ่ายความตรัสรู้
เฉพาะ.... สภาพที่เป็นไปในฝักฝ่ายความตรัสรู้พร้อม ... สภาพที่
สว่าง... สภาพที่สว่างขึ้น ... สภาพที่สว่างเนือง ๆ ... สภาพที่สว่าง
เฉพาะ... สภาพที่สว่างพร้อมในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว ควรรู้
ยิ่งทุกอย่าง.
[40] ภาพที่อริยมรรคให้สว่าง สภาพที่อริยมรรคให้รุ่งเรือง
สภาพที่อริยมรรคให้กิเลสทั้งหลายเร่าร้อน สภาพที่อริยมรรคไม่มีมลทิน
สภาพที่อริยมรรคปราศจากมลทิน สภาพที่อริยมรรคหมดมลทิน สภาพ
ที่อริยมรรคสงบ สภาพที่อริยมรรคให้กิเลสระงับ สภาพแห่งวิเวก
สภาพแห่งความประพฤติในวิเวก สภาพที่คลายกำหนัด สภาพแห่ง
ความประพฤติในความคลายกำหนัด สภาพแห่งความประพฤติในความ
1. พระบาลีว่า ปตาปนฏฺโฐ. ยุ. ปฺกาสนฏฺโฐ.

ดับ สภาพที่ปล่อย สภาพแห่งความประพฤติในความปล่อย สภาพที่
พ้น สภาพแห่งความประพฤติในความพ้น ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[41] สภาพแห่งฉันทะ สภาพที่เป็นมูลแห่งฉันทะ สภาพที่
เป็นบาทแห่งฉันทะ สภาพที่เป็นประธานแห่งฉันทะ สภาพที่สำเร็จ
แห่งฉันทะ สภาพที่น้อมไปแห่งฉันทะ สภาพที่ประคองไว้แห่งฉันทะ
สภาพที่ตั้งมั่นแห่งฉันทะ สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งฉันทะ สภาพที่เห็น
แห่งฉันทะ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[42] สภาพแห่งวีริยะ สภาพที่เป็นมูลแห่งวีริยะ สภาพที่
เป็นบาทแห่งวีริยะ สภาพที่เป็นประธานแห่งวีริยะ สภาพที่สำเร็จแห่ง
วิริยะ สภาพที่น้อมไปแห่งวีริยะ สภาพที่ประคองไว้แห่งวีริยะ สภาพ
ที่ตั้งมั่นแห่งวีริยะ สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งวีริยะ สภาพที่เห็นแห่งวิริยะ
ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[43] สภาพแห่งจิต สภาพที่เป็นมูลแห่งจิต สภาพที่เป็นบาท
แห่งจิต สภาพที่เป็นประธานแห่งจิต สภาพที่สำเร็จแห่งจิต สภาพที่
น้อมไปแห่งจิต สภาพที่ประคองไว้แห่งจิต สภาพที่ตั้งมั่นแห่งจิต สภาพ
ที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต สภาพที่เห็นแห่งจิต ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[44] สภาพแห่งวีมังสา สภาพที่เป็นมูลแห่งวีมังสา สภาพ
ที่เป็นบาทแห่งวีมังสา สภาพที่เป็นประธานแห่งวีมังสา สภาพที่สำเร็จ
แห่งวีมังสา สภาพที่น้อมไปแห่งวีมังสา สภาพที่ประคองไว้แห่งวีมังสา

สภาพที่ตั้งมั่นแห่งวีมังสา สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งวีมังสา สภาพที่เห็น
แห่งวีมังสา ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[45] สภาพแห่งทุกข์ ภาพที่ทุกข์บีบคั้น สภาพที่ทุกข์อัน
ปัจจัยปรุงแต่ง สภาพที่ทุกข์ให้เดือดร้อน สภาพที่ทุกข์แปรปรวน
สภาพแห่งสมุทัย สภาพที่สมุทัยประมวลมา สภาพที่สมุทัยเป็นเหตุ
สภาพที่สมุทัยเกี่ยวข้อง สภาพที่สมุทัยพัวพัน สภาพแห่งนิโรธ สภาพแห่ง
นิโรธสลัดออก สภาพที่นิโรธเป็นวิเวก สภาพที่นิโรธเป็นอสังขตะ
สภาพที่นิโรธเป็นอมตะ สภาพแห่งมรรค สภาพที่มรรดนำออก สภาพที่
มรรคเป็นเหตุ สภาพที่มรรคเห็น สภาพที่มรรคเป็นอธิบดี ควรรู้ยิ่ง
ทุกอย่าง.
[46] สภาพที่ถ่องแท้ สภาพที่เป็นอนัตตา สภาพที่เป็นสัจจะ
สภาพที่ควรแทงตลอด สภาพที่ควรรู้ยิ่ง สภาพที่ควรกำหนดรู้ สภาพ
ที่ทรงรู้ สภาพที่เป็นธาตุ สภาพที่อาจรู้ได้ สภาพที่รู้ควรทำให้แจ้ง
สภาพที่ควรถูกต้อง สภาพที่ควรตรัสรู้ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[47] เนกขัมมะ อัพยาบาท อาโลกสัญญา ความไม่ฟุ้งซ่าน
ความกำหนดธรรม ญาณ ความปราโมทย์ ปฐมฌาน ทุติยฌาน
ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตน-
สมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.

[48] การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง การพิจารณาเห็นความ
ทุกข์ การพิจารณาเห็นอนัตตา การพิจารณาเห็นด้วยความเบื่อหน่าย
การพิจารณาเห็นด้วยความคลายกำหนัด การพิจารณาเห็นด้วยความดับ
การพิจารณาเห็นด้วยความสละคืน การพิจารณาเห็นความสิ้นไป การ
พิจารณาเห็นความเสื่อมไป การพิจารณาเห็นความแปรปรวน การ
พิจารณาเห็นความไม่มีเครื่องหมาย การพิจารณาเห็นธรรมไม่มีที่ตั้ง
การพิจารณาเห็นความว่างเปล่า การพิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
ความรู้ความเห็นตามความเป็นจริง การพิจารณาเห็นโทษ การพิจารณา
หาทาง การพิจารณาเห็นอุบายที่จะหลีกไป ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[49] โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลสมาบัติ สกทาคามิมรรค
สกทาคามิผลสมาบัติ อนาคามิมรรค อนาคามิผลสมาบัติ อรหัตมรรค
อรหัตผลสมาบัติ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[50] สัทธินทรีย์ด้วยความว่าน้อมใจเชื่อ วีริยินทรีย์ด้วย
ความว่าประคองไว้ สตินทรีย์ด้วยความว่าตั้งมั่น สมาธินทรีย์ด้วยความ
ว่าไม่ฟุ้งซ่าน ปัญญินทรีย์ด้วยความว่าเห็น สัทธาพละด้วยความว่า
ไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีสัทธา วีริยพละด้วยความไม่หวั่นไหว
เพราะความเกียจคร้าน สติพละด้วยความไม่หวั่นไหวเพราะความประ-
มาท สมาธิพละด้วยความว่าไม่หวั่นไหวเพราะความฟุ้งซ่าน ปัญญาพละ
ด้วยความว่าไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.

[51] สติสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ธรรมวิจยสัมโพช-
ฌงค์ด้วยอรรถว่าเลือกเฟ้น วีริยสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ปีติ
สัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าแผ่ไป ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าสงบ
สมาธิสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน อุเบกขาสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถ
ว่าพิจารณาหาทาง ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[52] สัมมาทิฏฐิด้วยความว่าเห็น สัมมาสังกัปปะด้วยความ
ว่าตรึก สัมมาวาจาด้วยความว่ากำหนดเอา สัมมากัมมันตะด้วยความว่า
ให้กุศลธรรมเกิด สัมมาอาชีวะด้วยความว่าขาวผ่อง สัมมาวายามะด้วย
ความว่าประคองไว้ สัมมาสติด้วยความว่าตั้งมั่น สัมมาสมาธิด้วยความ
ว่าไม่ฟุ้งซ่าน ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[53] อินทรีย์ด้วยความว่าเป็นใหญ่ พละด้วยความว่าไม่หวั่น
ไหว โพชฌงค์ด้วยความว่านำออก มรรคด้วยความว่าเป็นเหตุ สติ-
ปัฏฐานด้วยความว่าตั้งมั่น สัมมัปธานด้วยความว่าตั้งไว้ อิทธิบาทด้วย
ความว่าสำเร็จ สัจจะด้วยความว่าเที่ยงแท้ สมถะด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน
วิปัสสนาด้วยความว่าพิจารณา สมถะและวิปัสสนาด้วยความว่ามีกิจเสมอ
กัน ธรรมชาติที่เป็นคู่ด้วยความว่าไม่ล่วงเกินกัน ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[54] สีลวิสุทธิด้วยความว่าสำรวม จิตตวิสุทธิด้วยความว่า
ไม่ฟุ้งซ่าน ทิฏฐิวิสุทธิด้วยความว่าเห็น วิโมกข์ด้วยความว่าหลุดพ้น
วิชชาด้วยความว่าแทงตลอด วิมุตติด้วยความว่าสละ ญาณในความสิ้น

ไปด้วยความว่าตัดขาด ญาณในความไม่เกิดขึ้นด้วยความว่าระงับ ฉันทะ
ด้วยควานว่าเป็นมูลฐาน มนสิการด้วยความว่าเป็นสมุฏฐาน ผัสสะด้วย
ความว่าประมวลมา เวทนาด้วยความว่าประชุม สมาธิด้วยความว่าเป็น
ประธาน สติด้วยความว่าเป็นใหญ่ ปัญญาด้วยความว่าประเสริฐกว่า
กุศลธรรมนั้น ๆ วิมุตติด้วยความว่าเป็นแก่นสาร นิพพานอันหยั่งลง
ในอมตะด้วยความว่าเป็นที่สุด ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[55] ธรรมใด ๆ ที่รู้ยิ่งแล้ว ธรรมนั้น ๆ เป็นคุณที่รู้แล้ว
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ทั่ว
เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมา คือ
เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง เป็น
สุตมยญาณ.
จบ ทุติยภาณวาร ฯ

อรรถกถาทุติยภาณวาร


30] พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา 31 ข้อ มี ปริคฺค-
หฏฺโฐ
- สภาพแห่งธรรมที่ควรกำหนดถือเอา เป็นต้น ด้วยขณะแห่ง
อริยมรรค. จริงอยู่ ธรรมทั้งหลายอันสัมปยุตด้วยอริยมรรค ย่อม